สอบถามราคา H-Beam 200×200 กับทางเรา ได้ที่ร้านอาณาจักรนายช่าง ติดต่อ เบอร์โทร 086-341-9908 หรือ LINE : NaichangNetwork
เหล็ก H-Beam 200×200
คือเหล็กเอชบีม (H-Beam) ที่เป็นเหล็กโครงสร้างของรูปพรรณรีดร้อน อีกรูปแบบหนึ่ง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานโครงสร้าง ซึ่งจะพบเห็นได้ทั่วไปในงานโครงสร้างของเหล็ก ซึ่งจะสามารถนำมาใช้งานร่วมกับเหล็กรูปพรรณอื่น ๆ ได้แก่ เหล็กรางน้ำ และ เหล็กกล่อง เป็นต้นนั่นเอง
สารบัญ
- ลักษณะที่สำคัญของเหล็กเอชบีม
- การใช้งานของเหล็กเอชบีม
- ความแตกต่างของเหล็กทั้ง 2 ชนิด
- วิธีการสั่งซื้อสินค้า
ลักษณะที่สำคัญของเหล็ก H-beam 200×200
ลักษณะของเหล็ก จะคล้ายรูปตัว H มีขนาด ด้านกว้างและด้านยาวเท่ากัน เช่น H-beam 200×200
(มีลักษณะที่มีความเด่น ๆ เลยก็คือมีปีกที่มีความกว้างเท่ากัน)
เกรดของเหล็ก H-Beam SS400 , SM520 ความยาวที่ปกติมีตั้งแต่ 6M. , 9M. , 12M.
หลักการผลิตของเหล็ก H-Beam
H-Beam หรือ เหล็กเอชบีม ก็คือ เหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Hot-Rolled Structural Steel) ที่เกิดจากการหลอม และ หล่อให้เป็นแท่งเหล็กแล้วทำการรีดในขณะที่เหล็กนั้นยังเกิดความร้อนอยู่แล้วทำให้มีหน้าตัดเป็นรูปตัวอักษรภาษาอังกฤษ “H” ตามการเรียกชื่อ
รูปแบบของหน้าตัดจะมีปีก (Flange) ที่มีความกว้างออกมาจากเอว (Web) ตรงกลาง โดยจะมีความหนาของเหล็กในส่วนของปีกเท่ากันตลอด โดยไม่มีการปาด หรือ ลบมุมที่ปลายปีก
การใช้งานเหล็กเอชบีม
เหล็กเอชบีม เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเป็นโครงสร้างของคาน เสา และ โครงสร้างหลังคา ทั้งในอาคารบ้านพักอาศัย โรงงาน อาคารสูง ๆ หรือสนามกีฬา ทั้งนี้เหล็กเอชบีม H-Beam ตามมาตรฐานของ ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริการก็จะเรียกเหล็กว่า Wide Flange W-Shape
ปัจจุบันเหล็กเอชบีม H-Beam รวมทั้งเหล็กรูปพรรณแบบต่าง ๆ ที่สามารถผลิตได้ทั้งภายในประเทศไทย และ ยังได้รับความนิยมอย่างมากในงานก่อสร้างเนื่องจากงานก่อสร้างด้วยโครงสร้างเหล็กมีความสะดวกรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องรอให้แห้ง หรือ เชต ตัวต่างจากงานคอนกรีต สามารถทำการดัดโค้งได้ มีขนาดที่ได้มาตรฐานเนื่องจากผลิตมาจากโรงงาน เป็นการก่อสร้างด้วยระบบแห้งหน้างานต้องไม่สกปรกเลอะเทอะ สามารถนำมาดัดแปลง ต่อเติม และรื้อถอนได้ง่าย และยังสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้งนั่นเอง
สีกันสนิม
คือ เป็นสีที่ใช้ทาเหล็กเพื่อป้องกันการเกิดสนิมจากสภาพอากาศต่าง ๆ และมีอีกชื่อที่เรียกกันอีกคือสีรองพื้นกันสนิม อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการช่วยให้สีจริงยึดเกาะกับตัวเหล็กมากยิ่งขึ้น
หลักวิธีการเลือกซื้อสีกันสนิมยังไงให้มีความเหมาะผสมกับการใช้งานของเหล็ก
ก่อนอื่นต้องดูสภาพเหล็กก่อนว่ามีลักษณะพื้นผิวแบบไหนว่ามีสนิมหรือไม่ เป็นเหล็กเก่าหรือว่าเหล็กใหม่ ซึ่งการสังเกตพื้นผิวของเหล็กเป็นวิธีทีที่สามารถเลือกสีกันสนิมได้ง่ายและหาสีกันสนิมที่เหมาะกับเหล็กที่เราจะใช้งานมากขึ้น
การทาสีเหล็ก แบ่งตามประเภทของเหล็ก
เหล็กใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้งาน
- ต้องทำการขัดผิวเหล็กให้มีความสะอาดก่อนแล้วหลังจากนั้นให้นำสีกันสนิมมาทาก่อนประมาณ 1-2 รอบ เพื่อช่วยเพิ่มแรงยึดเกาะระหว่างสีจริง และ ตัวเหล็กของเรา
- หลังจากที่เราได้ทำการทาสีรองพื้นของเราจนมีความแห้งแล้ว ก็จะสามารถทาสีจริงทับได้เลย แต่ในการทาสีจริง หรือ สีทาทับหน้านั่นต้องทาทั้ง 2 รอบ และแต่ละรอบนั้นต้องรอระยะเวลาในการแห้งประมาณ 7 ชั่วโมง อีกทั้งสีจริง และ สีรองพื้นที่ทาต้องเป็นยี่เดียวกันเพื่อให้สีที่มีความเรียบเนียน และ มีความสวยงาม
เหล็กเก่าที่มีสนิมแต่ยังสามารถใช้งานได้
- ขั้นแรกต้องใช้กระดาษทรายขัดเหล็กให้สนิมที่เกาะติดอยู่กับตัวเหล็กให้หลุดออกให้หมด หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดเหล็กให้สะอาด แล้วทาสีกันสนิมเพื่อป้องกันการเกิดสนิมอีกครั้ง
- เมื่อทาสีรองพื้นกันสนิมเสร็จหลังจากนั้นสามารถทาสีจริงที่เหล็กได้เลย
ประเภทของสีรองพื้น
- สีรองพื้นกันสนิมอีพ็อกซี่เป็นสีกันสนิมที่มีคุณภาพที่สูง อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพอีกมากมาย ทั้งสามารถทนทานต่อการเสียดทานหรือขูดเป็นอย่างดี เนื่องจากสีรองพื้นประเภทนี้มีคุณภาพที่สูงมากจึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสีรองพื้นกันสนิมประเภทอื่น ถึงจะเป็นรองพื้นกันสนิมที่มีคุณภาพสูงแต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้กัน เนื่องจากเป็นสีที่ผู้ใช้ต้องผสมเองอีกทั้งยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน ในการผสมต้องใช้ในอัตราส่วนที่กำหนดถ้าผสมผิดจะไม่สามารถแก้ไขได้และอาจจะทำให้ประสิทธิภาพของสีกันสนิมลดลงได้ สีทาสนิมประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับเหล็กที่ต้องการการความทนทานที่สูงและสี่ที่ติดคงทนไม่จำเป็นที่จะต้องทาสีใหม่บ่อย
- สีรองพื้นกันสนิมเรดเลดเป็นสีกันสนิมที่มีประสิทธิภาพในการกันสนิมได้ดีมาก เนื่องจากส่วนผสมที่เป็นประเภทตะกั่วที่มีประสิทธิภาพในการกันสนิมได้ดีเยี่ยมอีกทั้งยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยให้สีรองพื้นชนิดนี้เป็นมีประสิทธิภาพในการเกินสนิมใหม่ แต่สีรองพื้นประเภทนี้เป็นสีที่มีราคาตั้งแต่กลาง ๆ จนถึงราคาที่สูงขึ้นอยู่กับส่วนผสม สีประเภทนี้จะใช้ในงานอุตสาหกรรมและโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่
- สีรองพื้นกันสนิมอัลคิดเรซิน เป็นสีที่สามารถกันสนิมได้ดีแต่น้อยกว่าสีรองพื้นกันสนิมอีพ็อกซี่และสีรองพื้นกันสนิมเรดเลด แต่ถึงอย่างนี้สีรองพื้นชนิดนี้ยังเป็นสีรองพื้นที่มีประสิทธิภาพมากสามารถทนทานการขูดและการเสียดทานได้ดีและสีชนิดนี้สามารถใช้ในงานทั่วไปได้เลยจึงทำให้เป็นสีรองพื้นกันสนิมที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายอีกทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่าสีรองพื้นประเภทอื่นอีกด้วย
ความแตกต่างในการเลือกใช้งานของเหล็ก I-Beam และ เหล็ก H-Beam
หลายท่านคงมีความสงสัยว่าเหล็ก 2 ตัวนี้ แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งเหล็กทั้ง 2 หน้าตัดนี้ มีข้อแตกต่างกันอยู่ 2 ด้าน คือ
1.ด้านการนำไปใช้งาน
เหล็กเอชบีม H-Beamจะนำมาใช้งานได้ในการก่อสร้างประเภทอาคาร เป็นชิ้นส่วนของ เสา คาน โครงสร้างหลังคา และอื่น ๆ อีกมากมาย H-Beam มีขนาดหน้าตัดให้เลือกที่หลากหลาย ตั้งแต่ HB 100×50 mm. จนถึงขนาดใหญ่สูงสุดที่ HB 900×300 mm. ทำให้ H-Beam นั้นได้ถูกเลือกใช้ในงานที่หลากหลาย ทั้งโครงสร้างอาคาร โครงหลังคา โครงสร้างโรงงาน หรือแม้แต่งานโครงการขนาดใหญ่เป็นต้น ได้แก่ โรงจอดเครื่องบิน เหล็กไอบีม IB จะนิยมนำมาใช้ทำรางเครน Crane Girder ที่ไว้ใช้ยกของที่มีน้ำหนักมาก และเหล็กไอบีมนี้ ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ได้แก่ รางเลื่อนของเครนในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะความหนาของ Flange ปีกที่ยื่นออกมา ที่มาก และยังมีลักษณะเป็น Taper เรียวที่ปลาย ไม่เหมือนกับ HB ที่มีความหนาของ Flange เท่ากันตลอด ส่งผลให้โดยทั่วไป IB จะมีความสามารถในการรองรับแรงกระแทกได้ดีแต่ก็จะมีน้ำหนักที่มากกว่า HB ในขณะที่หน้าตัดมีความเท่ากัน ได้แก่
– HB 300x150x6.5×9 mm. น้ำหนักจะที่อยู่ที่ 7 กก./ม.
– IB 300x150x8x13 mm. น้ำหนักจะอยู่ที่ 3 กก./ม. ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า IB มีน้ำหนักมากกว่าถึง 32%
2.ด้านของลักษณะรูปร่าง
มีความแตกต่างของเหล็กทั้ง 2 หน้าตัด ก็คือ ปีก Flange ทั้งบน และ ล่างของเหล็ก HB จะเป็นแผ่นเรียบหน่าเท่ากันตลอด ส่วนของเหล็กไอบีม IB ทั้งปีกบน และ ล่างจะเป็นแผ่นเอียง หรือ Taper Flange ซึ่งจะมีขนาดหน้าตัดเหล็กที่เท่ากัน IB จะมีน้ำหนักต่อเมตรสูงกว่า HB เนื่องจากเหล็ก IB จะมีความหนาของเหล็กมากกว่าเพื่อรองรับแรงกระแทก และ การเคลื่อนที่จากรางเครน
เลือกดู เหล็กบีมทุกประเภท คลิ๊ก
สอบถามวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
การนำวัสดุก่อสร้างไปใช้งาน คลิกที่นี่
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่