การเทคอนกรีต
การเตรียมเทคอนกรีต
สิ่งที่ควรเตรียมก่อนการเทคอนกรีต มีดังนี้
1.ตรวจสอบโครงสร้างที่ออกแบบไว้ตรวจปริมาณและตำแหน่งของเหล็กเสริม ตรวจสอบแบบเทคอนกรีตและอุปกรณ์อื่นๆให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
2.ตรวจสอบอุปกรณ์เทคอนกรีต ผนังเครื่องมือลำเลียง และควรดูด้านในของแบบเทคอนกรีต เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกที่จะเข้าไปผสมกับคอนกรีตที่จะเท เช่นเศษไม้หรือเศษดินโคลน เป็นต้น ด้านในของผนังเครื่องมือหรือแบบเทคอนกรีตดังกล่าว ควรทำให้ชื้นก่อนเพื่อป่องกันการดูดซับของน้ำจากคอนกรีตที่ท่อลำเลียงหรือเท
3.ในการที่จะเทบ่อหรือหลุม ควรจะเอาน้ำที่หลงเหลืออยู่ในบ่อออกก่อนแล้วจึงเทคอนกรีต และห้ามน้ำไหลลงไปในบ่อในตอนที่เทคอนกรีตหรือในขณะที่เทเพิ่งจะเสร็จใหม่ๆ
ข้อแนะนำ
การเสริมเหล็กโดยการผูกและการวางตำแหน่วของเหล็กต้องทำให้มั่นใจว่ามีความแข็งแรงพอที่จะทำให้เหล็กไม่เลื่อนไปไหนใรขณะที่ทำการเมคอนกรีต ไม้แบบก็ต้องมีความแข็งแรงพอเช่นกัน เศษไม้ หรือ เศษดิน โคลน ที่จะสามารถตกค้างอยู่ข้างในตามผนังของเครื่องมือลำเลียงหรือในตัวแบบ ถ้ามีวัสดุเหล่านี้ปะปนเข้าไป ก็จะเกิดผลเสียต่อกำลังของคอนกรีตเช่นกัน การดูดซับน้ำจากคอนกรีตที่ผนังเครื่องมือแบบเทคอนกรีตหรือผนังเครื่องมือลำเลียง ในขณะที่มีการเทคอนกรีต เมื่อแกะแบบแล้วจะทำให้ผิวคอนกรีตไม่เรียบ จึงควรทำให้ผนังเหล่านั้นมีความชื้นก่อนการที่จะเทคอนกรีต แต่ไม่ควรทำให้เปียกจนเกินไปจนมีน้ำขังอยู่ในแบบ
การที่ลำเลียงคอนกรีจผ่านท่อคอนกรีตไปในระยะทางไกลๆ ควรที่จะมีการส่งมอร์ต้าร์นำไปก่อน มอร์ต้าที่ใช้ส่งนำไปควรเป็นมอร์ต้าที่มีส่วนผสมเหมือนๆกับมอร์ต้าร์ที่จะใช้เทในคอนกรีตทั้งนี้เพื่อนที่จะป้องกันการสูญเสียของมอร์ต้าร์ที่จะไปเคลือบในผนังด้านในของท่อลำเลียงคอนกรีตในช่วงต้นๆ
คอนกรีตที่มีการแข็งตัวแล้วการเคอนกรีตลงบนพื้นคอนกรีตเดิม ควรเทมอร์ต้าร์ที่มี่ส่วนผสมเหมือนกับมอร์ต้าร์ในการเทคอนกรีตลงไปก่อน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเดิมกันคอนกรีตที่เทใหม่ ส่วนผสมของคอนกรีตจะเปลี่ยนไปเพราะน้ำที่หลงเหลืออยู่ในบ่อที่จะเทคอนกรีต ซึ่งจะส่งผลให้กำลังของคอนกรีตและความทนทานของคอนกรีตลดลง ดังนั้นจึงควรไล่น้ำออกไปก่อนที่จะทำการเทคอนกรีตครั้งใหม่ ในช่วงที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัวหรือในช่วงที่เทคอนกรีต ควรระวังอย่างให้น้ำที่ไหลผ่านคอนกรีตน้ำจะกัดเซาะมอร์ต้าร์ออกจากผิวหน้าคอนกรีตได้ ซึ่งจะทำให้ความทนทานในบริเวณที่มีน้ำลดลงและทำให้คอนกรีตไม่สวยอีกด้วย
การเทคอนกรีต
การเทคอนกรีตควรมีการวางแผนการเทเพื่อให้เทได้อย่างต่อเนื่อง และได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่ทำให้งานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมีปัญหาตามมาด้วย การเทคอนกรีตที่มีส่วนผสมของคอนกรีตสม่ำเสมอคือการเทคอนกรีตที่ดี ทำให้ไม่เกิดรูพรุนและไม่เกิดการแยกตัวของคอนกรีต
ข้อควรระวังไม่ควรเทคอนกรีตให้โดนโดยตรงกับเหล็กเสริมหรือข้างแบบกั้นคอนกรีต ควรเทน้ำคอนกรีตลงมาตรงๆ และห้ามให้คอนกรีจไหลไปในระยะทางไกลในแนวราบ ยกเว้นในกรณีที่มีการไหลของคอนกรีต ซึ่งจะถูกออกแบบโดยให้มีการควบคุมการแยกตัวของคอนกรีต จะต้องมีการแก้ไขทันที ถ้าหากพบว่ามีการแยกตัวของคอนกรีตหลังจากการเท คอนกรีตผสมเสร็จ ราคา
การแบ่งคอนกรีตออกเป็นชั้นๆต่อเนื่องกัน ควรเทคอนกรีตในชั้นบนก่อนที่คอนกรีตชั้นข้างล่างจะเริ่มก่อตัวขึ่นมา การเทคอนกรีตในกรณีที่ความสูงไม่มากควรจะเทคอนกรีตโดยปล่อยให้ตัวคอนกรีตตกอิสระจากที่สูงสุดของแบบที่ว่างเอาไว้ แค่ควรใช้วิธีการดังนี้ เช่น ใช้สายพาน รางเท ท่อต่อ หรือถัง ระยะการตกจากที่สูงของคอนกรีตที่ดีควรไม่เกิร 1.5 เมตร หากพบเจอการเยิ้มของคอนกรีตระหว่างการเท ควรจะหยุดการเทคอนกรีตจนกว่าจะเอาน้ำที่เยิ้มออกมาบนผิวคอนกรีตให้ออกหมดก่อนจึงจะเทคอนกรีตทับในชั้นต่อไป คอนกรีตผสมเสร็จ ราคา
คอนกรีตผสมเสร็จ
คอนกรีตที่คนนิยมใช้ทั่วไป กำลังอัดคอนกรีต พัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ ใช้ระยะเวลา 28 วัน นับตั้งแต่เริ่มการผลิต ถูกออกแบบให้มีกำลังอัด (KSC) 180-400 กก./ตร.ซม.
(ดูการบ่มคอนกรีต ที่นี่) เหมาะสำหรับการนำคอนกรีตไปใช้ในงานโครงสร้างทั่วๆไป ได้แก่ คาน ฐาน เสา พื้น ราก และควรเลือกกำลังอัดของคอนกรีตให้เหมาะกับการใช้งาน ควรมีขั้นตอนการเตรียมการและการทำงานในพื้นที่ตามมาตราฐาน จะทำให้งานพื้น ใช้งานได้นานขึ้นและมีคุณภาพ
กำลังอัด หรือ KSC ทุกคนคงไม่ทราบว่าคืออะไร หมายถึง หมายถึง Kilogram per Square Centimeter หรือ กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร มีสองรูปแบบคือ cube หรือ Cylinder 2หน่วยนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้หน้างาน ว่าจะมีการเก็บปูนแบบไหน เช่น คอนกรีต ZBDM24A000 หมายถึง คอนกรีตที่มีกำลังอัด 240ksc (Cube) หรือ 210 ksc (Cylinder นั่นเอง)
คุณสมบัติ
- กำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ 180-400 กก./ตร.ซม. ทรงลูกบาศก์
- ลดปัญหาการผสมด้วนตัวเองหรือผสมมือทำให้ส่วนผสมของคอนกรีตไม่แน่นอน และ ทำให้คอนกรีตไม่ได้มาตรฐาน กำลังอัด ไม่เป็นตามที่ออกแบบไว้
- ค่ายุบตัวของคอนกรีตผสมเสร็จมี 3 ระดับ สามารถเลือกใช้งานตามลักษณะของโครงสร้าง และ วิธีการเท
1) 7.5 +/- 2.5ซม. 2) 10.0 +/- 2.5ซม. 3) 12.5 +/- 2.5ซม.
ตารางค่าการยุบตัวของคอนกรีต สำหรับโครงสร้างต่างๆ
ประเภทของโครงสร้าง |
ค่าการยุบตัว ( ซม.) |
ค่าสูงสุด |
ค่าต่ำสุด |
งานฐานราก กำแพง คอนกรีตเสริมเหล็ก
งานฐานรากคอนกรีตไม่เสริมเหล็ก งานก่อสร้างใต้น้ำ
งานพื้น คาน และผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก
งานเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
งานพื้นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก
งานคอนกรีตขนาดใหญ่ |
8.0
8.0
10.0
10.0
8.0
5.0 |
2.0
2.0
2.0
2.0
2.0
2.0 |
คำแนะนำในและข้อควรระวัง
- การเลือกคอนกรีตสำหรับการใช้งานโครงสร้างพื้น ต้องมีกำลังอัด ที่เหมาะกับการใช้งานและขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการเทและต้องทำงานเทพื้นที่ถูกต้องตามมาตราฐาน เพื่อให้งานได้คุณภาพและใช้งานได้นานมากยิ่งขึ้น
ขนาดของรถคอนกรีตผสมเสร็จ
- รถคอนกรีตผสมเสร็จโม่เล็ก กว้าง 2.5ม. สูง 2.8ม. ยาว 5.5ม. บรรจุคอนกรีตได้มากสุด 2 คิว/เที่ยว ทางเข้า ต้องกว้างอย่างน้อย 3 ม. ระวังสายไฟและสายโทรศัพท์ ควรมีความสูงเกิน 3ม. ถนนควรเป็นดินที่อัดแน่น หรือ คอนกรีต
- รถคอนกรีตผสมเสร็จโม่ใหญ่ กว้าง 3ม. สูง 4ม. ยาว 8ม. บรรจุคอนกรีตได้มากสุด 5 คิว/เที่ยว ทางเข้า ต้องกว้างอย่างน้อย 4 ม. ถ้าเป็นโค้งหักศอกต้องกว้างอย่างน้อย 6ม. ระวังสายไฟและสายโทรศัพท์ ควรมีความสูงเกิน 4ม. ถนนควรเป็นดินที่อัดแน่น หรือ ถนนคอนกรีต
คอนกรีตผสมเสร็จ KSC คืออะไร ?
กำลังอัดของคอนกรีตหรือ KSC ย่อมาจาก Kilogram per Square Centimeter หรือ กิโลกรัม ต่อตารางเซนติเมตร หรือ กก./ตร.ซม.
กำลังอัดของคอนกรีตคือความแข็งแรงของพื้นผิวเป็นเรื่องที่สำคัญมากหากนำมาใช้กำลังอัดที่ไม่ถูกต้องก็จะเกิดปัญหาตามมาจึงต้องควบคุมคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จ ที่นำมาใช้งานให้เหมาะสมกับโครงสร้างงานในแต่ละประเภท การอ้างอิงจากค่ากำลังอัดมาขากรูปทรงของคอนกรีต ที่ใช้ในการทดสอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบอเมริกาที่เป็นทรงลูกบาศก์ (Cube) และ แบบอังกฤษที่เป็นทรงกระบอก (Cylinder)
ในประเทศไทยคอนกรีตผสมเสร็จที่นิยมใช้กันทั่วไปจะใช้มาตรฐานแบบอเมริกา หรือแบบทรงลูกบาศก์ (Cube) อ้างอิงจากกำลังรับแรงอัด ยกตัวอย่าง คอนกรีต ZBDM24A000 หมายถึง คอนกรีตที่มีกำลังอัด 240 KSC (Cube) หรือ 210 KSC (Cylinder)
การเท คอนกรีต สำหรับอากาศร้อน (อุณหภูมิสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส)
โดยทั่วไปการเทคอนกรีต อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์ อยู่ระหว่าง 16-32 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่านี้แล้ว ถือว่าเป็นอากาศร้อนสำหรับการปฏิบัติงานคอนกรีต การเทคอนกรีตในขณะที่อากาศร้อน เป็นปัญหาสำหรับประเทศในภูมิศาสตร์เขตร้อนอย่างประเทศไทย การที่อุณหภูมิสูง จะทำให้น้ำภายในคอนกรีตระเหยเร็วมาก ปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการแข็งตัวของคอนกรีตจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวที่ผิว Plastic Shrinkage Crack การแต่งผิวหน้ายากขึ้น รวมถึงทำให้เกิดรอยต่อขณะเทคอนกรีต Cold Joint ได้ง่าย การเพิ่มปริมาณน้ำในส่วนผสมไม่ใช่วิธีที่ดี เพราะทำให้กำลังของคอนกรีตลดลง
ข้อแนะนำในการผสม คอนกรีต ให้มีคุณภาพดีในขณะอากาศร้อน คือ
- ควรป้องกันวัสดุผสมมิให้กระทบกับแสงแดดโดยตรง หรือฉีดพ่นน้ำเพื่อลดความร้อน ในขณะลำเลียงวัสดุเข้าสู่เครื่องผสม
- น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตผสมเสร็จ ควรทำให้เย็น โดยการผสมน้ำแข็งลงไป ช่วยลดอุณหภูมิได้เป็นอย่างมาก
- พ่นน้ำบนแบบหล่อ เหล็กเสริม และผิวพื้นดิน ก่อนการเทคอนกรีต เพื่อลดความร้อนให้ระเหยออกไปก่อน และช่วยป้องกันการดูดซับน้ำจากคอนกรีต
- ควรเทคอนกรีตผสมเสร็จต่อเนื่องตลอดทั้งพื้นที่ และเทคอนกรีตต่อกับคอนกรีตที่ยังคงสภาพเหลว ห้ามเทคอนกรีตต่อกับคอนกรีตซึ่งเททิ้งไว้นานเกิน 30 นาที เพราะจะเกิดรอยต่ออันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ขณะเทคอนกรีต Cold Joint
- ตบแต่งผิวหน้าคอนกรีตผสมเสร็จที่เทแล้วทันทีที่เทเสร็จ และป้องกันแสงแดดในขณะแต่งผิว
- ทำการบ่มคอนกรีตโดยพ่นน้ำบนผิวคอนกรีต หลังจากคอนกรีตได้อายุ 24 ชั่วโมง อุณหภูมิของน้ำที่นำมาใช้บ่ม ไม่ควรต่างจากอุณหภูมิของคอนกรีตมากนัก เพราะอาจจะทำให้เกิดการแตกร้าวได้ จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
- ใช้สารเคมีผสมเพิ่มในคอนกรีต ประเภทสารหน่วงการแข็งตัว Retarders เพื่อยืดระยะเวลาการแข็งตัวของคอนกรีตให้นานขึ้น ซึ่งสามารถยืดระยะเวลาการทำงานจาก 45 นาที เป็น 1 1/2 ชั่วโมง หรือ 2 เท่าของคอนกรีตที่ไม่ผสมน้ำยาหน่วงการแข็งตัว