ราคาเหล็กกล่อง GI
เหล็กกล่องเหลี่ยม GI หรือ เหล็กกล่องเหลี่ยมแบบกัลวาไนซ์ คือการบวนการที่นำเหล็กมาผสมกับสังกะสี หรือซิงค์ (Zinc: Zn) โดยที่มีความบาง ไม่เกิน 15 ไมครอน ซึ่งบางมาก มีน้ำหนักเบา ป้องกันสนิมได้ดี ขึ้นรูปทรงต่าง ๆ ได้ตามต้องการ เหล็กกล่องแบบ GI นิยมใช้ในงานก่อสร้างภายในอาคาร หรืองานโครงสร้างที่รับน้ำหนักไม่เยอะ อาจจะทำเป็นคาน แปหลังคา บางทีก็เป็นที่นิยมนำมาเป็นเฟอร์นิเจอร์อีกด้วย การขึ้นรูปของเหล็กกล่อง GI นั้นเหมือนกับเหล็กรูปพรรณ ที่มีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี้ยมจัตุรัส นอกจากนี้ ราคาเหล็กกล่อง ยังไม่แพงอีกด้วย
เหล็ก GI CA และ GA ราคาเหล็กกล่อง ที่ไม่เท่ากัน
เหล็ก GI คือเหล็กที่ผ่านการชุบสังกะสี โดยโรงงานผลิตจะเรียกกันว่า “เหล็กGI” จากนั้นจึงนำมาขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ ทั้งแป๊บเหลี่ยม แป๊บแบน ท่อกลม เหล็กซี เป็นต้น
เหล็ก CA คือเหล็กธรรมดาทั่วไป มีสีดำ โดยโรงงานที่ผลิตจะเรียกกันว่า “เหล็กCA” จากนั้นจึงนำมาขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ เหมือนกับเหล็กGI ทุกประการ
ความแตกต่างคือ เหล็ก GI จะเบากว่า และทนสนิมได้มากกว่า ทำให้ ราคาเหล็กกล่อง แบบกัลวาไนซ์ มีราคาที่สูงกว่า
เหล็ก GA เหมือนกับเหล็ก GI ทุกประการ แต่จะต่างกันตรงที่ เหล็ก GA ไม่ได้ผลิตภายใต้มาตรฐานอุตสาหกรรม (เหล็ก GI ได้รับ มอก. 50-2561) โดยที่เหล็ก GA ชุบสังกะสีตามรูปแบบงานที่จะนำไปใช้ สีไม่เงา ซึ่งทำให้ทาสีติดง่าย
หาดูเหล็กรูปพรรณ คลิกที่นี่
ติดต่อซื้อวัสดุก่อสร้าง ง่าย ๆ แอด LINE มาสิ @273oyqga
คุณสมบัติ ข้อดี และข้อเสียของเหล็กกล่องแบบกัลวาไนซ์ (GI)
คุณสมบัติ
– ใช้งานง่าย ลดขั้นตอน และประหยัดเวลา กว่า เหล็กดำธรรมดา เพราะ เหล็กกล่องเหลี่ยมGI ไม่ต้องทาสี
– ความแข็งแรงของ เหล็กกล่องเหลี่ยมGI ทนต่อการกัดกร่อนของสนิม กว่า เหล็กดำธรรมดา เพราะ วัตถุดิบมีการชุบสังกะสี
– น้ำหนักเบา กว่า เหล็กดำธรรมดา
ข้อดีของเหล็กกล่องเหลี่ยมGI
– ช่วยประหยัดค่าสีกันสนิม เพราะเหล็กกล่องเหลี่ยมGI มีส่วนผสมของสังกะสีป้องกันสนิมเรียบร้อยแล้วจากโรงงานผลิต
– ช่วยประหยัดเวลาและค่าแรงคนงานในการทาสีกันสนิมทำให้ลดระยะเวลาในการก่อสร้างและติตตั้ง
– ช่วยประหยัดในระยะยาว เนื่องจากอายุการใช้งานยาวนานกว่า 20 ปี และไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามาก
– สะดวกในการกองเก็บวัสดุ ไม่ต้องกลัวสนิม
– ราคาประหยัดกว่า HOT DIP GALVANIZED
ข้อเสียของเหล็กกล่องเหลี่ยมGI
– บางตัวไม่สามารถเข้าร่วมงานประมูลราชการได้ เนื่องจากเป็นเหล็กที่ไม่มี มาตรฐาน มอก . รับรอง
– ไม่เหมาะกับโครงสร้างหนักและมีความดันมาก
การนำเหล็กกล่องเหลี่ยมGI ไปใช้งาน
เหล็กกล่อง GI จะมีส่วนประกอบหลักเป็นสังกะสี โดยส่วนใหญ่หลัก ๆ มักจะนำเหล็กชนิดนี้ไปใช้ในการทำโครงสร้างแนวสูงเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น เสารับน้ำหนักโครงสร้างเพื่อทดแทนหรือลดการใช้ไม้ กับคอนกรีต การนำมาใช้กับส่วนโครงหลังคาแทนการใช้เหล็กตัวซี หรือการใช้ในงานรับน้ำหนักโครงสร้าง เช่น แปหลังคา สะพาน เสา นั่งร้าน
เหล็กกล่องสังกะสีมีความโปร่ง จึงอาจจะรับน้ำหนักได้ไม่มาก การใช้เหล็กท่อสี่เหลี่ยมสังกะสีในโครงสร้างการต่อเติม โดยการนำเหล็กท่อสี่เหลี่ยมสังกะสีมาใช้แทนงานไม้ ซึ่งสามารถทำได้ ซึ่งมีข้อได้เปรียบงาน คือ ดูแลง่ายกว่า ตัวอย่างโครงสร้างการต่อเติมที่นำเหล็กท่อสี่เหลี่ยมสังกะสีมาใช้ เช่น การต่อเติมเสา ต่อเติมระแนง ต่อเติมระเบียงบ้าน ต่อเติมรั่วประตู หรือใช้งานแทนเหล็กโครงสร้างต่อเติมอื่นๆ ตามความเหมาะสม
เหล็ก GI ที่นิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย คือ
- การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (hot dip galvanizing) หรือ HDG
- การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (electro galvanizing)
- การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (continuous hot-dip galvanizing)
เนื่องจากกระบวนการผลิตเหล็ก GI 3 ประเภทนี้ สามารถนำมาใช้งานได้เลย สะดวกต่อการใช้งาน และมีสินค้าสำเร็จรูปวางจำหน่าย ดังนั้นบทความนี้จะให้สาระความรู้ไปที่กระบวนการผลิตเหล็กGI 3 ประเภทแรก
-
การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน
การนำชิ้นงานที่ผ่านการทำความสะอาดผิวหน้ามาดีแล้ว และต้องการชุบผิวด้วยสังกะสีไปจุ่มลงในอ่างชุบ (molten zinc bath) ซึ่งบรรจุน้ำสังกะสีอยู่ ในสภาพของเหลวร้อนจัดมีอุณหภูมิขณะใช้งานอยู่ในช่วง 445 ถึง 465 องศาเซลเซียส (830 ถึง 870 องศาฟาเรนไฮต์) สังกะสีจะทำปฎิกริยากับเหล็ก เกิดเป็นชั้นของโลหะผสมเคลือบผิวชิ้นงาน (zinc – iron alloy layers) และเมื่อนำ ชิ้นงานขึ้นจากอ่างชุบสังกะสี และทำให้เย็นตัวลง น้ำสังกะสีก็จะแห้งกลายเป็นผิวเคลือบหุ้มชิ้นงานเอาไว้ และด้วยการค้นคว้าวิจัยในหลายๆ แง่มุม ของกระบวนการผลิตที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ผสานเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การชุบสังกะสีเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถพัฒนาและควบคุมได้ในทางเทคนิค
-
การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า
กระบวนการเคลือบชั้นสังกะสีโดยในกระแสไฟฟ้าเคลือบลงบนแผ่นเหล็กที่เรียบ เมื่อเทียบกับแบบ Hot Dip Galvanized การเคลือบชั้นสังกะสีแบบไฟฟ้าจะมีชั้นเคลือบที่บางกว่า แต่ผิวเหล็กจะสวยและเงางามกว่า ดังนั้น วิธีการเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า หรือ Electrogalvanizing จึงนิยมทำกับแผ่นเหล็กขนาดต่างๆ เช่น แผ่นเหล็กกัลวาไนซ์ขนาด 4×8 ฟุต หรือ 5×8 ฟุต และ ลวดชุบกัลวาไนซ์ขนาดต่างๆ ก็ผลิตจากกระบวนการ Electro Galvanizing
-
การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง
กระบวนเคลือบสังกะสีโดยการนำคอยส์เหล็กม้วนใหญ่จุ่มลงในบ่อชุบสังกะสี หรือ ซิงค์หลอมเหลวด้วยความร้อน 450 องศาเซลเซียส ซึ่งคล้ายกับการจุ่มร้อนที่กล่าวมา แต่เคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง หรือ continuous hot dip galvanizing คือ การนำม้วนคอยส์เหล็กมาจุ่มลงในบ่อชุบสังกะสีโดยผ่านลูกหมุนคลายม้วนด้วยความเร็วสูงเพื่อให้ผิวเหล็กจุ่มลงในบ่อชุบสังกะสี โดยชั้นเหล็กจะถูกผ่านกระบวนการชุบด้วยความเร็วและในบ่อสังกะสีประมาณ 2 ถึง 4 วินาที ซึ่งกระบวนการผลิตนี้เกิดขึ้นสำเร็จรูปในโรงงานผลิตเหล็กเท่านั้น เมื่อผ่านการผลิตแล้วเหล็กกัลวาไนซ์ชนิดนี้มันจะเรียกกันว่า Pre Galvanizing Steel หรือ (GI) Galvanized