เหล็กท่อกลม

               เหล็กท่อกลม เป็นเหล็กรูปพรรณที่ขึ้นรูปด้วยความร้อน มักจะถูกใช้ในงานก่อสร้างที่สามารถรองรับน้ำหนักไม่มากนัก เช่น งานแป หรือ งานประกอบทั่วไป ใช้สำหรับทำท่อลม ท่อน้ำมัน ได้อีกด้วย โดยเหล็กมีขนาดเริ่มต้นที่ ½*1.2 มิลลิเมตร บางคนอาจจะเรียกเหล็กชนิดนี้ว่า ท่อแป๊บดำ แป๊บดำ หรือท่อดำ  โดยจะมีความยาวอยู่ที่ 6 เมตรด้วยกันค่ะ

โดยท่อจะมีลักษณะเป็นทรงกลมแบบกลวง มีน้ำหนักที่เบา แต่มีความแข็งแรง ทนทาน ตะเข็บเรียบ รองรับแรงดันได้ดีทั้งแรงลม และแรงเสียดทาน สะดวกต่อการเชื่อมต่ออีกด้วย

การผลิตเหล็กท่อกลม

เหล็กท่อกลม เกิดจากการนำคอยล์เหล็ก ผ่านเข้าสู่กระบวนการผ่านความร้อน แล้วจึงนำเหล็กมาขึ้นรูป ให้เหล็กมีลักษณะเป็น ท่อกลม และกลวง ตะเข็บเรียบ มีน้ำหนักที่เบา และเหล็กสามารถนำไปชุบสังกะสี เพื่อป้องกันการขึ้นสนิมได้อีกด้วย

ขั้นตอนในการผลิตเหล็กท่อกลม เริ่มจากการนำแผ่นเหล็กม้วนมาคลี่ออก (Uncoiling) แล้วทำการตัดแบ่ง (Slitting) ให้ได้ขนาดความกว้างของแผ่นเหล็กใกล้เคียงกับความยาวของเส้นรอบวงที่ต้องการหลังจากม้วนออกมาเป็นท่อเหล็กมากที่สุด จากนั้นจึงม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นทรงกระบอก ด้วยลูกรีดหลายแท่นที่อุณหภูมิห้อง ต่อด้วยการเชื่อมขอบเหล็กโดยใช้การเชื่อมแบบความถี่สูงเพื่อให้เกิดความร้อนแล้วจึงอัดติดกัน โดยจะมีเนื้อโลหะส่วนหนึ่งนูนออกมา (Flash) ซึ่งจะถูกทำการปาด (Bead Trimming) ออกจากผิว แล้วรีดที่ Sizing mill เพื่อปรับขนาดอีกเล็กน้อยและทำให้ท่อตรงขึ้น จากนั้นจึงตัดตามความยาวที่ต้องการ

การนำเหล็กไปใช้งาน

  • เหล็กท่อกลมดำ เหมาะสำหรับนำไปใช้ในงานโครงสร้าง ที่รองรับน้ำหนักน้อย เช่น ใช้เป็นท่อลำเลียง ท่อประปา ท่อชลประทาน ใช้ในระบบท่อน้ำภายในตัวอาคารได้อีกด้วย แม้กระทั่ง ทำนั่งร้าน โครงถักป้ายจราจร งานตกแต่งทั่ว ๆไป ก็สามารถทำได้
  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานทั่วไปได้ในงานทั่วไป เช่น ร้อยท่อสายไฟ รั้ว ประตู หรืองานตกแต่งทั่วไปได้ทุกขนาดด้วยกันสามารถนำไปชุบสังกะสี เพื่อป้องกันการเกิดสนิมได้ค่ะ
  • เหล็กท่อกลมดำ มีรูปแบบการนำไปใช้งาน 2 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่
    1. งานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอาคาร และงานตกแต่งด้านสถาปัตยกรรม เช่น โครงหลังคา โครงสร้างอาคาร เสาอาคารขนาดเล็ก-กลาง ราวกั้น ราวมือจับขั้นบันได รั้ว เป็นต้น โดยมีมาตรฐานรองรับดังนี้

    ม.อ.ก.107

    ม.อ.ก. 276

    BS 1387

    JIS G3444

    JIS G3452(SGP)

    ASTM A500

    AS 1163

    EN 10219

    1. งานระบบภายในอาคารหรือที่พักอาศัย เช่น งานระบบท่อน้ำ ท่องานระบบดับเพลิง ท่อระบบน้ำหล่อเย็น และท่อสำหรับระบบท่อหล่อเลี้ยง เป็นต้น โดยมีมาตรฐานรองรับดังนี้

    ม.อ.ก.277

    ม.อ.ก.427

    BS 1387

    JIS G3452

    ASTM A53

    EN 10255

    DIN 2440

    MWA & PWA

    การบำรุงรักษา

    ควรหมั่นตรวจสอบอยู่ประจำหากพบว่าเหล็กมีการชำรุด เสียหาย ก็ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนออกทันที

    ต้องเก็บให้พ้นมือเด็ก ควรจัดเก็บให้เรียบร้อย

    ควรเลือกใช้ให้ถูกขนาด ตามความเหมาะสมในการใช้งานอีกด้วย

    ข้อดี

    1.นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยมีราคาที่ถูกและยังให้ความแข็งแรงอีกด้วย

    2.ระยะเวลาก่อสร้างบ้าน สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานคนได้อีกด้วย

    3.เหล็กมีน้ำหนัก ที่เบากว่างานโครงสร้างคอนกรีต ทำให้ช่วยลดจำนวนเสาเข็ม

    4.สามารถครีเอทโครงสร้างได้มากยิ่งขึ้น หลากหลายไอเดียสร้างบ้าน

    5.สามารถช่วยลดขั้นตอนการทำงานได้อีกด้วย

    ข้อเสีย

    1.สามารถเกิดสนิมที่เหล็กได้ หากใช้ไปนาน ๆอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

    2.หากไม่ใช้ช่างที่มีฝีมือและมีคุณภาพ งานเชื่อมเหล็กอาจจะออกมาไม่ดีเท่าที่ควร

    3.เหล็กจะมีราคาที่สูง ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบในการสร้างบ้านสูงกว่าแบบทั่วไป

    4.ต้องมีวิศวกรผู้ชำนาญ เป็นผู้คำนวณและควบคุมงานก่อสร้าง

    5.มีค่าบำรุงรักษา มีค่าป้องกันสนิม แต่หากใช้เป็นเหล็กกัลวาไนซ์จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านนี้ได้

    ข้อแนะนำ

    1.ผู้ใช้งานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสมอ เช่น หมวกนิรภัย รองเท้าหัวเหล็ก และถุงมือ ในขณะที่ปฏิบัติงานเสมอ

    2.ควรเก็บเหล็กไว้ในชั้นวางของที่เสาเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เหล็กไหลหรือกลิ้งลงมา

    3.อุปกรณ์ทุกชนิดต้องได้มาตรฐานหรือตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปั้นจั่น โฟล์คลิฟท์(สำหรับยกเหล็ก) ควรใช้งานภายใต้พิกัดน้ำหนักที่เครื่องจักรรองรับ

    4.รถที่ใช้ในการขนส่งนั้น ควรมีเสากั้นข้าง และในขณะขนส่งจะต้องใช้สายรัดเหล็กให้แน่น และใช้ผ้าใบคลุมเหล็กอีกที เพื่อป้องกันเหล็กร่วงขณะขนส่งอีกด้วย

    ทั้งหมดนี้เป็นการแนะนำง่ายๆ  สำหรับผู้ที่ต้องใช้งานต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอันสูงสุดของผู้ที่ใช้งาน และยังช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้นอีกด้วยหาก

ไม่พบสินค้าตรงกับที่คุณเลือก