ประวัติของการออกแบบฝ้าเพดาน

การอออกแบบฝ้าเพดาน เป็นส่วนหนึ่งที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ ในสถาปัตยกรรมมาเกือบ1000ปี การออกแบบฝ้าเพดานมีมาตั้งแต่ยุคแรกๆต้องย้อนเวลาไปถึง 1300 เลยทีเดียว

จริงๆแล้วจุดเริ่มต้นการทำฝ้าเพดานในอดีตไม่สามารถเรียกว่าฝ้าเพดานได้เต็มปากนัก เพราะมันคือการตกแต่งเพดานให้มีความสวยงาตามความเชื่อของในที่ต่างๆ และการใช้งานในอดีตของคนเท่านั้น การทำฝ้าเพดานได้มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ โดยเดินทางผ่านประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆมาอย่างยาวนานในเวลาหลายร้อยปี การจุดเริ่มต้นในการตกแต่งเพดานธรรมดาได้ถูกพัฒนาให้กลายมาเป็นระบบฝ้าเพดานในปัจจุบัน

มนุษย์รู้จักการออกแบบเพดานตกแต่งตั้งแต่ในยุคกรีกโบราณ แต่เพดานในยุคแรกๆนั้นเต็มไปด้วยการแกะสลัก และ มีการตกแต่งภาพวาดปนเพดานตกแต่งเป็นหลัก และในช่วยยุคกอธิคแนวโน้มการตกแต่งฝ้าเพดานได้หันมาใช้องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับโครงสร้างที่จะเพิ่มขึ้น ฝ้าเพดานในยุคนี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากเพื่อรองรับการตกแต่งที่งดงามจากงานปั้น และ มีการลงสีสันให้สดใสโดยจิตรกรรม

การทำฝ้าเพดานในยุคของเรเนซองส์ ซึ่งยุคนี้เป็นช่วงที่กำลังฟื้นฟูศิลปะทางวิทยาการ งานฝ้าเพดานออกแบบได้มีการพัฒนา ให้มีระดับความระเอียดหลากหลายมากขึ้น โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

ประเภทที่ 1

งานฝ้าเพดานรูปทรงเรขาคณิต มีทั้งรูปแปดเหลี่ยม รูปทรงกลม สีเหลี่ยม และฝ้าเพดานในลักษณะตัวแอล โดยรอยๆของชายฝ้าจะเต็มไปด้วยงานฝีมือเกะสลักที่สวยงาม

ประเภทที่ 2

งานฝ้าเพดานโค้ง และ งานฝ้าเพดานกึ่งโค้ง โดยจะมีการทาสตกแต่งส่วนที่โค้งของเพดาน เพื่อแน่นให้ส่วนโค้งมีความโดดเด่น และมาถึงยุคบาโรกก็มีการใช้วัสดุอื่นๆใหม่ๆเข้ามาตกแต่งเพิ่มเติมในส่วนของเพดานโค้งได้อย่างแปลกใหม่และสวยงาม อย่างเช่น ใช้ม้วนกระดาษพิมพ์ลาย เป็นต้นกำเนิดของวอลเปเปอร์ในอดีตอีกด้วย

ประเภทที่ 3

งานฝ้าเพดานที่รับน้ำหนักมากถูกพัตณาโครงสร้าง ทำให้พื้นที่ของฝ้าเพดานมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งจะทำให้พื้นที่นี้มีการตกแต่งทั้งงานปั้นและงานศิลป์ งานเกาะสลัก รวถึงงานด้านจิตรกรรมสามารถทำได้อย่างถึงขีดสุด อีกทั้งเป็นช่วงที่มีการทดลองวัสดุตกแต่งใหม่ๆเพิ่มเข้ามาอีกด้วย ทำให้งานตกแต่งฝ้าเพดานยุคนี้มีความอลังการสวยงามวิจิตรตระการตา ดังเช่น เพดานที่ติดตั้งในพระราชวัง Dogesในเมืองเวนิช ของอิตตาลี่ เป็นต้น

วิวัฒนาการของฝ้าเพดาน

ฝ้าเพดานนิยมใข้มากในยุคโมเดิร์นเป็นช่วงหลังการปฎิวัติอุตสาหกรรม การออกแบบฝ้าเพดานในงานสถาปัตยกรรมได้ลดลงและรายละเอียดต่างๆลดลงค่อนข้าง ประกอบกับมีกหารตัดองค์ประกอบที่ฟุ่มเฟือยออกไป ฝ้าในยุคปัจจุบันมีความเรียบง่ายเห็นได้อย่างชัดเจน

ฝ้าเพดานในยุคโมเดิร์น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

– ฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ดแบบแขวน

– ฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ดแบบเปิด

ฝ้าเพดานยิปซั่ม บอร์ดแบบแขวน เป็นรากฐานสำคัญของฝ้าเพดานที่พัฒนามาใช้ในปัจจุบัน ก็คือ ฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ดที่ระยะอยู่ต่ำกว่าโครงส้รางพื้นชั้นบน  สถาปนิกได้ออกแบบงานเพดานขึ้นมาอีกหนุ่งชั้นเพื่อที่จะปกปิดระบบไฟหรือท่อประปา เพื่อนให้ในห้องมีเสปซความเรียบร้อยและสวยงาม

ฝ้าเพดานยิปซั่ม บอร์ดแบบเปิด ได้รับความนิยมในงานออกแบบเช่นเดียวกัน โดยที่ไม่มีอะไรมาปกปิดท่องานระบบ โดยจะเน้นการโชว์ให้เห็นกลิ่นอายอุตสาหกรรมที่สะท้อนผ่านท่องานระบบต่างๆของอาคาร และความเป็นธรรมชาติของการใช้วัสดุสเปซนั้นๆ

เเผ่นยิปซั่มสำหรับทำฝ้าเพดาน

ชนิดของเเผ่นยิปซั่มสำหรับฝ้าเพดานหากเเยกง่ายๆ ตามการติดตั้ง เเบ่งออกได้เป็นเเบบเรียบ เเละเเบบที่ต้องยึดติดกับโครงเคร่า

1.ฝ้าเเผ่นเรียบ มีข้อดีคือสวย ไร้รอยต่อ ข้อเสีย คือเวลาซ่อมเเซมจะต้องซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่หมดทั้งเเผ่นไม่สามารถซ่อมเฉพาะจุดได้ 

2.ฝ้ายิปซั่มที่ต้องยึดติดกับโครงเคร่า ข้อดีคือ สามารถซ่อมเเซมได้ง่ายเวลาชำรุด สามารถซ่อมเฉพาะจุดได้ ส่วนข้อเสีย คือไม่สวย เท่ากับฝ้าเเผ่นเรียบ 

เเผ่นยิปซั่มสำหรับกั้นห้อง

ปัจจุปันนิยมใช้แผ่นยิปซั่มกั้นห้องเป็นอย่างมาก เพราะ ผนังที่ได้จะเรียบเนียนและสวย โดยความหนาจะอยู่ที่ 12-15 มม. และสามารถดำเนินการติดตั้งใช้เวลาไม่มากรวดเร็ว ข้อเสียก็คือ ทำให้ปลวกขึ้นได้เนื้องจากแผ่นยิปซั่มหุ้มด้วยกระดาษโดยรอบ

ข้อควรระวัง คือ การเจาะผนังยิปซั่มจะใช้แขวนทีวีหรือทำที่วางของควรระวังอย่างมากเพราะผนังยิปซัมไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากๆ

เเผ่นยิปซั่มกันชื้น

มีลักษณะภายนอกเหมือนเเผ่นยิปซั่มปกติ สิ่งที่ทำให้เเผ่นยิปซั่มนี้กันชื้นได้มากกว่าปกติ ด้วยการใส่สารพิเศษลงไปในผงยิปซั่ม เเละเพิ่มความหนาของกระดาษที่หุ้มอยู่ภายนอกทำให้สามารถทนชื้นได้มากขึ้น

ข้อควรระวัง ถึงแม้เป็นแผ่นยิปซั่มกันชื้นไม่ควรแช่น้ำหรือโดนน้ำเต็มๆเพราะมีโอกาสทำให้เเผ่นยิปซั่มผุเเละยุ่ยได้เร็วขึ้น ควรเลือกใช้ในพื้นที่ อย่าง ฝ้าเพดานห้องน้ำ ห้องครัว 

เเผ่นยิปซั่มกันความร้อน

เเผ่นยิปซั่มกันความร้อน ลดการอมความร้อนเหมาะกับการติดตั้งฝ้าเพดานหรือผนังด้านที่จะต้องโดนความร้อนจากเเสงเเดดทั้งวัน จะมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนกลับด้วยการบุเเผ่นอลูมินั่มฟอยด์สะท้อนรังสีความร้อนไว้ด้านใน เมื่อได้รับความร้อนจากเเสงเเดดก็จะเกิดการสะท้อนกลับ ซึ่งถึงเเม้จะมีเเผ่นสะท้อนความร้อน กันความร้อนได้ไม่ 100 เปอร์เซนต์ ขั้นตอนติดตั้งเหมือนกับเเผ่นยิปซั่มทั่วๆ ไป 

ข้อเเนะนำเพิ่มเติม การป้องกันความร้อนได้ดีขึ้น ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนเข้าไปด้วย

7 เคล็ดลับเทคนิคทำฝ้าเรียบและเนียน

บ้านหลายๆหลังมีจุดประสงค์หลักๆในการติดตั้งฝ้าเพดาน คือ ต้องการที่จะปกปิดงานระบบต่างๆ ที่ยุ่งเหยิงอยู่บนหลังฝแพดานหลังคาและใช้เป็นพื้นที่ๆจะติดไฟส่องสว่าง ซึ่งในส่วนของเพดานเองก็ต้องการความสวยงามอยู่เหมือนกัน เพราะเป็นจุดกว้างที่สังเกตเห็นได้ชัดเมื่ออาศัยอยู่ในบ้าน หากแหงนหน้ามองแล้วเจอร่องรอยตะปูหรือเป็นคลื่นผู้ใช้จะรู้สึกขัดใจทุกครั้งที่มองเห็น การเก็บรายละเอียดจึงสำคัญโดยที่ไม่ให้มองเห็นรอยต่อ จึงต้องมีการติดตั้งอย่างถูกวิธี เพื่อให้คุณภาพของระบบฝ้าเพดานเรียบเสมอกันและได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นไปตามที่ต้องการ

งานติดตั้งโครงคร่าวฝ้าเพดาน

โครงคร่างฝ้าเพดาน เป็นจุดเริ่มต้นที่จะหาคำตอบเว่า ฝ้าภายในบ้านของเราจะดูสวยและเนียนตาหรือไม่ เรื่องสำคัญของการติดตั้งโครงคร่างหรือวัสดุที่ใข้ต้องมีความคงทนแข็งแรง มีระยะความถี่พอที่จะไม่ส่งผลกระทบให้เกิดการแอ่นตัวของฝ้าเพดาน และ หากเป็นฝ้าเพดานที่อยู่ชั้นบนสุดของบ้าน เจ่าของบ้านจะต้องติดฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานด้วยเพื่อให้บ้านไม่ร้อน การเลือกวัสดุทั้งโครงคร่างและอุปกรณ์ยึดติดจำเป็นต้องออกแบบให้รองรับน้ำนนักของแผ่นฉนวนกันความร้อน

จุดต่อมาที่สำคัญคือระยะดิ่ง ระยะความสูงของฝ้าเพดานที่ได้จะต้องมีความสูงระดับเท่ากันทั้งห้อง และที่สำคัญต้องไม่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งเว้นแต่ผู้ออกแบบจะมีความตั้งใจให้มันเอนเอียง เจ้าของบ้านสามารถตรวจเช็คขั้นตอนของการติดตั้งโครงคร่างได้เอง และสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที หากสุ่มตรวจวัดระดับความสูงจากพิ้นห้องถึงโครงคร่าว หากมีจุดไม่สมดุล

หัวสกรูต้องจมลงไปในแผ่นฝ้า

ฝ้าเพดานภายในวิธีการติดตั้ง  ความต้องการของเจ้าของบ้านส่วนใหญ่มักต้องการใช้ผืนเพดานดูเรียบไม่มีร่องหรือปุ่ม ไม่ควรใช้การยิงรีเวท ลูกรีเวทจะไม่ยุบลง การเก็บงานจะต้องทำหลายขั้นตอน เช่น การปิดด้วยเทปปิดรอย แล้วฉาบทับอีกหลายครั้ง การฉาบด้วยปูนยิปซั่มจนกว่าจะหนาปิดลูกรีเวทแต่งานก็ไม่ค่อยเรียบร้อยอยู่ดี จึงควรใช้สกรูยิงยึด เพราะสามารถยิงให้หัวสกรูจมลึกลงไปในแผ่นฝ้าโดยไม่มีหัวสกรูโผล่ขึ้นมาได้ แผ่นฝ้าจะเรียบเสมอกันและยังง่ายต่อการเก็บงานฉาบรอยต่อและทาสีด้วย

การปิดรอยสกรูให้เรียบ

ขั้นตอนต่อจากการยิงหัวสกรูยิดฝ้าให้ติดกับโครงคร่าว แผ่นฝ้าจะเกิดหลุมเพราะหัวสกูจะจบลงไป ถ้าอุดโป๊วตรงจุดนี้ไม่ดีจะทำให้สังเกตุเห็นหลุมเป็นจุดๆ อาจจะเกิดรอยร้าวที่บริเสณหัวสกรูได้ วิธ๊การทำให้สวยงามสามารถใช้ปูนฉาบสกิมโค้ท ที่มีคุณสมบัติง่ายในการเก็บงานหลังแห้ง หรือ วัสดุโป๊วชนิดอื่นๆ ที่ไม่แตกหลุดร่อน หรือเนื้อผิวไม่ยุบตัว ทาสีทำได้และขัดง่าย

การใช้ผ้าเทปปิดรอยต่อระหว่างแผ่นฝ้าเพดาน

สิ่งที่ใช้กรุเพดานฝ้าที่นิยมโดยทั่วไปมีขนาดความยาวและความกว้างที่จำกัด จะมีการเกิดรอยต่อระแห่วงแผ่นเพดาย เพราะการติดตั้งจะต้องทำกานต่อแผ่นฝ้าไปเรื่อยๆ การแก้ไขช่างจะต้องฉาบโป๊ฤวรอยต่อเพียงอย่างเดียวจะได้ผลดีในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อวันเวลาผ่านไปนาน รอยโป๊วระหว่างรอยต่อของฝ้าเพดานจะเกิดการแตกตัว ส่งผลให้ฝ้าเพดานเกิดเส้นรอยต่อภายหลัง

วิธีการที่ถูกต้อง จึงควรปิดรอยต่อระหว่างแผ่นฝ้าด้วย เทป หรือศัพท์ของช่างเรียกว่า เทปโป๊วแนว ในทุกแนว หลังจากนั้นฉาบปิดรอยต่อที่เป็นเทปด้วยปูนฉาบรอบที่2 หากยังสังเกตุเห็นเทปอยู่ก็ควรฉาบรอบที่ 3 วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับ ที่สามารถปกปิดรอยต่อได้เรียบสวยงาม การเลือกเทปปิดรอยต่อควรเลือกใช้แบบที่กาวยึดติดแน่น ไม่ฉีกขาดและไม่หลุดล่อนง่าย

การเลือกใช้สีสำหรับฝ้าเพดาน

สีทาฝ้าเพดานจะเป็นประเภทที่แยกเฉพาะต่างหาก ไม่สามารถเอาสีทาบ้านมาทาได้ ซึ่งข้อนึ้เจ้าของบ้านหลายคนอยากจะยังไม่ทราบ หากสังเกตที่ข้างกระป่องสีจะระบุว่าเป็นสีสำหรับทาฝ้าเพดาน หรือที่ภาษาอังกฤษเขียนว่า Ceiling  เนื้อสีที่ใช้สำหรับทาฝ้า เป็นสีคนละชนิดกับที่ใช้ทาผนัง สีที่ใช้ทาฝ้าจะเป็นฟิล์มชนิดด้านพิเศษ ค่าความมันเงาจะอยู่ที่ 0 เปอร์เซ็น จะไม่รบกวนดวงตาเนื้องจากมีคุณสมบัติ ลดการสะท้อนของแสง สามารถปกปิดรอยต่อฝ้าได้ดีช่วยพรางตา ทำให้ฝืนฝ้าเรียบเนียนเป็นเหมือนฝืนเดียวกัน ถ้าใช้สีที่มีความเงาทา จะไม่เป็นคลื่น เมื่อมีแสงส่องสะท้อนไปที่ผิวฝ้าเพดานจะเห็นรอยความไม่เนียนได้ชัดเจนกว่า และหากจะให้ฝ้าเพดานเรียบเนียนเป็นพิเศษ ใช้การพ่นสีจะช่วยให้สีดูเรียบเนียนกว่าการทา

การฉาบให้เรียบขัดให้เนี๊ยบ

 บ้านบางหลังพอการติดตั้งฝ้าเพดานเรียบร้อยแล้วทาสีทับ จะเห็นเป็นฝ้านูนๆ เหมือนเป็นคลื่นแผลเป็นคีลอยด์บนผิวหนัง สาเหตุเกิดจากการเก็บงานที่ไม่เรียบร้อย ในขั้นตอนของการฉาบอุดรอยต่อระหว่างแผ่นฝ้า ปกติการทำฝ้าก็จะใช้ปูนยิปซัมฉาบปิดรอยต่อแนวรวมทั้งรอยหัวสกรูที่ยึดยิงฝ้า  หลังจาดที่ฉาบรอยต่อของฝ้าเสร็จแล้วต้องปล่อยให้แห้งอย่างน้อย1วัน ขั้นตอนต่อมาก็ใช้กระดาษทรายขัดแต่งรอยปูนยิปซั่มให้เนียนที่สุดก่อนที่จะทาสีทับฝ้าหากทางช่างไม่ได้ชำนาญ ฉาบไม่เนียน ทำให้ปูนขัดเก็บงานยาก ยิ่งขัดแบบไม่ละเอียดพื้นผิวก็จะเป็นจุดๆต้องมาแก้ไขกันใหม่ไม่สวยงาม

การปิดขอบฝ้าด้วยการออกแบบหรือบัวฝ้าเพดาน

การทำให้ขอบฝ้าเพดานยิปซั่มสวยเรียบสวยงามเป็นเส้นตรง เรื่องนี้ช่างทุกไม่สามารถทำได้ สำหรับงานติดตั้งเพดานที่พลาดไปแล้ว ขอบของฝ้าดูเป็นคลื่น ไม่มีความสวยงาม และมีอีกวิธีที่ทำให้ฝ้าดูดีขึ้นและเรียบเฉียบคม ต้องออกแบบฝ้าให้ไร้ขอบ เช่น การออกแบบฝ้าให้มีร่องรางม่าน ร่องดังกล่าวจะช่วยบดบังรอยต่อที่ยากต่อการทำให้ตรงเรียบได้ หรือการติดตั้งบัวฝ้าบริเวณขอบของฝ้าอีกชั้น นอกจากช่วยให้เส้นสายของฝ้าเรียบและสวนขึ้นแล้ว ยังช่วยให้การทำความสะอาดฝ้าสะดวกและง่ายขึ้นด้วย

https://www.facebook.com/Naichangnetwork