เหล็กรางน้ำ

เหล็กรางน้ำ คือ เหล็กรูปพรรณรีดร้อนชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะที่คล้ายตัวยู (U) ฐานทำมุม 90 องศา โดยมีขนาดขาทั้งสองข้างที่ยาวเท่ากัน ยังมีขนาดและพื้นที่ที่ไม่ผิดพลาด หน้าตัดที่มีความเรียบ อีกทั้งมีความหนาและขนาดที่ต้องเท่ากันตลอดทั้งเส้น ผลิตตามมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรม

เหล็กรางน้ำ มอก. คืออะไร

  • เหล็กรางน้ำ มอก. คือเหล็กที่ได้มาตรฐาน ตามขั้นตอนกระบวนการผลิต และได้ผ่านการตรวจสอบของการผลิต คุณสมบัติที่ได้รับรองมาตรฐานจากอุตสาหกรรม

ประโยชน์ของการใช้เหล็กรางน้ำ

  • มีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและติดตั้ง อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าแรงงานในการก่อสร้างอีกด้วย
  • มีน้ำหนักที่เบาเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของตัวโครงสร้างโดยรวม
  • เมื่อมีน้ำหนักของโครงสร้างที่เบาจะทำให้น้ำหนักของรากฐาน รวมถึงค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ลดลงด้วย
  • เหล็กเป็นวัสดุที่ค่อนข้างมีประโยชน์คือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไปสิ้นเปลือง

เหล็กรูปตัวยู (U) ต่างกับเหล็กรูปตัว (C) มีวิธีสังเกตดังนี้

  • ดูเผินๆภายนอกอาจจะไม่ได้สังเกตว่าเหล็กสองชนิดนี้มีความไม่แน่ชัดเนื่องจากรูปร่างที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยซึ่งจะต้องดูที่ สัดส่วน ดีๆว่าเป็นเหล็กตัวยู (U) หรือเหล็กตัวซี (C)
  • ยังมีจุดที่ทำให้สามารถแยกระหว่างเหล็กตัวยู (U) และเหล็กตัวซี (C) ได้คือ ขนาดความหนา โดยการผลิตที่มีความแตกต่างกันคือเหล็กรูปตัวยู (U) ผลิตด้วยการรีดร้อนทำให้มีความหนามากกว่า เหล็กตัวซี (C) ที่ผลิตโดยการพับและม้วนแผ่นเหล็ก
  • โดยกระบวนการผลิตความหนาทำให้มีการผลิตที่แตกต่างกันจึงให้มีการรับน้ำหนักที่ไม่สามารถเท่ากัน เหล็กตัวยู (U) เหมาะกับงานที่ต้องมีโครงสร้างที่รับน้ำหนักมากๆ ส่วนเหล็กตัวซี (C) ใช้กับงานโครงสร้างแบบทั่วๆไป

คุณสมบัติของเหล็กรางน้ำ

  • มีความแข็งแรง และทนทาน
  • มีรูปทรงตรงตามมาตรฐาน
  • มีความสามารถที่จะรองรับน้ำหนักมากๆได้

การนำไปใช้งานของเหล็กรางน้ำ

การใช้งานของเหล็กรางน้ำ ส่วนมากจะใช้ในงานบันได หรืองานแบบต่างๆ เช่นงานแบบโครงสร้างบ้าน และงานหลังคา อีกทั้งยังรวมไปถึงงานโครงสร้างบ้านที่สถาปนิกและวิศวกรนำไปประยุกต์ใช้อย่างน่าสนใจ

ความแตกต่างของเหล็กรางน้ำกับเหล็กตัวซี มีดังนี้

  • หน้าตัดของเหล็กทั้ง 2 แบบนั้น จะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น เหล็กรางน้ำก็จะเป็นรูปตัวยู (U) และเหล็กตัวซีก็จะเป็นรูปตัวซี (C)
  • เหล็กรางน้ำนั้นจะผ่านกระบวนการรีดร้อนทำให้มีความหนาที่มากกว่าเหล็กตัวซี ที่ผ่านกระบวนการขั้นตอนการพับและม้วนแผ่นเหล็ก
  • ด้วยขนาดความหนาและขั้นตอนกระบวนการผลิตที่แตกต่างทำให้ส่งผลต่อการรับน้ำหนักทีไม่ได้เท่ากันเหล็กรางน้ำ จะเหมาะกับงานที่เน้นโครงสร้างรับน้ำหนักมกกว่าส่วนเหล็กตัวซี ใช้กับงานโครงสร้างที่เบาๆทั่วไป

การป้องกันการเกิดสนิม

มีกันอยู่หลายวิธี เช่น เคลือบผิวเหล็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อของเหล็กมันสัมผัสกับน้ำและสภาพอากาศโดยตรง ตัวอย่างเช่น การทาสี การเอาเหล็กไปชุบด้วยโลหะ อาทิ ดีบุกหรือสังกะสี วิธีเหล่านี้มักจะใช้กับชิ้นงานที่ขนาดเล็กๆหรือขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือ ผิวที่เคลือบชนิดนี้ จะสามารถที่จะหลุดออกได้ง่าย ทั้งทางกายภาพและทางเคมีจะมีเหตุทำให้เนื้อเหล็กมีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศและเกิดการเป็นสนิทขึ้นได้ ยิ่งกว่านั้นผิวที่เคลือบบางชนิด เช่น ดีบุก สามารถเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางการเกิดเป็นสนิทให้เร็วขึ้นอีกด้วย

วิธีการเก็บรักษา

  • วางแผนในการเตรียมพื้นที่สำหรับเก็บเหล็กรูปพรรณ ในกรณีที่มีการก่อสร้างโครงการขนาดกลางไปจนถึงใหญ่ จะมีการใช้เหล็กรูปพรรณในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยเฉพาะเหล็กรูปพรรณรีดร้อน จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมสถานที่เก็บเป็นอย่างมาก ทั้งส่วนที่ต้องนำไปใช้งาน และส่วนที่เหลือใช้ อาจจะใช้วิธีการสร้างโรงเก็บเหล็กแบบชั่วคราวไว้ในพื้นที่ของไซต์งานที่ทำกำลังก่อสร้าง
  • การเตรียมพื้นที่จัดเก็บสำหรับโครงการขนาดเล็ก กรณีที่ไซต์งานมีพื้นที่จำกัด เนื่องจากตัวโครงการมีขนาดเล็ก จึงไม่แนะนำให้ทำโรงเก็บเหล็กรูปพรรณชั่วคราว เพราะจะทำให้เสียงบประมาณที่มีอย่างจำกัด
  • การแบ่งเก็บเหล็กรูปพรรณตามประเภทที่ใช้งาน สำหรับโครงการใบบางพื้นที่ ผู้ออกแบบหรือวิศกรจะมีการใช้เหล็กรูปพรรณที่แตกต่างกันแต่ถ้าแยกประเภทและการจัดเก็บก็จะสามารถช่วยให้ลดต้นทุนได้มากเลยทีเดียว แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องการแบ่งเก็บเกรดให้มีความชัดเจนอีกด้วย

แนะนำควรจัดสรรหาพื้นที่มีขนาดไม่ใหญ่มากในมุมที่เล็กๆของไซต์งาน และทำงานปูด้วยพลาสติก หรือผ้าใบไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เหล็กเกิดความเสียหายและป้องกันไม่ให้สัมผัสกับดินโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดสนิมได้จากความชื้นของดิน

ข้อควรระวังสำหรับการใช้งาน

  • ในปัจจุบันนั้นมีเหล็กรางน้ำ ชนิดตัวเบา จำหน่ายอยู่มาก เมื่อรับน้ำหนักหรือแรงมากๆ จะเกิดความเสียหายเช่นการบิดงอหรือเสียรูปทรงไปเลย ทำให้จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบ ขนาดและสเปค ที่ไม่ผิดพลาด และก็ต้องมีใบรับรองมาตรฐานจากอุตสหกรรม หรือบางยี่ห้อก็จะมีตัวพิมพ์นูน ก็ควรที่จะพิมพ์ให้ถูกต้อง ตามแบบที่ได้กำหนดมาด้วย