ปูนฉาบ ปูนซีเมนต์

ปูนฉาบ คือ การนำแคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูนและหินดินดาน ที่บดเป็นผง และ นำไปผสมกัน จากนั้นนำเข้าไปเผาที่เตาอุณภูมิที่ 1,400 องศาเซลเซียส ส่วนผสมที่ถูกเผาด้วยความร้อนสูงจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันจนกลายเป็นปูนเม็ดซึ่งช่วยให้ยึดประสานกันได้ดี หลังจากนั้นนำปูนเม็ดที่ได้ไปบดผสมกับผงยิปซัมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง จนได้ออกมาเป็นผงปูน เมื่อนำผงปูนที่ได้ผสมกับน้ำ หิน และ ทราย เกิดเป็นปูนซีเมนต์ที่มีความแข็งแรง ยึดเกาะกันดี มีหน้าที่ยึดประสาน มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ได้แก่ สะพาน ถนน หรือแม้กระทั่ง บ้านที่อยู่อาศัยซึ่งปูนซีเมนต์มีหลายประเกท โดยแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน เช่น ปูนซีเมนต์ที่ผสมกับน้ำทราย ทั่วไปจะเรียกปูนเทา หรือ ปูนมอร์ตาร์ที่ใช้ก่อฉาบ 

ปูนเป็นวัสดุที่มีราคาไม่แพงสามรถปรับรูปร่างได้ตามที่ต้องการใช้งานง่าย ในงานก่อสร้างสามารถพบเห็นได้ทั่วไป ทุกคนอาจจะไม่รู้ว่าปูนที่เห็นเป็นของธรรมดา ๆ สามารถหาซื้อได้ง่าย และ สะดวกต่อการใช้งาน ปูนที่ใช้ในงานก่อสร้าง บ้าน อาคาร หรือ งานช่าง มีอยู่กี่ประเภท และ แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร เรื่องนี้คนที่เป็นเจ้าของบ้านควรรู้เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อปูนแต่ละประเภทในการต่อเติม หรือ สร้างบ้านของตนเอง แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างรับเหมา ที่มารับเหมา ก่อสร้างจัดการ ซื้อปูน โดยที่เราไม่ทราบว่าการใช้งานปูนแต่ละประเภทเป็นอย่างไร 

สารบัญ

  • ปูนสามารถแบ่งออกเป็น 5 ชนิดดังนี้ 
  • ยังมีปูนซีเมนต์อีก 2 ชนิด ที่นอกจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แล้ว
  • วัสดุและอุปกรณ์ สำหรับก่ออิฐมอญ และ อิฐมวลเบา

ปูนสามารถแบ่งออกเป็น 5 ชนิดดังนี้ (รวมถึง ปูนฉาบ ด้วย)

  1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1 หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา เป็นปูนปอร์ตแลนด์พื้นฐาน ใช้กับงานก่อสร้างทั่วไป เป็นงาน เสาอาคาร สะพาน ถนน คานคอนกรีต
  2. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท2 หรือ ปูนซีเมนต์ดัดแปลง ส่วนมากงานที่จะใช้จะเป็นงานโครงสร้างใหญ่ ๆ พื้นที่ ๆ โดนน้ำทะเล ปูนชนิดนิดนี้ทนทานต่อซัลเฟตปานกลาง งานที่ใช้ปูชนิดนี้ เช่น สร้างตอม่อสะพาน หรือ เขื่อน เป็นต้น
  3. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท3 หรือ ปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็ว เหมาะที่จะใช้กับงานที่เร่งด่วน หรือ ต้องการความเร็วในการแข็งตัวของปูน เพราะปูนชนิดนี้จะแข็งตัวเร็วและรับแรงได้มากกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดอื่น งานที่ใช้เป็น งานพื้นสำเร็จ งานเสาเข็ม งาน รื้อถอนเร็ว เป็นต้น
  4. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท4 หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดที่ทำให้เกิดความร้อนต่ำ ใช้ได้กับงานคุณสมบัติพิเศษ การออกแบบทำให้ปูนเกิดความร้อนในการแข็งตัวน้อย ทำให้คอนกรีตนั้นไม่เกิดการแตกร้าวง่าย ต้องใช้ปูนที่เกิดความร้อนต่ำ อย่าง เช่น งานเขื่อนกั้นน้ำ
  5. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท5 หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ต้านซัลเฟตสูง ปูนชนิดนี้จะใช้งานแถวชายทะเลการก่อสร้างที่ติดกับน้ำทะเล หรือ ใช้ในงานที่มีสภาพดินเค็ม เพราะบริเวณนั้นมีค่าซัลเฟตสูง ใช้งานก่อสร้าง เช่น งานต่อม่อสะพาน หรือ เสาที่อยู่ไกล้ชายทะเล ปูนเขียว ราคา

ยังมีปูนซีเมนต์อีก2ชนิด ที่นอกจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แล้ว

  1. ปูนซีเมนต์ผสม ใช้ในงานที่รับน้ำหนักไม่มาก เช่น งานโครงสร้าง หรือ งานก่อฉาบ
  2. ปูนซีเมนต์ขาว เป็นปูนซีเมนต์นิยมนำไปตกแต่งบ้านเพื่อให้มีความสวยงาม มีการแข็งตัวของปูนช้า ไม่นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างเพื่อรองรับน้ำหนัก ปูนฉาบ ราคา

วิธีที่ถูกต้องในการฉาบผนังปูน(การฉาบด้วยปูนซีเมนต์ / ปูนเขียว / ปูนมอร์ตาร์ / ปูนฉาบธรรมดา / ปูนฉาบมวลเบา)

เมื่อนึกถึงบ้าน ส่วนสำคัญที่เป็นองค์ประกอบของบ้านอย่างหนึ่งก็คือ “ผนัง” ไม่ว่าจะเป็นบ้านแบบไหน สไตล์ต่าง ๆ ล่วนแต่ต้องมีการฉาบผนังปูน เมื่อเอ่ยถึงงานฉาบ ไม่ว่าจะใช้ปูนฉาบทั่วไป หรือ ปูนฉาบอิฐมวลเบา นับเป็นการตกแต่งพื้นผิวให้เรียบร้อย ถือเป็นงานหลัก ๆในการก่อสร้างบ้าน ที่จะทำให้บ้านสมบูรณ์แบบ และ มีความสวยงามมากขึ้น โดยทำให้มีการปกปิดส่วนของชั้นที่ก่ออิฐไว้ จะช่วยในเรื่องของการป้องกันความชื้นระหว่างสองด้านของผนัง ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ใหความสำคัญกับขั้นตอนนี้เป็นอย่างมาก จึงมีการผลิตปูนซีเมนต์รูปแบบต่าง ๆ หลายสูตร เพื่อปกปิดผิวให้มีความสวยงาม และ เรียบเนียนมากเป็นพิเศษ

การฉาบผนังปูน โดยตุดประสงค์หลักเพื่อให้เกิดความเรียบเนียนมากขึ้น เพราะหลังจากช่างทำการตีน้ำ และ เริ่มปั่นผนังให้เรียบเสร็จแล้ว ตัวผิวของผนังที่ฉาบปูนไม่ว่าจะเป็นปูนฉาบทั่วไป หรือ ปูนฉาบอิฐมวลเบาก็จะเรียบแบบด้าน ๆ และ ยังคงเหลือร่องรอยที่ไม่ค่อยเรียบเนียนเล็ก ๆ น้อย ๆ ช่างทำผนังก็จะมีการเก็บงานอีกครั้งโดยการใช้ฟองน้ำหมาด ๆ ปั่นในขณะที่ปูนยังหมวดอยู่ ก็จะเห็นได้ชัดว่ารอยที่ผิวไม่เรียบเนียน จะลดลง และ เรียบเนียนยิ่งขึ้น โดยเราจะมาดูกันว่าวิธีที่ถูกต้องในการฉาบปูนควรทำอย่างไรกันบ้าง

อุปกรณ์ต้องเตรียมก่อนการฉาบผนังปูน สิ่งที่ใช้มีดังต่อไปนี้

  1. ปูนซีเมนต์ที่ใช้สำหรับงานฉาบ
  2. เกรียงพลาสติกและเกียงไม้
  3. แปรงสลัดน้ำและฟองน้ำ
  4. ถังปูน
  5. อุปกรณ์ผสมปูน

วัสดุและอุปกรณ์

ปูนซีเมนต์สำหรับงานฉาบทั่วไป

สำหรับงานฉาบนั้น ในขั้นแรกให้ทำการเลือกปูนที่จะใช้ฉาบ จาก “ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำผนัง” เสียก่อน จากนั้นจะมีระดับความละเอียดให้เลือกใช้ ดังนี้

สำหรับผนังที่ก่ออิฐมอญ(อิฐแดง) : ใช้ปูนทราย หรือ ปูนมอร์ตาร์ฉาบทั่วไป

อิฐบล็อค(คอนกรีตบล็อค) : ใช้ปูนทราย หรือ ปูนมอร์ตาร์ฉาบทั่วไป

อิฐมวลเบาเทียม (อิฐมวลเบาชนิดไม่อบไอน้ำ) : ปูนมอร์ตาร์ฉาบมวลเบา 

สำหรับผนังที่ก่ออิฐมอญ
  • ให้ใช้  ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท (ปูนเขียว / ปูนเทา เช่น ปูน (ผสมร่วมกับทรายละเอียดตามอัตราส่วนหลังถุง)
  • หากต้องการความเรียบเนียนมากกว่า ให้ใช้  ปูนซีเมนต์งานฉาบ (ผสมร่วมกับทรายละเอียดตามอัตราส่วนหลังถุง)
  • ถ้าต้องการความละเอียดที่มากขึ้นอีกระดับ สามารถเลือกใช้ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ฉาบทั่วไป (หรือ ปูนมอร์ตาร์ฉาบทั่วไป เช่น TPI M200) (ผสมน้ำใช้ได้ทันที) ซึ่งเนื้อปูนมีความละเอียดมากกว่าปูนซีเมนต์ผสม เนื่องจากคัดคุณภาพของวัสดุทดแทนทราย ผสมให้มาแล้วในถุง
  • ถ้าต้องการความละเอียดที่มากขึ้นอีกระดับ สามารถเลือกใช้ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ฉาบละเอียด (ผสมน้ำใช้ได้ทันที)เช่นปูนฉาบTPI M100 ซึ่งเนื้อปูนมีความละเอียดมากกว่ายิ่งขึ้น เนื่องจากคัดคุณภาพของวัสดุทดแทนทรายให้มีความละเอียดสูง ผสมให้มาแล้วในถุง

การผสมปูนฉาบ เดิมทีนั้นจะมีการเพิ่มสารเคมีเพื่อช่วยในการทำงานที่ง่าย และ ให้งานที่ลดการแตกร้าว เมื่อใช้ปูนซีเมนต์ประเภทดั้งเดิม แต่ปัจจุบัน ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป (ปูนมอร์ตาร์) สำหรับงานฉาบทุกชนิด ทำให้การทำงานง่ายขึ้น เพียงผสมน้ำก็สามารถใช้งานได้ทันที ช่วยให้ร่นระยะเวลาการทำงาน ได้งานที่สมบูรณ์แบบ ไม่ต้องกลับมาแก้ไขงานอีก

ขั้นตอนการฉาบผนัง อิฐมอญ
  • รอผนังที่ก่อเซ็ทตัวอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน โดยระหว่าง 7 วันนั้นให้มีการรดน้ำบ่มผนังอย่างต่อเนื่องด้วย
  • เช็คสภาพผิวผนังว่าอิฐยึดเกาะกันดี ผนังไม่โอนเอนเคลื่อนไหวได้ หากผนังมีการโน้มเอียง หรือ เว้ายุบ จนเกินกว่าที่ปูนฉาบจะปิดผิว และ ทำให้ได้ระดับเท่ากัน (เมื่อฉาบไม่เกิน2.5เซ็นติเมตร) ให้สกัดส่วนเว้าแอ่นออก เพื่อลดโอกาสหลุดล่อนจากการฉาบที่หนาเกินไป
  • จับเซี้ยม และ จับปุ่ม เพื่อเป็นการฉาบให้ได้ระดับ และ ความหนาที่เหมาะสม โดยสามารถดูได้จากภาพประกอบ ซึ่งนิยมใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท (ปูนเขียว ของแบรนด์ต่างๆ) มาผสมกับทรายให้มีส่วนของปูนเข้มขนกว่าการใช้งานทั่วไป เรียกว่า ปูนเค็ม
  • ติดลวดตะแกรง หรือ กรงไก่ บริเวณมุมวงกบประตู และ หน้าต่าง เพื่อลดโอกาสแตกร้าวจากการยืดหดตัวของปูนซีเมนต์ รวมถึงรอยต่อของวัสดุต่างชนิด เช่น ระหว่างส่วนก่ออิฐกับเสาเอ็น และ คานทับหลัง ระหว่างร่องการเดินท่อเดินสายไฟซึ่งปิดทับด้วยปูนแล้วกับส่วนก่ออิฐ
  • ก่อนการฉาบ 1 วัน ให้มีการรดน้ำในช่วงเย็น จากนั้นก่อนทำการฉาบในวันถัดไปให้รดน้ำผนังในช่วงเช้า ทิ้งให้หมาดก่อนทำการฉาบ ห้ามฉาบขณะที่ผนังยังเปียกน้ำ เพราะจะทำให้ปูนไม่ยึดเกาะกับ
  • การบ่มผิว ควรมีการรดน้ำผนังอย่างต่อเนื่องไปอีกวันละอย่างน้อย 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 7 วัน หากอากาศร้อน มีแดดจัด หรือ ลมพัดแรง จนทำให้ผนังเสียน้ำเร็วเกินไป ควรเพิ่มการรดน้ำเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน และ ยืดระยะเวลาการลดออกไป อาจใช้การบังแดดลมด้วยการขึงผ้าใบช่วยในบริเวณที่สัมผัสกับอากาศที่รุนแรง
https://www.facebook.com/Naichangnetwork