กระเบื้องหลังคา กับการติดตั้ง 5 ขั้นตอน

1.การวัดระยะ

วัดระยะกระเบื้องหลังคาโดย ควรวัดให้เท่ากันตลอดแนวเชิงชาย วัดจากขอบนอกของไม้บัวจนถึงหลังแป 34 เซนติเมตร แล้วจึงวัดระยะห่างของเหล็กรับสันหลังคา ก่อนการลงมือติดตั้งกระเบื่อ นำกระเบื้องมาวางบนแป 4 แผ่นต่อหนึ่งกอง ขั้นตอนต่อไปติดกระเบื้องหลังคาที่เชิงชายจากขวาไปซ้ายจนเต็ม ต่อการนั้นกำหนดแนวกระเบื้องโดยการขึงเอ็นหลังคาแนวถัดไป สิ่งที่ต้องตรวจดูคือ แผ่นริมทั้งสองข้างของแนวปั้นลมจะต้องเป็นลอนยกเสมอ

-ตรวจระยะห่างเหล็กรับสันหลังคาและวัดระยะแป

-ควรติดตั้งกระเบื้องหลังคาจากขวาไปซ้ายของหลังคาแถวแรกที่เชิงชาย

– หลังคาลอนกระเบื้องหลังคาแผ่นแรกและแผ่นสุดท้ายส่วนที่ติดปั้นลมควรเป็นลอยยกเสมอ

-ใช้ตะปูเกลียวปลายสว่านยึดกระเบื้องเข้ากับแป

 
2.ขั้นตอนหลังจากวาง กระเบื้องหลังคา

ขั้นตอนนี้ ใช้สกรูตะปูเกลียวยึดกระเบื้องหลังคา ที่ผลิตจากเหล็กที่มีคุณภาพสูง เป็นตะปูที่ออกแบบพิเศษเพื่อยึดหลังคาเป็นหลัก โดยผ่านการเคลือบกันสนิม หนากว่าตะปูทั่วไป3เท่า การยึดควรใช้สว่านไฟฟ้ายึดทุกแถวหรือแถวเว้นแถว ตะปูยึดกระเบื้องมีอายุการใช้งานยาวนาน เจ้าของบ้านสามารถมั้นใจได้ว่า กระเบื้องหลังและวัสดุมุงหลังคาไม่หลุดปลิวและมีการยึดแน่นไม่ปลิวหลุด สกรูที่ปลายส่วนสามายึดด้วยสว่านไฟฟ้าได้ โดยไม่ต้องเจาะรู และที่สำคัญประหยัดเวลาการทำงานมากจึ้น

 
3.ขั้นตอนที่ยากและต้องพิถีพิถัน

การติดตะเข้สัน เสี่ยงต่อการหลุดและรั่วซึมเพราะเป็นจุดที่มีการตัดต่อและมีรอยหลายจุด โดยจะทำการตัดกระเบื้องหลังคาครอบในส่วนของตะเจ้ให้มีจนาดพอดีกับตำแหน่งมุง ขั้นตอนต่อมาวางกระเบื้องหลังคาตะเข้สันแถวแรกที่ตรงเชิงชายและจึงตัดให้ชิดกันโดยทำมุม 40 องศา กระเบื้องที่ว่างควรเป็นแผ่นเต็มทั้งสองข้าง ต้องยึดชิ้นส่วนที่ถูกตัดเพื่อความแข็งแรง โดยใช้แหนบ

 
 4.การติดตั้งโครงเหล็ก

ใช้อุปกรณ์ยึดครอบระบบแห้งติดยึดโครงเหล็กรับครอบของสันหลังคา โดยติดให้ตลอดแนวตะเข้และสันหลังคา โดยขั้นตอนการใส่แผ่นปิดรอยต่อเพื่อป้องกันกระเบื้องรั่วซึมระหว่างช่วงแผ่นหลังคาที่ติดกัน ก่อนหน้านั้นควรติดครอบโค้งหางมนที่มุมปลายหลังคา

5.ขั้นตอนการใส่ครอบโค้ง 

การใส่ครอยโค้งนำครอบสันโค้งมาจัดเรียงตามแนวตะเข้จากนั้นวัดระยะให้พอดีกับตำแหน่งมุมแล้วตัดครอบตะเข้สัน ยึดด้วยตะปูเกลียวยึดกระเบื้องปลายสว่าน ขั้นตอนสำคัญสุดท้ายเก็บรายละเอียดงานดูสีหรือยาแนวบริเวณตจุดที่มีรอยต่อให้เรียบร้อย งานหลังคาติดตั้งก็จะแข็งแรงต้านลม และป้องกันการรั่วซึม ก็สามารถพร้อมใช้งานได้

 

หลังคาบ้านกับสภาพอากาศในประเทศ

การเลือกแบบหลังคาบ้านมีความหลากหลายมากขึ้นในปัจจุบัน  เพราะ มีการออกแบบที่สวยงามทางด้านของสถาปัตยกรรมแล้วแบบหลังคาประเภทต่างๆยังมีความสร้างสรรค์กว่าเดิม แต่ละแบบต่างก็มีประโบยชน์ที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะในการรองรับเกี่ยวกับสภาพอากาศใรประเทศ ไม่ว่าจะแดดอกก ฝนตก กันลม หรือความร้อน แบบหลังคาบ้านที่นิยมใช้กันกับสภาพอากาศในประเทศไทยก็มีดังนี้

1.ทรงจั่ว

เป็นแบบมาตรฐานที่นิยมใช้กันมานานสำหรับคนไทย หลังคาบ้านทรงจั่ว มีอยู่ทุกประเทศ เหมาะกับบ้านทั่วไป มุมของหลังคาแบบนี้จะมีการลาดเอียงซึ่งจะเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้น้อยมาก เมื่อเกิดฝนตกลงหลังคาประเภทนี้ น้ำจะไหลลงสู่พื้นข้างล่างอย่างรวดเร็ว วัสดุมุมหลังคาแตกหักยาก จาก ลูกเห็บ ฝนหรือพวกกิ่งไม้ต่างๆ ซึ่งหากเกิดการรั่วซึมก็จะมีปัญหาตามมาไม่มาก ข้อเสียคือ หากมีฝนสาดด้านทิศที่หันเข้าสู่หน้าจั่วบ้าน จำเป็นต้องติดตั้งหลังคากันสาดหรือต่อเติมจากชายคาบ้านให้มีขาดกว้างขึ้นกันฝนสาด และอาจมีการเพิ่มกันสาดของหน้าต่างบ้าน ในกรณีที่มีห้องเปิดหน้าต่าง ไม่งั้น เม็ดฝนอาจเข้าสู้ตัวบ้านได้ง่าย

ส่วนมากหลังคาทรงจั่วจะเห็นกันเยอะในต่างจังหวัด ส่วนมากจะใช้กระเบื้องลอนคู่ เพราะน้ำหนักเบา ประหยัดโครงสร้าง ลดโอกาสการรั่วในน้อยลง มีแบบแผ่นยาวให้เลือก

2.ทรงปั้นหยา

หลังคาบ้านทรงปั้นหยา จะมีมุมลาดเอียงน้อยกว่าแบบทรงจั่ว จะได้รับความนิยมสูงในบ้านที่มีสไตล์ เกาหลี ญี่ปุ่น ไทย ลักษณะดูง่ายก็คือจะเป็นการครอบคลุมทุกทางของบ้าน ส่วนใหญ่จะมี4ด้าน ซ้าย ขวา หน้าและ หลัง ซึ่งจุดบนสุดของแต่ละด้าน มีรูปเป็นทรง3เหลี่ยม หันเข้าหากัน สไตล์ที่ว่านี้ส่วนใหญ่ มักจะใช้ในงานโครงการบ้านจัดสรร ทรงปั้นหยาได้รับความนิยมไม่น้อยกว่าหลังคาทรงจั่ว

ส่วนมากหลังคาทรงปั้นหยา เจอพบเห็นมากในเมือง จะเป็นบ้านที่มีดีไซด์สวยงาม ส่วนใหญ่กระเบื้องที่ใช้จะเป็น กระเบื้องคอนกรีต CT อดามัส

 3.ทรงมะนิลา

หลังคาบ้านทรงมะนิลา หลังคาบ้านทรงนี้เป็นการผสมกันระหว่างหลังคาบ้านทรงจั่วและหลังคาบ้านทรงปั่นหยา เป็นหลังคารูปทรามะนิลา ได้จากการนำข้อดีของหลังคา2สไตล์ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ส่วนมากที่นิยมใช้กับบ้านร่วมสมัยและบ้านสไตล์คันทรี่ จุดเด่นก็คือ สามารถปะทะแรงลมได้ดี แล้วมีความแข็งแรงมาก ข้อดีอีกอย่างคือ กันแดด กันฝน ได้ร้อบด้านของตัวที่อยู่อาศัย และมีจั่วด้านบนสุดที่คอยระบายอากาศ หรือไล่ลมร้อนออกจากบ้านอีกด้วย พบเห็ยได้มากในเรือทรงไทย หรือทางภาคเหนือของประเทศ คือ ทรงล้านนา

4.ทรงปีกผีเสื้อ

หลังคาบ้านทรงปีกผีเสื้อส่วนมากจะไม่ค่อยได้ยินชื่อนี้ คือลักษณะนะจะเป็นหลังคาที่แหงนออกทั้งสองด้าน โดยข้าวนอกเป็นมุมสูง และส่วนตรงกลางของหลังคคาจะเป็นมุมต่ำ ลักษณะจะคล้ายกับผีเสื้อตอนบินอยู่ที่กำลังกระพือปีก ส่วนกลางหลังคาจะเป็นรางน้ำ อาจจะแอนมาด้านใดด้านหนึ่งก็เป็นได้ ที่พิเศษคือหลังคาชนิดนี้สามารถรองรับน้ำฝนได้ดีกว่าชนิดอื่นๆ และ ทำให้ทันสมัยกับตัวบ้านมากขึ้นอีกด้วย

5.ทรงเพิงหมาแหงน

หลังคาบ้านทรงเพิงหมาแหงน เรียกตามท่าทางของสัตว์ เช่น หมา หรือ สุนัข ที่ทำท่าแหงนหน้าเชิด ขึ้นบนฟ้า ซึ่งหลังคาทรงนี้จะมีความทันสมัยมากและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยตัสหลังคาจะมีลักษณะลาดเอียงหน้ายกสูงกว่าหลัง เป็นแนวเฉียง และก็มีเชิงชายรอบๆตัวบ้าน ในการออกแบบจะมีด้านหน้าที่มีเชิงชายยื่นออกมาเพื่อบังแดดได้ดี และการทำให้หลังคาหน้าสูงกว่าหลังลาดเอียดจะทำให้ระบายน้ำฝนได้ดีมาก สามารถเจอหลังคาบ้ายทรงแบบนี้ในแบบบ้านที่มีรูปแบบโมเดิร์น

สำหรับ หลังคายบ้านทรงเพิงแหงน กับ หลังคาบ้านทรงปีกผีเสื้อ เนื่องจากเป็นหลังคาที่ความลานชันน้อยมาก ควรใช้กระเบื้อง ประเภท จตุลอน รุ่นยาว 2.30 เมตร เพราะใช้จำนวนแผ่นน้อย โครงสร้างจะมีความลาดชันน้อยมาก รอยต่อน้อยกว่าและระบายน้ำได้สะดวก

วัสดุที่ใช้มุงหลังคา

หน้าที่หลักของวัสดุที่ใช่มุงหลังคา คือ กันฝน กันแดด กันลม และอีกอย่างนึงควรกันไฟได้ด้วย มีคุณสมบัตและแยกเป็นหลายประเภทได้ดังนี้

1. กระเบื้องหลังคาดินเผา

ส่วนมากจะเป็นกระเบื้องแผ่นเล็กๆ กระเบื้องหางมน กระเบื้องว่าว กระเบื้องดินขอรับด้วยระแนงขนาด 1คูณ1 มุงแล้วก็วางซ้อนทับกัน2ชั้น วางห่างกัน 120 มม. น้ำหนักเบา โดยปัจจุบันไม่นิยมใช้กับบ้านพักอาศัย กระเบื้องหลังคาทำให้หลังคามีความลาดชันมาก เปลืองระแนงที่รับกระเบื้องและรั่วได้ง่าย ส่วนใหญ่จะใช้กับอาคารที่มีรูปทรงเก่าๆ หรือ เป็นบ้านหรืออาคารที่การอนุรักษ์ตามแบบเดิม โบสถ์ หรืออาคารที่เกี่ยวกับศาสนา โดยต้องออกแบบที่กันน้ำฝนไว้ใต้กลังคาด้วย จ้อดีและเด่นของกระเบื่องประเภทนี้ ให้ความสวยงาม และ รักษาวัฒนธรรมตามลักษณะท้องถิ่น

2. วัสดุมุงตามธรรมชาติ

วัสดุที่ใช้มุงจกาธรรมชาติ ส่วนมากจะใช้กันทางภาคเหนือ เช่น แป้นเกล็ดไม้สัก มีลักษณะเป็นแผ่นไม้บางๆ ขนาดไกล้เคียงกับกระเบื้องดินเผา ใช้กับระแนง 1คูณ1 เหมือนกัน ปัจจุปันไม่มีการทำวัสดุประเภทนี้แล้ว เพราะว่าอายุการใช้งานไม่นานและไม่คงทนถาวร รั่วง่าย นำไฟ และ ราคาสูง แต่หลายๆโรงงานนำมา ทำเป็นกระเบื้องลอกเลียนแบบแป้นเกล็ด โดยชื่อกระเบื้องไอยร่า หรือมหพันธ์ มีการทำสีให้เหมือนธรรมชาติ แต่วัสดุที่ใช้เป็นไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งจะบาง น้ำหนักเบา เหมือนเกล้ดไม้จริง

3. สังกะสี

สังกะสีเป็นวัสดุที่มีหลายชั้นคุณภาพ ตามราคา เป็นวัสดุน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง และมีหลายขนาดให้เลือก ขายเป็นฟุต ราคาแตกต่างตามสี สังกะสีที่ได้มาตรฐาน มอก. คือ สังกะสีตาสามดาว ด้วยคุณสมบัติที่เบา จึงประหยัดในการใช้โครงสร้าง และสามารถรื้อได้ง่าย เร็ว ไม่เกิดการแตกหัก ของแผ่น การเลือกใช้สังกะสีสร้างหลังคาบ้าน จะประหยัดโครงสร้าง แต่มีข้อเสียหลายอย่างเช่น การกระจายความร้อนจะรวดเร็ว เป็นตัวนำความร้อนทำให้บ้านร้อนขึ้น เกิดสนิมง่าย เป็นรูรั่วได้ง่าย ไม่แข็งแรง มีอายุการใช้งานไม่นานและจำกัด  ตัวแผ่นมีน้ำหนักเบา เกิดความเสียหายได้มากถ้าลมพายุพัดแรงๆ อาจจะปลิวหรือฉีดขาดได้เลย และเกิดเสียงดังในขณะที่ฝนตก

 4.เมทัลชีท

ในปัจจุบัน ผู้รับเหมาหลายรายนิยมใช้วัสดุประเภทนี้ กับ งาน อาคารบ้านพักคนงาน ในไซท์งานก่อสร้าง แคมป์คนงาน หรือ รั่วกันรอบงานก่อสร้าง เพิงศาลาริมถนน เพิงศาลารถรับจ้าง ข้อดีก็คือ เป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการเก็บไปใช้กกับงานอื่นๆได้อีก จากข้อดีและข้อด้อยของสังกะสี จึงได้มีบริษัทที่คิดค้นนำวัสดุนี้มาพัฒนาใหม่ โดยการเสริมจุดเด่น และ ลดจุดด้อยลง ทำให้เมทัลชีทเป็นที่นิยม ส่วนมากจะใช้กัยโกดังสินค้า โรงงานสถานีบริการน้ำมัน โรงจอดรถ การออกแบบโครงสร้าง ต้องพยายามหาวัสดุที่เบาที่สุดมาทำหลังคา โดบการนำสังกะสีมาพัฒนาใหม่ โดยผสมโลหะที่ลดปัญหาการเกิดสนิม เช่น อลูมินั่ม รวบทั้งนำไปเคลือบ อบ สี ให้ลดการกัดกร่อนและสะท้อนความร้อนได้ดี ทำให้อาคารหรือบ้านไม่ร้อนเหมือนเก่า

5. กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์

ในปัจจุบันโรงงานต่างๆได้มีการผลิตสินค้ากระเบื้องหลังคาโดยมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์มากขึ้น และไม่มีสารแอสเบสตอส หรือใยหินผสมในกระเบื้อง โรงงานในอดีตจะเลือกผลิตประเภทของกระเบื้องหลังคา ลอนคู่ ซึ่งรู้จักและเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน และปัจจุบันได้มีประเภทของกระเบื้องเพิ่ม เช่น พรีม่า และ เคิฟลอน ที่มีลักษณะโดดเด่นกว่าเดิม

6. กระเบื้องหลังคาโปร่งแสง

กระเบื้องหลังคา ไฟเบอร์กลาส หรือรู้จักกันในชื่อ กระเบื้อง โปร่งแสง ผลิตมาจากโพลีเอสเตอร์เรซินผสมกับใยแก้ว แล้วนำไปเข้าเครื่องรีดร้อน จะออกมาเป็นแผ่นบางๆ ขนาดความหนามาตรฐานอยู่ที่ 1.2 มม. แล้วจึงในไปเคลือบแผ่นฟิล์มพิเศษ มีคุณสมบัติป้องกันยูวีจากแสงแดด การโดนแดดส่แงมากๆไม่มีผลต่อการทำให้เรซิ่นในกระเบื้องแตกลายงาหรือมัว ทำให้กระเบื่องยังคงใสเหมือนเดิมแสงสามารถส่องผ่านมาได้ ข้อดีก็คือสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องใช้ไฟในเวลากลางวัน ผลิตออกมารูปร่างเหมือนกับกระเบื้องลอนคู่และลูกฟูกแต่มีความโปร่งใส มีหลายสีให้เลือกใช้เช่น ขาวขุ่น ขาวใส เขียว เหลือง น้ำเงิน น้ำตาล เป็นต้น

7.กระเบื้องหลังคาคอนกรีต

ในปัจจุบันกระเบื้องคอนกรีตได้รับความนิยมอย่างมากโดยนำมาใช้ทำหลังคาทรงปั้นหยา กระเบื้องคอนกรีตผลิตมาจากคอนกรีต มีน้ำหนักมากแข็งรง สามารถทนลมฝนได้ เมื่อมีพายุเข้า แข็งแรงกว่าเมื่อเทียบกับกระเบื้องลอนคู่ไฟเบอร์ซีเมนต์ แต่ข้อด้อยก็มีเหมือนกัน เนื้องจากมีน้ำหนักมากก็ต้องเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างหลังหาให้มากขึ้น ราคาก็จะสูงขึ้นด้วยกระเบื้องคอนกรีจ มีความสวยงาม สีสันสดใส ไม่เป็นเชื้อรา อายุการใช้งานยาวนาน บริษัทแรกๆที่ผลิตกระเบื้องคอนกรีตคือ บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด โดยติดหูคนทั่วไปใช้เรียกกระเบื้องคอนกรีตว่า กระเบื้องซีแพคโมเนีย ต่อมาได้ทำการผลิตหลังคาคอนกรีตรุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า กระเบื่องเพรสทิจ กระเบื้อวนิวสไตล์ซึ่งผิวเรียบไม่มีลอนโค้ง

8.กระเบื้องหลังคาเซรามิค

กระเบื้องที่ได้รับความนิยมอีกอย่างนึงคือกระเบื้องเซรามิค ซึ่งแพร่หลายอยู่ในกลุ่ม ที่ผู้ใช้เลือกหลังคาด้วยตัวเอง ลักษณะเด่นของกระเบื้องชนิดนี้มีสีสันที่คงทน โดนน้ำฝนแล้ว ไม่ขึ้นรา สภาพยังคงเหมือนเดิม

https://www.facebook.com/Anajaknaichang