เหล็กกล่อง
เหล็กแป๊บ และเหล็กแป๊บแบน ต่างอยู่ในหมวดของ เหล็กกล่อง ทั้งคู่มีกรรมวิธีการผลิตเหมือนกันทุกประการ โดยต่างกันเพียงรูปทรงที่เปลี่ยนไปเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกัน
การผลิต วัสดุที่ใช้ และความแข็งแรง
การใช้งาน ข้อควรทราบ และข้อควรระวัง
มีกี่รูปทรง และในไทยมีกี่ประเภท
การผลิต เหล็กกล่อง ใช้วัสดุอะไร แข็งแรงและปลอดภัยเพียงพอกับการใช้งานหรือไม่
กระบวนการหรือกรรมวิธีก่อนที่จะกลายมาเป็นเหล็กกล่อง มีดังนี้
- นำเหล็กแผ่นมาตัดซอย จนได้ขนาดของเหล็กกล่องตามต้องการจะพับ
- นำเหล็กแผ่นที่ตัดซอยตามขนาดที่ต้องการมาพับขึ้นรูป และเชื่อมรอยให้เป็นรูปทรง (สังเกตุที่ เหล็กกล่อง จะพบรอยเชื่อมอยู่จุดใดจุดหนึ่งที่บริเวณแนวยาว)
*เหล็กกล่องดำ จะใช้เหล็กแผ่นสีดำในการพับ และขึ้นรูป
**เหล็กกล่อง GI จะใช้เหล็กแผ่นเคลือบกัลวาไนซ์ในการพับ และขึ้นรูป ที่บางคนก็เรียกกันว่า พรีซิงค์ (Pre-Zinc) นั่นเอง
คุณสมบัติของเหล็กกล่อง กับมาตรฐานที่ต้องมี
- มีน้ำหนักที่เบา ไม่หนัก แต่แฝงไปด้วยความแข็งแรงมากพอจะนำไปใช้งาน
- สามารถนะไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ได้อีกมากมายหลายรูปแบบ
- ใช้ทดแทนไม้ หรืองานโครงสร้างก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็น การทำนั่งร้าน ประตู และเหล็กรูปพรรณชนิดอื่นๆ เนื่องจากคุณสมบัติที่ดีกว่า
เหล็กที่ได้รับมาตรฐานหลากหลายตัว
มาตรฐาน คือตัวกำหนดให้การกระทำ หรือการดำเนินการ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่าง มาตรฐานอุตสาหกรรม คือทุกโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้การผลิตแบบเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม มาตรฐานอุตสาหกรรมถูกแบ่งออกได้หลายแบบ เช่น มอก.ทั่วไป มอก.บังคับ และมอก.เฉพาะด้านความปลอดภัย เป็นต้น ยอกจากนี้ก็ยังมีมาตรฐานอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้นำไปใช้งาน
เหล็กกล่องในตลาดมีหลายมาตรฐาน ตั้งแต่ แบบไม่มีมอก. (ซึ่งสามารถใช้งานได้), แบบมีมาตรฐานอุตสาหกรรม, มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JIS : Japanese Industrial Standard), มาตรฐานสมาคมทดสอบวัสดุแห่งสหรัฐฯ (ASTM : American Society for Testing Material)
ดังนั้น ในการสั่งซื้อ จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็น และรูปแบบงานที่จะใช้ ให้ดี ก่อนทำการสั่งซื้อ
หาดูเหล็กรูปพรรณ คลิกที่นี่
ติดต่อซื้อวัสดุก่อสร้าง ง่าย ๆ แอด LINE มาสิ @273oyqga
นายช่างกรุ๊ป จำหน่าย
เหล็กกล่องแบบไม่มี มอก. เลือกหา
เหล็กกล่องแบบมี มอก. เลือกหา
เหล็กกล่องมาตรฐานญี่ปุ่น (JIS) เลือกหา
การนำเหล็กกล่องไปใช้งาน สิ่งที่ควรทราบ และข้อควรระวัง
เหล็กกล่องสามารถนำไปใช้งานได้มากมายหลากหลาย เช่น โครงฐานสำหรับวางเครื่องจักร, โครงสร้างวางพื้นชั้นลอย, งานสร้างโครงผนังเบา, งานประกอบโครงหลังคา, พาเลทวางสินค้า, เสาอาคาร หรือเพิงขนาดเล็ก, งานประกอบเฟอร์นิเจอร์, งานโครงหลังคาสำหรับที่จอดรถ เป็นต้น โดยที่การใช้งานแต่ละประเภทนั้น “ต้องเลือกขนาดเหล็กกล่องให้เหมาะสมกับการใช้งาน” เช่น ถ้าจะวางเครื่องจักรขนาดใหญ่ ก็ต้องใช้เหล็กขนาดใหญ่ และมีความหนามากพอที่จะรองรับน้ำหนัก และเพื่อรักษาความสมดุลของฐานวาง
สิ่งที่ต้องทราบ และข้อควรระวังในการนำไปใช้งาน
ความหนาที่คลาดเคลื่อนในแต่ละตัว ไม่ได้หมายความว่าผิดมาตรฐาน เช่น เหล็กกล่อง 2″x2″ ยาว 6 เมตร หนา 2.3 มิลลิเมตร หลังผลิตออกมา ความหนาอาจจะมีความเป็นไปได้ตั้งแต่ 2.1-2.3 มิลลิเมตร ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนได้ ไม่เกิน 10% หากมากกว่านั้นจึงจะถือว่าผิดมาตรฐาน ดังนั้น หากจะใช้ในงานที่ต้องการความหนาที่แน่นอน ต้องแจ้งกับร้าน หรือโรงงานก่อน ว่าต้องการขนาดเท่าไหร่ และ คลาดเคลื่อนได้เท่าไหร่ เพื่อให้ได้เหล็กกล่องตามที่ต้องการใช้งาน
เมื่อความหนามีความคลาดเคลื่อน ขนาดหน้าตัดก็สามารถคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น การแจ้งร้าน หรือโรงงาาน ต้องแจ้งความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ทั้งความหนา และขนาดหน้าตัด เพื่อป้องกันการผิดพลาดอย่างการสั่งผิดขนาดและใช้งานไม่ได้
รูปทรงของ เหล็กกล่อง ทั้งสองแบบ และในบ้านเรามีเหล็กกล่องกี่ประเภท
- เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม หรืออีกชื่อที่นิยมเรียกกันก็คือ เหล็กแป๊บ จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมโป่ง กลวงเป็นรูปจัตุรัส มีขนาดของความยาวอยู่ที่ 6 เมตร มีมุมฉากที่เรียบคม แต่ไม่มน ได้ฉากพอดี 90 องศา มีผิวเรียบและไม่หยาบ ขนาดของทุกเส้นต้องมีความเท่ากัน จะเหมาะกับงานโครงสร้างที่ได้ต้องรองรับน้ำหนักที่มาก เช่น นั่งร้านเสา เป็นต้น
- เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมแบน หรืออีกชื่อที่นิยมเรียกกันก็คือ เหล็กแป๊บแบน จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้างในกลวง จะมีความยาวอยู่ที่ 6 เมตรต่อเส้น เหมาะกับงานที่มีขนาดเล็ก และกลาง เช่น นั่งร้าน เสา ประตู สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับงานทั่วไปได้ ทนแทนการใช้ไม้ หรือคอนกรีต และเหล็กรูปพรรณอื่นๆ เพราะมีน้ำหนักที่เบาแต่มีคุณสมบัติที่แข็งแรง
เหล็กกล่องในบ้านเรามีกี่ประเภท
เหล็กกล่อง เป็นเหล็กที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป และมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างสำหรับ สิ่งปลูกสร้างขนาดเล็ก การต่อเติม หรือแม้กระทั่งโครงหลังคา ซึ่งเหล็กกล่อง ในบ้านเรานั้นมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ
- เหล็กกล่องดำ
- เหล็กกล่องGI
- เหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์
จะมีการนำไปใช้งานที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ต่างกันเรื่องของ ราคา และการป้องกันสนิม ซึ่งหากไม่ใช้เหล็ก GI หรือ ชุบกัลวาไนซ์ ก็ต้องทาสีกันสนิมเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะป้องกันสนิมได้น้อยกว่า GI และชุบกัลวาไนซ์
ราคาเหล็กกล่อง กับการสั่งซื้อเหล็กกล่องไปใช้งาน
ราคาเหล็กกล่องขึ้นอยู่กับอะไร เราลองมาดูส่วนเหล็กกล่อง GI คือการนำเหล็กแผ่นเคลือบกัลวาไนซ์มา พับขึ้นรูปแล้วเชื่อม ซึ่งที่รอยเชื่อมนั้นจะเกิดสนิมได้ง่าย จึงต้องระวัง และรู้ก่อนนำไปใช้งาน
การสั่งซื้อเหล็กกล่องไปใช้งาน
ในประเทศไทยนั้น สามารถหาซื้อเหล็กได้ง่าย ซึ่งหาได้ตาม ร้านวัสดุก่อสร้าง, ร้านขายเหล็ก จนถึง โรงงานผลิตเหล็กที่จำหน่ายถึงลูกค้าโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เหล็กกล่องนั้นมีหลายขนาดมาก และหลายความหนาทำให้ หากจะเก็บสต๊อกสินค้าให้มีพร้อมจำหน่าย และใช้งานตลอดนั้น เป็นต้นทุนที่สูงมาก และเสี่ยงต่อความเสียหาย เนื่องจากเหล็กนั้น หากโดนน้ำและอากาศจะทำให้เป็นสนิม หรือเพียงแค่โดนอากาศอาจทำให้เหล็กแดงได้ (ปกติเหล็กจะสีออกเทา)
ดังนั้นที่ว่าหาซื้อง่าย คงไม่ได้ ง่ายทุกไซส์ที่ต้องการใช้ ซึ่งขนาดที่นิยมใช้งานกันแพร่หลาย ได้แก่ เหล็กกล่อง (สี่เหลี่ยมจตุรัส)
- 1″x1″
- 2″x2″
- 3-1/2″x3-1/2″
- 4″x4″
โดยความหนานั้น ไม่เกิน 2.3-3.2mm. สำหรับ มอก. และ หากไม่มี มอก. ความหนาตั้งแต่ 1.1mm.
ส่วนเหล็กกล่อง (สี่เหลี่ยมผืนผ้า)
- 2″x1″
- 3-1/2″x1-1/2″
- 4″x2″
โดยความหนานั้น ไม่เกิน 2.3-3.2mm. สำหรับ มอก. และ หากไม่มี มอก. ความหนาตั้งแต่ 1.1mm.
ขนาดที่ไม่ได้กล่าวถึงในนี้ อาจมีบางร้านที่เก็บสต๊อก คือ 6″x2″ นอกเหนือจากนั้น การจะหาเหล็กไซส์ไปใช้งานอาจหาได้จาก โรงงานเหล็กโดยเฉพาะ หรือ ช่องทางออนไลน์ ที่สามารถจะหาเหล็กให้ได้