ลอนคู่

ลอนคู่ คือ ถูกออกแบบมาเพื่อสภาพอากาศของประเทศไทยที่มีอากาศร้อน และยังต้องสัมผัสกับความชื้น แต่ลักษณะที่โดดเด่นคือสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี หลังคาลอนคู่ถูกผลิตคิดค้นขึ้นมาจากตัวไฟเบอร์ซีเมนต์ ยังมีส่วนผสมจากเส้นใยสังเคราะห์ ที่สามารถช่วยลดการเกิดสารพิษ เหมาะกับงานมุงหลังคาที่มีโครงสร้างแบบทรงหน้าจั่วหรือเป็นรูปทรงตามบ้านเรือนของต่างจังหวัดส่วนมากจะเน้นมุงหลังคาเป็นกระเบื้องลอนคู่มากกว่าวัสดุตัวอื่นๆ

แบรนด์ ห้าห่วง

แบรนด์ที่มีนโยบายสีเขียว หรือ Green Policy บนเทคโนโลยี ไฟเบอร์ซีเมนต์และคอนกรีต เป็นนโยบายที่รักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ยังลดการใช้พลังงาน ตลอดจนมลภาวะที่เป็นพิษ ด้วยฐานที่ผลิตที่ทันสมัยและใช้วัตถุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่เป็นหัวใจหลักในการผลิต

วิธีการติดตั้งกระเบื้องลอนคู่

  1. ตรวจสอบโครงสร้างหลังคาให้ได้ฉาก ได้ระดับจะทำให้การมุงกระเบื้องและครอบต่างๆเรียบร้อยและสวยงาม
  2. ดูทิศทางการมุงกระเบื้อง ให้สังเกตทิศทางของฝนเพื่อที่จะได้ป้องกันน้ำฝนพัดเข้ามายังบริเวณจุดเล็กๆฝั่งด้านของแผ่น
  3. ตำแหน่งที่การยึดกระเบื้องด้วยสกรูปลายสว่าน กับกระเบื้อง 1 แผ่น จะใช้แค่ 1 ตัว แต่ให้ยึดที่ที่เป็นลอนตรงกลาง
  4. กระเบื้องลอนคู่ จะต้องมุงด้วยวิธีการที่ต้องตัดมุม
  5. เมื่อเริ่มที่จะมุงกระเบื้องลอนคู่แผ่นแรก ให้เริ่มที่ด้านริมแผ่นเป็นลอนคว่ำเสมอริมขอบด้านในไม้ปั้นลมเพื่อรองรัยการติดตั้งชุดครอบข้างต่อไป
  6. ยึดกระเบื้องด้วยสกรู ที่ลอนตรงกลาง ไม่ควรยึดแน่นจนเกินไป อาจจะทำให้กระเบื้องเกิดความเสียหายได้
  7. กระเบื้องแผ่นที่ 2 ตัดมุมมน ด้านขวานำมาวางซ้อนกับมนกระเบื้องแผ่นที่ 1 แล้วมุงกระเบื้องแผ่นต่อๆไปจนครบแถว
  8. เมื่อเริ่มแถวถัดไปด้วยกระเบื้องแผ่นที่ 3 ตัดมุมล่างซ้าย แล้วนำมาวางซ้อนทับบนกระเบื้องแผ่นที่ 1 เพื่อให้มุมตัดของแผ่นที่ 2 กับมุมตัดของแผ่นที่ 3 จนชิดกัน ทำให้มีระยะซ้อนกับแผ่นด้านยาว 20 ซม.
  9. แผ่นกระเบื้องหลังคาแผ่นที่ 4 ตัดมุมบนด้านขวากับมุมด้านซ้ายนำมาวางซ้อนทับบนกระเบื้องแผ่นที่ 2 แผ่นที่ 3 จากนั้นให้มุงกระเบื้องแผ่นถัดไปตัดมุมให้มันเข้ากัน
  10. ยึดครอบปีกซ้ายและครอบข้างต้องตัดจัดครอบให้แนบสนิทกับลอนกระเบื้องจากตำแหน่งยึดเจาะให้ห่างงจากปลายครอบ
  11. การติดตั้งครอบสินโค้ง 3 หัว บริเวณสันหลังคา ให้ทำโครงรองรับครอบ
  12. สำหรับหลังคาปั้นหยา ให้เริ่มต้นมุงกระเบื้องจากกึ่งกลางหลังคาด้านรูปสามเหลี่ยมออกไปทางด้านข้าง เพื่อให้ลอนกระเบื้องบริเวณสันตะเข้ทั้ง 2 ด้าน เป็นลอนเดียวกัน
  13. ติดตั้งสันตะเข้แบบเว้า ให้ติดตั้งเช่นเดียวกับการติดตั้งครอบสันโค้ง 3 หัว เพื่อให้ครอบสนิทกับกระเบื้องควรติดตั้งครอบไปพร้อมกับการมุงกระเบื้อง
  14. ต้องกองเก็บกระเบื้องภายในตัวอาคารที่มีหลังคา หรือถ้าเก็บไว้กลางแจ้งต้องมีผ้าคลุมไว้ปิด

ข้อดีของกระเบื้องลอนคู่

  • มีความแข็งแรง และทนทาน อยู่คู่บ้านไปอีกนาน
  • มีมาตรฐานการผลิต
  • เสียงไม่ดังเวลาที่มีฝนตก หรือมีลมแรงๆ
  • สามารถซ่อมได้ เวลาเจอปัญหารั่วซึมของน้ำ แค่เปลี่ยนแผ่นที่รั่วออก หรือแถวบริเวณนั้น

ข้อเสียของกระเบื้องลอนคู่

  • มีต้นทุนตอนที่ติดตั้ง และยังเปลืองวัสดุจำพวก แปเหล็ก
  • ในขณะที่เมทัลซีท จะเบากว่าและประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อแปเหล็กได้
  • ระยะแผ่นที่ค่อนข้างแคบ ทำให้เปลืองวัสดุเวลาติดตั้ง

9 วิธีดูแลรักษากระเบื้องลอนคู่

  1. ตรวจเช็คบริเวณแถวที่ปูกระเบื้องหลังคาให้เรียบร้อย ต้องดูว่าระยะห่างของกระเบื้องต้องเท่ากัน ถ้าปูกระเบื้องให้ถูกต้องจะเรียงกันเป็นระเบียบและสวยงาม ถ้ามีกระเบื้องที่เหลื่อมมันทับซ้อนกันหรือเสียหาย ต้องรีบแก้ไข้ให้ทันที เพราะอาจจะทำให้เกิดหลังคาเป็นรูรั่วหรือพังลงมาได้
  2. ต้องตรวจดูว่ากระเบื้องหลังคาไม่มีรอยแตกเสียหาย รอยแตกร้าวของแผ่นกระเบื้องทำให้มีน้ำรั่วซึมลงมาได้และถ้ายังทิ้งปัญหาไว้นานๆ รอยร้าวจะมีมากยิ่งขึ้นจนแตกแล้วหล่นลงมาได้
  3. หากมีต้นไม้ที่ต้นใหญ่ๆอยู่ใกล้กับหลังคาบ้าน ต้นไม้อาจจะลงใส่หลังคาบ้านได้ทำให้เกิดความเสียหาย ควรที่จะตัดตกแต่งกิ่งออกให้เรียบร้อยและสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันกิ่งไม้หล่นใส่หลังคาได้
  4. ใต้ครอบของมุมหลังคาส่วนมากจะมีช่องว่างอยู่ ควรที่จะต้องอุดช่องว่างนี้ด้วยปูนก่อน เพราะไม่อย่างนั้นนกและแมลงบางชนิดจะสามารถเข้าไปทำรังในช่องว่างที่ไม่ทำการอุดได้
  5. ตรวจเช็ครอยคาบต่างๆหรือรอยด่าง ที่ยังติดอยู่ตามกระเบื้อง ถ้ามีคราบเหล่านั้น ให้หาทางขจัดออกให้ได้เยอะที่สุด หลังคาจะได้ดูใหม่
  6. ต้องลองขึ้นไปตรวจหลังคาด้านนอกอย่างระมัดระวัง แล้วให้ใช้สายตามองดูให่ทั่วๆ ว่ามีกระเบื้องที่หลังคาแผ่นไหนเสียหาย และดูว่ามีกระเบื้องหลังคาหายไปบ้าง จะได้ทำการจัดแจ้งซ่อมแซม หรือเปลี่ยนให้มันได้ตรงจุด
  7. ให้ระวังก้อนกรวดเล็กๆ เพราะอาจจะทำให้เข้าไปอุดท่อน้ำได้ จะเกิดปัญหาที่ท่อระบายน้ำฝนอุดตัน อย่าลืมที่จะตรวจเช็คความเรียบร้อยของท่อน้ำไม่ให้มีเศษอะไรลงไปอุดหรือคาอยู่ได้
  8. สิ่งที่สำคัญและไม่ควรลืม คือการตรวจสอบที่ระบายน้ำ โดยต้องให้ท่อระบายน้ำกับหลังคาต้องเชื่อมติดกันอย่างมั่นคงแข็งแรง เพื่อที่จะไม่ให้เกิดน้ำรั่วออกมาจากนอกท่อ
  9. อย่าเช็คหลังคาแค่เฉพาะส่วนที่ใช้เวลาตรงนั้นบ่อยๆ ให้เช็คดูความเรียบร้อยของหลังคาแถวตรงห้องน้ำ ห้องครัว และตรงช่องระบายอากาศให้เรียบร้อย เมื่อเจอปัญหาหรือข้อบกพร่องตรงส่วนไหนก็ให้รีบจัดการให้เรียบร้อย จะทำให้การดูแลหลังคามันง่ายขึ้น และไม่ควรที่จะรอให้ถึงวันที่เกิดปัญหาจะทำให้การซ่อมหลังคามันยุ่งมากกว่าเดิม