รางเก็บสายไฟ 

รางเก็บสายไฟ  เหมาะกับเอาไว้ใช้รวบรวมสายไฟที่ไม่เป็นระเบียบทำให้มันเรียบร้อย สามารถป้องกันการเกิดเสียหาย ด้วยการที่เราเก็บสายทุกประเภท ให้เรียบร้อยทำให้เวลาเลือกใช้งานได้ทุกพื้นที่ และสะดวกต่อการใช้งาน มีความทนทาน ยืดหยุ่นสูง  มีคุณสมบัติทนต่อสภาพแวดล้อม และอากาศ น้ำหนัก ทำให้ไม่แตกหักง่าย ไม่เป็นสนิม และไม่เหลืองง่ายป้องกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว หรือลัดวงจรได้ สามารถทำให้ติดตั้งได้ทั้งภายนอก ภายใน ของตัวอาคาร

วิธีเก็บสายไฟ ให้ใช้งานง่าย และสบายตา

  1. ให้ทำจุดชาร์จอุปกรณ์ของอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกล่องกระดาษที่เหลือใช้

มุมชาร์จของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบ้านนั้นเป็นมุมที่เล็กๆ ที่มีดีกรีของความยุ่งเหยิงของสายไฟ ไม่ได้เล็กตามขนาดของมุมที่อุปกรณ์เหล่านั้นตั้งอยู่ เพราะมือถือของคนในบ้าน และ ยังมีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ต้องนำมาใข้งานร่วมกัน เมื่อเรากวาดสายตาไปมาก็ต้องเจอกับสายชาร์จที่นับไม่ได้ อีกทั้งยังพันกันยุ่งเหยิง หาต้นชนปลายของแต่ละเส้นไม่ได้ ทำให้กองรวมๆกันอยู่ที่เดียว ซึ่งการทำจุดชาร์จอุปกรณ์รวมกันไว้ในมุมเดียวให้เป็นระเบียบนั้นทำได้แบบไม่ยุ่งยาก

ด้วยการที่เรานำกล่องมาช่วยให้พรางสายตา เป็นวิธีที่ช่วยให้มองมาแล้วสบายตากว่าเดิมได้อย่างเดิมได้อย่างแน่นอน แค่นำปลั๊กพ่วงมาวางไว้ด้านในกล่องที่มีช่องให้สายไฟสามารถลอดออกมาได้ หากไม่มีกล่องแบบสำเร็จรูป เราสามารถนำกล่องรองเท้า หรือกล่องไปรษณีย์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว นำมาประยุกต์ใช้ใหม่ได้โดยนำกล่องมาเจาะช่องขนาดความกว้างพอที่จะทำให้สายไฟแต่ละเส้นรอดผ่านช่องออกมาได้พอดี เพราะเวลาต้องการที่จะใช้งานก็แค่ดึงเฉพาะปลายสายที่ต้องการใช้งานออกมาจากกล่อง ส่วนสายไฟที่เหลือก็ให้ม้วนเก็บไว้ด้านในกล่อง โดยไม่ต้องลากออกมายาวๆ ให้มันกวนสายตา และกินพื้นที่ด้านนอกโดยไม่จำเป็น

  1. นำตะแกรงเหล็ก มาช่วยจัดระเบียบของสายไฟใต้โต๊ะ

บริเวณหลังทีวี หรือโต๊ะคอม นั้น เป็นอีกมุมหนึ่งในบ้านที่มีสายไฟต่อพ่วงออกมาจากอุปกรณ์สารพัดชิ้น รวมๆกันแล้วอาจจะมีเป็นสิบๆ เส้นเลยทีเดียว ถ้าหากไม่กองรวมกันอยู่บนพื้น สายไฟเหล่านี้ก็อาจจะถูกมัดแอบๆ ห้อยอยู่บริเวณหลังตู้ แต่ถึงแม้จะมีสายไฟจำนวนเยอะขนาดไหน การใช้แผ่นตะแกรงเข้ามาเป็นตัวช่วยในการจัด เก็บสายไฟ  เพราะแทนที่จะปล่อยให้สายไฟแต่ละเส้นห้อยพันกันอยู่อย่างเดิม ลองเปลี่ยนมาใช้การม้วน และยึดสายไฟติดเข้ากับตะแกรงที่นำมาติดตั้งอยู่ที่บริเวณหลังตู้หรือหลังจอแสดงภาพได้อย่างเป็นระเบียบ จะมีสายไฟกี่เส้น หรืออุปกรณ์กี่ชิ้น ที่เราสามารถปรับเปลี่ยนจุดที่ต้องการยึด เก็บสายไฟ ได้อย่างยืดหยุ่น ใช้งานได้ง่าย และทำความสะอาดได้อย่างสะดวก

  1. สร้างชั้นวางให้ปลั๊กพ่วง

อีกวิธีที่จะช่วยให้ใช้งานพวกปลั๊กพ่วงได้ง่ายๆ และเป็นระเบียบเรียบร้อย คือการหาที่อยู่ประจำให้นั้นเอง แทนที่จะวางไว้บนโต๊ะ หรือวางตามพื้น เราสามารถใช้การติดตั้งชั้นวางรูปแบบต่างๆ เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านได้ อาจจะใช้เป็นชั้นตะแกรงอะลูมิเนียมเล็กๆ หรือช่องเสียบแบบผ้าก็ดูน่ารักไปอีกแบบ การทีเรานำไปวางบนชั้นจะช่วยให้เราปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ที่ยืดหยุ่นกว่า ไม่ว่าจะย้ายปลั๊กแต่ละตัวไปใช้งานตรงจุดไหนก็สามารถทำได้ง่าย ทีนี้ปลั๊กไฟที่ใช้งานก็จะอยู่อย่างเป็นสัดส่วนมากขึ้น แค่มีที่ประจำในแต่ละจุดเตรียมพร้อมไว้แค่นั้นเอง

  1. ให้เมจิเทปเป็นตัวช่วยในการ เก็บสายไฟ

เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด หรือปลั๊กพ่วงบางอัน อาจไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา จึงต้องมีการเก็บเข้าออกเป็นประจำ ทำให้ไม่เหมาะกับการติดตั้งแบบถาวร เมจิเทป หรือตีนตุ๊กแกแบบกาว จึงเหมาะเป็นวัสดุเสริมช่วยให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น หากต้องใช้งานในมุมไหนเป็นประจำที่จะสามารถติดเทปในบริเวณ นั้นให้ยึดกับตัวปลั๊กพ่วง หรืออุปกรณ์อื่นๆ ได้เมื่อใช้งานเสร็จก็แค่ดึงออกมาเก็บ นอกจากนี้ยังใช้ติดบนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้พันสายไฟได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ถือเป็นตัวช่วยเสริมที่สามารถพลิกแพลงการใช้งานได้ตามต้องการเลย

  1. เดินสายไฟ ยังไงให้กลายเป็นไอเดียสำหรับการตกแต่งบ้าน

ยังไงเราก็ต้องใช้งานสายไฟไปอีกนานๆ ถ้าอย่างนั้นทำไมไม่เดินสายไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าให้กลายเป็นงานศิลปะบนกำแพงไปเลย ในเมื่อไม่ต้องการซ่อมแล้วก็มาทำให้สายไฟเป็นส่วนหนึ่งของการแต่งบ้านกันดีกว่า เพราะการเดินสายไฟบนกำแพงไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป ถ้าเลือกทำให้เป็นลายเส้น หรือรูปทรงต่างๆ ก็จะเป็นการเพิ่มสวยแปลกตา และดีกว่าปล่อยทิ้งไว้บนพื้นด้วย ส่วนอีกวิธีก็คือให้หาวัสดุอื่นๆ อย่างสติ๊กเกอร์ หรือสายรัดสีสวยๆมาแปะทับสายไฟ เพื่อให้มีรายละเอียดน่ารักๆ ชวนมองได้โดยไม่ต้องติดตั้งท่อครอบสายไฟทับ

  1. รวมสายไฟให้หยิบใช้ได้อย่างสะดวก

เมื่อจัดการมุมปลั๊กพ่วงพี่แสนจะยุ่งเหยิงแล้ว ก็อย่าลืมจัดการกับปลายสายต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้กัน ถ้าหากวางทิ้งไว้เฉยๆ สายเหล่านี้ คงกระจัดกระจายกันเต็มไปหมดแน่นอน วิธีเก็บสายไฟให้เข้าที่ก็คือการหาอุปกรณ์มาช่วยรวบรวมให้อยู่ที่เดียว โดยอาจใช้อุปกรณ์เสริมง่ายๆ อย่างตัวหนีบกระดาษที่หาได้ตามทั่วไปไม่ยุ่งยาก หรือจะติดตั้งแถบแม่เหล็กที่ทำให้หยิบใช้ได้คล่องมือ ตัวยึดสายไฟนั้นมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน และความหลงตัวของพื้นที่

  1. กล่องซ่อนสายไฟ

การซ่อนความรกของสายไฟนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย แม้จะเป็นมุมที่ปลั๊ก และสายไฟมารวมกันมากแค่ไหน ก็สามารถหยิบจับข้าวของในบ้านมาใช้ซ่อนความรกของสายไฟตรงนี้ได้ และกล่องเก็บสายไฟโดยเฉพาะอาจไม่จำเป็น ถ้าได้กล่องเก็บของสักใบที่ลงตัว และอาศัยการหลบมุมก็ทำให้กองสายไฟที่ยุ่งเหยินหายไปได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจุดเชื่อมต่อปลั๊กพ่วง หรือมุมตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก็สามารถบังสายตาได้ด้วยภาชะง่ายๆ เหล่านี้

  1. สามารถติดตั้งช่องเสียบสายไฟ ที่ทำให้เป็นสัดส่วนได้

เพื่อความเป็นสัดส่วน และใช้งานได้อย่างสะดวกก็ต้องแปลงร่างปลั๊กพ่วง หรือช่องเสียบสายต่างๆ ให้มีความแข็งแรงถาวรเหมือนกับปลั๊กติดผนัง วิธีการง่ายๆ ที่สามารถใช้งานได้คล้ายกันคือ การติดตั้งปลั๊กพ่วง หรือช่องเสียบสายเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ด้วยเทปาว หรือ สายรัดนั่นเอง แม้แต่การใช้งานอาจจะไม่ได้เทียบเท่าช่องเสียบบนผนัง แต่ถ้าเป็นในด้านการจัดสรรพื้นที่ก็สามารถช่วยย้ายจุดที่เอาไว้รวมสายไฟให้เป็นสัดส่วน และเสียบใช้งานสะดวกขึ้น

https://www.facebook.com/Anajaknaichang