อิฐมวลเบา

อิฐมวลเบา หลายคนคงได้ยินชื่อนี้กันคุ้นหู เพราะได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยมามากกว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งโดยมากใช้เป็นผนังบ้าน ผนังกั้นห้อง รวมถึงผนังในอาคารต่างๆ ทั้งอาคาร Low Rise และ อาคาร High Rise

สารบัญ

อิฐมวลเบาผลิตมาจากอะไร?

ส่วนผสมของอิฐมวลเบาได้แก่

– ทราย
– คอนกรีต
– ผงยิปซั่ม
– น้ำ
– อลูมิเนียม

ขั้นตอนของกระบวนการผลิต อิฐมวลเบา ที่ได้ผ่านกระบวนการอบไอน้ำ

  1. โดยที่นำทรายบดละเอียดโดยเครื่องบดแล้วมาผสมกับน้ำ
  2. นำส่วนผสมทั้ง 5 อย่างได้แก่ ทราย ปูนขาว ผงอลูมิเนียม ยิบซั่ม ซีเมนต์ โดยมาผสมเข้าด้วยกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน
  3. นำส่วนผสมที่เสร็จแล้วจากขั้นตอนที่ 2 มาเทใส่แม่พิมพ์ เพื่อที่จะได้ขึ้นรูปทรงตามที่เราต้องการ
  4. เอาเข้าเครื่องบ่น เพื่อที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เป็นฟองอากาศฟูขึ้นมา
  5. นำก้อนอิฐเข้าเครื่องตัดเพื่อที่จะได้ทำให้อิฐมวลเบามีขนาดตามที่ต้องการ
  6. สามารถนำอิฐมวลเบาที่ตัดแล้วตามขนาดที่ต้องการให้เอาไปเข้าเครื่องอบไอน้ำ
  7. ตรวจสอบคุณภาพสินค้าของตัวอิฐมวลเบา ก่อนส่งออกหรือไปจัดจำหน่าย

อิฐมวลเบาในตลาดบ้านเราแบ่งเป็น 2 เกรดใหญ่ๆดังนี้

  1. G2 มีความเหมาะสมสำหรับเอาไว้ใช้ในโครงสร้างของอาคารจะเป็นระบบแบบ เสา – คาน สามารถที่จะกันความร้อนได้ดีกว่า
  2. G4 มีความเหมาะสมสำหรับเอาไว้ใช้ในโครงสร้างของอาคารจะเป็นระบบแบบ ไร้เสา-ไร้คาน

ซึ่งความต่างของ G2 และ G4 คือ ความหนาแน่นของเนื้ออิฐมวลเบา G4 จะมีความหนาแน่นมากกว่า ซึ่งส่งผลให้มีน้ำหนักมากกว่า แต่แข็งแรงกว่า ส่วน G2 นั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่า มีรูพรุนมากกว่า จึงมีค่าความเป็นฉนวนดีกว่า

หากถามถึงการเลือกใช้งาน ต้องขอเรียนตามตรงว่า ใช้ได้ทั้ง G2 และ G4 ไม่มีความต่างกัน แต่ในต่างประเทศ นิยมใช้ G4 ในการทำ Bearing Wall แต่ต้องมีความหนา 10ซม. ขึ้นไป ดังนั้นในบ้านเราที่นิยมใช้ 7.5ซม. จึงไม่มีความแตกต่างกัน

รายละเอียดการเปรียบเทียบระหว่าง G2 กับ G4 มีดังนี้

  • G2 มีเบากว่า G4 ถึง 40% เพราะมีฉนวนฟองอากาศที่มากกว่า
  • G2 มีน้ำหนักที่น้อยกว่า G4 เพราะจะประหยัดโครงสร้างอาคารได้มากกว่า
  • G2 จะมีความแข็งแรงอย่างมากที่เกินพอจะนำไปใช้งานโครงสร้างของระบบ เสา และ คาน
  • G2 และ G4 มีคุณสมบัติที่สามารถทนไฟได้พอๆกันไม่ได้ต่างกันมาก
  • G2 และ G4 มีคุณสมบัติที่สามารถกันเสียงที่ได้ไม่แตกต่างกัน
  • G2 มีคุณสมบัติที่ดูดซึมน้ำได้น้อยกว่า G4
  • G2 สามารถกันความร้อนได้ดีกว่า G4 เพราะมีฉนวนฟองอากาศที่มากกว่า

การสั่งซื้ออิฐมวลเบา

หลักๆจะมีการสั่งซื้อได้ 2 วิธี ดังนี้

  1. สามารถสั่งซื้อได้โดยตรงจากทางโรงงาน ซึ่งส่วนมากจะขนส่งโดยรถ 6 ล้อ (จำนวนก้อนประมาณอยู่ที่ 1,200 – 1400 ก้อน/เที่ยว)
  2. สามารถที่จะทำการสั่งซื้อโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย ส่วนมากจะขนส่งเป็นรถกระบะ หรือ 4 ล้อเล็ก (จำนวน 200 – 800 ก้อน / เที่ยว)

ดังนั้นการเข้าใจวิธีการสั่งสินค้าจะทำให้ช่วยประหยัด ค่าขนส่งได้

LINE : NaichangNetwork

ข้อดีของอิฐมวลเบา

  • ผลิตโดยมีการควบคุมคุณภาพและมีมาตรฐานรองรับการผลิต ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้อิฐมวลเบามีขนาดเท่ากัน ได้มาตรฐาน
  • อิฐมวลเบานำไปก่อในแนวตั้ง แต่ควบคุมการก่อฉาก ได้
  • การที่มีรูพรุนในอิฐมวลเบาจะทำหน้าที่ให้ อิฐมีน้ำหนักเบากว่าอิฐทั่ว ๆ ไป จึ่งมีความสามารถในการช่วยลดการรับ Load ของโครงสร้างหลัก
  • มีลักษณะเป็นรูพรุน หรือ มีฟองอากาศข้างใน ใช้เป็นฉนวนกันความร้อนและกันเสียงได้ รวมถึงสามารถทนการแผาไม้ได้ถึง 4 ชั่วโมง
  • อิฐมวลเบาจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าอิฐทั่วไป จึงช่วยให้สามารถก่อสร้างได้เร็วขึ้น
  • การรับน้ำหนักของอิฐมวลเบา สามารถรับได้ถึง 35 กก./ 1 ตร.ซม.

ข้อเสีย

สามารถนำไปประยุกต์ หรือ ทำการปรับแต่งได้น้อย ก็เพราะว่า อิฐมวลเบามีขนาดที่ใหญ่ ถ้านำไปใช้งานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่งานผนังนั้นจะทำได้ยาก

  • อาจจะมีปัญหาศัตรูที่เกี่ยวกับไม้ เช่นปลวก เพราะอิฐมวลเบานั้นมีส่วนประกอบของยิปซั่ม ซึ่งเป็นอาหารที่ชอบมากของปลวก
  • หากที่จะแก้ไขผนังบ้านจำเป็นที่จะต้องรื้อออกทั้งหมด แล้วจึงก่อให้ผนังขึ้นมาใหม่
  • อิฐมวลเบานั้นมีลักษณะของวัสดุที่มีรูพรุน ทำให้ดูซับน้ำจะมีผลต่อความชื้น ไม่นิยมใช้งานห้องน้ำหรือห้องครัว
  • ถ้าต้องเจาะผนังเพื่อติดตั้งอุปกรณ์จำเป็นที่จะต้องใช้พุกที่ออกแบบขึ้นมาเพื่ออิฐมวลเบา จะได้ทำให้เกิดความเสียหายได้ เนื่องจากอิฐมวลเบาที่ทำผนังอาจจะแตกร้าวได้มากกว่าอิฐมอญ

อิฐมวลเบาสามารถที่จะกันความร้อนได้หรือไม่

  • ได้ เพราะมีการทำปฏิกิริยาทางเคมีของกระบวนการขั้นตอนของการผลิตอิฐมวลเบา จะทำให้เกิดช่องโพรงอากาศแบบปิดเป็นรูพรุนอยู่ในตัวเนื้อวัสดุมีถึง 75 % โพรงอากาศเหล่านี้ทำให้อิฐมวลเบามีน้ำหนักที่น้อยกว่าอิฐแบบอื่นๆ

อิฐมวลเบาสามารถที่จะทนไฟได้หรือไม่

  • ได้ เพราะส่วนผสมหลักของอิฐมวลเบานั้นเป็นคอนกรีต ทำให้สามารถทนไฟได้เทียบเท่าอิฐบล็อกอยู่ประมาณที่ 4 ชั่วโมง แต่ในขณะที่ อิฐมอญสามารถที่จะกันได้เฉลี่ย 2 ชั่วโมง ของการก่อแบบทั่วไป

อิฐมวลเบานั้นมีความสามารถทนไฟได้หรือไม่

  • ได้ เพราะอิฐมวลเบานั้นมีความพรุนในเนื้อวัสดุที่ค่อนข้างมาก เลยทำให้ได้เปรียบในการป้องกันความชื้น เนื่องจากโพรงอากาศของอิฐมวลเบานั้น เป็นแบบเปิดโล่ง จะส่งผลให้ น้ำและความชื้นไม่สามารถที่จะซึมผ่านได้

ข้อจำกัดของอิฐมวลเบา

  • ถ้าเราต้องการใช้งานอิฐมวลเบารวมกับอิฐอื่นๆเราจำเป็นที่จะต้องใช้ปูนในการก่อและฉาบเลยอาจจะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
  • อิฐมวลเบาแนะนำให้ใช้พุกโลหะเพื่อที่ใช้จะเจาะอิฐชนิดนี้เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
  • เมื่อเปรียบเทียบราคาระหว่างอิฐมวลเบากับอิฐมอญและก็อิฐบล็อกราคาต่างกันค่อนข้างสูง

การนำอิฐมวลเบาไปใช้งาน

ขั้นตอนของการก่อ ควรที่จะเริ่มจากการหาระดับ การตีเส้นไลน์ของการก่อ รวมไปถึงการขึงเอ็น เพื่อให้มีการก่ออิฐมวลเบาแถวแรก ตรงตามแนวดิ่ง โดยจะมีการก่อในส่วนที่ติดกับโครงสร้างนั้น แนะนำให้ใช้ปูนทราย ทำการก่อหน้าประมาณ 2 – 3 ซม. จากนั้นชั้นต่อๆไป ใช้ปูนก่ออิฐมวลเบา (ซึ่งมีคุณลักษณะคล้ายปูนกาว) ก่อเรียงขึ้นไปเรื่อยๆ จนชนใต้คาน (หากผนังมีขนาดใหญ่มาก ต้องทำเสาเอ็น ทับหลัง)

**จริงๆแล้ว การก่ออิฐมวลเบา มีอุปกรณ์เสริมเพื่อให้ผนังมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นคือ Metal Strap หรือ เมทัลสแตรป ใช้ยึดอิฐมวลเบากับโครงสร้างเข้าด้วยกัน***

ขั้นตอนการฉาบ ควรเริ่มต้นจาก
1. การปัดฝุ่นเศษอิฐมวลเบาออกจากหน้าผนังก่อน
2. การพรมน้ำให้ชุ่ม ให้อิฐอิมน้ำ (ป้องกัน ปูนฉาบดูดซึมน้ำเร็วเกิน จนผนังแตกร้าว)
3. การฉาบต้องฉาบด้วยปูนฉาบอิฐมวลเบาเท่านั้น โดยการฉาบควรแบ่งฉาบเป็น 2 รอบ รอบละ ไม่เกิน 1ซม. เพื่อป้องกันผนังแตกร้าว

**นอกจากนี้ปัจจัยที่ทำให้ผนังอิฐมวลเบาร้าว ยังมีอีก คือ การไม่ใช้เกรียงก่ออิฐมวลเบา หากใช้เกรียงใบโพธิ์จะทำให้ ปาดปูนก่ออิฐมวลเบาไม่เต็มหน้าอิฐ การก่ออิฐมวลเบาขึ้นไป จะมีแสงสว่างรอดออกมา***

ข้อห้ามของการก่อผนัง

  1. ห้ามก่ออิฐเสร็จภายในวันเดียว ทุกคนคงมีข้อสงสัยว่าทำไมช่างถึงไม่ก่อผนังให้เสร็จรวดเดียว เนื่องจากปูนก่อจะเกิดการหดตัวภายหลังหากจะก่อจนชนเสาหรือชนเพดานในครั้งเดียวจะทำให้ผลังเกิดการผิดรูปจากการหดตัวได้
  2. ห้ามก่ออิฐชยท้องพื้นสำเร็จรูปของชั้นบน ตัวอย่าง ถ้าเป็นบ้านสองชั้น ถ้าชั้นบนปูด้วยพื้นสำเร็จรูป การก่ออิฐชั้นล่างไม่ควรที่จะก่อชนท้องพื้นด้านบนเลยเด็ดขาด จำเป็นที่จะต้องเว้นระยะให้เหลือช่องว่างเอาไว้กันผนังหดตัว หลังจากนั้นถึงจะค่อยก่อเปิดเพิ่มช่องโหว่ด้วยการก่ออิฐแบบแนวทะแยง
  3. อย่าก่ออิฐบนพท้นสำเร็จรูป หรือพื้นที่ไม่มีคาน เป็นเรื่องที่ห้ามทำเด็ดขาด เนื่องจากแผงอิฐก่อจะอ่อนไหวต่อการแอนตัวของพื้นสำเร็จรูป หรืออีกแบบก็คือพื้นที่ไม่มีคานรองรับ ทำให้ผนังทั้งแผ่นเกิดการแอ่นตัวตามได้ จะส่งผลที่จะทำให้เกิดการแตกร้าว กรณีจะเกิดก็ต่อเมื่อได้ต่อเติมบ้าน
  4. ห้ามฉาบผนังเร็วเกินไป จำเป็นที่ต้องทิ้งให้ปูนทำการหดตัวก่อน จากนั้นถึงจะรดน้ำผนังเพื่อให้อิฐดูดน้ำจนอิ่มจะได้ไม่หันมาดูดน้ำจากปูนฉาบเพื่อที่จะป้องกันการแตกร้าว

ความรู้ของวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป

การนำวัสดุก่อสร้างไปใช้งาน คลิกที่นี่

ความรู้วัสดุก่อสร้างในการนำไปใช้งาน คลิกที่นี่

สั่งซื้อ สินค้า ร้านอาณาจักรนายช่าง ได้ที่

LINE : NaichangNetwork

หรือโทร 086-341-9908

กลับไปที่สารบัญ