สีทาบ้าน แบบไหนถึงใช้แล้วบ้านดูสวยงาม
สีทาบ้าน จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยแต่งเติมสีสัน และ สร้างบรรยากาศให้บ้านของเรา ซึ่งในปัจจุบันนี้สีมักจะมีขายอยู่ตามท้องตลาดมีนับร้อย ๆ ชนิดให้เลือกใช้ แต่น้อยคนอาจจะไม่รู้ว่า สีทาบ้านที่เราใช้กันมีอยู่กี่แบบ กี่ชนิด และ มันมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เดียวเราจะพาไปดูองค์ประกอบของการใช้งานสีทาบ้าน เพื่อนำไปเลือกใช้งานให้มีความเหมาะสม มีสีที่ติดทนนาน และ มีความปลอดภัยต่อสุขภาพคนในบ้าน จะมีอะไรบ้าง มาดูไปพร้อม ๆ กันเลย
สารบัญ
สีทาบ้าน มีส่วนผสมอะไรบ้าง
- ผงสี จะเป็นส่วนผสมที่ทำให้เกิดสีมาปิดบังสีพื้นผิวเดิม ทำให้เรารู้ว่าสีนั้นเป็นสีอะไร มักจะใช้ผงสีที่เป็นสารอินทรีย์ ได้แก่ โมโนอะโซ พิกเม้นท์ และ ส่วนผสมที่เป็นอนินทรีย์ ได้แก่ ไททาเนียม ไดออกไซด์ แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น
- สารยึดเกาะ หรือ อะคริลิก สารนี้นั้นจะมีหน้าที่ประสารผงสีให้มีความเข้ากันกับสารยึด เพื่อทำการยึดเกาะให้ติดกับพื้นผิว พร้อมทำหน้าที่เคลือบพื้นผิว ที่จะมีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้สีมีความเงางาม จะมีลักษณะเป็นสีขาวขุ่นคล้าย ๆ กับกาวหากยังไม่ผสมกับผงสี แต่เมื่อนำมาผสมกับผงสีจะได้เนื้อสีตามผงสีเลย สามารถแห้งตัวได้อย่างเร็ว มีความยืดหยุ่น เหนียว ไม่เปราะง่ายเมื่อมีการแห้งตัว มีความทนต่อสภาพอากาศ แสงแดด หรือ สิ่งแวดล้อม และ กรดต่าง ๆ
- ตัวทำลาย จะถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญอย่างมาก จะทำหน้าที่ไม่ให้สีจับตัวกันเป็นก้อน และ ช่วยให้สารยึดเกาะกับผงสีเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้มีความหนืด ที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
- สารเติมแต่ง จะเป็นสารปรุงแต่งต่าง ๆ ที่ใช้ในสีทาบ้าน อาจจะเติมลงไปเพียงแค่เล็กน้อย เพื่อไม่ให้สีทาบ้านมีคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ป้องกันการเกิดฟองของสี ป้องกันการบูดเน่าของสี เพิ่มการกระจายตัวของสี เพิ่มแรงยึดเกาะให้สีมีความทนทาน เพิ่มความเรียบเนียน เพิ่มความมันเงา ช่วยป้องกันแสงแดด และ ป้องกันความชื้น + เชื้อรา ได้ด้วยนั่นเอง
ชนิดของสีทาบ้าน มีอะไรบ้าง
ที่เราใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นจะมีคุณสมบัติที่มีความแตกต่างกัน ดังนี้
- สีทาบ้านภายนอก จะเป็นสีที่เราใช้ทาทับส่วนผนังที่อยู่ภายนอกของบ้านหลังจากที่ทาสีรองพื้นแล้ว เพื่อให้เกิดสีตามโทนสีที่เราต้องการ เมื่อต้องนำไปใช้ทาภายนอก สีจึงได้ถูกออกแบบมาให้มีความทนทานมากกว่าสีที่ทาภายใน เพราะจะต้องเจอกับแดด และ ฝน จึงมีการเพิ่มสารพิเศษต่าง ๆ เข้าไปช่วยเพิ่มคุณสมบัติให้สามารถใช้งานได้อย่างดี และ ยาวนาน ปัจจุบันสีทาบ้านภายนอกก็สามารถที่จะนำมาใช้ทาภายในได้อีกด้วยนั่นเอง
สีทาภายนอก ควรที่จะเลือกสีประเภท อะคริลิก โดยทำการทา 3 รอบ ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็คือ การเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสี เพราะว่า 80 % ของการวิบัติของสีจะเกิดมาจากการเตรียมพื้นผิวที่ไม่ดี ดังนั้น ก่อนการทาสีนั้นจะต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่ที่จะทานั้น ต้องมีความแห้งสนิท ไม่มีสภาพเป็นกรดด่าง หรือ มีฝุ่นเกาะ ควรที่จะเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตก ถ้าหากมีก็ต้องทำการปิดรอยต่อก่อนให้เรียบร้อย ก่อนที่เราจะทำการทาสี โดยปกติการทาสีทุก ๆ ประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบ และ ไม่ควรที่จะทาสีเกิน 5 รอบ เพราะอาจจะทำให้ชั้นของสีมีความหนาที่เกินไป และ อาจจะเกิดการหลุดร่อนได้ง่ายด้วย
- สีทาบ้านภายใน เป็นสีที่ทาทับส่วนของผนังภายใน เป็นสีที่ไม่ต้องเจอกับสภาพอากาศที่ แดดออก ฝนตก เท่าไหร่ แต่การทาสีภายในนั้นก็จะมีความสำคัญอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรที่จะเลือกสีที่มีคุณสมบัติเช็ดออกล้างได้ง่าย สามารถป้องกันเชื้อราได้ดร และ ต้องไม่มีกลิ่นฉุน
สีที่ทาจะต้องทาส่วนภายในอาคาร ได้แก่ ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซัมบอร์ด กระเบื้องแผ่นเรียบ หรือ ส่วนอื่น ๆ ควรทาประมาณ 2 – 3 รอบ ไม่ควรนำสีภายในไปใช้ทาผนังภายนอก เพราะเนื่องจากสีภายใน ไม่สามารถทดแดด ทนฝน ได้ทำให้สีเกิดการหลุดล่อนได้ง่าย ดังนั้น ผนังที่จะทำการทาสีจะต้องสะอาด มีความแห้ง ไม่มีความชื้น เพราะความชื้นจะทำให้ระบายอากาศไม่ได้ และ จะทำให้เนื้อสีเกิดพอง แล้วบวมได้นั่นเองฃ
- สีทารองพื้น จะเป็นสีทารองพื้นหลังจากที่เราทำการฉาบปูนเสร็จแล้ว ก่อนที่จะทำการทาสีบ้านจริงภายใน และ ภายนอก เพื่อให้เกิดโทนสีที่ต้องการ และ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะของสีทาทับหน้า หรือ วัสดุที่ฉาบให้ดียิ่งขึ้น สีทารองพื้นนั้นเหมือนกับสีทาภายนอก และ สีทาภายใน จะมีความแตกต่างกันที่ชนิดของกาว และ ส่วนผสมที่มากกว่า ซึ่งจะมีลักษณะที่มีความทนต่อสภาพความเป็นด่างที่ดี เนื่องจากเป็นส่วนที่สัมผัสกับปูนนั่นเอง
ซึ่งสีทารองพื้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ก็คือ สีทารองพื้นปูนใหม่ และ สีทารองพื้นปูนเก่า จะใช้งานแตกต่างกันดังนี้
- สีทารองพื้นปูนใหม่ จะมีเนื้อสีขาว สูตรน้ำ ไม่มีกลิ่นฉุน ทาง่าย และ ราคาถูก ใช้สำหรับทาผนังฉาบปูนใหม่เท่านั้น เพื่อป้องกันรา และ ด่าง ที่จะเกิดขึ้นหลังจากทาสี เนื่องจากในช่วงแรกหลังจากการฉาบผนังใหม่ ปูนฉาบอาจจะมีการระบายความชื้นออกมา ส่วนผสมของสีรองพื้นปูนใหม่จะช่วยป้องกันการเกิดรอยด่าง และ ช่วยในเรื่องของการยึดเกาะที่ดีกับผนังฉาบปูน และ สีทาทับหน้า
- สีทารองพื้นปูนเก่า จะแบ่งออกเป็น 2 สูตร ก็คือ สูตรน้ำ จะมีลักษณะเป็นสีขาว และ สูตรน้ำมัน จะมีลักษณะจะเป็นสีใส ๆ และ กลิ่นฉุนมากกว่าสูตรน้ำ แต่จะมีประสิทธิภาพในการยึดเกาะได้ดีกว่าสูตรน้ำ สีรองพื้นปูนเก่าจะมีความเหมาะสมสำหรับการใช้ทารองพื้นผนังฉาบปูนที่ผ่านการทาสี หรือ ใช้งานมานานแล้ว ซึ่งอาจจะมีการกัดกร่อนของสีทาทับหน้าเดิม มีเชื้อรา หรือ ตะไคร่น้ำ โดยทำการขูดสีทับหน้าเดิม ล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกก่อน รอให้มีความแห้งสนิท แล้วถึงจะทำการทาสีรองพื้นปูนเก่าก่อนที่จะทาสีทับหน้าตาม
ข้อแนะนำต่าง ๆ ในการซื้อสี
วิธีการเลือกซื้อสีทาภายนอก
- มีความทนต่อสภาพอากาศ ทั้งแดด ฝน และ แรงลม ความร้อน หรือ ความชื้นได้อย่างดี
- สามารถปิดรอยร้าว รอยแตกของผนังได้ด้วย
- ปกป้องผิวของซีเมนต์ ป้องกันน้ำซึมผ่านได้ดี เนื้อเป็นสีเงา ลื่น ไม่จับเป็นฝุ่น
- สามารถที่จะทำการเช็คทำความสะอาด สิ่งสกปรกได้อย่างง่าย มีความทนต่อแรงขัดถู เนื้อสีไม่เกิดการหลุดลอก
- สามารถป้องกันเชื้อรา ตะไคร่น้ำได้อย่างดี
- สามารถทนต่อความร้อน เนื้อสีจะต้องไม่ซีดง่าย ไม่หลุดล่อน และ ไม่สามารถสะท้อนความร้อนได้ ไม่ทำให้บ้านร้อน
วิธีการเลือกซื้อสีทาภายใน
- เนื้อสีจะต้องมีความละเอียด และ เงา
- สามารถที่จะเช็คทำความสะอาดสิ่งสกปรกได้อย่างง่าย ทนต่อแรงขัดถู ไม่มีเนื้อสีหลุดลอก
- สามารถป้องกันเชื้อรา แบคทีเรียต่าง ๆ ได้ด้วย
- ไม่มีกลิ่นฉุน หรือ สารระเหยที่เป็นอันตรายต่อผู้พักอาศัย
วิธีการเลือกซื้อสีทารองพื้น
- เนื้อสีจะต้องไม่มีความยืดหยุ่นที่สูง ช่วยประสานรอยแตกร้าวได้อย่างดี
- สามารถป้องกันน้ำซึมเข้าผนังได้อย่างดี ป้องกันคราบต่าง ๆ และ ช่วยลดปัญหาของสีที่ลอกล่อน
- ฟิล์มสีจะต้องมีความทนต่อสภาพอากาศ ไม่ซีดจาง สีจะไม่เกิดการพอง
- จะต้องไม่มีกลิ่นฉุด ปราศจากสารปรอท ตะกั่ว โลหะหนัก ที่เป็นอัตรายต่าง ๆ
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ อาณาจักรนายช่าง
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
https://www.facebook.com/Anajaknaichang