สร้างบ้านก็ต้องมีกำแพง ถ้างั้นทำไมไม่ทำกำแพงที่มีฉนวนกันร้อนด้วยเสียเลยล่ะ??
แผ่นโฟม ที่เอาจะใช้ในงานก่อสร้าง มีขั้นตอนการผลิต คือนำเม็ดพลาสติกมาอบผ่านไอน้ำ หรือ Steaming ที่จะทำให้เกิดการขยายตัวจากอากาศที่เข้าไปแทนที่ ทำให้มีคุณสมบัติที่เบา แต่ก็เป็นฉนวนความร้อนได้ โดยส่วนของบ้านต่าง ๆ ที่จะใช้โฟมกันความร้อน คือ งานปรับระดับพื้น งานฝ้า งานผนัง งานต่อเติม ซึ่งจะใช้เกรดไม่ลามไฟ
แผ่นโฟม (Foam board)
โฟม (Foam) ได้ยินชื่อนี้ก็ต้องนึกถึงความเบา การกันกระแทก หรือเม็ดโฟมทั่ว ๆ ไปที่เห็นกัน แต่โฟมก่อสร้างนั้นจะต่างออกไปจากที่เรา ๆ รู้จัก
แผ่นโฟมในงานก่อสร้าง
ผลิตด้วยโฟมที่หนาแน่นเป็นพิเศษ เพิ่มคุณสมบัติไม่ลามไฟ นอกโดยนอกจากการทำหน้าที่เป็นผนังที่ป้องกันมลภาวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะฝุ่น แสงแดด ความร้อน ลม ความชื้น ไม่ให้เข้าตัวบ้าน และมีหน้าที่แบ่งสัดส่วนห้องต่าง ๆ แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้อย่างดีด้วย ดังนั้นการเลือก แผ่นโฟม ก่อสร้างมาทำเป็นผนังบ้านก็เป็นตัวเลือกที่ดีในประเทศไทยที่มีอากาศร้อนอบอ้าวตลอดทั้งปี
ประหยัดพลังงานมากขึ้น
คุณสมบัติของ แผ่นโฟม คือกันอากาศได้ทั้งสองฝั่ง ดังนั้น พื้นที่อยู่อาศัยภายใน ก็จะสามารถรักษาอุณหภูมิไว้ได้ หากมีการเปิดแอร์ ซึ่งจะทำให้แอร์ไม่ทำงานหนัก มีผลตามมาคือประหยัดไฟฟ้า และยืดอายุการใช้งานได้อย่างยังยืน
ประหยัดทั้งต้นทุน และค่าแรง
ด้วยคุณสมบัติของแผ่นโฟมก่อสร้าง ที่มีน้ำหนักเบานี้เอง ที่ทำใหประหยัดค่าต้นทุนในการก่อสร้างที่เห็นได้ชัด เพราะว่าน้ำหนักของโฟม มีความเบามาก ขนย้ายง่าย ทำงานคล่อง หน้างานไม่เลอะเทอะจึงทำให้ประหยัดได้ทั้งระยะเวลาในการก่อสร้าง รวมไปถึงค่าแรงคนงาน
การติดตั้ง แผ่นโฟม เป็นผนัง
แผ่นโฟมที่ติดตั้งจะต้องใช้งานร่วมกับโครงคร่าวเหล็ก
- เหล็กที่จะใช้เป็นโครงคร่าว คือ U-Track
- โครงคร่าว U-Track จะใช้ติดใต้ท้องคาน กับพื้น จากนั้นยึดด้วยสกรูว์ให้แน่น
- สอด แผ่นโฟม เข้าไปใน U-Track และทำการยึดติดโฟมกับโครงคร่าวด้วย กาวประสานโฟมก่อสร้าง หรือ Max Bonding
- ฉาบผิวโฟมด้วยปูน แผ่นวัสดุก่อสร้าง หรือวัสดุที่จะใช้ปิดผิวอื่น ๆ ตามต้องการ
เพิ่มเติม นอกจากโครงคร่าวเหล็กที่ใช้ U-Track แล้ว ระยะห่างระหว่างโครงค่าวแนวตั้ง จะอยู่ที่ 1.2 เมตร และแนวนอนจะอยู่ที่ 0.9 เมตร
ราคาโฟมแผ่น
ความหนา (นิ้ว) | น้ำหนัก (ปอนด์) | ขนาด | ราคา |
1 | 0.55 | 60 cm x 120 cm | 26 |
1 | 0.55 | 1.2 m x 3 m | 130 |
1 | 0.80 | 60 cm x 120 cm | 37 |
1 | 0.80 | 1.2 m x 3 m | 185 |
1 | 1.0 | 60 cm x 120 cm | 40 |
1 | 1.0 | 1.2 m x 3 m | 200 |
1 | 1.25 | 60 cm x 120 cm | 50 |
1 | 1.25 | 1.2 m x 3 m | 250 |
1 | 1.5 | 60 cm x 120 cm | 6 |
1 | 1.5 | 1.2 m x 3 m | 300 |
1 | 20. | 60 cm x 120 cm | 80 |
1 | 2.0 | 1.2 m x 3 m | 400 |
การทำสอบคุณสมบัติของ แผ่นโฟม
ผลการทดสอบคุณสมบัติ ตามมาตรฐานที่ระบุไว้ตามตาราง ได้ผ่านหน่วยบริการวิเคราะห์ และทดสอบ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีประจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
คุณสมบัติ |
มาตรฐาน | หน่วย | ผลการทดสอบ เพื่อดูความหนาแน่น | ||
1 | 1.5 |
2 |
|||
นำความร้อน |
ASTM C177 | W/m*K | 0.0321 | 0.029 | 0.0272 |
ไม่ลามไฟ | JIS A9511 | Seconds | 3.5 | 2.47 |
2.07 |
ดูดซึมน้ำต่ำ (4วัน) |
ASTM D570 | อัตราร้อยละการเปลี่ยนแปลงมวล | 11.1 | 1.09 | 1.09 |
ต้านทานแรงกดอัด | ASTM D1621 | กิโลนิวตัน/ตารางเมตร | 90.5 | 139.2 |
213.1 |
ต้านทานแรงอัด |
ASTM C203 | กิโลนิวตัน/ตารางเมตร | 173.4 | 247.5 |
316.7 |
คุณสมบัติของ แผ่นโฟม ก่อสร้าง
- ใช้ได้ในทุกส่วนประกอบ เช่น พื้นบ้าน ผนังบ้าน ฝ้าบนบ้าน ยกเว้นงานโครงสร้างที่รับน้ำหนักไม่ได้
- เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนัก หรือทำงานตลอดเวลา ทำให้ยืดอายุการใช้งานได้มากขึ้น
- แผ่นโฟม ใช้งานร่วมกับวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ได้มากมาย และใช้งานร่วมกันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังตัดเจาะ หรือตกแต่งได้ง่ายโฟมแผ่น สามารถใช้งานร่วมกับวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี และโฟมก่อสร้างสามารถตัดเจาะได้ง่าย
- ประหยัดสุด ๆ ด้วยเหตุที่ไม่ต้องใช้ อิฐ ปูน และเวลา ที่มากมาย อีกทั้งการติดตั้งก็ไม่ต้องใช้คนเยอะ ทั้งน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายไปมาสะดวก