สินค้าเกี่ยวกับ ยิปซั่มบอร์ดดูสินค้าทั้งหมด

ปูนฉาบยิปซั่ม

ปูนฉาบยิปซั่ม เป็นปูนฉาบที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงเหมาะกับงานที่ฉาบรอยต่อแผ่นยิปซั่ม หรือ งานฉาบเก็บรอยของหัวน็อคสกรู ทำให้งานออกมาเรียบเนียนสวยไม่มีรอยต่อหรือรอยหัวน็อคสกรู ถึงจะใช้ในปริมาณที่น้อยแต่ประสิทธิที่ภาพสามารถยึดเกาะผนังได้ดีและยังไม่ต้องเพิ่มน้ำยายึดเกาะผนังผสมลงไปอีกด้วย ยังสามารถที่จะประหยัดเวลาในการใช้งานให้น้อยลง ยังช่วยเรื่องกันความร้อน

เปรียบเทียบผนังที่ฉาบด้วย มอร์ตาร์ฉาบทั่วไป กับ ปูนฉาบGypsum

หากเรานำปูนฉาบยิปซั่มหรือปูนฉาบซีเมนต์ไปใช้งานไม่ถูกประเภท จะทำให้เกิดปัญหาในการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น นำปูนฉาบอิฐมวลเบา ไปฉาบผนังอิฐมอญ
เป็นต้น ดังนัIนการใช้ปูนซีเมนต์ให้ถูกต้องจึงมีความสำคัญมากก  ถ้าเลือกใช้ปูนผิดชนิด ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นตามมา เช่น เกิดรอยแตกร้าว พื้นผิวยึดเกาะไม่ดี ไม่ได้งานตามที่กำหนด ต้องกลับมาแก้งานใหม่รวมถึงทำให้เสียเวลาทำงานเยอะกว่าเดิมมาก
 ปูนซีเมนต์เป็นปูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน แต่สำหรับงานที่ต้องฉาบภายใน การใช้ปูนฉาบยิปซัมบอร์ดจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการฉาบเพราะเป็นปูนฉาบภายในโดยเฉพาะ  ถึงแม้ว่าปริมาณของปูนจะน้อยกว่าก็ตาม ปูนฉาบยิปซัมบอร์สามารถฉาบได้พื้นที่ที่มากกว่า    

ปูนซีเมนต์ทั่วไป

  • เมื่อผสมน้ำแล้วจะได้ปริมาณปูนที่เกือบจะเท่ากัน น้ำหนักเบากว่า 

  • มีค่าหดตัวน้อยกว่า 3 เท่า จึงไม่เกิดรอยร้าว

  • ไม่จำเป็นต้องสลัดดอกหรือเพิ่มน้ำยายึดเกาะ ยึดเกาะได้ดีกว่า 

  • สามารถกันความร้อนได้ ทำให้บ้านเย็นขึ้น

  • มีค่าเป็นกลาง(pH 7) ไม่กัดมือช่าง

  • ใช้เวลาในการทำงานน้อยกว่า

  • ใช้งานเฉพาะภายใน

ปูนฉาบยิปซั่ม

  • น้ำหนักมากกว่า

  • เกิดรอยร้าว รอยแตกรายงาได้ง่าย

  • ผิวหน้าหลุดร่อนได้ อาจจะต้องแก้งานภายหลัง

  • ค่าการอมความร้อนมาก

  • เป็นด่าง(pH 13-14)

  • ใช้เวลาในการทำงานนาน

  • ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก

 ปูนฉาบซีเมนต์ทั่วไปจะฉาบผนังได้ทั้งภายในและภายนอก แต่หากเทียบกับประสิทธิภาพการใช้งานแล้ว เรียกได้ว่าปูนฉาบยิปซั่มเป็นปูนที่สะดวกต่อผู้ใช้และเป็นมิตรต่อผู้อาศัย ปูนฉาบยิปซัมช่วยให้การก่อสร้างเสร็จเร็วขึ้น กันร้อนและยึดเกาะได้ดีกว่าปูนซีเมนต์ทั่วไป 

ข้อดีของปูนฉาบยิปซั่ม มีดังนี้

  1. เหมาะกับการทาสีหรือทำการติดวอลเปเปอร์บนผนัง

ปูนฉาบยิปซั่มมีสีขาว ทำให้การตกแต่งนั้นง่ายเพราะว่าพื้นผิวที่ขาวเนียนลงสีมันจะออกมาอย่างสวยงามทำให้ค่าสีที่ค่าลงไปไม่เกิดการผิดเพี้ยน หรือ จะติดวอลเปเปอร์ก็ทำได้อย่างง่ายไม่ต้องกลัวว่าถ้าติดไปแล้วมันจะออกมาไม่สวยหรือขรุขระ

  1. ความแข็งแรงทนทาน

ปูนฉาบยิปซั่มได้ถูกจัดเป็นปูนที่มีวัสดุที่แข็งแรงแล้วมีความทนทานอีกทั้งยังมีน้ำหนักที่เบา ช่วยให้ประหยัดเวลาในดารฉาบได้เร็วยิ่งขึ้นและยังลดน้ำหนักในส่วนที่เกินหรือไม่จำเป็นออกไปในการก่อสร้าง

  1. ความสวยงามและการต้านความร้อน

การที่มีลักษณะที่เบาบาง ทำให้การใช้งานไหลลื่น ไม่ต้องกังวลตอนฉาบเลยว่าจะไม่เรียบเนียนหรือไม่ได้ระดับ หรือทำให้ออกมาไม่สวยงามอย่างที่ตั้งใจไว้ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นผิวของกำแพงอีกด้วยยังมีคุณสมบัติที่น่าถึงคือการต้านทานความร้อน การใช้ปูนฉาบยิปซั่มควรใช้บริเวณพื้นที่ที่มีความร้อนเพราะสามารถรับมือได้

  1. พื้นผิวไม่แตกร้าว

มีส่วนที่คล้ายกับปูนฉาบประเภทอื่นๆที่เวลานำปูนมาผสมกับน้ำแล้วจะเกิดความร้อนและก็จะปล่อยความร้อนออกมา ฉะนั้นปูนยิปซั่มเกิดจากความร้อนและปล่อยออกมาเพียงเล็กน้อยซึ่งถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันของการเกิดรอยแตกร้าวบนผนังหลังจากทำการฉาบเสร็จแล้ว

  1. ใช้งานง่ายและใช้น้ำน้อย

ปูนฉาบยิปซั่มการใช้งานง่ายมากเพียงแค่ฉีกถุงแล้วผสมกับน้ำ ก็สามารถที่จะใช้งานได้ทุกพื้นผิวไม่ว่าพื้นผิวจะมีลักษณะไม่เรียบเนียนหรือว่าจะขรุขระ หรือบางพื้นที่อาจจะใช้งานในปริมาณที่น้อยในการผสมปูน ก็ทำให้เวลาในการทำงานไม่เยอะเลยเพราะประสิทธิภาพของการแห้งตัวดีมากจึงไม่นำเป็นต้องรอนาน

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมต่อการฉาบมีดังนี้

  1. ถังเปลผสมปูน เอาไว้ใช้ผสมปูนกับทรายและอางเปลก็ยังใช้งานได้สารพัดประโยชน์ เช่น ผสมปูนฉาบ คอนกรีต
  2. เกรียงเหล็ก คือ เครื่องมือสำหรับใช้ในการก่ออิฐและฉาบปูนเกรียงมีหลากหลายชนิดสามารถเลือกใช้ได้ตามสภาพงานและด้ามทำด้วยไม้หรือเหล็ก
  3. เกรียงไม้ เอาไว้ใช้ตกแต่งหรือกดปูนให้เรียบ เช่นนำมาแต่งพื้นหรือฉาบปูน การเก็บรักษาเกรียงไม้โดยล้างให้สะอาดหลังจากการใช้งานแล้ว ปัจจุบันนิยมทำด้วยพลาสติก
  4. เกรียงเหล็กขัดมัน เป็นเกรียงชนิดพิเศษ เกรียงเหล็กใช้สำหรับขัดมันบริเวณพื้นผิวหรือมุมที่ไม่สามารถใช้เครื่องขัด หรือมันได้ และยังสามารถใช้ขัดมันสำหรับพื้นที่เล็กๆ ที่ไม่ได้เน้นความประณีตมาก
  5. ถังน้ำหรือถังใส่ปูน เอาไว้ใช้สำหรับใส่ปูนที่ผสมแล้ว นอกจากนั้นยังใช้หิ้วปูนและตัดส่วนผสมได้อีกด้วย หลังเลิกใช้งานแล้วต้องทำการล้างให้สะอาด
  6. แปรงสลัดน้ำ และ ฟองน้ำ เอาไว้ใช้ชุบน้ำแล้วสลัดบริเวณที่ต้องการจะฉาบปูน เพื่อให้พื้นนั้นมีความชุ่มชื้น
  7. ค้อนปอนด์ หน้าตัดมีรูปร่างเป็นรูปแปดเหลี่ยม ผิวหน้าจะมีลักษณะนูน และลาดเอียงไปทางขอบ มีตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ เหมาะกับงานทั่วๆไป เช่น การตอกเสาหลัก หรือ การตีเหล็ก
  8. คีมผูกเหล็ก การใช้งานคือ ตัดลวดและผูกเหล็กให้แข็งแรงก่อนที่จะทำการเทปูน
  9. จอบและพลั่ว เอาไว้ใช้ขุดและผสมคลุกเคล้าส่วนผสม ได้แก่ ปูน ทราย ให้เข้ากัน ถ้าปูนให้ใช้จอบหน้าเหลี่ยมหรือจอบปื้น จะมีลักษณะเรียบตรงเหมือนจอบที่ใช้ในการเกษตร เหมาะสำหรับโกยวัสดุ เช่น หิน ทราย เป็นอย่างดี
  10. ฉากเหล็ก คือเครื่องมือที่ใช้วัดขนาดการสร้างมุมฉาก เอาไว้ใช้ตรวจสอบการได้ฉากของงานชนิดต่างๆ สามารถใช้วัดขนาดความกว้าง ยาว ลึก ของงานที่มีลักษณะเล็ก มีส่วนประกอบ 2 ส่วนสำคัญได้แก่ ใบฉาก และ ด้ามฉาก ความยาวของใบฉากนั้นจะมีตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมใช้ ที่ใบฉากทั้งสองด้านนั้นทุกขนาดจะมีมาตรส่วนเป็นนิ้ว และ เซนติเมตร บอกกำกับไว้
  11. ตลับเมตร เอาไว้ใช้งานวัดเพื่อที่จะบ่งชี้ระยะหรือขนาดในการกำหนดตำแหน่งตรวจสอบระยะหรือขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัสดุชิ้นงาน

ขั้นตอนการฉาบปูน

  1. รอผนังที่ก่อทำการเซ็ทตัวอย่างต่ำให้รอประมาณ 7 วัน โดยระหว่างที่รอ 7 วันนั้นต้องทำการรดหรือบ่มน้ำใส่ผนังอย่างต่อเนื่อง
  2. ทำการเช็คสภาพผิวผนังว่าอิฐนั้นยึดเกาะได้ดีหรือผนังไม่โอนเอนเคลื่อนไหวได้ ถ้าผนังมีการโน้มเอียงหรือเว้ายุบ จนเกินกว่าที่ปูนฉาบจะปิดผิวทำให้ได้ระดับเท่ากัน (ฉาบได้จะต้องไม่เกิน 2.5 เซนติเมตร) ให้สกัดส่วนเว้าแอ่นออก เพื่อลดโอกาสการที่จะหลุดล่อนจากการฉาบทีหนาเกินไป
  3. จับเซี้ยมและการจับปุ่ม เพื่อเป็นการฉาบให้ได้ระดับ และความหนาที่เหมาะสม เป็นที่นิยมใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท นำมาผสมกันกับทรายเพื่อให้มีส่วนของปูนนั้นเข้มขนกว่าการใช้งานทั่วไป จึงเรียกว่า ปูนเค็ม
  4. ติดลวดตะแกรง หรือที่เขาเรียกกันว่ากรงไก่ บริเวณตรงมุมวงกบประตูและหน้าต่าง เพื่อให้มันลดการเกิดโอกาสการแตกร้าวจากการยืดหดตัวของปูนซีเมนต์ รวมถึงพวกขอบรอยต่อของวัสดุต่างชนิด เช่น ช่องระหว่างตรงส่วนที่ก่ออิฐกับเสาเอ็นและคานทับหลัง หรือ ระหว่างร่องของการเดินสายไฟที่ปิดทับด้วยปูนกับบริเวณที่ก่ออิฐ
  5. ก่อนการฉาบ 1 วัน ต้องมีการลดน้ำในช่วงเย็น จากนั้นก็ทำการฉาบในวันถัดไปให้รดน้ำผนังในช่วงเช้า แล้วทิ้งให้ผนังมันหมาดๆก่อนทำการฉาบ ห้ามฉาบตอนที่ผนังนั้นยังเปียกน้ำ เพราะจะทำให้ปูนที่ฉาบนั้นมันไม่เปิดประสิทธิภาพของการยึดเกาะ
  6. การบ่มผิว ควรมีการรดน้ำที่ผนังอย่างต่อเนื่องไปจนถึงอีกวันอย่างน้อยก็วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันประมาณ 3-7 วัน ถ้าวันนั้นเป็นช่วงที่อากาศร้อน หรือมีแดดจัด และลมพัดแรง จนทำให้ผนังเสียน้ำเร็วเกินไป ให้เพิ่มการรดน้ำเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน และให้ยืดระยะเวลาการลดออกไป อาจจะใช้การบังแดดลมด้วยการขึงผ้าใบช่วยในบริเวณที่สัมผัสกับอากาศอย่างรุนแรง

ปัญหาที่พบเจอเป็นอย่างมากของการฉาบภายใน

  • เนื้อปูนเกิดปัญหาที่ไม่สามารถจัดการกับพวกรอยแตกลายได้
  • ปูนฉาบซีเมนต์ทั่วไปส่วนใหญ่นั้นจะมีค่าการหดตัวที่สูงมาก จึงอาจจะมีโอกาสเกิดรอยร้าวได้ง่ายมาก
  • มีความสามารถในการที่ยึดเกาะสีนั้นต่ำ ทำให้สีหลุดลอกออกมาอย่างง่ายเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ และ เนื่องจากปูนฉาบทั่วไปนั้นจำเป็นต้องทาสีรองพื้น จึงทำให้เปลืองค่าใช้จ่ายและเปลืองเวลาในการทำงาน
  • ทำให้งานฉาบไม่ฉาบลื่น ทำให้เปลืองแรงแล้ว ยังทำให้ฉาบได้พื้นที่ที่น้อยกว่าควรจะเป็น

facebook.com/naichangnetwork