แผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ

แผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ เป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรง ที่ทำให้สามารถรับกำลังอัดได้สูง ซึ่งมีความหนาที่ 5.0cm. และหน้ากว้าง 35.0cm. โดยความยาวทั่วไป ไม่เกิน 4.0-5.0 เมตร (ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละโรงงาน) ซึ่งสามารถรับ Live Load ได้ตั้งแต่ 200kg/m2 ไปจนถึง 1,000kg/m2 (ดูข้อมูล Live Load เพิ่มเติมได้ที่นี่)

ซึ่ง แผ่นพื้นท้องเรียบ นั้นนิยมนำไปใช้ในงาน บ้าน ออฟฟิศ ร้านอาหาร โรงเรียน ซึ่งมี Span ไม่เกิน 5.0m.

ขั้นตอนการผลิตแผ่นพื้นท้องเรียบ

  1. ทำความสะอาดแบบพร้อมทาน้ำมัน
  2. ทาน้ำมันบนตัวแบ่งระยะความยาวของแผ่นพื้น และยังเป็นตัวแบ่งระยะห่างของลวดอีกด้วย
  3. ใช้ลวด PC EIRE ขนาด 4 สอดเข้ากับตัวแบ่งระยะของแผ่นพื้น
  4. ใส่กิ๊บล็อคเข้ากับลวด PC WIRE ขนาด 4 ที่สอดทะลุไว้พร้อมแล้ว กระแทกกิ๊บล็อคให้แน่น เพื่อตอนที่นำเครื่องมือมาดึงจะได้ไม่หลุด
  5. ดันตัวแบ่งระยะความยาวของแผ่นพื้น ตามรายการที่ลูกค้าส่งมา จากนั้นให้ใช้เครื่องดึงลวด
  6. วัดระยะตามรายการที่ลูกค้าสั่งมา ใช้ลิ้มไม้ ตอกล็อคให้แน่นทั้งส่วนหัวและท้าย
  7. จัดให้ได้แนว แล้วนำถุงปูนมายัดลงในช่องว่างเพื่อกันเศษหินแล้วน้ำปูน
  8. เทคอนกรีต แล้วใช้วายจี้ปูน
  9. ติดตั้งหูกิ้วสำหรับการเคลื่อนย้ายแผ่นพื้น

การนำแผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ ไปใช้งาน เบื้องต้น

  1. นำ แผ่นพื้นท้องเรียบ วางบนคานเท่านั้น ซึ่งคานจะเป็นคานเหล็ก หรือ คานคอนกรีต ก็ได้ โดยมีระยะนั่งที่ประมาณ 0cm. (ซึ่งคานต้องมีความเรียบ ไม่เช่นนั้นแผ่นพื้นอาจจะกระดก มีผลกับ รอบแตกร้าวของพื้นในอนาคตได้)
  2. ใช้ไม้ค้ำยันใต้ท้องพื้น เพื่อป้องกันการแอ่นตัวของท้องพื้น (สูญเสียประสิทธิภาพในการรับ Load)
  3. หลังจากวาง แผ่นพื้นท้องเรียบ แล้วให้เชื่อม Shear Key เพื่อช่วยการกระจายแรง
  4. วางไวร์เมซ โดยทั่วไปใช้ ลวด 0mm. ตาห่าง 20x20cm. ซึ่งความกว้างxยาวทั่วไป อยู่ประมาณ 2.0-2.50 x 5.0-6.0m.
  5. เทคอนกรีตทับหน้า หรือ ที่เรียกว่า Topping โดยความหนา ให้เทตามคำแนะนำของผู้ออกแบบ
  6. หากเทพื้นที่กว้าง แนะนำให้ตัด Joint เพื่อลดรอยแตกร้าวของ Topping
  7. ลื้อไม้ค้ำยันออก

ข้อควรรู้ในการสั่ง แผ่นพื้นท้องเรียบ

  1. รถที่ส่งโดยมากจะเป็น รถ 10 ล้อ ติดเฮี๊ยบ (ซึ่งทั่วไปจะยกลงข้างรถ หากต้องการให้ยกขึ้นวางบนคาน ต้องแจ้งผู้ให้บริการก่อน)
  2. หากสั่งจำนวนเยอะ และส่งด้วยรถ 18 ล้อ หน้างานต้องเตรียมเครื่องจักร ในการยกแผ่นพื้นลงเอง
  3. แผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ มีน้ำหนัก ต่อ ตรม. ประมาณ 120กก./ตรม.
  4. แผ่นพื้นท้องเรียบ เป็น คอนกรีตอัดแรง ซึ่งหากลวดมากอาจะทำให้แผ่นโก่งได้มาก (มีผลกับความสวยงามของใต้ท้อง หากโชว์ฝ้า หรือ มีผลตอนเท Topping)

ข้อดีของแผ่นพื้นท้องเรียบ

  1. เป็นแผ่นพื้นคอนกรีตที่อัดแรงโดยที่ใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยและมีทีมฝ่ายวิศกรที่ชำนาญค่อยควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน
  2. แผ่นพื้นท้องเรียบ สามารถที่จะยาปูนที่รอยแนวต่อเพื่อชักร่องเพิ่มความสวยงามยังทาสีทับได้ทันทีไม่ต้องฉาบซ้ำอีกรอบ
  3. มีพื้นที่ทาสีน้อยเพราะ เป็นท้องเรียบ แบน ไม่มีส่วนที่เป็นขาหรือคานซอย ช่วยให้ประหบัดค่าสีได้
  4. มีหูเหล็กที่ยื่นออกมาเพื่อที่จะให้ยึดกับคอนกรีตเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวแผ่นพื้นสำเร็จรูป
  5. ความหนาของตัวแผ่นพื้น รวมถึงคอนกรีตทับหน้าจะหนาน้อยกว่าตัวระบบอื่นๆ ทำให้ลดความสูงของตัวอาคารได้
  6. มีความแข็งแรง ปลอดภัย และไม่มีการยุบตัวถล่มลงมาแน่นอน

ข้อจำกัดของแผ่นพื้นท้องเรียบ  มีดังนี้

  1. แผ่นพื้นท้องเรียบ ช่วยให้ทำงานได้เร็วและยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของไม้แบบ แต่เนื่องจากแผ่นพื้นมีน้ำหนักของตัวแผ่นพื้นอยู่แล้ว เมื่อนำไปวางบนคานถ้าพื้นมีขนาดความยาวด้วยน้ำหนักของตัวแผ่นพื้นและด้วยความยาวของตัวแผ่น จะมีการแอ่น หรือตกท้องช้าง เหมือนกับการพาดไม้กระดานบนคานเช่นกัน ดังนั้นการก่อสร้างบนขนาดพื้นที่มีความยาวมากๆ บางครั้งจำเป็นที่จะต้องมีการใช้ไม้ค้ำยันเพื่อที่จะช่วยพยุงส่วนด้านล่างของแผ่นไม้ให้ตกท้องช้างระหว่างการเทคอนกรีต จะทำให้เกะกะในการทำงานด้านล่างและทำให้สิ้นเปลืองในส่วนของไม้ค้ำยัน
  2. แผ่นพื้นท้องเรียบมีลักษณะของตัวแผ่นด้านล่างเรียบ เหมาะกับงานที่ใช้ในการสร้างบ้านหรืออาคารที่ไม่มีฝ้าเป็นที่นิยมมากในบ้านเรือนทีพักอาศัยราคาถูก
  3. แผ่นพื้นท้องเรียบมีขานอยู่ตามตลาดมานานแล้วเลยเป็นที่นิยมของผู้รับเหมาและพวกสถาปนิกทั่วไปการออกแบบจะชอบกำหนดคุณสมบัติเป็นแผ่นพื้นท้องเรียบไว้แล้ว ผู้รับเหมาหรือเจ้าของบ้านส่วนมากจะใช้แผ่นพื้นท้องเรียบตามที่กำหนด