ราคาเสาเข็ม I15
เสาเข็มเป็นส่วนประกอบ ที่สำคัญของบ้าน และ ยังเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ ในการสร้างบ้าน เพื่อให้บ้านมีความมั่นคง และมีความแข็งแกร่ง ซึ่งเสาเข็มมีให้เลือกใช้ อย่างหลายขนาด และจะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป เช่น ราคาเสาเข็ม I15 จะอยู่ที่ 90/ต้น ราคาเสาเข็ม I22 จะอยู่ที่ 170/ต้น เป็นต้น
โดยจะมีหน้าที่ เอาไว้รองรับน้ำหนัก ของตัวสิ่งปลูกสร้าง และ ยังช่วยในเรื่อง ของการกระจายน้ำหนัก ของสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ไปจนถึงชั้นดินใต้บริเวณ ที่พักอาศัย ช่วยพยุงทำให้สิ่งก่อสร้าง เกิดความมั่นคงมีความแข็งแรง ไม่เกิดการทรุด หรือ มีการจมลงไปตามน้ำหนัก ของสิ่งปลูกสร้าง และ แรงดึงดูดของโลก สภาพของหน้าดินที่อยู่บริเวณใต้สิ่งปลูกสร้างนั้น จะทำให้เกิดความปลอดภัยของที่พักอาศัย มีอายุการใช้งานที่ยาวนานตามมาด้วยนั้นเอง
สารบัญ
- การนำเสาเข็มไปใช้งาน
- การผลิตและความรู้เบื้องต้น
- ข้อดีของเสาเข็ม
- วิธีเจาะเสาเข็ม
- การรับน้ำหนักของเสาเข็ม
- วิธีการสั่งซื้อ
หลักการนำเสาเข็ม I15 ไปใช้งานมีอะไรบ้าง?
เป็นเสาเข็มที่ใช้สำหรับ กดลงไปในดิน เพื่อรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง โดยส่วนมากผู้รับเหมาก่อสร้าง จะนำไปใช้ในงานรับน้ำหนัก ของโรงรถ รับน้ำหนักของที่ต่อเติม เช่นที่พักอาศัย บ้าน คอนโด เสารั้ว เป็นต้น การคำนวณการรับน้ำหนัก ของเสาเข็มนั้น ต้องได้รับการรับรองจากวิศวกรก่อสร้างเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในการก่อสร้าง
สำหรับเรื่องการตอกเสาเข็มนั้น จะอยู่ในส่วนขั้นตอนของการออกแบบ ซึ่งจะมีการออกแบบมาว่าบ้านต้องใช้เสาเข็มขนาดไหน ความลึกเท่าไหร่ ซึ่งหลักในการพิจารณาเรื่องการใช้งานเสาเข็ม มีหลักในการพิจารณาแบบง่ายๆ ดังนี้
ลักษณะของเนื้อดิน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ วิศวกรจะใช้ประกอบพิจารณา ในขั้นตอนก่อนการ ตอกเสาเข็ม เราต้องทราบสภาพ ของดินในพื้นที่ ที่จะไปก่อสร้างก่อน เช่น การก่อสร้างในพื้นที่ ที่มีดินเหนียวอ่อน เพราะส่วนมาก จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม จำเป็นจะต้องใช้เสาเข็มตอกลงไปให้ถึงระดับชั้นดินที่มั่นคงให้ได้ก่อน จึงจะสามารถทำการปลูกสิ่งก่อสร้างได้ เพื่อให้อาคารมีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เกิดการทรุดตัว แต่ในบางพื้นที่ หากพื้นดินมีความแน่นก็อาจจะไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มเลยก็เป็นไปได้ อันนี้เป็นเรื่องที่จะต้องตรวจสอบให้แน่ชัด
การเลือกใช้ขนาดเสาเข็มเป็นสิ่งสำคัญจะมีผลต่อการรองรับน้ำหนักของอาคารในภายหลังอีกด้วย ซึ่งอยู่ที่การคำนวณความเหมาะสม วัสดุที่ใช้ทำเสาเข็ม ซึ่งมีหลายชนิด เช่น เสาเข็มไม้ เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มเหล็ก เป็นต้น แต่ละชนิดมีราคาและวิธีการจัดการแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดความแข็งแรงพอเหมาะกับงานก่อสร้าง ไม่ถูกเกินไปจนใช้งานไม่ทนทาน และไม่แพงเกินไปจนเกินจำเป็น
ข้อกำหนดในทางกฎหมาย อันนี้มีผลทำให้ต้องมีการพิจารณาด้วย เพราะบางพื้นที่จะมีข้อกำหนดให้ หรือ ไม่ให้ใช้เสาเข็มบางชนิด ได้แก่ ในบริเวณ กทม.เนื่องจากในบางพื้นที่ หากทำการตอกเสาเข็มหรือ ใช้เสาเข็มแบบตอก ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณโดยรอ ซึ่งอาจจะเกิดแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มนั้นเอง ดังนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ในบริเวณ กทม. จึงนิยมใช้เสาเข็มแบบเจาะกันมาก เพื่อลดการสั่นสะเทือนนั้นเอง
การผลิตเสาเข็ม I15 มีหลักการอย่างไรบ้าง
- มีส่วนผสมคอนกรีตใช้ผสมด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และน้ำยาเร่งการก่อตัวไม่น้อยกว่า 400 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คอนกรีตกำลังอัดแรงจะถ่ายอัดเข้าไปในตัวคอนกรีต เมื่อคอนกรีตมีกำลังไม่น้อยกว่า 280 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเสาเข็ม
- ในปัจจุบันโครงสร้างที่สำคัญของบ้าน ต้องมีความแข็งแรงและทนทาน บ้านก็เหมือนกับต้นไม้ซึ่งต้องมารากฐานที่มั่นคง การใช้เสาเข็มถือว่าสำคัญที่สุดที่จะให้ความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน มีหน้าที่รับน้ำหนักของตัวบ้าน การที่มีวิศวกรมาคุมการก่อสร้างให้เป็นไปได้ตามมาตรฐานและถูกต้อง ป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง เสาเข็มจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ ควรเลือกให้เหมาะสมในการใช้งาน
ความสำคัญของรากฐาน
- เพื่อทำให้โครงสร้างต่างๆของอาคารมีเสถียรภาพไม่จมลงในดินและไม่เกิดการทรุดตัวหรือเอนเอียง
- เพื่อป้องกันการทรุดตัวลงของโครงสร้าง เพราะทำการขุดเจาะดินภายใต้อาคารของสิ่งก่อสร้าง
- เพื่อเป็นตัวค้ำยันในการแก้ไขโครงสร้างอาคารหลัก
- เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของทางโครงสร้างที่อยู่ลึก ๆ เช่นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ใต้อาคารหรือห้องใต้ดิน
- เพื่อเพิ่มให้รากฐานสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มขนาด เช่น การเพิ่มชั้นของอาคาร
- เพื่อทำให้อาคารที่ถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่นยังคงสามารถรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม
ข้อดีของเสาเข็ม
- ทำงานได้ในพื้นที่จำกัด
- มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เกิดมลภาวะทางเสียง ไม่มีโคลน สะดวกต่อการใช้งาน
- ตอกได้ตามความเป็นจริง
- การรับน้ำหนักได้มาก ๆ ทำให้พื้นฐานโครงสร้างแข็งแรง
- ตอกชิดผนังบ้านหรือติดกำแพงบ้านได้
วิธีเจาะเสาเข็ม
ถ้าจะใช้เสาเข็มเจาะ เราควรที่จะต้องรู้ข้อมูลของเสาเข็มวิธีการพื้นฐานและระบบการทำงานของเสาเข็มเจาะซะก่อน ส่วนใครที่ยังไม่รู้วิธีการสามารถศึกษาข้อมูลด้านล่างนี้จะมีอธิบายขั้นตอนของการเจาะเสาเข็มอย่างละเอียดที่ผ่านการดูแลโดยวิศวกรผู้ชำนาญการเพื่อให้ขั้นตอนการเจาะเสาเข็มนั้นเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งจะมีตั้งแต่การเลือกใช้ การขุดเจาะ การเทคอนกรีต มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.เตรียมอุปกรณ์
- ปรับติดตั้งสามขาให้อยู่ในแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม ใช้กระเช้าเจาะนำร่องให้ลึก 1 เมตร แล้วตอกหลักยึดให้แน่น
2.ขนาดของปลอกเหล็ก
- นำปลอกเหล็กมาต่อกัน มีความยาวต่อท่อน 1.20 เมตร ปลอกเหล็กทำงานผ่านชั้นดินอ่อนจนถึงชั้นที่ดินแข็งตัว ควรดูตำแหน่งให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการพังทลายของผนังเจาะรู การที่จะไม่ให้เสาเข็มเอียง ควรจะรักษาตำแหน่งของปลอกเหล็กให้อยู่ที่จุดศูนย์กลางและแนวดิ่งเสมอ
3.อุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดดิน
- ทำการตักดินออกจากรูที่ทำการขุดไว้ โดยการใช้กระเช้าเก็บดินหย่อนลงไปในรู จนได้ความลึกที่ต้องการ
- ตรวจสอบการพังของดิน ที่ไม่ได้ใส่ปลอกเหล็กชั่วคราว ดูว่าผนังของดิน มีการยุบตัวหรือไม่ หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือดูจากชนิดของดินที่เก็บขึ้นมาได้ว่าใกล้เคียงกับความลึกหรือเปล่า ถ้าเกิดเห็นว่าดินเคลื่อนพังควรแก้ไขโดยการนำปลอกเหล็กชั่วคราวตอกให้ลึกลงไปอีก
- ต้องนำดินที่เจอะขึ้นมา ย้ายออกมาข้างนอกบริเวณที่เจาะเสาเข็ม เพื่อที่จะได้ไม่รองรับน้ำหนักรอบข้าง ต่อเสาเข็มต้นต่อไป
4.ตรวจเสาเข็มก่อนใส่เหล็กเสริม
- การวัดจากสายสลิงกับความยาวของกระเช้าตักดินจะได้ความลึก
- ตรวจที่ก้นหลุมดูว่ามีการยุบเข้าหรือมีน้ำซึมหรือไม่หากมองไม่เห็นถึงก้นหลุมก็ควรใช้ไฟส่อง ถ้าพบเห็นมีน้ำที่ก้นหลุม ต้องเทคอนกรีตแห้งลงไป จากนั้นกระทุ้งให้แน่นด้วยตุ้มเหล็ก
5.ทำการใส่เหล็กเสริมเพิ่มความแข็งแกร่ง
- เพื่อเป็นการเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับตัวเสาเข็มของเรานั้น จึงได้มีการเสริมความแข็งแรงด้วยการเสริมเหล็กข้ออ้อยเข้าไป ซึ่งเหล็กข้ออ้อยที่เสริม เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของเสาเข็ม จะเป็นเหล็กที่ได้มาตรฐานและคุณภาพ เอสดี 30 ซึ่งเป็นคุณภาพที่เป็นมาตรฐานของเหล็กข้ออ้อย
- การที่เทคอนกรีตโครงเหล็กจะไม่ขยับไปไหน ควรใส่เหล็กเสริมหย่อนโครงเหล็กยึดให้แน่นและให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะ
6.ชนิดของคอนกรีตและเทคนิควิธีการเทคอนกรีต
- ใช้เป็นคอนกรีตที่ผสมโม่ อีกทั้งยังต้องใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดประลัยอยู่ที่ 28 วัน
- การเทคอนกรีตควรทำการเทให้ได้ทรงกระบอก f15 x 30 ซม. และต้องไม้น้อยกว่า 210 กก. / ซม.
- ปูนซีเมนต์ที่ใช้เป็น นั้นก็คือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1
7.การถอดปลอกเหล็ก
เทคอนคอนกรีตให้สูงกว่าปลอกเหล็กพอสมควร ขั้นตอนต่อมาถอดปลอกเหล็ก ตอนถอดปลอกเหล็กออกต้องให้มีคอนกรีตอยู่ในปลอก ห้ามน้อยกว่า 0.50 ม.
เป็นการป้องกันชั้นดินอ่อนบีบตัว จะทำให้เสาเข็มเจาะเปลี่ยนไป ห้ามให้น้ำใต้ดินไหลเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะถอดเหล็กชั่วคราวออก ขั้นตอนต่อมาเตรียมคอนกรีต ต้องเผื่อคอนกรีต ให้สูงกว่าระดับที่ 30-40 ซม. และห้ามให้หัวเข็มสกปรก ป้องกันเศษดินหลังจากการถอดเหล็กออกแล้ว
เสาเข็มจะแบ่งลักษณะการรับน้ำหนักได้ 2 ลักษณะหลัก ๆ คือ
- มีการรองรับน้ำหนักของตัวเสาเข็ม จะมีการอาศัยของแรงพยุงตัวกับแรงที่เกิดจากการเสียดทานระหว่างพื้นผิวของเสาเข็มที่ฝังลึกลงไปกับพื้นดินที่อยู่โดยรอบ ซึ่งจะเรียกกันว่า การรองรับน้ำหนักโดยใช้แรงพยุงผิว
- การรับน้ำหนักโดยอาศัยชั้นดินเป็นเกณฑ์ ซึ่งลักษณะนี้ จะเป็นการถ่ายน้ำหนักจากสิ่งปลูกสร้างลงไปยังชั้นดินแข็งโดยตรง เรียกกันโดยทั่วไปว่า “การรับน้ำหนักที่ปลาย”
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
สั่งซื้อเสาเข็มและวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ได้ที่นี่
Tel : 086-341-9908 , 086-341-9902
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์