ราคาเสาเข็ม I18
แม้ว่า ราคาเสาเข็ม I18 จะมีราคาไม่แพง แต่ก็มีคุณสมบัติแฝงอยู่มากมาย และมีหลากหลายชนิดให้เลือก และนำไปใช้งานได้หลากหลาย
สารบัญ
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเสาเข็มไอ
- ขนาดของเสาเข็มไอ
- ความสำคัญของรากฐาน
- ข้อดีของเสาเข็มไอ
- งานที่เหมาะสมกับเสาเข็มไอ
- ข้อควรระวังในการใช้เสาเข็มไอ
- วิธีการเจาะเสาเข็มไอ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเสาเข็ม และ ราคาเสาเข็ม ทำไมถึงไม่แพง
เสาเข็มไอ 18 ในปัจจุบันนั้นโครงสร้างที่สำคัญอย่างยิ่งของบ้าน ต้องมีความแข็งแรงและทนทาน บ้านที่มีการตอกเสาเข็มไอที่แข็งแรง ก็เหมือนกับต้นไม้ใหญ่ที่ต้องมีรากฐานที่มั่นคงเพื่อให้ต้นไม้แข็งแรง ซึ่งการใช้เสาเข็มนี้เอง ถือว่าสำคัญที่สุดที่จะให้ความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน มีหน้าที่รับน้ำหนักของตัวบ้าน การที่มีวิศวการมาคุมการก่อสร้างให้เป็นไปได้ตามมาตรฐานและถูกต้อง ป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง เสาเข็มจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ ควรเลือกให้เหมาะสมในการใช้งาน
เสาเข็มตอก
โดยทั่วไปเสาเข็มที่เราเห็นและนิยมใช้กันจะมีหน้าตัดเป็นเหลี่ยมๆ เป็นตัวไอ หรือ กลม และจะเป็นแท่งยาวๆ โครงสร้างของเสาเข็มนั้นทำมาจากคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งการตอกต้องใช้ปั้นจั่นหรือ เครน (Pile driving crane) ตอกลงดิน ส่วนใหญ่เสาเข็มที่ใช้กับโครงสร้างขนาดเล็กหรือไม่ค่อยสำคัญ คือ เสาเข็มคอนกรีตหกเหลี่ยมกลวงเพราะมีขนาดที่พอเหมาะ จะนิยมนำไปทำ รั้ว และฐานศาลพระภูมิเจ้าที่ต่าง ๆ แต่ทุกคนเลยรู้มั้ยว่าในอดีตเสาเข็มที่ใช้ทำโครงสร้างบ้านจะมีแต่ไม้ แต่เนื่องจากปัจจุบันได้มีการพัฒนาเสาเข็มจนมีเสาเข็มคอนกรีตไม้เลยไม่เป็นที่นิยมเพราะมีราคาที่สูงกว่า และผุกร่อนง่ายควบคุมคุณภาพได้อยาก มีโอกาสพังทลายตามสภาพ ปัจจุบันเลยไม่มีการใช้ไม้ทำโครงสร้างบ้านหรืออาคาร
ในการก่อสร้างหรือโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ มักจะใช้เสาเข็มเจาะเปียก ส่วนการปลูกบ้านหรืออาคาร ที่ความสูงไม่มาก ส่วนใหญ่จะใช้การเจาะแห้ง ใช้พื้นที่น้อยกว่าเสาเข็มตอก มักจะใช้งานในพื้นที่ไม่กว้างข้อดีคือ จะเกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่าเสาเข็มตอก จึงไม่มีผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง แต่การเจาะแห้งนั้น ต้องมีการควบคุมคุณภาพ มากกว่า เสาเข็มตอก
ขั้นตอนของการเจาะแห้งนั้น มีขั้นตอนโดยเริ่มจากการ กดปลอกเหล็กกันดินพัง ให้เส้นผ่านศูนย์กลางของปลอกเหล็กเท่ากับเสาเข็ม ลงในชั้นดินอ่อนในตำแหน่งที่ต้องการเจาะ แล้วเจาะดินให้ลึกตามที่กำหนดไว้ ขั้นตอนต่อมาคือ การใส่เหล็กเสริมที่ได้มาตรฐาน มอก. แล้วจึงเทคอนกรีตตามเข้าไป ต้องตรวจสอบในขั้นตอนที่สำคัญๆในการคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้ง โดยอย่างแรกคือ ตรวจสอบปลอกเหล็กว่าได้เส้นผ่านศูนย์กลางถูกต้องรึป่าว และตำแหน่งของปลอกเหล็ก ขนาด ความลึก ว่าได้รูปแบบตามที่กำหนดไว้ในแบบหรือไม่ และเหล็กเสริมควรมีขนาดความยาวและคุณภาพตามแบบที่กำหนดไว้ การดูก้นหลุดของเสาเข็มว่าใช้ได้หรือไม่ ควรตรวจสอบว่าไม่มีการพังทลายของดิน ดูได้โดยไม่มีน้ำเข้ามาในหลุมต้องใช้ไฟส่องดูให้แน่ชัด
ในการควบคุมการทำง่นของเสาเข็มเจาะแห้งนั้น จะมีขั้นตอนการดูและสังเกตเบื่องต้น ควรสังเกตุว่าข้างในรูที่ทำการเจาะดินมีการเกิดการบีบตัวหรือมีการพังลงของดินหรือไม่ ซึ่งสามารถดูได้จากปริมาณของคอนกรีตที่ใช้ และ ปริมาณของดินที่ทำการเจาะออกไปแล้วนั้นเอง ในการเทคอนกรีตจะต้องทำการเทเผื่อการยุบตัวของคอนกรีตด้วย เนื่องจากการคอนกรีตจะเกิดการยุบตัว หลังจากที่ดึงปลอกเหล็กออก ในการดึงเหล็กปลอกจะต้องทำการดึงให้ได้แนวดิงด้วย เพื่อป้องกันการเอียงของเสาเข็ม และให้เสาเข็มรับน้ำหนักได้อย่างไม่ต้องกังวล
เสาเข็มไอ
เป็นเสาประเภทเสาเข็มตอก ที่ได้รับความนิยมในการก่อสร้าง ตั้งแต่งานขนาดเล็กจนไปถึงงานขนาดใหญ่ เสาเข็มไอผลิตจากคอนกรีตอัดแรง ซึ่งเป็นเทคนิคในการเสริมความแข็งแรงให้แก่ตัวเสาเข็มเอง เพื่อไม่ให้เกิดการแตกหักง่ายและมีความคงทนต่อการตอก การผลิตจะเริ่มจากการวางลวดเหล็กลงในแม่แบบ แล้วจึงดึงลวดให้ตึงก่อนเทคอนกรีต เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วจึงตัดปลายลวดในส่วนที่เกินออก ลวดจะเกิดการหดตัวส่งผลให้เกิดแรงอัดในเนื้อคอนกรีต คอนกรีตจะแข็งแรงคงทนมากยิ่งขึ้น จนสามารถผลิตเสาเข็มยาวๆได้ โดยที่เสาเข็มไม่เกิดการแตกหัก
เสาเข็มไอ มีขนาดหลายหน้าตัดด้วยกัน เช่นหน้าตัดสี่เหลี่ยมตัน หน้าตัดสี่เหลี่ยมกลวง หน้าตัดตัวไอ หน้าตัดตัวที หน้าตัดหกเหลี่ยมกลวงเป็นต้น ความสามารถในการรองรับน้ำหนักของเสาเข็มนั้น จะขึ้นอยู่กับรายละเอียดของผู้ผลิตในแต่ละราย และการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของวิศวกร หน้าตัดที่ใหญ่ และยาวนั้นจะสามารถรองรับน้ำหนักได้มากน้อยตามลำดับอีกด้วย
เสาเข็มไอมีกี่ขนาด
เสาเข็มไอนั้นมีขนาดความยาวเดียว คือ 1.5 เมตร แต่จะมีขนาดหน้าตัดที่ต่างกัน 5 ขนาด คือ
- เสาเข็มไอหน้าตัด 15 เซนติเมตร เช็คราคาเลย
- เสาเข็มไอหน้าตัด 18 เซนติเมตร เช็คราคาเลย
- เสาเข็มไอหน้าตัด 22 เซนติเมตร เช็คราคาเลย
- เสาเข็มไอหน้าตัด 26 เซนติเมตร เช็คราคาเลย
- เสาเข็มไอหน้าตัด 30 เซนติเมตร เช็คราคาเลย
ความสำคัญของรากฐาน
- เพื่อทำให้โครงสร้างต่างๆของอาคารมีเสถียรภาพไม่จมลงในดินและไม่เกิดการทรุดตัวหรือเอนเอียง
- เพื่อไม่ให้โครงสร้างอาคารทรุดตัวเนื้องจากการขุดดินใต้รากฐานของสิ่งก่อสร้าง
- เพื่อเป็นตัวค้ำยันในการแก้ไขโครงสร้างอาคารหลัก
- เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของทางโครงสร้างที่อยู่ลึกๆเช่นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ใต้อาคารหรือห้องใต้ดิน
- เพื่อเพิ่มให้รากฐานสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มขนาด เช่น การเพิ่มชั้นของอาคาร
- เพื่อทำให้อาคารที่ถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่นยังคงสามารถรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม
ข้อดีของ เสาเข็มไอ 18
- ทำงานได้ในที่แคบ
- มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เกิดภาวะทางเสียง ไม่มีโคลน สะดวกต่อการใช้งาน
- ตอกได้ตามความเป็นจริง
- การรับน้ำหนักได้มากๆทำให้พื้นฐานโครงสร้างแข็งแรง
- ตอกชิดผนังบ้านหรือติดกำแพงบ้านได้
งานที่เหมาะสมกับเสาเข็มไอ 18
เสาเข็มไอคือเสาเข็มตอกที่มีส่วนประกอบเป็นคอนกรีตอัดแรง และด้วยความที่หน้าตัดเป็นรูปตัวไอนี่เองที่ทำให้เวลาตอกลงในดินจะเกิดแรงเสียดทาน (friction) ที่กระทำกับดิน มีมากขึ้นเนื่องจากพื้นผิวสัมผัสที่มากถึง 12 จุดรอบเสา ซึ่งพื้นที่ผิวสัมผัสจะแปรผันตรงกับแรงเสียดทาน ซึ่งด้วยเหตุนี้เองทำใหเสาเข็มไอเหมาะอย่างยิ่งในการรากฐานของอาคารส่วนใหญ่ แม้กระทั่งงานเล็ก ๆ ก็ยังนิยมใช้งาน เช่น การทำโรงรถที่ต้องรับน้ำหนักของรถ
ข้อควรระวังในการใช้เสาเข็มไอ
แม้ว่าเสาเข็มไอจะราคาถูก เป็นที่นิยมใช้งานอย่างกว้างขวาง เชื่อมต่อก็ง่ายดาย กดลงดินก็ทำได้สบายมาก แต่ด้วยความที่กดลงดินได้ง่าย ๆ นี้เองที่ทำให้เป็นข้อเสียหลักของเสาเข็มไอ คือ ปีกเสาที่มีขนาดค่อนข้างเล็กทำให้มีโอกาสเกิดความเสียหายที่บริเวณหัวเสา และท้ายเสาได้ ซึ่งจะมีผลให้การกดลงดินต่ออีกเสาอาจจะเกิดการเบี้ยวได้ เนื่องจากการกดเสาเส้นต่อไปอาจจะกดไม่ตรงศูนย์กลางของเสาเส้นก่อนหน้า ซึ่งจะมีผลทำให้โครงเสร้างเบี้ยว หรือเอียง และผลกระทบในระยะยาวคือโครงสร้างพื้นฐานของบ้านจะเอียง หรือรับน้ำหนักได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้บ้านอาจจะทรุดหรือเสียหายได้ในอนาคต
วิธีเจาะเสาเข็ม
ก่อนที่จะทำการเจาะเสาเข็ม เราจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาหาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเจาะเสาเข็มก่อน ซึ่งใครที่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องการเจาะเสาเข็ม เรามีขั้นตอนการเจาะเสาเข็มแบบละเอียด ที่วิศวกรที่มีความรู้ควมาเชี่ยวชาญ และมีการเจาะที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน อีกทั้งยังมีเทคนิคการเทคอนกรีตมาฝากกันอีกด้วยค่ะ
1.ทำการเตียมอุปกร์ที่ใช้ในการเจาะ
- ขั้นตอนแรกนี้เราจะทำการติดตั้วสามารขาให้อยู่ในบริเวณจุดศูรย์กลางของเสาเข็ม จึงทำการขุดนำร่องก่อนในระยะลึก 1 ม. ซึ่งจะใช้กระเช้าในการเจาะ หลังจากนั้นทำการยึดให้แน่น
2.เลือกใช้เหล็กปลอกให้มีขนาดที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
- ในการใช้งานเหล็กปลอกจำเป็นที่จะต้องดูตำแหน่งให้ดี ให้อยู่ในระยะจุดศศูนย์กลางแล้วจะต้องได้แนวดิ่งตลอด เนื่องจากในการใช้งานนั้นจำเป็นที่ต้องใช้ปลอกเหล็กมาเชื่อต่อกัน ซึ่งจะต้องมีความยาว 120 เซนติเมตร ต่อท่อนอีกด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการพังของผนังที่ทำการเจาะ และป้องกันการเอียงของเสาเข็ม
3.อุปกรณ์ที่เจาะและการขุดดิน
- นำกระเช้าเก็บดิน หย่อนลงไปในรูเพื่อตักดินออกมาเรื่อยๆทำซ้ำอัดจนกว่าดินจะเต็มกระเช้า แล้วนำดินมาเทออก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งได้ความลึกที่ต้องการ
- ตรวจสอบการพังของดิน ทีไม่ได้ใส่ปลอกเหล็กชั่วคราว ดูว่าผนังของดิน มีการยุบตัวหรือไม่ หรืออีกวิธีนึงก็คือดูจากชนิดของดินที่เก็บขึ้นมาได้ว่าไกล้เคียงกับความลึกหรือป่าว ถ้าเกิดเห็นว่าดินเคลื่อนพังควรแก้ไขโดยการนำปลอกเหล็กชั่วคราวตอกให้ลึกลงไปอีก
- ต้องนำดินที่เจอะขึ้นมา ย้ายออกมาข้างนอกบริเวณที่เจาะเสาเข็ม เพื่อที่จะได้ไม่รองรับน้ำหนักรอบข้าง ต่อเสาเข็มต้นต่อไป
4.ตรวจเสาเข็มก่อนใส่เหล็กเสริม
- การวัดจากสายสลิงกับความยาวของกระเช้าตักดินจะได้ความลึก
- ตรวจสอบบริเวณก้นหลุมเพื่อดูว่ามีการยุบตัวเข้าหรือมีน้ำซึมเข้ามาหรือไม่ อาจจะใช้ไฟฉายส่องดูก็ได้ หากหลุมบึกมาก หากว่าเห็นเงาน้ำที่ใต้หลุม ให้เทปูนคอนกรีตสีขาวลงไปในหลุ่ม และใช้ตุ้มเหล็กกระแทกให้มีความแน่น
5.เหล็กเสริมก็ต้องใส่
- เหล็กเสริมที่ใช้จะต้องเป็นเหล็กข้ออ้อย 30 มิลลิเมตร และต้องได้มาตรฐานอุตสาหกรรม
- การที่เทคอนกรีตโครงเหล็กจะไม่ขยับไปไหน ควรใส่เหล็กเสริมหย่อนโครงเหล็กยึดให้แน่นและให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะ
6.การเทคอนกรีตชนิดของคอนกรีต
- ใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดประลัย 28 วัน เป็นคอนกรีตผสมโม่
- ใช้ซีเมนต์ที่เป็น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1 ซึ่งจะต้องมีน้ำหนัก 210 กก./ตร.ซม.
7.การถอดปลอกเหล็ก
- เทคอนคอนกรีตให้สูงกว่าปลอกเหล็กพอสมควร ขั้นตอนต่อมาถอดปลอกเหล็ก ตอนถอดปลอกเหล็กออกต้องให้มีคอนกรีตอยู่ในปลอก ห้ามน้อยกว่า 0.50 ม. เเพื่อเป็นการป้องการการบีบตัวของชั้นดินอ่อน เพราะจะทำให้เสาเข็มเกิดการปลี่ยนแปลง อีกทั้งในการเจาะยังต้องระวังไม่ให้น้ำใต้ดินไหลเข้าสู่รูที่ทำการเจาะ แล้วหลังจากนั้นทำการถอดเหล็กออกชั่วคราว แล้วทำการเตรียมคอนกรีตซึ่งต้องเตรียมไว้ให้มีความสูง 30 ถึง 40 เซนติเมตร อีกทั้งในการเจาะห้ามทำหัวเข็มสกปรก ป้องกันเศษดินหลังจากการถอดเหล็กออกแล้ว
ความรู้ของวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
การนำวัสดุก่อสร้างไปใช้งาน คลิกที่นี่
ความรู้วัสดุก่อสร้างในการนำไปใช้งาน คลิกที่นี่
สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่นี้
LINE : NaichangNetwork หรือ Tel : 086-341-9908 , 086-341-9902
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์