เสาเข็ม i26
สารบัญ
- เสาเข็ม i26 คืออะไร
- การรับน้ำหนักของเสาเข็ม
- ขั้นตอนการผลิตเสาเข็ม
- ความสำคัญของรากฐาน
- ข้อดีของเสาเข็ม
- วิธีการสั่งซื้อ
เสาเข็ม i26 คืออะไร มาทำความรู้จักเกี่ยวกับเสาเข็มกัน
เสาเข็ม I26 ถือเป็นรากฐานส่วนที่สำคัญที่สุดของสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ เพราะเสาเข็มเป็นรากฐานที่ต้องรับน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้างไว้ทั้งหมด เพื่อกระจายน้ำหนักลงไปยังชั้นใต้ดิน อีกทั้งยังช่วยพยุงไม่ให้สิ่งปลูกสร้าง อาคารบ้านเรือน ไม่ให้ทรุดตัวลงไปในดิน เพื่อให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งถ้าสิ่งปลูกสร้างมีรากฐานที่มีความมั่นคงและมีความแข็งแรง จะทำให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานมากเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ความมั่นคงแข็งแรงของอาคารเป็นเรื่องจำเป็นอันดับแรก และเสาเข็ม สิ่งที่ช่วยให้เกิดความมั่นคงของตัวอาคารที่นิยมใช้กัน โดยส่วนมากในกรณีเป็นการก่อสร้างบ้าน เจ้าของบ้านมักไม่ทราบหรือไม่แน่ใจในเรื่องการตอกเสาเข็ม แม้จะมีแบบมาแล้วก็ตาม เพื่อให้เข้าใจเพราะการที่จะตอกเสาเข็มไม่ใช่เรื่องเรียบง่าย มีทั้งภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น งานที่ต้องเพิ่มขึ้น วัสดุที่เตรียมมากขึ้น และมีผลกระทบต่อผู้ที่อยู่อาศัยละแวกใกล้เคียงอีกด้วย
สำหรับเรื่องการตอกเสาเข็มนั้น จะอยู่ในส่วนขั้นตอนของการออกแบบ ซึ่งจะมีการออกแบบมาว่าบ้านต้องใช้เสาเข็มขนาดไหน ความลึกเท่าไหร่ ซึ่งหลักในการพิจารณาเรื่องการใช้งานเสาเข็ม มีหลักในการพิจารณาแบบง่ายๆ ดังนี้
ลักษณะของเนื้อดิน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ วิศวกรจะใช้ประกอบพิจารณาในขั้นตอนก่อนการตอกเสาเข็ม เราต้องทราบสภาพของดินในพื้นที่ ที่จะไปก่อสร้างก่อน เช่น การก่อสร้างในพื้นที่ที่มีดินเหนียวอ่อน เพราะส่วนมากจำเป็นต้องตอกเสาเข็ม จำเป็นจะต้องใช้เสาเข็มตอกลงไปให้ถึงระดับชั้นดินที่มั่นคงให้ได้ก่อน จึงจะสามารถทำการปลูกสิ่งก่อสร้างได้ เพื่อให้อาคารมีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เกิดการทรุดตัว แต่ในบางพื้นที่ หากพื้นดินมีความแน่นก็อาจจะไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มเลยก็เป็นไปได้ อันนี้เป็นเรื่องที่จะต้องตรวจสอบให้แน่ชัด
การรองรับน้ำหนักของอาคารเป็นสิ่งที่สำคัญ เรื่องนี้มีผลต่อเลือกใช้ขนาดของเสาเข็มด้วย ซึ่งอยู่ที่การคำนวณความเหมาะสม วัสดุที่ใช้ทำเสาเข็ม ซึ่งมีหลายชนิด เช่น เสาเข็มไม้ เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มเหล็ก เป็นต้น แต่ละชนิดมีราคาและวิธีการจัดการแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดความแข็งแรงพอเหมาะกับงานก่อสร้าง ไม่ถูกเกินไปจนใช้งานไม่ทนทาน และไม่แพงเกินไปจนเกินจำเป็น
ข้อกำหนดทางกฎหมาย อันนี้ก็มีผลต้องนำมาพิจารณาด้วย เพราะบางพื้นที่ มีข้อกำหนดที่ให้ หรือไม่ให้ใช้เสาเข็มบางชนิด เช่น ใน กทม. บางพื้นที่ห้ามใช้เสาเข็มตอก ต้องเปลี่ยนไปใช้เสาเข็มเจาะแทน ซึ่งมันเกี่ยวกับผลกระทบต่ออาคารรอบ ข้าง แต่บางแห่งก็มีการระบุให้ต้องตอก เพื่อความมั่นคงของตัวอาคาร
การรับน้ำหนักของ เสาเข็ม i26 จะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
- การรับน้ำหนักของเสาเข็ม จะอาศัยแรงพยุงตัวที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวของเสาเข็มที่ฝังลึกลงไปกับดินที่อยู่โดยรอบ เรียกโดยทั่วไปว่า “การรับน้ำหนักโดยแรงพยุงผิว”
- การรับน้ำหนักโดยอาศัยชั้นดินเป็นเกณฑ์ ซึ่งลักษณะนี้ จะเป็นการถ่ายน้ำหนักจากสิ่งปลูกสร้างลงไปยังชั้นดินแข็งโดยตรง เรียกกันโดยทั่วไปว่า “การรับน้ำหนักที่ปลาย”
ในการใช้งานเสาเข็ม อาจจะเกิดเพียงแบบที่ 1 อย่างเดียว หรือเกิดทั้ง แบบที่ 1 และ 2 พร้อม ๆ กันก็ได้ อยู่ที่การพิจารณาในการใช้งาน โดยมีองค์ประกอบในเรื่องสภาพของสิ่งก่อสร้างและสภาพของดินที่รองรับเป็นหลัก ซึ่งจะต้องดำเนินงานภายใต้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ทำการประเมินและออกแบบขนาด จำนวน และความยาวของเสาเข็มอีกด้วย
ในปัจจุบันโครงสร้างที่สำคัญของบ้าน ต้องมีความแข็งแรงและทนทาน บ้านก็เหมือนกับต้นไม้ซึ่งต้องมารากฐานที่มั่นคง การใช้เสาเข็ม ถือว่าสำคัญที่สุดที่จะให้ความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน มีหน้าที่รับน้ำหนักของตัวบ้าน การที่มีวิศวกรมาคุมการก่อสร้างให้เป็นไปได้ตามมาตรฐานและถูกต้อง ป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง เสาเข็มจะแบ่งเป็น2ประเภท คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ ควรเลือกให้เหมาะสมในการใช้งาน
เสาเข็มตอก
โดยทั่วไปเสาเข็มที่เราเห็นและนิยมใช้กันจะมีหน้าตัดเป็นเหลี่ยมๆ เป็นตัวไอ หรือ กลม และจะเป็นแท่งยาวๆ เสาเข็มทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก การตอกต้องใช้ปั้นจั่นตอกลงดิน ส่วนใหญ่เสาเข็มที่ใช้กับโครงสร้างขนาดเล็กหรือไม่ค่อยสำคัญ คือ เสาเข็มคอนกรีตหกเหลี่ยมกลวงเพราะมีขนาดที่พอเหมาะ จะนิยมนำไปทำ รั่วศาลพระภูมิ แต่ทุกคนเลยรู้มั้ยว่าในอดีตเสาเข็มที่ใช้ทำโครงสร้างบ้านจะมีแต่ไม้ แต่เนื่องจากปัจจุบันได้มีการพัฒนาเสาเข็มจนมีเสาเข็มคอนกรีตไม้เลยไม่เป็นที่นิยมเพราะมีราคาที่สูงกว่า และผุกร่อนง่ายควบคุมคุณภาพได้อยาก มีโอกาสพังทลายตามสภาพ ปัจจุบันเลยไม่มีการใช้ไม้ทำโครงสร้างบ้านหรืออาคาร
ในการก่อสร้างหรือโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ มักจะใช้เสาเข็มเจาะเปียก ส่วนการปลูกบ้านหรืออาคาร ที่ความสูงไม่มาก ส่วนใหญ่จะใช้การเจาะแห้ง ใช้พื้นที่น้อยกว่าเสาเข็มตอก มักจะใช้งานในพื้นที่ไม่กว้างข้อดีคือ จะเกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่าเสาเข็มตอก จึงไม่มีผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง แต่การเจาะแห้งนั้น ต้องมีการควบคุมคุณภาพ มากกว่า เสาเข็มตอก
ขั้นตอนของการเจาะแห้งนั้น มีขั้นตอนโดยเริ่มจากการ กดปลอกเหล็กกันดินพัง ให้เส้นผ่านศูนย์กลางของปลอกเหล็กเท่ากับเสาเข็ม ลงในชั้นดินอ่อนในตำแหน่งที่ต้องการเจาะ แล้วเจาะดินให้ลึกตามที่กำหนดไว้ ขั้นตอนต่อมาคือ การใส่เหล็กเสริมที่ได้มาตรฐาน มอก. แล้วจึงเทคอนกรีตตามเข้าไป ต้องตรวจสอบในขั้นตอนที่สำคัญๆในการคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้ง โดยอย่างแรกคือ ตรวจสอบปลอกเหล็กว่าได้เส้นผ่านศูนย์กลางถูกต้องหรือไม่ และตำแหน่งของปลอกเหล็ก ขนาด ความลึก ว่าได้รูปแบบตามที่กำหนดไว้ในแบบหรือไม่ และเหล็กเสริมควรมีขนาดความยาวและคุณภาพตามแบบที่กำหนดไว้ การดูก้นหลุดของเสาเข็มว่าใช้ได้หรือไม่ ควรตรวจสอบว่าไม่มีการพังทลายของดิน ดูได้โดยไม่มีน้ำเข้ามาในหลุมต้องใช้ไฟส่องดูให้แน่ชัด
การควบคุมการทำงานของเสาเข็มเจาะแห้ง ขั้นตอนที่สำคัญในเบื้องต้น ควรดูว่าในรูเจาะดินไม่พังทลายหรือมีการบีบตัวโดยดูจาก ปริมาณของคอนกรีตที่ใช้ กับ ปริมาณของดินที่เจาะออกไปแล้ว การเทคอนกรีตลงในปลอกเหล็ก โดยปกติจะมีการยุบตัวของคอนกรีต หลังจากดึงปลอกเหล็กกันดินพังออก การเทคอนกรีตควรเทเผื่อการยุบตัว แล้วหลังจากนั้นค่อยดึงปลอกเหล็กขึ้นมาตรง ถ้าไม่ดึงในแนวดิ่งจะทำให้เสาเข็มเจาะเอียงตามไปด้วย แล้วมีความเสี่ยงต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้าง
ขั้นตอนการผลิตเสาเข็ม
- ขั้นตอนแรกในการผลิต คือจะทำการติดตั้งเหล็กปลอกและลวดอัดแรงก่อน
- เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้ทำการดึงลวดอัดแรง
- ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดระยะเหล็กปอกและทำการผูกเหล็กผูกเหล็ก
- เมื่อทำการผูกเหล็กเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการประกอบแบบ
- ตรวจสอบ และ เช็คแบบก่อนที่จะทำการเทคอนกรีต
- ผสมคอนกรีตให้พร้อมสำหรับการเทคอนกรีต
- ทำการตรวจสอบคุณภาพคอนกรีตสด
- เมื่อตรวจสอบุคุณภาพแล้วนั้น ก็สามารถทำการเทคอนกรีตได้เลย
- ชี้บ่งเสาเข็มสำเร็จรูป
- ทำการถอดแบบและตัดลวดอัดแรงออก
- หลังจากนั้นทำการบ่มคอนกรีตเอาไว้
- ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
- เมื่อบ่นเสร็จแล้วก็ตรวจสอบดูคุณภาพก่อนที่จะนำไปใช้งาน
ความสำคัญของรากฐาน
- เป็นตัวพยุงอาคาร และกระจายน้ำหนักของอาคารลงไปในพื้นดิน ทำให้สิ่งปลูกสร้างไม่จมลงดินหรือมีเอนเอียงนั้นเอง
- ป้องกันไม่ให้ตัวอาคารนั้นเกิดการทรุดตัวลง เมื่อทำการขุดหรือเจาะภายใต้รากฐานของตัวอาคาร
- เพื่อเป็นตัวค้ำยันในการแก้ไขโครงสร้างอาคารหลัก
- เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของทางโครงสร้างที่อยู่ลึกๆเช่นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ใต้อาคารหรือห้องใต้ดิน
- เพื่อเพิ่มให้รากฐานสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มขนาด เช่น การเพิ่มชั้นของอาคาร
- เพื่อทำให้อาคารที่ถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่นยังคงสามารถรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม
ข้อดีของเสาเข็ม
- ทำงานได้ในที่แคบ
- มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เกิดภาวะทางเสียง ไม่มีโคลน สะดวกต่อการใช้งาน
- ตอกได้ตามความเป็นจริง
- เป็นรากฐานที่มีคุณสมบัติที่มีความแข็งแรงสูง ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้สูงมากเช่นเดียวกัน จึงทำให้รากฐานของโครงสร้างอาคารมีความแข็งแรงและปลอดภัยสูงไปด้วยนั้นเอง
- ตอกชิดผนังบ้านหรือติดกำแพงบ้านได้
วิธีเจาะเสาเข็ม
ถ้าจะใช้เสาเข็มเจาะ เราควรที่จะต้องรู้ข้อมูลของเสาเข็มวิธีการพื้นฐานและระบบการทำงานของเสาเข็มเจาะซะก่อน ส่วนใครที่ยังไม่รู้วิธีการสามารถศึกษาข้อมูลด้านล่างนี้จะมีอธิบายขั้นตอนของการเจาะเสาเข็มอย่างละเอียดที่ผ่านการดูแลโดยวิศวกรผู้ชำนาญการเพื่อให้ขั้นตอนการเจาะเสาเข็มนั้นเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งจะมีตั้งแต่การเลือกใช้ การขุดเจาะ การเทคอนกรีต มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.เตรียมอุปกรณ์
ปรับติดตั้งสามขาให้อยู่ในแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม ใช้กระเช้าเจาะนำร่องให้ลึก 1 เมตร แล้วตอกหลักยึดให้แน่น
2.ขนาดของปลอกเหล็ก
นำปลอกเหล็กมาต่อกัน มีความยาวต่อท่อน 1.20เมตร ปลอกเหล็กทำงานผ่านชั้นดินอ่อนจนถึงชั้นที่ดินแข็งตัว ควรดูตำแหน่งให้ถูกต้อง เพื่อที่จะป้องกัน การพังทลายของผนังเจาะรู การที่จะไม่ให้เสาเข็มเอียง ควรจะรักษาตำแหน่งของปลอกเหล็กให้อยู่ที่จุดศูนย์กลางและแนวดิ่งเสมอ
3.อุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดและทำการเจาะเสาเข็ม
ทำการขุดดินให้ได้ความกว้างที่ต้องการหลังจากนั้น ทำการหยุดตัวกระบะเก็บตินลงไปขนดินออกมา แล้วไปเรื่อย ๆ จนได้ความยาวที่ต้องการ
-ตรวจสอบการพังของดิน ที่ไม่ได้ใส่ปลอกเหล็กชั่วคราว ดูว่าผนังของดิน มีการยุบตัวหรือไม่ หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือดูจากชนิดของดินที่เก็บขึ้นมาได้ว่าใกล้เคียงกับความลึกหรือไม่ ถ้าเกิดเห็นว่าดินเคลื่อนพังควรแก้ไขโดยการนำปลอกเหล็กชั่วคราวตอกให้ลึกลงไปอีก
-ต้องนำดินที่เจอะขึ้นมา ย้ายออกมาข้างนอกบริเวณที่เจาะเสาเข็ม เพื่อที่จะได้ไม่รองรับน้ำหนักรอบข้าง ต่อเสาเข็มต้นต่อไป
4.ตรวจเสาเข็มก่อนใส่เหล็กเสริม
-การวัดจากสายสลิงกับความยาวของกระเช้าตักดินจะได้ความลึก
-หลังจากที่ได้ระดับความลึกที่ต้องการแล้วนั้น ให้ทำการตรวจสอบที่ก้นหลุม ว่ามีการยุบของดินหรือมีน้ำซึมเข้าไปในหลุมหรือไม่ หากเป็นหลุมที่ลึกมากที่มองไม่เห็นก้นหลุม ควรใช้ไฟลงไปเพื่อเช็คให้แน่ใจว่าไม่เกิดการยุบหรือมีน้ำซึมเข้าไป หามีน้ำซึมเข้าไปในก้นหลุม ควรทำการเทคอนกรีตแห้งลงไปทันที แล้วทำการกระทุ้งโดยใช้ตุ้มเหล็ก
5.การเสริมเหล็กเข้าไป
-เหล็กที่ใช้ในการเสริมเข้าไปนั้น ควรเป็นเหล็กข้ออ้อยที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ม.อ.ก. ด้วย เพิ่มให้มีความแข็งแกร่งและรับน้ำหนักได้ดีมากยิ่งขึ้น
-การที่เทคอนกรีตโครงเหล็กจะไม่ขยับไปไหน ควรใส่เหล็กเสริมหย่อนโครงเหล็กยึดให้แน่นและให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะ
6.การเทคอนกรีตชนิดของคอนกรีต
-ใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดประลัย 28 วัน เป็นคอนกรีตผสมโม่
-ในการเทคอนกรีต ควรเทให้ได้ทรงกระบอก ที่ f15 x 30 เซนติเมตร ไม่น้อยกว่า 210 กก / ซม2 ซีเมนต์ที่ใช้เป็น
-ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1
7.การถอดปลอกเหล็ก
เทคอนกรีตให้สูงกว่าปลอกเหล็กพอสมควร ขั้นตอนต่อมาถอดปลอกเหล็ก ตอนถอดปลอกเหล็กออกต้องให้มีคอนกรีตอยู่ในปลอก ห้ามน้อยกว่า 0.50 ม. เป็นการป้องกันชั้นดินอ่อนบีบตัว จะทำให้เสาเจ็มเจาะเปลี่ยนไป ห้ามให้น้ำใต้ดินไหลเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะถอดเหล็กชั่วคราวออก ขั้นตอนต่อมาเตรียมคอนกรีต ต้องเผื่อคอนกรีต ให้สูงกว่าระดับที่ 30-40 ซม. และห้ามให้หัวเข็มสกปรก ป้องกันเศษดินหลังจากการถอดเหล็กออกแล้ว
ความรู้ของวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
การนำวัสดุก่อสร้างไปใช้งาน คลิกที่นี่
ความรู้วัสดุก่อสร้างในการนำไปใช้งาน คลิกที่นี่
สั่งซื้อสินค้าเสาเข็มไอ 22 ได้ที่ร้านอาณาจักรนายช่าง
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์