แผ่นพื้นสำเร็จรูป
แผ่นพื้นสำเร็จรูป ราคา ไม่แพงมีจำหน่ายอยู่มากมาย ซึ่งกระบวนการผลิตจะมาจากปูนปอร์ดแลนด์ แล้วมีการอัดลวดแรงดันเข้าไป เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น และ ยังสามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างดี เหล็กที่นำมาใช้เสริมนั้นเป็นเหล็กที่หลากหลายขนาด แล้วจำนวนก็แตกต่างกันออกไป ทำให้เลือกใช้งานได้ตามที่คุณต้องการได้เลย
สารบัญ
- แผ่นพื้นสำเร็จรูปคืออะไร
- ขั้นตอนการติดตั้งแผ่นพื้น
- ข้อดีและข้อเสียของแผ่นพื้นสำเร็จรูป
- วิธีคิดพื้นที่แผ่นพื้นคอนกรีต
- วิธีการสั่งซื้อ
แผ่นพื้นสำเร็จรูป ราคา ถูกแบบท้องเรียบ
แผ่นพื้นสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นคอนกรีตที่ใช้งานแบบหล่อคอนกรีต แล้วยังใข้เป็นพื้นของโครงสร้างที่เอาไว้รองรับน้ำหนักของแผ่นพื้นได้ ซึ่งจะใช้ในงานที่ต้องการคุณสมบัติในการรองรับแรงได้สูง และ ต้องการความแข็งแรง ความทนทาน
แผ่นพื้นท้องเรียบโดยทั่ว ๆ ไป จะเรียกกันว่าแผ่นพื้นที่มีหน้าตัดกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร และ มีความหนาอยู่ที่ 5 เซนติเมตร วางเรียงในแนวเดียวกัน โดยจะไม่มีการฉาบปูน ด้านท้องของพื้นจะมีลักษณะที่เรียบ หลังจากที่มีการเทคอนกรีตทับหน้า รวมกับไวร์เมช จะทำงานกับตัวแผ่นพื้นสำเร็จจนเป็นเนื้อเดียวกัน
ขั้นตอนของการผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูป
- ให้ทำการผสมคอนกรีตตามกำลังอัดที่ได้มาตรฐานสำหรับแผ่นพื้นคอนกรีตประเภทต่าง ๆ ซึ่งในการผลิตจะมีส่วนผสมได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ นำมาผสมกับทราย และ หิน ในอัตราส่วนที่ได้มีการกำหนดไว้
- ให้ทำการทาน้ำยาเบสลงบนพื้นผิว หลังจากนั้นวางลงบนแบบแล้วทำการดึงลวดให้ตึง จากนั้นทำการใส่หูยกตามระยะที่ได้มีการกำหนดความยาวของแผ่น
- ให้ปล่อยคอนกรีตลงบนตัวแบบผลิต แล้วทำการเกลี่ยให้กระจายไปทั่วทั้งแบบด้วยเครื่องจี้เขย่า เพื่อที่จะทำให้ภายในแผ่นไม่มีอากาศ หลังจากที่ใช้เครื่องจี้เขย่าแล้ว ทำการปาดให้พื้นผิวเรียบเนียนทั่วทั้งแผ่น ก่อนจะทำการบ่มคอนกรีตด้วยการฉีดน้ำ
- เมื่อคอนกรีตได้มีการเซทตัวเสร็จแล้ว ให้ทำการย้ายแผ่นพื้นออกจากแบบด้วยแท่นยก จะทำให้ไม่เกิดรอยแตกร้าว หรือ หักตอนที่กำลังจะขนย้ายนั้นเอง
ขั้นตอนการติดตั้งแผ่นพื้นท้องเรียบ
- ก่อนที่จะทำการติดตั้งแผ่นพื้นท้องเรียบสำเร็จรูป เพื่อให้มีความสะดวกต่อการติดตั้ง ควรเตรียมคานรองรับแผ่นพื้น จะให้มีหน้ากว้างไม่ต่ำกว่า 15 เซนติเมตร เนื่องจากแผ่นพื้นต้องมีการวางซ้อนทับกันระหว่างคานกับแผ่น ประมาณ 5 – 7.5 เซนติเมตร ซึ่งคานจะต้องมีควมยาวที่พอเหมาะ และ พอดีกับแผ่นพื้นสำเร็จ เพื่อเป็นการไม่ให้แผ่นพื้นเกิดการทับซ้อนกัน
- ถ้าหากแผ่นพื้นสำเร็จรุปมีความยาวมากกว่าความยาวของแผ่น 2 เมตร ขึ้นไป จะต้องเตรียมไม้ค้ำยันในบริเวณใต้ของแผ่นพื้นสำเร็จ เพื่อที่ไม้ค้ำยันนั้นจะช่วยถ่ายเทน้ำหนักของคอนกรีต เพื่อให้แผ่นไม่เกิดรอยร้าวขณะที่ทำการติดตั้ง
- ในการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูป จำเป็นที่จะมีการใช้งานของเหล็กรูปพรรณขนาด 9 มม. ทำการฝังลงไปในคานบริเวณที่จุดเดียวกัน ซึ่งจะต้องมีการฝังเหล็กให้ได้ระยะ 35 – 40 เซนติเมตร ซึ่งเหล็กที่ใช้ค้ำยันนี้จะเป็นตัวยึดของแผ่นพื้น และ ยังช่วยลดการแตกร้าวของแผ่นได้อีกด้วย
- การวางแผ่นพื้นจะใช้เครนในส่วนของการเคลื่อนย้าย โดยจะทำการคล้องสลิงไปที่หูหิ้วที่เป็นเหล็ก เข้ากับแผ่นพื้นสำเร็จ อย่างระมัดระวัง
- การวางแผ่นพื้นสำเร็จบนคาน จะต้องวางในระยะห่างระหว่างประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร ซึ่งจะต้องวางแผ่นพื้นไม่ให้เกิดการซ้อนทับระหว่างแผ่น และ จะต้องทำการวางให้มีความแนบสนิทกัน โดยไม่ให้มีช่องระหว่างแผ่น
- หลังจากที่ทำการวางแผ่นพื้นสำเร็จแล้ว จะมีการเทคอนกรีตทับลงไป เพื่อประสานแผ่นพื้นให้มีความแข็งแรง โดยก่อนที่จะเทคอนกรีตต้องทำการวางเหล็กเสริมชนิดพิเศษ และ เหล็กกันร้าวก่อนที่จะทำการเทคอนกรีตลงไป
ข้อดี และ ข้อเสียของแผ่นพื้นสำเร็จรูป
ข้อดีของแผ่นพื้นสำเร็จรูป
- ลักษณะของการผลิตแผ่นพื้นแบบท้องเรียบจะใช้โดยเครื่องจักรที่มีความทันสมัยในการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนจบกระบวนการผลิต จะมีทีมวิศวกรที่ชำนาญการคอยจับตาดูแลอยู่ เป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่อัดแรง ทำให้ตรงท้องของแผ่นพื้นจะมีความเรียบเนียน และ ดูสวยงามนั้นเอง
- ถ้าทำการปูยาแนวตรงบริเวณรอยต่อ จะสามารถทาสีทับได้ทันที โดยที่ไม่ต้องใช้ปูนฉาบเพิ่ม ท้องของแผ่นพื้นมีความสวยงามอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ฝ้า ด้านข้างจะมีหูเหล็กยืนออกมากแผ่นพื้นเพื่อที่จะทำหน้าที่ในการยึดกับคอนกรีตที่ทับหน้า สามารถประหยัดเวลา และ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้อีกด้วย
- ทั้งนี้จะทำให้ตัวพื้นที่ยึดแน่นกับคอนกรีตทับหน้าจะมีแผ่นพื้นเป็นแผ่นเดียวกัน ช่วยลดความสูงของตัวอาคาร สถานที่ลงความหนาของแผ่นพื้นแบบท้องเรียบรวมไปถึงคอนกรีตที่ทับหน้าแผ่นพื้นอยู่จะน้อยกว่าระบบแบบอื่น ๆ
ข้อเสียของแผ่นพื้นสำเร็จท้องเรียบ
- ในระหว่างของการติดตั้งจำเป็นที่จะต้องใช้ไม้ค้ำยันไว้ สำหรับแผ่นพื้นที่จะมีช่วงพาดมากกว่าประมาณ 3 เมตร
- ในเวลาเคลื่อนย้าย หรือ ทำการติดตั้งจะมีโอกาสที่จะเสียหายที่สูงกว่าแผ่นพื้นแบบกลวง
- จะมีขนาดที่ให้ใช้งานที่น้อย เพราะมีหน้ากว้างประมาณ 30 – 35 เซนติเมตร ในขณะที่แผ่นพื้นแบบกลวงจะมีความหนา และ หน้ากว้างให้เลือกใช้งานได้หลากหลาย
แผ่นพื้นวางบนดิน
แผ่นพื้นวางบนดินแผ่นพื้นคอนกรีตประเภทนี้จะใช้กับด้านล่างพื้นของอาคารชั้นล่างสุด ทางเดินเท้า หรือ ถนน การถ่ายน้ำหนักโดยตรงลงไปที่ดินด้านล่างของแผ่นพื้น โดยใช้แผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดนี้ ข้อดีของแผ่นพื้นวางบนดินคอนกรีตนี้ คือ จะช่วยให้ไม่ต้องรับน้ำหนักจากพื้นดิน
อีกทั้งยังเป็นการลดขนาดคาน หากจะทำการบด หรือ ทำการอัดน้ำหนักลงบนพื้นดินที่ทำการรับพื้นคอนกรีตที่มีการเสริมเหล็กที่ไม่แน่นมากพอ อาจจะมีการทรุดของตัวแผ่นพื้นคอนกรีต จึงจำเป็นที่จะต้องมีคานคอดิน ให้มีการอยู่รอบ ๆ แผ่นพื้นที่เพื่อที่จะทำหน้าที่กั้นทราย และ ดินใต้ท้องของแผ่นพื้น
ไม่ให้ไหลออกมาข้างนอกแผ่นพื้น ทำให้เป็นสาเหตุให้เกิดช่างโหว่ขางล่างแผ่นพื้นในดิน การที่ทำการบดอัดดินภายในด่านล้างให้แน่นโดยการหล่อคานคอดินก่อน ถ้าพื้นที่ขาดส่วนที่รับน้ำหนักจะทำให้แผ่นพื้นเกิดการแตกร้าวได้ก่อนจะเทพื้น
ให้ความหนาเสมอกับระดับหลังคานควรถมทรายหยาบอัดให้แน่นขึ้นมาถึงระดับที่ตำกว่าคานคอดิน 100 มิลลิเมตร (เทเท่าความหนาของพื้น) หลังจากนั้นวางตะแกรงเหล็กให้อยู่กรอบใน
แผ่นพื้นวางบนคาน
แผ่นพื้นวางบนคาน หรือ เป็นแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่อยู่เหนือจากพื้นดิน ปกติแผ่นพื้นชนิดนี้จะมีความกว้างประมาณ 30 เซนติเมตรและมีความยาว 2 – 5 เมตร ในขั้นตอนการก่อสร้างแผ่นพื้นขนิดนี้จะนำมาวางบนหลังคาน โดยหล่อพื้นให้เป็นเนื้อเดียวกับคาน
ทำให้แผ่นพื้นเทน้ำหนักลงในคอนกรีตเสริมเหล็ก แผ่นพื้นชนิดนี้จะรับน้ำหนักของตัวมันเองจึงต้องเพิ่มเหล็กในพื้น และ คานเพิ่มขึ้น ส่วนคานเองก็ต้องรับน้ำหนักตัวเอง น้ำหนักที่ถ่ายลงตามเสา คือน้ำหนักที่มาจากผนัง และ น้ำหนักทั้งหมดจากพื้น
ข้อควรระวังในการใช้งานแผ่นพื้น
หากทำการติดตั้งแผ่นพื้นไปแล้ว อยากทำการเจาะแผ่นพื้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ เนื่องจากหากทำการเจาะอาจจะตัดโดนลวดอัดแรงได้ เพราะแผ่นพื้นอาจจะเกิดปัญหาการรั่วซึมของน้ำในรอยต่อ หากมีการเทคอนกรีตทับหน้ามีความหนาที่ไม่มากพอ หรือ หากมีการปรับความลาดชันที่ไม่ได้มาตรฐานจึงทำให้มีน้ำขัง จึงไม่ควรใช้แผ่นพื้นในงานดาดฟ้า หรือ ชั้นใต้ดินนั้นเอง
**สามารถสั่งซื้อสินค้า และ เช็ค ราคา แผ่นพื้นลวด4เส้น ได้ที่นี่**
LINE : NaichangNetwork เฟสบุ๊คนายช่างNetwork
หรือ โทรมาที่เบอร์โทรศัพท์ 086 – 341 – 9908 , 086 – 341 – 9902
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์