แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป
Plank Slab แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบท้องเรียบ
Slab หมายถึง วัสดุที่มีความแข็ง ในลักษณะสี่เหลี่ยมและ Plank หมายถึง วัสดุที่มีความยาวและแบนรวมกันเหมือน พื้นที่มีลักษณะยาว หรือ บางคนเรียก Concrete Slab หมายถึง แผ่นพื้นคอนกรีต หรือ แผ่นพื้นท้องเรียบ นั่นเองซึ่งสามารถนำไปใช้เป็น แบบหล่อ หรือ เป็นพื้น โครงสร้างที่รับแรงได้
แผ่นพื้นท้องเรียบ โดยทั่วไป เรียกว่าแผ่นพื้นมีหน้าตัดกว้างประมาณ 35 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร วางเรียงในแนวเดียวกัน โดยจะไม่มีการฉาบปูน ด้านท้องของพื้นเรียบ หลังจากที่มีการเทคอนกรีตทับหน้า รวมกับไวร์เมซ จะทำงานกับตัวพื้นสำเร็จรูปเป็นเนื้อเดียวกัน
การติดตั้งแผ่น แผ่นพื้นท้องเรียบ
การที่จะเทคอนกรีตปรับระดับควรที่จะเทคอนกรีตให้เสร็จเรียบร้อยในขณะที่ทำการหล่อคาน เพื่อที่จะว่างแผ่นพื้นท้องเรียบให้แนบสนิทกับหลังคาน หลังคานจะเป็นส่วนที่รับน้ำหนักแผ่นพื้นคอนกรีต การเทคอนกรีตควรให้ได้ระดับเสมอกันโดยตลอด จากนั้นค่อยวางแผ่นพื้น plankหรือแผ่นพื้นท้องเรียบ ลงไปเพื่อที่จะทำให้การติดตั้งง่ายขึ้น
แผ่นพื้นท้องเรียบ ข้อดี
การผลิตแผ่นพื้นท้องเรียบโดยใช้เครื่องที่ทันสมัยในการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ มีทีมวิศวกรที่ชำนาญการคอยจับตาดูแลอยู่ เป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรง ทำให้ตรงท้องของแผ่นพื้นมีความเรียบเนียบและดูสวยงาม ถ้าปูยาแนวที่รอยต่อ จะใช้งานก็สามารถทาสีทับได้ทันที โดยที่ไม่ต้องใช้ปูนฉาบเพิ่ม ท้องของแผ่นพื้นมีความสวยงามอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้ฝ้า ด้านข้างจะมีหูเหล็กยื่นออกมาจากแผ่นพื้นเพื่อทำการยึดกับคอนกรีตที่ทับหน้า จะสามารถประหยัดเวลาและค่าใชจ่ายในการก่อสร้าง ทั้งนี้จะทำให้ตัวพื้นที่ยึดแน่นกับคอนกรีตทับหน้าแผ่นพื้นเป็นแผ่นเดียวกัน การลดความสูงของตัวอาคารสถานที่ลงความหนาของแผ่นพื้นท้องเรียบรวมกับคอนกรีตที่ทับหน้าแผ่นพื้นอยู่จะน้อยกว่าระบบอื่นๆ
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้น
Slab on Ground แผ่นพื้นวางบนดิน
แผ่นพื้นวางบนดินแผ่นพื้นคอนกรีตประเภทนี้จะใช้กับด้านล่างพื้นของอาคารชั้นล่างสุด ทางเดินเท้า หรือ ถนน การถ่ายน้ำหนักโดยตรงลงไปที่ดินด้านล่างของแผ่นพื้น โดยใช้แผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดนี้ ข้อดีของแผ่นพื้นวางบนดินคอนกรีตนี้ คือ จะช่วยให้ไม่ต้องรับน้ำหนักจากพื้นดิน และช่วยลดขนาดของคาน แต่ถ้าเป็นการบดและอัดน้ำหนักลงบนพื้นดินที่รองรับพื้นคอนกรีตที่เสริมเหล็กแน่นไม่พอ จะมีการทรุดตัวของบแผ่นพื้นคอนกรีต จึงต้องมี Ground Beam หรือคานคอดิน ให้อยู่รอบพื้นที่แผ่นพื้นเพื่อที่จะสามารถทำหน้าที่กั้น ทรายและดินใต้ท้องแผ่นพื้นไม่ให้ไหลออกมาข้างนอกแผ่นพื้น ทำให้เป็นสาเหตุให้เกิดช่างโหว่ขางล่างแผ่นพื้นในดิน การที่ทำการบดอัดดินภายในด่านล้างให้แน่นโดยการหล่อคานคอดินก่อน ถ้าพื้นที่ขาดส่วนที่รับน้ำหนักจะทำให้แผ่นพื้นเกิดการแตกร้าวได้ก่อนจะเทพื้นให้ความหนาเสมอกับระดับหลังคานควรถมทรายหยาบอัดให้แน่นขึ้นมาถึงระดับที่ตำกว่าคานคอดิน 100 มิลลิเมตร (เทเท่าความหนาของพื้น)หลังจากนั้นวางตะแกรงเหล็กให้อยู่กรอบใน
Slab on Beam แผ่นพื้นวางบนคาน
แผ่นพื้นวางบนคานหรือเป็นแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่อยู่เหนือจากพื้นดิน ปกติแผ่นพื้นชนิดนี้จะมีความกว้างประมาณ 30 เซนติเมตรและมีความยาว 2-5เมตร ในขั้นตอนการก่อสร้างแผ่นพื้นขนิดนี้จะนำมาวางบนหลังคาน โดยหล่อพื้นให้เป็นเนื้อเดียวกับคาน ทำให้แผ่นพื้นเทน้ำหนักลงในคอนกรีตเสริมเหล็ก แผ่นพื้นชนิดนี้จะรับน้ำหนักของตัวมันเองจึงต้องเพิ่มเหล็กในพื้นและคานเพิ่มขึ้น ส่วนคานเองก็ต้องรับน้ำหนักตัวเอง น้ำหนักที่ถ่ายลงตามเสา คือน้ำหนักที่มาจากผนังและน้ำหนักทั้งหมดจากพื้น
นอกจากแผ่นพื้นท้องเรียบ ยังมี แผ่นพื้น Hollow Core ด้วย
วิธีคิดพื้นที่แผ่นพื้นคอนกรีต
พื้นที่(ตร.ม.) = 0.35 x ความยาว (ม.) x จำนวน (แผ่น)
เช่น แผ่นยาว 4.00 ม. จำนวน 100 แผ่น
= 0.35 x 4.00 x100 = 140 ตรม. เป็นต้น
ลวดอัดแรง (PC. WIRE) |
น้ำหนักบรรทุกปลอดภัย (กก. / ตร.ม.) | ||||||||||||
ช่วงความยาว (ม.) |
2.00 | 2.25 | 2.50 | 2.75 | 3.00 | 3.25 | 3.50 | 3.75 | 4.00 | 4.25 | 4.50 | 4.75 | 5.00 |
จำนวน – ขนาด | แผ่นพื้นสำเร็จรูป หนา 5 ซม. ทับหน้า 4 ซม. ความหนารวม 9 ซม. | ||||||||||||
4 – 4 มม. | 950 | 660 | 520 | 420 | 340 | 275 | 220 | ||||||
5 – 4 มม. | 1260 | 875 | 620 | 500 | 410 | 335 | 270 | 230 | |||||
6 – 4 มม. | 1550 | 1110 | 800 | 595 | 480 | 400 | 325 | 275 | 230 | ||||
7 – 4 มม. | 1550 | 1360 | 1000 | 725 | 560 | 460 | 380 | 325 | 270 | 225 | |||
8 – 4 มม. | 1550 | 1360 | 1200 | 895 | 650 | 525 | 435 | 370 | 310 | 265 | 225 | ||
แผ่นพื้นสำเร็จรูป หนา 5 ซม. ทับหน้า 5 ซม. ความหนารวม 10 ซม. | |||||||||||||
4 – 4 มม. | 1060 | 800 | 670 | 520 | 430 | 360 | 315 | 260 | |||||
5 – 4 มม. | 1440 | 970 | 770 | 620 | 515 | 430 | 360 | 305 | 265 | 230 | |||
6 – 4 มม. | 1550 | 1200 | 880 | 720 | 595 | 500 | 425 | 360 | 305 | 265 | 230 | ||
7 – 4 มม. | 1550 | 1360 | 820 | 675 | 575 | 485 | 415 | 355 | 305 | 265 | 230 | ||
8 – 4 มม. | 1550 | 1360 | 1200 | 1000 | 765 | 645 | 540 | 470 | 400 | 350 | 305 | 260 | 230 |
แผ่นพื้นสำเร็จรูป หนา 5 ซม. ทับหน้า 6 ซม. ความหนารวม 11 ซม. | |||||||||||||
4 – 4 มม. | 1260 | 990 | 795 | 650 | 550 | 460 | 405 | 340 | 275 | ||||
5 – 4 มม. | 1530 | 1160 | 940 | 760 | 655 | 545 | 475 | 405 | 340 | 275 | |||
6 – 4 มม. | 1550 | 1350 | 1060 | 870 | 740 | 620 | 540 | 460 | 405 | 355 | 300 | ||
7 – 4 มม. | 1550 | 1360 | 1200 | 980 | 835 | 700 | 605 | 525 | 460 | 400 | 360 | 315 | |
8 – 4 มม. | 1550 | 1360 | 1200 | 1050 | 920 | 780 | 680 | 580 | 510 | 445 | 400 | 355 | 315 |