ปูนTPI เขียว 197
TPI 197 เป็นการผสมของวัสดุที่มีความเฉื่อย ซึ่งจะได้แก่ หินปูน หรือ ทราย และ วัสดุอื่น ๆ กับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ผลิตได้ตามเกณฑ์ โดยจะให้คุณภาพของปูนซีเมนต์อย่างถูกต้อง ได้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ผสม มีความเหมาะสมสำหรับงานก่อ งานฉาบ และ งานเทคอนกรีตที่ต้องการรองรับกำลังอัดที่ไม่สูงมาก
สารบัญ
คุณสมบัติของปูน TPI เขียว 197
- ความละเอียดของปูนซีเมนต์ที่จะทำให้ส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำ ทำให้เกิดการก่อตัว และ เกิดกำลังมีการคายความร้อน ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นปูนซีเมนต์จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นผิวโดยรอบ ๆ ของเม็ดปูน ปกติแล้วปูนซีเมนต์จะมีน้ำหนักเท่ากับปูนซีเมนต์ที่เม็ดแบบปูนหยาบจะมีพื้นผิวน้อยกว่าปูนซีเมนต์ที่เม็ดแบบปูนละเอียด ส่วนการเกิดปฏิกิริยาของปูนซีเมนต์ที่ละเอียดสามารถทำปฏิกิริยากับน้ำได้เร็วกว่าปูนซีเมนต์หยาบ
- ความอยู่ตัวของปูนซีเมนต์จะมีคุณสมบัติที่รักษาปริมาตรให้มีความคงที่อยู่เสมอ ไม่ว่าปูนจะแข็งตัวแล้วก็ตาม ปูนที่มียิปซั่ม ปูนขาว หรือ แมกนีเซียม ที่อยู่ในปูนมากเกินไป ทำให้ปูนซีเมนต์มีความอยู่ตัวที่น้อย หรือ ไม่มีเลย
- จะมีระยะเวลาในการก่อตัว และ แข็งตัว ทำให้สภาพของปูนมีการเปลี่ยนจากของเหลวเป็นของแข็ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ซึ่งจะได้แก่ ระยะเริ่มก่อตัว และ ระยะเวลาก่อตัวจนเสร็จ การก่อตัวของปูนซีเมนต์จะมีระยะเวลาการก่อตัวคือ สิ่งที่จำเป็นมากที่ผู้ใช้ปูนจะต้องทราบ เพื่อที่สามารถกำหนดระยะเวลาในการทำงานให้มีความพอเหมาะได้ก่อนที่ปูนจะเกิดการแข็งตัว
- กำลัง หรือ STENGTH สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ การทดสอบกำลังต้านของแรงอัด และ การทำสอบกำลังต้านแรงดึง แต่บางแห่งมีการกำหนดให้มีการตรวจสอบเฉพาะกำลังต้านของแรงอัดเท่านั้น
การนำไปใช้งานของปูนซีเมนต์TPI 197
- งานฉาบ
- ให้มีการทำความสะอาดพื้นผิวของผนัง ก่อนที่จะทำการฉาบให้สะอาด และ ราดน้ำตรงผนังให้มีความชุ่ม ๆ
- ผสมปูนทีพีไอ 197 ประมาณ 1 ถุง ต่อ ทรายละเอียดประมาณ 8 – 9 บุ้งกี้ (โดยจะมีอัตราส่วนประมาณ 1 : 2 : 25 โดยปริมาตร)
- ให้เติมน้ำสะอาดในส่วนผสมที่มีความเหมาะสม และ ทำการทิ้งไว้สักครู่ แล้วถึงจะผสมปูนให้เข้าจนเป็นเนื้อเดียวกัน
- งานก่อ
- ผสมปูนทีพีไอ 197 ประมาณ 1 ถุง ต่อ ทรายหยาบ 5 – 7 บุ้งกี้ (อัตราส่วน 1 : 1.75 โดยปริมาตร)
- เติมน้ำสะอาดในส่วนผสมที่เหมาะสม ทิ้งไว้สักครู่ แล้วถึงจะคนส่วนผสมให้เข้ากัน
- นำไปใช้ก่ออิฐมอญ หรือ อิฐบล็อกตามขั้นตอนการก่อแบบทั่ว ๆ ไป
- งานคอนกรีตแบบทั่ว ๆ ไป
- ผสมปูนทีพีไอ 197 ประมาณ 1 ถุง ต่อ ทรายหยาบ และ หิน (ในอัตราส่วน 1 : 2 : 4 โดยปริมาตร)
- ถ้าหากผสมด้วยมือ ควรที่จะผสมปูนกับทราบก่อน แล้วถึงจะผสมหินตาม หลังจากนั้นก็ให้คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
การเก็บรักษาปูนซีเมนต์
ปูนซีเมนต์จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุของการใช้งานอย่างจำกัด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเก็บรักษาให้ถูกต้องอย่างถูกวิธี เพื่อที่จะได้ป้องกันความชื้นที่จะอาจจะเข้ามาทำให้ปูนซีเมนต์เกิดการแข็งตัว แล้วมีการเสื่อมสภาพได้ด้วยนั่นเอง
- การกองเก็บปูนซีเมนต์ ทีพีไอ 197
โดยจะต้องยกพื้นให้สูงจากพื้นดินจะต้องไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันความชื้น และ น้ำฝนที่จะไหลมาจากที่อื่น การกองเก็บปูนซีเมนต์จะต้องไม่นำไปซ้อนกันเกิน 5 ชั้น แล้วให้วางสลับแบบขวางอีก 5 ชั้น และ ควรที่จะกองแยกประเภทของปูนก่อนที่จะนำไปใช้งาน หรือ กองให้ห่างจากฝาผนังอย่างน้อยประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร
- สถานที่เก็บจะต้องมีหลังคาคลุม และ จะต้องมีฝาผนังทั้งหมด 4 ด้าน เพื่อป้องกันความชื้นจากอากาศมาทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ ทำให้ปูนเกิดการแข็งตัวได้ด้วย
ข้อควรระวังในการนำไปใช้งาน
- ควรที่จะทำการเก็บปูนในบริเวณพื้นที่แห้ง โดยต้องมีอะไรปิดกองปูนด้วยวัสดุที่กันน้ำ และ ความชื้นได้อย่างดี
- หลังจากทำการผสมแล้วควรที่จะใช้ให้หมดภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง
- สำหรับงานคอนกรีต จะมีระยะดเวลาในการถอดแบบให้ใช้ตามมาตรฐานของปูนซีเมนต์แบบผสมเลย
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ อาณาจักรนายช่าง
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
https://www.facebook.com/Anajaknaichang
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์