เสาเข็มไอ 22
เสาเข็มไอ 22 เป็นเสาเข็มที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็มีเสาเข็มไอ ที่หลากหลายขนาดให้เลือกใช้ ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์นั้นทำมาจากคอนกรีตที่อัดแรง จะเป็นเทคนิคของการเสริมความแข็งแรงให้เสาเข็ม ทำให้ไม่แตกหรือหักได้ง่าย มีความทนทานต่อแรงตอก
สารบัญ
- ความรู้เบื้องต้นของเสาเข็มไอ
- เสาเข็มตอกคืออะไร
- ความสำคัญของรากฐาน
- วิธีการเจาะเสาเข็ม
- วิธีการสั่งซื้อ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเสาเข็มไอ 22
ในปัจจุบันนั้นมีโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของบ้าน คือเสาเข็ม จำเป็นต้องมีความแข็งแรง และ ต้องมีความทนทาน บ้านก็เป็นเหมือนกับต้นไม้ที่จำเป็นต้องมีรากฐานของความมั่นคง การใช้เสาเข็มก็ถือว่ามีความสำคัญที่สุดที่จะทำให้โครงสร้างของบ้านนั่นมีความแข็งแรง ซึ่งจะมีหน้าที่ในการเอาไว้รองรับน้ำหนักของตัวบ้าน จึงจำเป็นที่จะต้องมีวิศวกรมาคุมงานก่อสร้างให้มีมาตรฐาน และ ต้องมีความถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง เสาเข็มนั้นจะแบ่งออกมาได้ถึง 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ เสาเข็มตอก กับ เสาเข็มเจาะ และควรที่จะเลือกใช้ให้มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
เสาเข็มตอก คืออะไร (เสาเข็มไอ 22)
โดยทั่วไปเสาเข็มที่เราเห็น และ นิยมใช้กันจะมีหน้าตัดเป็นเหลี่ยมๆ เป็นตัวไอ หรือ กลม และ จะเป็นแท่งยาวๆ เสาเข็มทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก การตอกต้องใช้ปั้นจั่นตอกลงดิน ส่วนใหญ่เสาเข็มที่ใช้กับโครงสร้างขนาดเล็กหรือไม่ค่อยสำคัญ คือ เสาเข็มคอนกรีต
เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง เพราะมีขนาดที่พอเหมาะ จะนิยมนำไปทำ รั่วศาลพระภูมิ แต่ทุกคนเลยรู้มั้ยว่า ในอดีตเสาเข็มที่ใช้ทำโครงสร้างบ้านจะมีแต่ไม้ แต่เนื่องจากปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเสาเข็ม จนมีเสาเข็มคอนกรีต ไม้เลยไม่เป็นที่นิยมเพราะมีราคาที่สูงกว่า และ ผุกร่อนง่าย
ควบคุมคุณภาพได้อยาก มีโอกาสพังทลายตามสภาพ ปัจจุบันเลยไม่มีการใช้ไม้ทำโครงสร้างบ้านหรืออาคาร ในการก่อสร้างหรือโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ มักจะใช้เสาเข็มเจาะเปียก ส่วนการปลูกบ้านหรืออาคาร ที่ความสูงไม่มาก ส่วนใหญ่จะใช้การเจาะแห้ง
ใช้พื้นที่น้อยกว่าเสาเข็มตอก มักจะใช้งานในพื้นที่ไม่กว้างข้อดีคือ จะเกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่าเสาเข็มตอก จึงไม่มีผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง แต่การเจาะแห้งนั้น ต้องมีการควบคุมคุณภาพ มากกว่า เสาเข็มตอก ขั้นตอนของการเจาะแห้งนั้น มีขั้นตอนโดย
เริ่มจากการ กดปลอกเหล็กกันดินพัง ให้เส้นผ่านศูนย์กลางของปลอกเหล็กเท่ากับเสาเข็ม ลงในชั้นดินอ่อนในตำแหน่งที่ต้องการเจาะ แล้วเจาะดินให้ลึกตามที่กำหนดไว้ ขั้นตอนต่อมาคือ การใส่เหล็กเสริมที่ได้มาตรฐาน มอก. แล้วจึงเทคอนกรีตตามเข้าไป
ต้องตรวจสอบในขั้นตอนที่สำคัญๆในการคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้ง โดยอย่างแรกคือ ตรวจสอบปลอกเหล็กว่าได้เส้นผ่านศูนย์กลางถูกต้องหรือไม่ และตำแหน่งของปลอกเหล็ก ขนาด ความลึก ว่าได้รูปแบบตามที่กำหนดไว้ในแบบหรือไม่ และเหล็กเสริม
ควรมีขนาดความยาวและคุณภาพตามแบบที่กำหนดไว้ การดูก้นหลุดของเสาเข็มว่าใช้ได้หรือไม่ ควรตรวจสอบว่าไม่มีการพังทลายของดิน ดูได้โดยไม่มีน้ำเข้ามาในหลุมต้องใช้ไฟส่องดูให้แน่ชัด การควบคุมการทำงานของเสาเข็มเจาะแห้ง ขั้นตอนที่สำคัญในเบื้องต้น
ควรดูว่าในรูเจาะดินไม่พังทลายหรือมีการบีบตัวโดยดูจาก ปริมาณของคอนกรีตที่ใช้ กับปริมาณของดินที่เจาะออกไปแล้ว การเทคอนกรีตลงในปลอกเหล็ก โดยปกติจะมีการยุบตัวของคอนกรีต หลังจากดึงปลอกเหล็กกันดินพังออก
การที่จะนำคอนกรีตมาเทกันไว้เผื่อมีการยุบตัว หลังจากนั้นค่อยทำการดึงปลอกเหล็กขึ้นมา ถ้าไม่ดึงในแนวดิ่งจะทำให้เสาเข็มเจาะเอียงตามไปด้วยนั่นเอง จะมีความเสี่ยงในการรองรับน้ำหนักของโครงสร้างตามมา
ความสำคัญของรากฐาน
- เพื่อทำให้โครงสร้างต่าง ๆ ของอาคารมีเสถียรภาพ ไม่จมลงในดิน และ ไม่เกิดการทรุดตัว หรือเอนเอียง
- เพื่อไม่ให้โครงสร้างอาคารทรุดตัว เนื่องจากการขุดดินใต้รากฐานของสิ่งก่อสร้าง
- เพื่อเป็นตัวค้ำยัน ในการแก้ไขโครงสร้างอาคารหลัก
- เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของทางโครงสร้างที่อยู่ลึกๆ เช่น สิ่งก่อสร้างที่อยู่ใต้อาคารหรือห้องใต้ดิน
- เพื่อให้รากฐานมีความสามารถ ในการรองรับน้ำหนักได้อย่างเพิ่มขึ้น และ เพิ่มขนาด ได้แก่ การเพิ่มชั้นของอาคาร
- เพื่อทำให้อาคาร ที่ถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่น ยังคงสามารถรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม
วิธีเจาะเสาเข็ม
ถ้าจะใช้เสาเข็มเจาะ เราควรที่จะศึกษาข้อมูลของเสาเข็ม และ วิธีการใช้งานการเจาะพื้นฐาน และ ระบบการทำงานของเสาเข็มเจาะเสียก่อน ส่วนใหญ่คนที่ยังไม่รู้วิธีการ สามารถทำการศึกษาข้อมูลด้านล่างนี้ได้ ซึ่งจะมีการอธิบายของขั้นตอน ของการเจาะเสาเข็มอย่างละเอียด ที่ผ่านการดูแลโดยวิศวกร ของผู้ชำนาญการเพื่อให้ ขั้นตอนการเจาะเสาเข็มนั้น เป็นไปตามมาตรฐานที่มีการกำหนดไว้ ซึ่งจะมีตั้งแต่การเลือกใช้ การขุดเจาะ หรือ การเทคอนกรีต มีรายละเอียดดังขั้นตอนต่อไปนี้
1.ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
- ให้ปรับตัวติดตั้งสามขาให้อยู่ในบริเวณแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม ใช้กระเช้าเจาะนำร่องไปก่อนให้มีความลึกอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร แล้วถึงจะได้ทำการตอกเสาหลักยึดให้มีความแน่นหนา
2.ขนาดของความยาวเหล็กปลอก
- นำเหล็กปลอกมาต่อ ๆ กัน ให้มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1.20 ม. โดยให้ปลอกเหล็กทำงานผ่านชั้นดินที่อ่อนจนไปถึงชั้นดินที่มีการแข็งตัว ควรที่จะดูตำแหน่งให้มีความถูกต้อง เพื่อที่จะมีการป้องกัน ที่อาจจะเกิดการพังทลายของผนังเจาะรู การที่จะไม่ทำให้เสาเข็มเกิดความเอียง ควรที่จะมีการรักษาตำแหน่งของปลอกเหล็กให้อยู่ในจุดที่ศูนย์กลาง และ บริเวณแนวนิ่งเสมอ
3.สิ่งที่ต้องใช้ในการขุดและเจาะดิน
- ให้ทำการเจาะและขุดดิน หลังจากนั้นให้นำกระเช้าที่ใช้เก็บดิน หย่อนลงไปในหลุมดินที่ทำการขุดไว้ แล้วน้ำดินออกมา ทำต่อไปเรื่อย ๆ ให้ได้ขนาดความลึกของหลุมที่ต้องการ
- ให้มีการตรวจสอบการพังของหน้าดิน ที่ไม่ได้ใส่ปลอกเหล็กแบบชั่วคราว ดูว่าผนังของดิน จะเกิดการยุบตัวหรือไม่ แต่อีกวิธีหนึ่งก็คือให้ดูจากชนิดของดินที่มีการเก็บขึ้นมาได้ว่ามีความใกล้เคียงกับความลึกหรือเปล่า ถ้าเกิดเห็นว่าดินมีการเคลื่อนพังควรจะมีการแก้ไขได้โดยการนำปลอกเหล็กแบบชั่วคราวให้มีการตอกลึก ๆ ลงไปอีก
- ต้องนำดินที่เจอะขึ้นมา ย้ายออกมาข้างนอกบริเวณที่เจาะเสาเข็ม เพื่อที่จะได้ไม่รองรับน้ำหนักรอบข้าง ต่อเสาเข็มต้นต่อไป
4.ตรวจเสาเข็มก่อนใส่เหล็กเสริม
- การวัดจากสายสลิงกับความยาวของกระเช้าตักดินจะได้ความลึก
- ตรวจที่ก้นหลุมดูว่ามีการยุบเข้าหรือมีน้ำซึมหรือไม่หากมองไม่เห็นถึงก้นหลุมก็ควรใช้ไฟส่อง ถ้าพบเห็นมีน้ำที่ก้นหลุม ต้องเทคอนกรีตแห้งลงไป จากนั้นกระทุ้งให้แน่นด้วยตุ้มเหล็ก
5.การนำเหล็กเสริมมาใส่
- ชนิดของเหล็กเสริมนั้นจะมีเป็นเหล็กเสริมข้ออ้อยที่ได้คุณภาพมาตรฐาน มอก.
- การที่เทคอนกรีตโครงเหล็กจะไม่ขยับไปไหน ควรใส่เหล็กเสริมหย่อนโครงเหล็กยึดให้แน่นและให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะ
6.เป็นการเทคอนกรีตที่เป็นชนิดของคอนกรีต
- เป็นการนำคอนกรีตที่มีกำลังอัดประมาณ 28 วัน คือเป็นคอนกรีตที่ผสมโม่
- คอนกรีตจะมีลักษณะที่เป็นทรงกระบอก หรือ เป็นแบบ F 15 x 30 ซม. ที่จะไม่น้อยกว่าประมาณ 210 กก./ซม.2
- ใช้เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทจำพวกที่ 1
7.เป็นการถอดปลอกเหล็ก
- นำคอนกรีตเทให้สูงกว่าปลอกเหล็กอย่างพอสมควร เป็นขั้นตอนต่อมาให้ถอดปลอกเหล็กออก ตอนถอดปลอกเหล็กออกต้องให้มีคอนกรีตตอนอยู่ในปลอก ต้องห้ามมีน้อยกว่า 0.50 ม. เป็นการป้องกันชั้นดินที่อ่อน ๆ อาจจะทำให้มีการบีบตัว เลยทำให้มีเสาเข็มเจาะเปลี่ยนไป ห้ามให้น้ำใต้ดินไหลเข้ามาให้บริเวณรูเจาะก่อนที่จะมีการถอดเหล็กออกแบบชั่วคราว ขั้นตอนต่อมาให้เตรียมคอนกรีต ต้องเผื่อคอนกรีต ให้มีระบบที่สูงกว่าประมาณ 30-40 ซม.
ข้อดีของ เสาเข็มไอ 22
- ทำงานได้ในที่แคบ
- มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เกิดภาวะทางเสียง ไม่มีโคลน สะดวกต่อการใช้งาน
- ตอกได้ตามความเป็นจริง
- การรับน้ำหนักได้มาก ๆ ทำให้พื้นฐานโครงสร้างแข็งแรง
- สามารถที่จะตอกชิดผนังบ้าน หรือ ติดกำแพงของตัวบ้านได้
คำแนะนำสำหรับการใช้งานและข้อระวัง
- เสาเข็มของคอนกรีตอัดแรง ได้ถูกออกแบบมาเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของงานที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างรากฐาน แต่ถ้าจะนำมาใช้เป็นงานโครงสร้างแบบประเภทอื่น ๆ ควรที่จะมีการปรึกษาวิศวกรก่อนทุกครั้ง
- ให้ทำการตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนักของตัวเสาเข็มและให้เลือกใช้งานที่เหมาะสม
ความรู้ของวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
การนำวัสดุก่อสร้างไปใช้งาน คลิกที่นี่
ความรู้วัสดุก่อสร้างในการนำไปใช้งาน คลิกที่นี่
สั่งซื้อสินค้าเสาเข็มไอ 22 ได้ที่ร้านอาณาจักรนายช่าง
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์