ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำ เครื่องมือที่ถูกสร้างมาเพื่อใช้ส่งน้ำ มีส่วนประกอบหลัก ๆ 2 ส่วน คือ ส่วนเชิงกล (Mechanical) และส่วนทางไฟฟ้า (Electrical) ชิ้นส่วนหลัก ๆ มีหัวปั๊ม กับมอเตอร์ หลักการคือ มอเตอร์จะหมุนตัวปั๊มเพื่อส่งน้ำจากจุดหนึ่ง ไปอีกจุดหนึ่ง โดยแรงดันกับปริมาณน้ำมีความสัมพันธ์กัน โดยที่ ปริมาณน้ำมาก แรงดันจะน้อย ถ้าปริมาณน้ำน้อย แรงดันจะมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบเพื่อจะใช้งานตามแต่จุดประสงค์

ปั๊มน้ำ มี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ โดยแบ่งตามการใช้งาน

  1. กลุ่มที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
  2. กลุ่มที่ใช้ในที่อยู่อาศัย ในกลุ่มนี้จะแบ่งย่อยมาได้อีกหลายกลุ่มมาก ตามการใช้งาน เพราะว่าที่อยู่อาศัย หรืออาคาร มีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่ บ้านเดี่ยว บ้านทาวน์โฮม ตึกพาณิชย์ ไปจนถึงอาคารสูง 5 -10 ชั้น ขึ้นไป

ปั๊มน้ำในกลุ่มอุตสาหกรรม เมื่อแบ่งย่อยตามการใช้งาน

  1. ปั๊มน้ำสำหรับส่ง water cooling ให้กับระบบหล่อเย็น
  2. ปั๊มน้ำงานในโรงงานที่เกี่ยวกับสารเคมี เพื่อสูบน้ำที่มีสารเคมีต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย
  3. ปั๊มน้ำสำหรับกรองน้ำ ใช้ส่งน้ำเจ้าตัวกรอง เพื่อทำให้น้ำสะอาด เรียกกันอีกชื่อว่า ระบบออสโมซิสแบบย้อนกลับ (Reverse Osmosis : RO)
  4. ปั๊มน้ำที่ใช้ในระบบอุตสาหกรรมอาหาร ใช้วัสดุเกรดสูง เช่น โลหะสแตนเลส ทองเหลือง
  5. ปั๊มน้ำในอุตสาหกรรมผลิตน้ำแข็ง
  6. ปั๊มน้ำในระบบอุตสาหกรรมน้ำตาล ใช้สูบน้ำเชื่อม โดยใช้ปั๊มเฉพาะทาง
  7. ปั๊มน้ำที่ใช้ในงานระบบชลประทาน ที่ต้องส่งน้ำในปริมาณมาก ๆ

ปั๊มน้ำในกลุ่มที่อยู่อาศัย เมื่อแบ่งย่อยตามการใช้งาน

  1. ปั๊มที่ใช้งานเพื่อสูบน้ำไปเก็บบนอาคาร
  2. ปั๊มน้ำเสริมแรงดัน
  3. ปั๊มดับเพลิงในอาคาร
  4. ปั๊มแบบจุ่ม

การแบ่งปั๊มน้ำตามลักษณะต่าง ๆ

1. ปั๊มน้ำทิ้ง หรือน้ำเสีย ภาษาอังกฤษ คือ Sewage pump ส่วนใหญ่เป็นปั๊มจุ่ม หรือปั๊มใต้น้ำ ที่เรียกกันว่า ซิบเมิร์ส โดยมีชื่อเต็ม คือ Submersible pump ที่จะอยู่ลึกประมาณ 3 เมตร ไปจนถึง 10 เมตร ลักษณะของบ่อจะมีความใหญ่ ตั้งแต่ 100 ตารางเมตร ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของบ่อ

2. ปั๊มน้ำบาดาล หรือปั๊มสูบน้ำลึก เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Deep well pump ใช้หลักการเดียวกับปั๊มจุ่ม แต่ตัวปั๊มจะอยู่ลึกมาก ตั้งแต่ 50 เมตร จนถึง 200 เมตร โดยก่อนเจาะลงไปต้องตรวจสอบก่อนว่ามีน้ำหรือไม่ เนื่องจากเป็นปั๊มที่มีขนาดเรียวเล็ก ทำให้บ่อขุดมีขนาดเล็กตามไปด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ และแรงดันที่ใช้ด้วย บ่ออาจมีขนาดตั้งแต่ 4 นิ้ว ขึ้นไป ลักษณะเป็นรูปลงไปใต้ดิน

3. ปั๊มน้ำที่ใช้ร่วมกับเครื่องกรองน้ำ RO หรือ Reverse Osmosis ใช้วัสดุคุณภาพสูง อย่างสแตนเลส โดยอาจจะใช้เกรด 304 หรือ 316 แล้วแต่การออกแบบ ปั๊มชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม Multistage pump หรือปั๊มหลายใบพัด นิยมเรียกกันอีกชื่อว่า ปั๊มปิ่นโต และแบ่งย่อได้อีกตามการตัดตั้ง คือ ปั๊มแนวตั้ง (Vertical pump) กับปั๊มแนวนอน (Horizontal pump) ใช้กันในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำสะอาด เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา หรือโรงพยาบาล ปั๊มชนิดนี้ใช้กับน้ำเสีย หรือน้ำที่มีตะกอนไม่ได้ เนื่องจากเป็นปั๊มแรงดันสูง และมีหลายใบพัด อีกทั้งใบพัดยังเรียงค่อนข้างติดกัน ถ้ามีเศษตะกอนเข้าไปที่ช่วงห่างระหว่างใบพัด หรือบริเวณซี่ใบพัด จะทำให้ใบพัดแกว่ง เสียการควบคุม และไหม้เสียหายไปในที่สุด  จึงควรใช้กับระบบน้ำสะอาด ระบบบอยเลอร์ หรือสระว่ายน้ำ

4. ปั๊มน้ำระบบ Centrifugal เรียกกันติดปากว่า ปั๊มหอยโข่ง แบ่งออกเป็นแนวตั้ง และแนวนอน ในบ้านเราจะแนวนอนกันเป็นส่วนใหญ่ ใช้ได้ทั้งในกลุ่มอุตสหกรรม หรือในบ้านเรือนก็ได้ แล้วแต่ขนาด ถ้าในอุตสาหกรรม ก็ใช้ตัวใหญ่ ถ้าในบ้านเรือนก็ใช้ตัวเล็ก ได้รับความนิยมการทำระบบความเย็น เช่นระบบทำความเย็นในห้างใหญ่ หรือโรงไฟฟ้าก็จะใช้เพื่อรักษาอุณหภูมิไม่ให้ร้อนเกินไป

5. ปั๊มส่งน้ำสองทิศทาง ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Double Suction pump แต่นิยมเรียกกันว่า Split casw pump มีการติดตั้งมอเตอร์ไว้ สองทาง มักใช้ในงานชลประทาน ที่ต้องส่งน้ำในประมาณมาก ๆ แรงดันไม่สูง การซ่อมบำรุงดูแล ทำได้ง่ายกว่าปั๊มทั่ว ๆ ไป

6. ปั๊มน้ำแบบมีตัวกรอง ปั๊มชนิดนี้มีแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) ไว้กรองตะกอนได้ ใช้กับอุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมอาหาร

7. ปั๊มต่อย่อย คือ ปั๊มที่มีการใช้เครื่องยนต์ในการทำงาน อาจจะเป็นเครื่องดีเซล เบนซิน หรือระบบไฟฟ้า ก็ได้ มักจะใช้กับปั๊มสองทาง ปั๊มหอยโข่ง และปั๊มแนวตั้งขนาด 5 กิโลวัตต์ ขึ้นไป ในกรณีเป็นปั๊มสำหรับดับเพลิง โรงงานที่ผลิต ต้องผ่านมาตรฐาน FM (Factory Mutual Global) และ UL (Under Writers’ Laboratories Inc.)

8. ปั๊มน้ำสูญญากาศ ไม่เป็นที่นิยมในบ้านเรา เพราะว่าเป็นปั๊มเฉพาะทาง ที่่จะใช้กับสารเคมี ของเหลวมีตะกอน หรือของเหลวที่มีความเป็นกรดสูง

แล้วเราจะเลือกปั๊มน้ำอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน

  1. ผู้ออกแบบระบบน้ำต้องเลือกปั๊มน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ควรเลือกใช้ปั๊มน้ำที่เล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไป เช่น บ้านพักอาศัยที่มีคนอยู่ 5-6 คน ก็ควรเลือกปั๊มที่สามารถรองรับการใช้งาน เพียง 5-6 คนเท่านั้น ถ้าเลือกปั๊มสำหรับ 10 คนมาก็จะเกินความจำเป็น เสียค่าใช้จ่ายไปโดยไม่คุ้มค่า หรือถ้าประหยัดมากเกินไป ซื้อปั๊มมาสำหรับใช้ 2 คน ก็จะไม่เพียงพอต่อความต้องการ
  2. ค่าประสิทธิภาพ หรือ ค่า Efficiency สูงสุดจะทำให้การใช้งานยาวนานกว่าเดิม
  3. ลักษณะของน้ำที่จะนำมาใช้เป็นแบบไหน สะอาด น้ำมีตะกอน น้ำประปา หรือน้ำที่มีสารเคมีเจือปน เมื่อทราบแล้วก็จะสามารถเลือกปั๊มน้ำที่ถูกต้องได้
  4. พื้นที่ในการติดตั้งนั้นเหมาะกับปั๊มแบบไหน ถ้าพื้นที่มาก ก็อาจจะใช้ปั๊มแนวนอน หรือถ้าพื้นที่จำกัดก็อาจจะใช้ปั๊มแนวตั้ง
  5. มอเตอร์คุณภาพสูง จะประหยัดพลังงาน

มาตรฐานการผลิตของมอเตอร์ แบบ IEC

IEC ย่อมาจาก International Electronical Commission

โดยแบ่งออกไป 4 มาตรฐาน คือ

  • IE1 Standard
  • IE2 High Efficiency
  • IE3 Premium Efficiency
  • IE4 Super Premium Efficiency

หาเครื่องปั๊มแล้ว มีท่อหรือยัง เลือกดูท่อ PVC

แล้วท่อที่เราใช้ต้องใช้เกรดไหนล่ะ ?? มาหาคำตอบกัน

แล้วเราจะเลือกท่อขนาดเท่าไรกันถึงจะตรงตามต้องการ คลิกที่นี่เลย