เสาปูนหน้าตัด 4 นิ้ว ยาว 3.5 เมตร
เสาคอนกรีต เสาปูนหน้า4 ” ยาว 3.5เมตร ราคา พิเศษ เป็นรากฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เพราะว่าต้องรองรับน้ำหนักทั้งหมดของบ้านเอาไว้ ซึ่งเมื่อเสาเกิดการทรุดโทรมเสียหาย ก็อาจจะมีผลทำให้บ้านพักอาศัย หรือ ตัวอาคารถล่ม และ พังทลายลงมาได้ ดังนั้นการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่เสาบ้านจึงจำเป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งทำได้โดยการเสริมเหล็ก เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก และ เพิ่มความแข็งแรงให้แก่เสา
สารบัญ
- เสาบ้านในไทย และทำไมต้องใช้เสาปูน
- การผลิตเสาปูน
- เสาปูนมีกี่ชนิด และกี่ขนาด
- การใช้งานเสาปูน
- ข้อดี และข้อเสียของเสาปูน
- การติดตั้งเสาปูน
เสาบ้านในประเทศไทย และทำไมถึงต้องใช้ เสาคอนกรีต เสาปูนหน้า4 ” ยาว 3.5เมตร ราคา
เสาอาคารที่ก่อสร้างในประเทศไทย หรือ ประเทศที่แผ่นดินไหวเป็นภัยที่ไม่ชัดเจนนั้น เสาบ้านมักจะมีขนาดที่เล็ก และ มีการใส่เหล็กเสริมรองรับการกระแทกน้อย เนื่องจากไม่มีการออกแบบเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหวนั่นเอง และ หากเกิดแผ่นดินไหวเสาเหล่านี้จะมีการเสื่อมโทรม พังทลาย หรือ เกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ขึ้นได้ เมื่อเกิดการสั่นไหวที่รุนแรง จนอาจทำให้เสาขาด หัก พังทลายได้ คอนกรีตจะกะเทาะหลุดออกมา เหล็กเสริมจะดุ้งหรือขาด ความเสียหายมักจะเกิดขึ้นบริเวณโคนเสาหรือหัวเสานั่นเอง
การผลิต เสาคอนกรีต เสาปูนหน้า4 ” ยาว 3.5เมตร
เสาบ้านสำเร็จรูปเป็นเป็นเสาที่ได้จากการผลิตคอนกรีต และ เหล็กเสริม ซึ่งเป็นการผลิตที่เพิ่มคุณสมบัติให้กับตัวเสาเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรงอัดได้ดีมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเสาที่ผลิตขึ้นภายใต้มาตรฐานที่กำหนด และ ยังมีวิศวกรที่มีประสบการณ์ มีความสามารถ และ ความรู้มาเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ และ ควบคุมการผลิตในโรงงาน ในการผลิตเสาบ้านสำเร็จรูปนั้นจะมีการกำหนดส่วนประกอบของคอนกรีตไว้เพื่อเป็นมาตรฐานในการผลิต อีกทั้งการกำหนดส่วนประกอบในการผลิตยังทำให้เสาสำเร็จรูปเป็นเสาที่ได้คุณภาพ และ มีความแข็งแรงก่อนที่จะมีการขนส่งไปใช้ในงานก่อสร้าง
เสาสำเร็จรูปเป็นเสาที่ได้มาตรฐานมากกว่าเสาที่หล่อเองหน้างาน อีกทั้งก่อนการใช้งานยังสามารถตรวจสอบคุณภาพของเสาสำเร็จรูปก่อนที่จะใช้งานได้อีกด้วย จึงถือเป็นข้อดี และ ยังสามารถช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น สามารถช่วยลดปัญหาในเรื่องของฝุ่นละอองในเวลาทำงานก่อสร้างได้ดี ช่วยประหยัดค่าแรงคนงานได้ด้วยเนื่องจากในการก่อสร้าง และ ติดตั้งเสาสำเร็จรูปไม่จำเป็นนั้นใช้คนงานในการทำไม่มากเท่าจำนวนคนที่ใช้เสาแบบหล่อในที่ และ ยังลดปัญหาในเรื่องของเสียงได้อีกด้วยเพราะในการติดตั้งเสาสำเร็จรูปไม่จำเป็นต้องใช้รถผสมคอนกรีตเหมือนกับการใช้งานเสาหล่อในพื้นที่งานอีกด้วย
เสาบ้านสำเร็จรูปมีกี่ขนาด และมีกี่ชนิด
เสาบ้านสำเร็จรูปนั้นยังมีขนาดให้เลือกใช้อย่างหลากหลายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ขนาด 4 x 4 , 5 x 5 และ 6 x 6 นั่นเอง แต่ก็ยังสามารถแตกย่อยออกมาได้อีกในเรื่องของหัวเสา ที่คนส่วนมากจะเรียกได้ว่า บ่า ที่แบ่งออกมาเป็น บ่าเดี่ยว , บ่าเสต่อ , บ่าผ่ากลาง และ บ่าเดี่ยวเข้ามุม โดยที่จะมีความยาวที่ใช้หน่วยเป็น ศอก หรือ ขนาด 0.5 ม. และลวดที่ใช้ทำโครงเสาก็จะใช้ต่างกัน
รูปแบบคร่าว ๆ ของหัวเสาปูนแบบบ่าเดี่ยว
หัวเสาปูนแบบบ่าเดี่ยว
มีความลึกที่ต่างกัน คือ
- ขนาด 4×4 ตารางนิ้ว จะมีความลึกอยู่ที่ 6 นิ้ว
- ขนาด 5×5 ตารางนิ้ว จะมีความลึกอยู่ที่ 6 นิ้ว
- ขนาด 6×6 ตารางนิ้ว จะมีความลึกอยู่ที่ 6 หรือ 8 นิ้ว
รูปแบบคร่าว ๆ ของหัวเสาปูนแบบบ่าผ่ากลาง
หัวเสาปูนแบบบ่าผ่ากลาง
มีความลึกที่ต่างกัน คือ
- ขนาด 4×4 ตารางนิ้ว จะมีความลึกอยู่ที่ 4 นิ้ว
- ขนาด 5×5 ตารางนิ้ว จะมีความลึกอยู่ที่ 6 นิ้ว
รูปแบบคร่าว ๆ ของหัวเสาปูนแบบบ่าเสต่อ
หัวเสาปูนแบบบ่าเสต่อ
มีความลึกที่ต่างกัน คือ
- ขนาด 5×5 ตารางนิ้ว จะมีความลึกอยู่ที่ 5 หรือ 12 นิ้ว
- ขนาด 6×6 ตารางนิ้ว จะมีความลึกอยู่ที่ 6 หรือ 12 นิ้ว
รูปแบบคร่าว ๆ ของหัวเสาปูนแบบบ่าเดี่ยวและมีการเข้ามุมตึก
หัวเสาปูนแบบบ่าเดี่ยวและเข้ามุมตึก
มีความลึกที่ต่างกัน คือ
- ขนาด 5×5 ตารางนิ้ว จะมีความลึกอยู่ที่ 6 นิ้ว
- ขนาด 6×6 ตารางนิ้ว จะมีความลึกอยู่ที่ 6 นิ้ว
รูปแบบคร่าว ๆ ของหัวเสาปูนแบบบ่าเดี่ยวเข้ามุม
การใช้งานเสาปูนสำเร็จรูป
เสาสำเร็จรูปเมื่อทำการผลิตเสร็จแล้วสามารถนำไปติดตั้ง และ ใช้งานได้เลย ในการใช้งานเสาสำเร็จรูปนั้นยังช่วยให้ประหยัดเวลาในการทำงาน อีกทั้งในเวลาก่อสร้างยังมีโอกาสเกิดความผิดพลาดน้อยกว่าเสาคอนกรีตแบบหล่อในที่ และ ประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าแรงคนงานอีกด้วย และ ในการติดตั้งเสาสำเร็จรูปนั้นยังช่วยลดฝุ่น หรือเสียงด้วย ซึ่งเสาสำเร็จรูปเป็นเสาที่มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน และ ยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากอีกด้วย อีกทั้งในเรื่องของราคายังเป็นราคาที่คุ่มค่าเมื่อเปรียบเทียบกันประโยชน์ในการใช้งาน และ หากจะใช้งานเสาบ้านสำเร็จรูปนั้นควรเลือกเสาที่มีการผลิตที่มีคุณภาพจากโรงงานที่ได้มาตราฐานด้วย เพราะหากเลือกใช้เสาสำเร็จรูปจากโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐาน การใช้งานอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นในการใช้งานจึงต้องเลือกให้ดีเพื่อให้ได้เสาที่มีคุณภาพสูงสุด
ขั้นตอนการหล่อเสาบ้าน
- ตีเส้นในแนวของเสาบ้าน
- ให้นำไปต่อทาบเหล็กที่จะอยู่ในตัวของเสาบ้าน
- เข้าแบบสำหรับหล่อคอนกรีตเสา และตรวจสอบการได้ดิ่งของแบบหล่อให้เรียบร้อย
- เทคอนกรีตลงแบบที่จะทำการหล่อเสาสำเร็จรูป
- แกะไม้แบบ+บ่มคอนกรีต (อาจใช้พลาสติกคลุม หรือ ฉีดด้วยน้ำยาบ่ม)
ข้อดี และ ข้อเสียของปูนสำเร็จรูป
ข้อดีของเสาปูนสำเร็จรูป
- สะดวกต่อการนำไปใช้งาน เพราะเสาปูนสำเร็จรูป เป็นวัสดุประเภทที่มีการหล่อสำเร็จรูปจากโรงงาน ไม่ต้องทำการหล่อคอนกรีตที่หน้างานให้ยุ่งยาก
- ช่วยในเรื่องประหยัดเวลา การเลือกใช้เสาปูนสำเร็จรูปนั้น เป็นหนึ่งในวิธีการก่อสร้าง ช่วยย่นระยะเวลาในการทำงานได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเป็นเสาที่สำเร็จจากโรงงานผลิต จึงไม่ต้องรอให้ปูนแห้ง แข็ง เหมือนการหล่อหน้างานทั่วไป
- หน้างานสะอาด การเลือกใช้เสาปูนสำเร็จรูป จะทำให้ไม่เกิดการฟุ้งของฝุ่นปูน ทำให้เกิดการทำงานที่ง่ายขึ้น รวดเร็วกว่าเดิมได้อีกด้วย ด้วยปราศจากเศษเหล็ก เศษไม้ เศษตะปูอีกด้วย
- มีมาตรฐาน วัสดุที่ผลิตจากโรงงานนั้น จะมีการตรวจสอบ และ รับรองมาตรฐานจากทีมวิศวกรในการก่อสร้างอีกด้วย โดยเสาปูนจะต้องมีการรองรับมาตรฐานความแข็งแรง และ มีการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพในการผลิตอีกด้วย เมื่อนำมาใช้งาน งานจะมีคุณภาพที่สูงตามไปด้วย
- ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่เพียงช่วยในเรื่องของการประหยัดเวลาเท่านั้น ยังช่วยในการประหยัดแรงงานในหารหล่อเสาหน้างานได้อีก อีกทั้งการซื้อเสาสำเร็จรูป ช่วยประหยัดงบในด้านการซื้ออุปกรณ์มาหล่อเสานั่นเอง
ข้อเสียของเสาบ้านสำเร็จรูป
เสี่ยงชำรุดเสียหายบางครั้งการเลือกใช้เสาปูนสำเร็จรูป อาจไม่ได้มีการรองรับมาตรฐานทุกบริษัทเสมอไป หากใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน และ ไม่มีคุณภาพ การก่อสร้างบ้านของคุณ อาจจะเกิดข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง เช่น การแตกร้าวของเสา การทรุดตัว เป็นต้น และ ทำให้โครงสร้างของบ้านพังลงมาได้ปัญหาความแข็งแรง ในเสาปูนสำเร็จรูป ก็ยังคงมีข้อเสียในเรื่องของความแข็งแรงอยู่ ในบางครั้งอาจเกิดข้อผิดพลาดผิดพลาดเมื่อนำมาต่อเข้ากับวัสดุชิ้นอื่น ๆ เข้าด้วยกัน หากในขั้นตอนนี้ไม่ได้รับการประกอบจากช่างที่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้เสาบ้านเกิดการคลาดเคลื่อน และ ทำให้ไม่แข็งแรงได้อาจจะพังทลายลงได้ เป็นต้น
วิธีตั้งเสาปูนสำเร็จรูป
- ในการตั้งเสาปูน ใช้เพียงวัสดุเพียงไม่กี่ชนิดช่วยในการยกติดตั้งเสาปูนสำเร็จรูป ใช้เวลาในการตั้งไม่นาน แถมประหยัดเวลาการก่อสร้างส่วนอื่น ๆ เป็นอย่างมากโดยมีขั้นตอนการติดตั้ง ดังนี้
- สำรวจเสา ก่อนการติดตั้งทุกครั้ง ควรสำรวจลักษณะของเสาปูนทุกครั้งอย่างรอบคอบ เช่น เสาควรไม่มีรอยร้าวหรือรอยแตกหัก เพื่อในการติดตั้งจะไม่มีปัญหาตามมาทีหลัง ซึ่งหากแตกหรือร้าว อาจจะทำให้อาคารพังทลายได้
- เลือกตำแหน่งในการติดตั้งเสาปูน โดยจะต้องมีการกำหนดขอบเขตในการติดตั้งให้ชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการขนย้ายวัสดุ และ ง่ายต่อการยกย้ายเสาลงไปในหลุมเพื่อทำการติดตั้งได้อีกด้วย โดยการขุดหลุมจะต้องเหมาะสมกับขนาดของเสา หรือ ทำสัญลักษณ์ให้ชัดเจน สำหรับการเตรียมความพร้อมอีกด้วย
- ยกเสา หลังจากที่ได้กำหนดพื้นที่ที่ต้องการนำเสาสำเร็จรูปนำไปติดตั้งแล้วนั้น โดยขั้นตอนนี้จะใช้เครน เป็นเครื่องทุ่นแรง ในการยกเสา ด้วยเสามีน้ำหนักที่มาก ดังนั้น ผู้ติดตั้งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการขนย้าย เพื่อป้องกันการกระแทกเสาปูน เพื่อไม่ให้เสาปูนชำรุดเสียหาย
- เชื่อมเสา กับ ฐาน ในขั้นตอนนี้นั้นจะต้องทำการเชื่อมเสาปูนที่ใช้เครนในการยกย้ายมายังฐานที่กำหนดไว้ และ ค่อยๆ เชื่อมสองสิ่งให้เข้ากัน ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยจะต้องมีคนสังเกตการเชื่อมต่อระหว่างและฐาน เพื่อไม่ให้กระทบกันอีกด้วย
- ตรวจสอบ หลังจากที่เชื่อมเสากับฐานเรียบร้อยแล้วนั้น ให้ทำการตรวจสอบคุณภาพของเสา และ วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน ว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่ หากมีส่วนใดแตกหัก หรือชำรุด ให้ทำการแจ้งช่าง ผู้รับเหมาหรือ วิศวกรในทันที
หลักการติดตั้งเสาปูน
สำหรับขั้นตอนของการติดตั้งนั้นไม่ได้มีวิธีการอะไรที่มีความยุ่งยากมากกว่าการหล่อเสาปูนแบบธรรมดาแต่อย่างใดเลย ในการติดตั้งเสาปูนใช้เพียงแค่ไม่กี่ชนิดเป็นตัวช่วยในการยกใช้เวลาในการตั้งเพียงไม่นาน แถมยังช่วยประหยัดระยะเวลาในการก่อสร้างในส่วน ๆ อย่างมากจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ให้มีการสำรวจเสา
ก่อนที่จะมีการติดตั้งเสาปูนในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ ควรที่จะมีการสำรวจลักษณะของเสาอย่างมีความรอบครอบ ตัวอย่าง ต้องไม่มีรอยร้าว และ รอยแตกหัก เพื่อที่จะได้มีประสิทธิภาพของการติดตั้ง
- ต้องมีการเลือกตำแหน่ง
ให้มีการเลือกตำแหน่งที่จะติดตั้ง ต้องมีการกำหนดขอบเขตในการวางอย่างชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการขนย้าย และ ยกเสาเหล่านั้นลงไปในหลุม ซึ่งอาจจะมีการขุดหลุมที่มีความลึกอย่างเหมาะสมกับขนาดของเสา หรือ ให้ทำสัญลักษณ์ให้เห็นอย่างชัดเจน
- ยกเสาอย่างระมัดระวัง
หลังจากที่ได้มีการกำหนดตำแหน่งที่เราต้องการจะใส่ลงไปในหลุม โดยมาถึงขั้นตอนนี้จำเป็นที่จะต้องใช้เครนเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนที่ไปยังในหลุมที่ได้มีการเตรียมไว้ เพราะเสามีน้ำหนักที่มาก เลยต้องระวังเป็นอย่างมากในการขนย้าย เพื่อป้องกันการกระแทกจะได้ไม่เกิดความเสียหาย
- เชื่อมเสา กับ ฐาน
ในส่วนของขั้นตอนนี้จำเป็นที่จะต้องทำการเชื่อมเสาปูนที่ใช้เคนยยกมายังฐานที่เราได้มีการกำหนดไว้ แล้วถึงจะค่อย ๆ เชื่อมทั้งสิ่งสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ทำให้ต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก และ ต้องมีคนเฝ้าดูการเชื่อมของเสา เพื่อไม่ให้ตัวเสากับฐานกระทบกัน
- ต้องมีการตรวจสอบ
หลังจากที่ได้เชื่อมเสาเข้ากับตัวฐานเรียบร้อยแล้วนั้น ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของเสา และ วัสดุอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง ว่ามีความเรียบร้อยสมบูรณ์หรือไม่ หากมีส่วนใดแตกหัก หรือ มีความชำรุด ให้ทำการแจ้งช่างหรือผู้รับเหมาะ และ วิศวกรในทันที
ความรู้ของวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
การนำวัสดุก่อสร้างไปใช้งาน คลิกที่นี่
ความรู้วัสดุก่อสร้างในการนำไปใช้งาน คลิกที่นี่
เลือกหาเสาเข็มสำเร็จรูปแบบอื่น ๆ ได้ที่นี่
Facebook นายช่างออนไลน์
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์