ราคาเหล็กกล่อง 2″x2″ 1.5
ราคาเหล็กกล่อง 2″x2″ 1.5 มีราคาไม่แพงมากนัก และมักจะใช้ทำโครงสร้างอาคารต่าง ๆ ทั้งคานเหล็ก หรือโครงหลังคาเหล็ก ก่อนอื่นนั้น เราจะต้องมาทำความรู้จักกับ เหล็กกล่อง กันก่อน
สารบัญ
เหล็กกล่องคืออะไร
เหล็กกล่องมีหลายชื่อให้เรียก เหล็กท่อแบน เหล็กแป๊บ ซึ่งเหล็กชนิดนี้เป็นเหล็กรูปพรรณที่ผ่านการผลิตที่เรียกว่า “การรีดร้อน” (Hot rolling) ขึ้นเป็นรูปต่าง ๆ แล้วแต่การใช้งานที่เหมาะสม โดยการทำเหล็กกล่องจะทำขึ้นเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของหน้าตัดเพื่อรับแรงต้าน หรือน้ำหนักที่เยอะมาก โดยใช้มักใช้เป็นโครงสร้างอาคาร เช่น คาน โครงหลังคา เป็นต้น โดยเหล็กกล่อง มี 2 ประเภท คือ
- เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม
มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ข้างในกลวง ลักษณะผิวเหล็กจะเรียบเนียน ไม่หยาบ ใช้กับงานที่โครงสร้างที่น้ำหนักไม่มาก เช่น ทำนั่งร้าน ตั้งเสา และ ใช้แทนปูนคอนกรีต หรือไม้ได้เลย
- เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม
จะมีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบผืนผ้า ข้างในจะกลวง ๆ ส่วนมากจะนำไปใช้กับงานโครงสร้าง ที่มีตั้งแต่ ขนาดเล็ก กลาง ไปจนขนาดใหญ่ สามารถนำมาใช้ทดแทนพวก คอนกรีต หรือ ไม้ได้อีด้วย
เหล็กรูปพรรณรีดเย็น คืออะไร
เหล็กรีดเย็นคือ เหล็กแผ่นที่ผ่านกระบวนการรีดเย็น โดยมีแผ่นเหล็กรีดร้อนเป็นวัตถุดิบ มีการสร้างโดยนำเหล็กรีดร้อนมารีดลดขนาดความหนาที่อุณหภูมิปกติ ทำให้เหล็กมีความบางลง แต่เนื้อเหล็กจะแน่นหนามากขึ้น ซึ่งทำให้เหล็กมีความเหนียวน้อยลง แต่ทนต่อแรงกดได้สูง อีกทั้งยังมีกำลังที่เยอะกว่าเหล็กรีดร้อน โดยความหนาที่เห็นกันทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่ 0.14 มิลลิเมตร จนถึง 3 มิลลิเมตร
ภาพจำลองการรีดของเหล็กรูปพรรณรีดเย็น เพื่อทำเหล็กกล่อง
ราคาเหล็กกล่อง 2″x2″ 1.5
ราคาเหล็กกล่อง 2″x2″ 1.5 สอบถามราคาได้ที่ LINE : NaichangNetwork แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ขนาดเท่าไร โดยมีขนาดให้เลือก คือ
ขนาดหน้าตัดมีตั้งแต่ 2″×1″, 3″x1″, 3″x1.5″ , 4″x2″ สามารถเลือกดูขนาดอื่นๆ คลิกที่นี้
ความยาวของเหล็กกล่องจะมีความยาวที่เท่ากันหมดทุกโรงงานแต่อาจจะมีการคลาดเคลื่อนไปบางแต่ก็จะไม่เกินประมาณ 2%
การใช้งานของเหล็กรูปพรรณที่ขึ้นรูปแบบเย็น มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร
โดยส่วนใหญ่เหล็กท่อกลม ,เหล็กกล่อง ฯลฯ มักจะนิยมกันมากและนำมาใช้ในงานโครงสร้างงานตกแต่งสถาปัตยกรรม โดนเหล็กพวกนี้จะเป็นเหล็กรูปพรรณรูปเย็น
ข้อดี
- ใช้ในงานก่อสร้างที่มีกำลังต่อน้ำหนักสูง เช่น การสร้างอาคารที่มีหลายชั้น ได้ดี เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถรองรับน้ำหนักได้สูง
- ออกแบบดัดแปลงได้หลากหลายกว่า ไม่ว่าจะดัดโค้ง ทำโครงโปร่ง ทำชานยื่นออกจากอาคาร เนื่องจากมีคุณสมบัติในการรับแรงที่สม่ำเสมอเท่ากันทั้งเส้น
- ไม่เกิดการเสียรูปของเหล็ก และ ยืดหยุ่นได้สูง
- ถ้ามีการดูแลที่เหมาะสมจะมีอายุการใช้งานคงทน และ ยาวนานมาก
- มีความเหนียวแน่น
- สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความรวดเร็วในการก่อสร้างมากยิ่งขึ้น
- ไม่ก่อให้เกิดฝุ่น และ มลภาวะใช้ในการก่อสร้างที่จำกัดได้สะดวก
- สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า เนื่องจากเหล็กชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าเหล็กชนิดอื่น ๆ
- นำวัสดุมาหมุนเวียนได้ 100%
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาค่อนข้างจะที่สูง ถ้ามีการออกแบบที่ไม่มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
- เหล็กเป็นฉนวนความร้อนที่ดีมาก ดังนั้นเวลาเกิดเพลิงไหม้กำลังของเหล็กจะลดลงเป็นอย่างมาก และ อาจจะทำให้ถล่มได้ จึงต้องมีการพ่นสารกันไฟเอาไว้
- ตายรอยเชื่อมอาจเกิดการโก่ง หรือ เดาะของเหล็กได้ง่าย ในตัวอาคารที่ยิ่งสูงเหล็กที่รับแรงกด และ น้ำหนักก็จะเยอะตามเช่นกัน เนื่องจากตัวเหล็กมีกำลังค่อนข้างที่จะสูง
- หากออกแบบไม่เหมาะสม เวลาถูกแรงกด หรือ แรงกระแทกมากระทำซ้ำ ๆ หรือ นำไปใช้งานในสิ่งปลูกสร้างที่สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิที่ต่ำ ๆ เหล็กจะมีการเสียรูปเนื่องจากการล้าของเหล็กได้
- เหล็กจะเปราะหักได้ง่าย ๆ หากอยู่ในพื้นที่ ๆ มีอุณหภูมิต่ำ ๆ
การเช็คคุณภาพของเหล็กกล่อง
เหล็กกล่องผลิตจากการนำเหล็กรูปพรรณรีดร้อน มารีดที่อุณหภูมิปกติ ที่เรียกว่าการรีดเย็น จากนั้นนำเหล็กที่ได้จากการรีดเย็นมาดัดโค้งให้ได้ตามรูปทรง หรือ ขนาดที่ต้องการ แต่เนื่องจากมีการผลิตหลายโรงงาน จึงอาจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ทั้งในส่วนของน้ำหนัก ขนาด แต่ก็ต่างกันไม่มากแบบมีนัยสำคัญมาก เนื่องจากการรีด อาจจะมีความแตกต่างกัน เช่นว่าเหล็กสองเส้น ต่างโรงงานกัน ก็อาจจะมีความแตกต่างกันในส่วนของขนาดหน้าตัด ความยาว และ ความหนา ก็ได้ แต่ก็จะต่างกันเพียงหน่วยมิลลิเมตร
การสังเกตการณ์เลือกซื้อเหล็กกล่อง เหล็กแปป ควรที่จะทราบรายละเอียดข้อมูลดังต่อไปนี้
1.หน่วยที่ใช้คำนวนเหล็กกล่อง คือ นิ้ว ในมาตรวัดอังกฤษ (Imperial syatem) และ มิลลิเมตร ในหน่วยเมตริก (metric sysyem) ซึ่งร้านขายวัสดุจะใช้สองหน่วยนี้ในการซื้อขาย จึงควรเรียกหน่วยให้ถูกต้อง เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและไม่คลาดเคลื่อน ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย
2.เหล็กกล่องจะมีความแตกต่างกันอยู่ที่คอยส์รีด ที่นำมาขึ้นรูป และ รีดเป็นเหล็กกล่อง หรือ ท่อแป๊ปเหลี่ยม เพราะเนื้อเหล็กที่นำมารีดความหนาไม่เหมือนกัน การจะเลือกใช้เหล็กกล่อง ต้องแจ้งจำนวนของเหล็ก และ ความหนาเหล็กกล่องจะมีความแข็งแรง หรือ มีขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับความหนา
3.การเลือกปริมาณที่ต้องการใช้ ก็จะมีผลให้เกิดการต่อรองราคากับผู้ขายทั้งในเรื่องของปริมาณ และ ค่าขนส่ง
เคล็ดลับการใช้งานของการเชื่อมเหล็ก
- การเลือกใช้เหล็กที่ตรงกับการก่อสร้างก่อนการทำงานควรศึกษา และ ควรดูว่าหน้างานที่เราจะก่อสร้างนั้น ควรใช้เหล็กใดในการเชื่อม เช่น งานที่ต้องรับน้ำหนักสูง ควรใช้เหล็กไอบีม เบื้องต้นเป็นวัสดุที่ใช้งานเป็นหลัก
- หลังจากเลือกเหล็กเสร็จแล้วขึ้นตอนต่อไป เอาเหล็กที่ต้องการจะเชื่อมมาตรวจดูความสมประกอบ ทำความสะอาด ห้ามให้มีสิ่งสกปรก เช่น คราบน้ำมัน เศษเหล็ก เพราะจะมีปัญหาต่อการเชื่อมได้ หรือ เกิดปัญหาในขั้นตอนถัดไป
- การเชื่อมเหล็กควรตัดหัวเหล็กทั้งสองเส้นเพื่อเตรียมความพร้อมอยู่กับรูปแบบที่ต้องการการตัดเหล็กที่มีความหนามากอย่างเช่น เหล็กเอชบีม หรือ ไวด์แฟลงค์ ต้องใช้ชุดแก๊สตัดเหล็ก
- นำเหล็กสองเส้นที่ทำการตัดแล้วมาต่อกันเพื่อที่จะเริ่มการเชื่อม
- เริ่มต้นด้วยการเชื่อมไว้ หรือ แต๊กไว้ 4 จุด จะขึ้นอยู่กับความยาวของรอยเชื่อมที่สำคัญไม่ควรเชื่อมทหมดในทีเดียว เพราะความร้อนจะส่งผลให้เหล็กงอ ผลสุดท้ายจะบิดเบี้ยว หลังจากนั้นเดินแนวเชื่อมให้เต็มรอยที่เราแต๊กไว้
ความรู้ของวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
การนำวัสดุก่อสร้างไปใช้งาน คลิกที่นี่
ความรู้วัสดุก่อสร้างในการนำไปใช้งาน คลิกที่นี่
สั่งซื้อ สินค้า ร้านอาณาจักรนายช่าง ได้ที่
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์