เหล็กตัวไอ หรือเหล็กไอบีม (I-Beam Steel)
เหล็กตัวไอ เหล็กไอบีม หรือที่เรียกกันแบบตรงๆตามลักษณะเลยก็คือ I-Beam ที่เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในระบบสากล เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน หรือเรียกว่า Hot rolled structural steel มีลักษณะรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ คือ เมื่อมองในมุมด้านหน้าของหน้าตัด (Cross-section view) มีลักษณะคล้ายตัว I ซึ่งเหล็กรูปแบบนี้ถูกใช้สำหรับงานโครงสร้างเหล็กที่เฉพาะเจาะจงกว่าเหล็กรูปพรรณรีดร้อนชนิดอื่น หรือจะใช้ในงานก่อสร้างโครงสร้างทั่วไปก็ได้เช่นกัน ให้ความคงทนสูงเพราะมีความแข็งแรงมาก นอกจากนี้เหล็กไอบีมมีความสามารถพิเศษที่สามารถรองรับแรงกระแทก (Impact resistance) จึงนำไปใช้มากในโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นตึก อาคารสำนัก และโรงงาน โกดัง หรืองานที่ต้องรองรับแรงกระแทกตลอดเวลา เช่น รางเครนในงานก่อสร้าง หรือระบบรถรางขนส่งในระบบอุตสาหกรรม เป็นต้น เลือกซื้อเลย
สารบัญ
เหล็กตัวไอ (I-Beam Steel) กับ เหล็กตัวเอช (H-Beam Steel) หรือเหล็กไวด์แฟลงก์ (Wide Flange Steel) ความแตกต่างกันอย่างไร
เหล็กตัวไอ ชื่อเรียกอีกมากมายหลากหลาย เช่น เหล็กไอบีม (I-Beam Steel) เหล็กปีกไอ เสาบีม ซึ่งในบทความนี้จะเรียกว่า ” เหล็กตัวไอ ” หมวดหมู่ของเหล็กตัวไอจัดเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel) มีหน้าตัด (Cross-section) เป็นรูปตัวไอ (I) มีรูปทรงที่ใกล้เคียงกับเหล็กเอชบีมแต่จะต่างกันที่รูปร่างของหน้าตัด และบริเวณปีก (หรือ Flange) ทั้งบนและล่าง โดยที่ตัวเหล็กเอชบีม (H-beam Steel) จะเป็นแผ่นเรียบ ทำมุม 90o หรือมุมฉากเท่ากันตลอด ลักษะหน้าตัดเป็นสี่เสี่ยมจัตุรัส (Square) หรือมีความกว้าง และยาว ของหน้าตัดยาวเท่ากัน จึงเป็นที่มาของคำว่า “H-Beam” ในขณะที่เหล็กตัวไอ (I-Beam) ที่บริเวณปีกจะเป็นมุมลบเหลี่ยม และมีลักษณะลาดเอียง (Tilted plane) ลักษณะของหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (rectiangle) หรือมีความกว้างและความสูงไม่เท่ากัน จึงเป็นที่มาของคำว่า “I-Beam” นอกจากนี้เหล็กตัวไอยังสามารถรับน้ำหนัก รองรับการกระแทกได้มากกว่า ตามมาตรฐาน มอก. 1227-2539
การแบ่งเกรดของเหล็ก
เหล็ก H-Beam และเหล็ก I-Beam หรือเหล็กไวด์แฟลงก์(Wide flange steel) ล้วนเป็นเหล็กในหมวดหมู่ของ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel) ทำให้ใช้เกรดเดียวกัน โดยจะสามารถแยกเกรดออกได้ดังนี้ SS400, SS490, SS540, SM400, SM490, SM520, และ SM570
เหล็กไอบีมมีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 1 เมตร, 6 เมตร, 9 เมตร และ 12 เมตร
เหล็ก เกรด SS400 และ SS540 จะเป็นที่นิยมนำไปใช้งานก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ ในประเทศไทย
เหล็กตัวไอ ผลิตอย่างไร
เหล็กตัวไอ จัดเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel) โดยเกิดจากการนำโลหะมาหลอมเหลวที่อุณภูมิ ไม่เกิน 2,500 องศาเซลเซียส(oC) ซึ่งเหล็กจะหลอมกลายเป็นของเหลวร้อน จากนั้นก็นำเหล็กไปหล่อขึ้นรูป และนำไปรีดให้ได้รูปแบบที่ต้องการขณะที่ยังร้อน เพราะถ้าหากเย็นแล้ว เนื้อเหล็กจะแข็งตัว ไม่สามารถทำให้เป็นรูปร่างได้ ซึ่งการหลอม หล่อ และรีดร้อนขึ้นเป็นท่อนนี้เอง ทำให้เหล็กตัวไอมีเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ ดังนั้นคุณสมบัติของหน้าตัดจึงสม่ำเสมอกว่าเหล็กโครงสร้างชนิดอื่นนอกเหนือจากเหล็กที่เกิดจากกระบวนการนี้
การนำเหล็กไอบีมไปใช้งาน
เหล็กไอบีมสามารถนำไปใช้ได้หลากหลายงาน ดังนี้
1. นำไปใช้ได้ทั้งการก่อสร้างขนาดเล็กจนถึงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ เช่น ศาลาพักผ่อน บ้านพักที่อยู่อาศัย โครงสร้างตึกสูง โรงงานเล็กใหญ่ อาคารพาณิชย์หลายชั้น เป็นต้น เนื่องจากว่ามีหลายขนาดให้เลือก จึงสามารถนำไปใช้ได้ทุกขนาดงานที่กล่าวมา
2. เหล็กไอบีม (I-Beam Steel) มีคุณสมบัติในการรองรับน้ำหนักที่มาก และทนต่อแรงกระแทกได้ดี จึงทำให้เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำไปใช้ทำรางเครนในโรงงานอุตสาหกรรม (industrial overhead crane) งานเครื่องจักร (Machinery) รวมไปถึงรางรถขนของภายในโรงงานที่ต้องบรรทุกสิ่งของหรืออุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมาก และมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาซึ่งอาจจะเกิดการเสียดสี หรือการกระแทก ซึ่งการกระแทกจะทำให้น้ำหนักที่บรรทุกมามากกว่าเดิมหลายเท่า โดยอาจจะทำให้รางเครน หรือรางรถขนของเกิดความเสียหาย เช่น การบิด การงอ การบุบของเหล็กได้ ซึ่งเหล็กไอบีมมีความทนต่อความเสียหายประเภทนี้มากที่สุด
3. ทำเสา คาน งานโครงสร้างต่าง ๆ ที่ต้องรองรับน้ำหนักมาก ๆ
*** หน้าตัดรูปตัวไอ I-beam ปีกเหล็กจะหนาขึ้นที่โคนปีก จึงรับแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า เหมาะกับงานเครื่องจักร (Machunery work), รางเครน (Overhead crane), ไปจนถึงการทำรางสำหรับเดินรถขนของภายในโรงงานขนาดใหญ่
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนมีแค่ ไอบีม และเอชบีม (หรือไวด์แฟลงก์ : Wide flange) แค่นั้นเองหรือเปล่า?
แน่นอนว่านอกจากเหล็กไอบีม และเอชบีม ก็จะมีเหล็กฉากหรือเรียกกันว่า Angle มีหน้าตัดรูปตัว L พบเห็นได้บ่อยในการใช้งานโครงสร้างหลังคา (roofing), เสาไฟฟ้าแรงสูง (High voltage post), เสาวิทยุ (Radio tower), และ เสาโทรศัพท์ (Telephone pole) นอกจาก Angle นั้น ก็ยังอีกหน้าตัดหนึ่ง คือ รางน้ำ หรือ Channel มีหน้าตัดรูปตัว C เป็นที่นิยมใช้ทำคานรองรับส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น บันได คานขอบนอก นอกจากนี้ยังมีเหล็กตัวที (Cut-T) โดยเกิดจากการนำเอชบีมมาตัดแบ่งตามยาว เรียกว่า Cut Beam ใช้ทำโครงสร้างของโครงถัก (หรือเรียกกันว่า Truss) แทนการใช้เหล็กฉากเชื่อมประกบกัน
**สามารถสั่งซื้อสินค้า และ เช็ค ราคา อิฐมวลเบา ได้ที่นี่**
สอบถามวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
การนำวัสดุก่อสร้างไปใช้งาน คลิกที่นี่
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
สั่งซื้อได้เลยที่ร้านอาณาจักรนายช่าง
หรือโทร 086-341-9908