เหล็ก C 125×65 หรือ เหล็กรางน้ำ (Channels)
เหล็ก C 125×65 เป็นเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปร้อน มีลักษณะหน้าตัดเป็นตัวยู (U) โดยมีขนาดขาทั้งสองข้างยาวเท่ากัน มีขนาดและสเปคที่ไม่ผิดพลาด หน้าตัดมีความเรียบ ความหนาและขนาดจะต้องเท่ากันตลอดทั้งเส้น ผลิตสินค้าตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเลขที่ มอก. 1227-2558 ชั้นคุณภาพ SS400-540 และ SM400
*ชั้นคุณภาพ SS400-540 : ความต้านทางแรงดึงน้อยที่สุดที่ 400 MPa และ 540 Mpa
**ชั้นคุณภาพ SM400 : SM หมายถึงเหล็กชนิดที่รับประกันเรื่องการเชื่อม ตัวเลข 400 คือ ความต้านทานแรงดึงน้อยที่สุดที่ 400 MPa
การใช้งานเหล็กตัวซี
- นิยมใช้เหล็กตัวซีเป็นโครงสร้างตามหลังคาบ้านเรือน อาคาร เพราะมีความแข็งแรง และ น้ำหนักดี
- เหมาะกับงานที่ถูกนำไปใช้งานที่สูงๆ หรืออาจจะนำมาใช้เป็นโครงสร้างรองแบบที่เสริม หรือ นำไปค้ำยัน
- สามารถนำมาเป็นเหล็กที่ตกแต่งได้ หรือ นำไปเก็บงานเพื่อความสวยงามได้ มีหลากหลายแบบให้เลือกใช้งาน ทั้งขนาด และ ความหนา
- เหล็กตัวซีเป็นแทนของไม้เนื้อแข็ง เพราะประโยชน์และการใช้งานที่คล้ายกัน
- โครงสร้างของอาคาร ที่พักอาศัย หรือ โครงสร้างสะพาน และ แปหลังคา มีความทนทานมาก มีน้ำหนักที่เบา สามารถขึ้นโครงได้อย่างง่ายด้าย เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับงานคอนกรีต ทำให้เราประหยัดเวลาได้มาก และ ยังควบคุมน้ำหนักตัวโครงสร้างได้ดียิ่งขึ้น
เหล็กรางน้ำ (Channels) เหมาะสำหรับงาน
- ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่
- เสาสื่อสารโทรคมนาคม
- เสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
- โครงหลังคาโรงงาน
- โครงหลังคาบ้าน
- งานโครงสร้างทั่วไป
การก่อสร้างนั้นสามารถทำได้ทั้งการเชื่อมด้วยความร้อนและการใช้ nutt & bolt
ประโยชน์ของการใช้เหล็กรางน้ำ (Channels) คือ
- มีความสะดวกรวดเร็วในการติดตั้ง ประหยัดแรงงานก่อสร้าง
- น้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับขนาดโครงสร้างโดยรวม
- เมื่อน้ำหนักโครงสร้างเบาก็จะทำให้น้ำหนักของฐานราก รวมถึงค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลดลงไปด้วย
- เหล็กนั้นเป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง
เหล็กรูปตัวยู (U) ต่างกับเหล็กรูปตัว (C) อย่างไร และมีวิธีการสังเกตอย่าง
- ดูเผินๆอาจจะแยกเหล็กสองชนิดนี้ได้ไม่ชัดนักเนื่องจากรูปร่างที่ต่างเพียงเล็กน้อยซึ่งจะต้องดูที่ section ดีๆว่าเป็นเหล็กรูปตัวยู (U) หรือเหล็กตัวซี (C)
- อีกจุดที่จะทำให้สามารถแยกแยะได้คือ ความหนา ด้วยการผลิตที่แตกต่างกันคือเหล็กรูปตัวยู (U) ผลิตด้วยการรีดร้อนจึงมีความหนามากกว่า เหล็กตัวซี (C) ที่ผลิตโดยการพับและม้วนแผ่นเหล็ก
- ด้วยความหนาและกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันส่งผลให้มีการรับน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน เหล็กรูปตัวยู (U) จึงเหมาะกับงานโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมาก ส่วนเหล็กตัวซี (C) ใช้กับโครงสร้างเบาทั่วๆไป
เหล็กซี การใช้งานอย่างไรให้คุ้มค้า
เหล็กตัวซี เป็นตัวแทนของไม้เนื้อแข็งที่ เพราะไม้เนื้อแข็งเหมาะกับงานที่มีโครงสร้างที่เริ่มมีราคาสูง หายาก และคุณภาพที่ไม่แน่นอน ช่างและผู้รับเหมา จึงนิยยมหันมาใช้เหล็กเป็นโครงสร้างรูปพรรณตัวซีมากขึ้น ซึ่งรูปพรรณหน้าตัดตัวซี มีอีกชื่อที่เรียกกันว่า Light Gage ที่ถูกนำใช้แทนไม้ เนื่องจากเหล็ก Light Gage ดังกล่าวนี้ มีความหนาเพียง 2.3 มม. จึงได้มีจุดอ่อนที่รอยเชื่อมระหว่างตรงจันทันกับแป หากช่างเชื่อมฝีมือไม่ดี อาจจะทะลุรอยเชื่อม ทำให้เกิดการเป็นสนิมได้ง่ายภายหลัง และ ความแข็งแรงลดน้อยลง ดังนั้นถ้าโครงสร้างแข็งแรงแนะนำให้ใช้จันทันแบบเหล็กรูปรางน้ำ หนา 4 มม.
ประโยชน์ของการใช้เหล็กรูปพรรณเป็นโครงสร้างมีอะไรบ้าง
- เหล็กรูปพรรณ ต้องได้มาตรฐานการผลิต ดังนั้นแล้วชิ้นงานของเหล็กรูปพรรณจึงมีความคงที่ในมาตรฐานที่เท่ากันทุกตัว ตัวอย่างเหล็กรูปพรรณ ได้แก่ ไอบีม เหล็กแผ่น ไวร์เมช เหล็กปลอกเสา , คาน
- ช่วยให้การก่อสร้างสามารถรวดเร็วได้มากยิ่งขึ้น เพราะเหล็กรูปพรรณเป็นเหล็กที่ถูกผลิตมาแล้ว ทำให้ไม่เสียเวลาในการก่อสร้างหน้างาน ดังนั้นการเลือกขนาด ความหนา และความยาว ของเหล็กรูปพรรณจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพื่อที่จะให้การก่อสร้างมั่นคง แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
- ถูกใช้งานอย่างมากมายหลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการขนาดใหญ่อย่างการสร้างคอนโดเป็นต้น เหล่าผู้เชี่ยวชาญวิศวกรมักจะเลือกใช้เหล็กรูปพรรณในการก่อสร้าง เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับโครงมากยิ่งขึ้น เพราะเหล็กรูปพรรณจึงได้กลายมาเป็นเหล็กที่นิยมนำมาเป็นโครงสร้างหลังคามากที่สุด