อิฐบล็อก19x39x7cm.
อิฐบล็อก19x39x7cm. อิฐบล็อกเป็นวัสดุก่อสร้าง ที่ได้มาจากการผลิตระหว่างทราย และ ปูนซีเมนต์ หรือ คอนกรีตที่มีคุณภาพ และ ได้มาตรฐาน แล้วนำเข้าสู่กระบวนการ อัดเข้ารูป ให้เป็นก้อนอิฐในเครื่องจักร ที่มีความทันสมัย และ ได้มาตรฐานการผลิต
ซึ่งอิฐบล็อก จะมีลักษณะรูปร่างเป็นก้อน อิฐที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จะเป็นอิฐที่มีรูกลวง อยู่ตรงกลาง และ จะมีรูพรุนอยู่ทั่วทุกจุดของตัวอิฐบล็อกเลย สีของตัวอิฐบล็อก ส่วนใหญ่จะเป็นสีเท่า
สารบัญ
ประเภท และ ลักษณะของอิฐบล็อก19x39x7cm.
ซึ่งอิฐบล็อกจะสามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อิฐบล็อกแบบธรรมดา และ อิฐบล็อกแบบ มอก. และ อิฐบล็อกทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีขนาด และ รูปร่างที่เหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกัน อยู่ที่คุณสมบัติ คือมีความแข็งแรง ของตัวอิฐบล็อกที่ไม่เท่ากัน มีความหนาแน่นของอิฐบล็อกที่ไม่เท่ากัน และ จะมีความหน้าแน่นไม่เท่ากันอีกด้วย อีกทั้งอิฐบล็อกธรรมดา และ อิฐบล็อกแบบมี มอก. ยังมีมาตรฐานการผลิต ที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมี ขนาดของอิฐบล็อกให้เลือกใช้งานกัน ได้อย่างหลากหลาย อีกด้วย เช่น อิฐบล็อกความหนา 7 เซนติเมตร อิฐบล็อกความหนา 9 เซนติเมตร อิฐบล็อกความหนา 14 เซนติเมตร และ อิฐบล็อกความหนา 19 เซนติเมตร โดยมีความกว้าง 19 เซนติเมตร และ ความยาว 39 เซนติเมตร เท่า ๆ กัน
ซึ่งอิฐบล็อกมีลักษณะที่มีรูกลวงอยู่ข้าง จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการใช้งานอิฐบล็อก เนื่องจากสามารถถ่ายเท ความร้อนได้ดีมาก และ ส่วนใหญ่อิฐบล็อกจะเป็นวัสดุก่อสร้าง ที่เหมาะกับงานก่อสร้างทั่วไป เนื่องจากอิฐบล็อกเป็นวัสดุก่อสร้าง ที่มีราคาที่ค่อนข้างถูก และ ในการใช้งานสามารถใช้งาน ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และ ใช้งานง่าย จึงทำให้งานก่อสร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็ว อีกด้วย เช่น อาคาร บ้าน โกดังเก็บสินค้า โรงงาน เป็นต้น
การก่อ อิฐบล็อก19x39x7cm.
- ทำการจัดเตรียมพื้นที่ ที่จะทำการก่ออิฐบล็อก ให้สะอาด และ ให้พร้อมต่อการก่ออิฐบล็อก
- จัดการเตรียมการปูน ที่จะใช้ในการก่ออิฐบล็อก และ จัดเตรียมอุปกรณ์ สำหรับการก่อสร้าง ให้พร้อมด้วย
- ทำการก่ออิฐบล็อก โดยการเริ่มก่อชั้นแรกให้ชิดมุม ใช้เกรียงตักปูนลงบนพื้นที่ จะทำการก่อให้มีความยาวที่พอดีกับ อิฐบล็อกแล้วนำอิฐบล็อกลงไปก่อได้เลย แล้วทำการใช้เกรียงปาดปูน ที่ล้นออกมาให้เรียบร้อย หลังจากนั้นก็ทำการก่อชั้นต่อไป จนเสร็จได้เลย
- เมื่อทำการก่ออิฐบล็อกเสร็จเรียบร้อยแล้วปล่อยให้ปูนที่ใช้ก่ออิฐบล็อกแข็งตัว 2 วัน แล้วหลังจากนั้น บ่มผนังโดยการทำให้ ผนังมีความชุ่มน้ำประมาณ 7 วัน วันละ 1 ครั้ง
การใช้งาน อิฐบล็อก19x39x7cm.
ในการใช้งานอิฐบล็อกนั้น สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากอิฐบล็อก เป็นวัสดุก่อสร้างที่มีขนาด ให้เลือกใช้งานได้ อย่างหลากหลาย อีกทั้งในการใช้งาน จะเหมาะสมกับการก่อสร้างทั่ว ๆ ไป อีกทั้งในการใช้งานนั้น สามารถใช้งานได้ง่ายมาก อีกด้วย เนื่องจากเป็นอิฐ ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงให้เวลาทำการก่ออิฐ สามารถทำได้ง่าย และ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว อีกด้วย และ อิฐในการใช้งาน แต่ละขนาดจะมีการใช้งาน ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะมีการใช้งานดังนี้
- การใช้งานอิฐบล็อกความหนา 7 เซนติเมตร เป็นอิฐบล็อก ที่เหมาะสมในการใช้งาน ที่รับน้ำหนักเบา เนื่องจากเป็นอิฐบล็อก ที่มีขนาดเล็กที่สุดแล้ว ซึ่งในปัจจุบันจะใช้งานก่อสร้างเป็นผนังบ้าน หรือ อาคาร
- การใช้งานอิฐบล็อกที่มีความหนา 9 เซนติเมตร อิฐบล็อกขนาดความหนา 9 เซนติเมตร เป็นขนาดที่คนส่วนใหญ่ นิยมมากที่สุดเนื่องจาก เป็นขนาดความหนาที่พอดี และ ใกล้เคียงกับขนาดของวงกบประตูอีกด้วย และ ใช้งานได้อย่างสะดวก และ ยังเป็นอิฐบล็อกที่มีความแข็งแรงมาก ส่วนใหญ่จะใช้ในการก่อผนังรั่ว อีกทั้งในการใช้งานไม่จำเป็นที่จะต้องฉาบทับ หรือ จะฉาบทับแค่ 1 ด้านก็ได้จึงทำให้เป็นขนาดความหนา ที่นิยมใช้กันมากที่สุดนั้นเอง
- การใช้งานอิฐบล็อกที่มีขนาดความหนา 14 เซนติเมตร ซึ่งเป็นอิฐบล็อก ที่มีขนาดความหนามาก และ ยังมีคุณสมบัติที่มีความแข็งแรง ทนทาน และ ยังเป็นอิฐบล็อกที่มีคุณสมบัติที่สามารถทนต่อ ความร้อนได้ดี อีกทั้งยังเป็นอิฐบล็อกที่มีผนังกันโพรงที่พอดีต่อการใช้งานที่มีความแข็งแรง ส่วนใหญ่จะใช้งานเป็นผนังในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการความแข็งแรงสูง
- ในการใช้งานอิฐบล็อกที่มีขนาดความหนา 19 เซนติเมตร เป็นอิฐบล็อกที่มีขนาดความหนามากที่สุด อีกทั้งยังเป็นอิฐที่มีคุณสมบัติความแข็งแรง และ เป็นอิฐบล็อกที่ส่วนใหญ่จะใช้ในการก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรง และ แข็งแกร่งที่มาก และ เป็นวัสดุก่อสร้าง ที่สามารถรับน้ำหนักได้เยอะ อีกทั้งยังสามารถทนต่อ แรงกระแทกได้ดี เช่น งานก่อผนังอาคาร หรือ การก่อสร้างผนังโรงงาน
เทคนิคการก่ออิฐบล็อก
- คอนกรีตบล็อกทุกชนิด ก่อนที่จะนำมาใช้งานให้ทำความสะอาดโดยการปัดฝุ่น หรือ เศษดินที่เกาะติดอยู่ออกให้หมด แต่ห้ามนำไปแช่น้ำโดยเด็ดขาด เพราะการแช่น้ำจะทำให้คอนกรีตบล็อกนั้นมีน้ำหนักที่มาก และ เมื่อนำไปก่อผนัง คอนกรีตบล็อกก็จะคายน้ำที่อมไว้ออกมา จึงทำให้ปูนกับทรายที่ใช้ก่อผนังนั้นเหลว และ ทำให้ยึดเกาะไม่ได้ อาจจะทำให้ผนังเกิดการล้มลงมาได้นั้นเอง
- การก่ออิฐบล็อก จะต้องเริ่มจากมุมก่อเสมอ การเริ่มก่อจากมุมขอบผนัง หรือ ขอบเสาจะช่วยให้ผนังมีการยึดเกาะเริ่มต้นที่มีความมั่นคง และ สามารถขึงเส้นเอ็นจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้ได้แนวของผนังที่เป็นแนวตรง
- การก่อของอิฐบล็อก นอกจากจะต้องขึงเอ็นแนวราบแล้ว ยังจะต้องขึงเอ็นแนวดิ่งด้วย เพื่อป้องกันการก่ออิฐที่ไม่ได้แนวตรง คดไปคดมา หรือ ผนังที่ไม่ได้แนวดิ่ง ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาที่จะต้องมาฉาบปูน เพื่อช่วยแก้ให้ผนังนั้นแลดูตรง และ ได้ดิ่งในภายหลัง แต่ข้อเสีย ก็คือทำให้ผนังมีน้ำหนัก เพิ่มขึ้นเป็นภาระต่อโครงสร้างอาคารต่อไป
- แนวปูนก่อ หรือ ความหนาของปูนก่อ ควรที่จะมีความหนาอยู่ระหว่าง 1 – 2 ซม. เพื่อช่วยให้การยึดเหนี่ยวระหว่างก้อนอิฐทำได้อย่างดี ปูนทรายควรที่จะมีความข้นเหลวที่พอดี ถ้าแนวปูนก่อหนาน้อยกว่า 1 ซม. จะทำให้การยึดเกาะด้อยลง และ การถ่ายน้ำหนักของผนังอิฐทำได้ไม่ดี แต่ถ้าหนาเกิน 2 ซม. ก็จะสิ้นเปลืองปูนทราย และ คอนกรีตบล็อกอาจจะล้มได้ แต่ข้อควรระวังคือ ไม่ควรที่จะหยอดปูนทรายลงไปในรูกลวงของอิฐบล็อก เพราะจำเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับผนังโดยที่ไม่มีความจำเป็น
- ผนังอิฐบล็อก ที่เริ่มจากขอบเสานั้นจะต้องมีการเสียบเหล็กหนวดกุ้งไว้เพื่อทำหน้าที่ยึดเกาะเกี่ยวผนัง โดยทั่วไปเหล็กหนวดกุ้งจะมีขนาด 6 มม. ยาวประมาณ 40 – 50 ซม. เสียบที่ระยะเสาระยะต้องห่างกันประมาณ 40 ซม. โดยผนังที่ไม่มีเหล็กหนวดกุ้งยึดเหนี่ยวอาจจะมีการแตกร้าวได้อย่างง่าย เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือน
- ผนังอิฐบล็อกที่มีการเว้นช่องเปิดไว้ ได้แก่ ช่องประตูหน้าต่างจะต้องมีการเสริมเสาเอ็น และ คานเอ็น Lintels รัดรอบ เพื่อทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักผนังอิฐ และ ป้องกันการยืดหดจากวงกบไม้ ปัญหาที่เกิดจากการไม่มีเสาเอ็น และ คานเอ็นนั้น เราจะพบเห็นได้บ่อย ๆ ที่มุมของวงกบ หรือ ประตู หรือ หน้าต่าง ว่าจะมีรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้น
- ผนังอิฐบล็อกที่จะมีความกว้างเกินประมาณ 3 – 4 ม. หรือ สูงเกิน 3 ม. ควรที่จะมีการเสริมเสาเอ็น และ คานเอ็น เพื่อทำหน้าที่ผนังใช้เป็นที่ยึดเกาะ หรือ เป็นการช่วยกระจายน้ำหนักของผนังเสมอ จะช่วยให้ผนังมีความแข็งแรงมากขึ้น
- ในการก่อผนังอิฐบล็อก หรือ ฉาบปูน ควรจะต้องวางแผนการก่อ หรือ ฉาบด้วย ไม่ควรที่จะก่อผนังอิฐบล็อกในด้านที่มีแสงแดดจัดส่อง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรที่จะหาที่บังแดดมาบังการก่อ หรือ ฉาบ เพราะในขณะที่แสงแดดจัดส่ง จะทำให้ผนังนั้นแห้งเร็วเกินไป อาจจะทำให้เกิดการแตกร้าวได้ในภายหลัง
- การก่อผนังอิฐบล็อกจนเกือบถึงคานชั้นบน ควรที่จะหยุดเว้นช่องว่างไว้ประมาณ 10 – 20 ซม.ประมาณ 3 – 5 วัน เพื่อรอให้คานคอนกรีตนั้นแอ่นตัวจนมันอยู่ตัวแล้ว หรือ รอให้ผนังที่เพิ่งก่อเสร็จใหม่ ๆ นั้นยุบให้คงที่เสียก่อนถึงจะค่อย ๆ ใช้อิฐมอญก่อเติมให้เต็มใต้ท้องคานนั้น จะทำให้ไม่เกิดปัญหาการแตกร้าวของผนัง
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์