เหล็กเส้นกลม ราคา ถูก
สารบัญ
- ทำความรู้จักกับเหล็กเส้น
- เหล็กเสริม คืออะไร?
- การเก็บรักษาเหล็กเส้น
- หน้าที่ของเหล็กเส้น
- วิธีตรวจสอบคุณภาพของเหล็กเส้น
- วิธีการสั่งซื้อ
ทำความรู้จักกับ เหล็กเส้นกลม และ เหล็กข้ออ้อย
เหล็กส่วนใหญ่ ที่ใช้ในงานคอนกรีต จะมี2ประเภท คือ เหล็กข้ออ้อย (DB) เหล็กเส้นกลม (RB) หน้าตัดของเหล็กเส้นกลม จะขนาดมีตั้งแต่ 6-18 มม. และ เหล็กข้ออ้อยหน้าตัด ของเหล็กข้ออ้อย จะมีตั้งแต่10-32 มม.ส่วนมากโดยทั่วไป เหล็กข้ออ้อยนั้น จะนำมาใช้เป็นโครงสร้างหลัก
และ เหล็กเส้นกลมนิยมมา ทำเป็นปลอกรัดรอบโครงสร้างหลัก เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของโครงสร้าง โดยทั่วไปการใช้เหล็กข้ออ้อย กับเส้นกลมนั้น จะใช้คู่กับคอนกรีต เพื่อนำไปเสริมเหล็ก มักนิยมเรียกว่า ค.ส.ล.
การสังเกตการณ์ ใช้งานของเหล็ก แนวเสาตั้งตลอดแนว จะใช้เหล็กยืนเป็นเหล็กข้ออ้อย และรัดรอบ ๆ ด้วยเหล็กเส้นกลมเป็นระยะ ๆ แนวนอนกับแนวตั้งทำเหมือนๆกัน
เหล็กเสริม (reinforcement)
เหล็กเสริมมีรูปร่าง ทั้งเป็นแบบเส้นเป็นท่อน ๆ หรือ เป็นตะแกรงฝังใน ส่วนมากเหล็กเสริม จะมีหน้าที่เอาไป เสริมให้กับคอนกรีต ทำให้โครงสร้างแข็งแรงมากยิ่งขึ้น และ ต้านทานต่อแรงต่าง ๆ ที่เกิดกับคอนกรีต
โดยทั่วไปรู้กันอยู่แล้วว่า คุณสมบัติของคอนกรีต สามารถรับแรงอัดได้สูง แต่ข้อด้อยคือ จะเปราะบาง และ ไม่สามารถรับแรงดึงได้ จึงมีการเอาเหล็กเข้ามาเสริมในคอนกรีต เพื่อรับแรงอัด และ รับแรงดึง จะได้มีประสิทธิภาพ ในการยึดหดตัวเท่า ๆ กับคอนกรีตที่มาใช้รวมกัน ทั้งนี้วัสดุระหว่างเหล็ก และ คอนกรีตจะมีการเกื้อหนุนกัน ช่วยกันรับ และ ถ่ายแรงถึงได้ นำมาออกแบบเพราะ จะสามารถทำให้โคตรสร้างแข็งแรงขึ้น
บทบาทของเหล็ก จะทำหน้าที่โดยการรับแรงดึง จะมีการพิจารณา ความสามารถในการรับแรง ส่วนการรับแรงอัดนั้น เป็นหน้าที่ของคอนกรีต คอนกรีตที่ใช้เหล็กเสริม ที่คนนิยมทั่วไปเรียกกันว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก การเสริมเหล็ก ที่คอม้า หรือเหล็กปลอก เป็นจุดที่เกิดแรงเฉือน จะสามารถรับแรงต่างๆที่เกิดขึ้นได้ดีและเพิ่มความแข็งแรงด้วยนั่นเอง ช่วยสามารถป้องกันการพังของโครงสร้างและอันตรายที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้การเสริมเหล็ก ยังช่วยลดขนาดของเสาคานลงได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความแข็งแรง และเหล็กจะถูกดัดงอตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
วิศวกรจะเป็นผู้ออกแบบงานก่อสร้างทั้งหมด ทั้งการกำหนด ชนิด ปริมาณ และการวางตำแหน่งของเหล็กเสริม สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ผู้ที่ก่อสร้างจะต้องทำตามมาตรฐานที่วิศวกรกำหนดมาห้ามมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมของวิศวกรผู้ออกแบบ หากไม่ทำตามที่กำหนดไว้โครงสร้างอาจจะมีการผิดเพี้ยนได้หรือก่อให้เกิดการสูญเสียกับชีวิตและทรัพย์สินได้
การเก็บรักษาเหล็ก
ในการเก็บรักษาเหล็ก เพื่อให้เหล็กไม่เกิดการงอหรือชำรุด ควรมีวิธีการเก็บรักษาดังนี้
สิ่งที่น่ากังวลที่สุด เรื่องหนึ่งของเหล็ก คือการขึ้นสนิม ที่เกิดจากความชื้นในอากาศ การจัดกองเก็บเหล็ก จึงมีผ้าใบคลุมป้องกันความชื้น ในอากาศให้มากที่สุด
แม้จะมีผ้าคลุมแล้ว แต่ก็ไม่ควรวางกองเหล็กลงกับพื้นดิน หรือ พื้นคอนกรีตโดยตรง เพราะความชื้นที่มากับพื้น อาจทำให้เหล็กเป็นสนิมเร็วมากขึ้นกว่าเดิมแม้จะมีผ้าคลุม จึงควรใช้ไม้หมอนหนุนรองกองเหล็กก่อนเพื่อไม่ให้สัมผัสกับพื้นโดยตรง
เพื่อความสะดวกเป็นระเบียบในขั้นตอนการทำงาน ก็ควรกองเก็บชิ้นส่วนเหล็กขนาดเดียวกัน ชนิดเดียวกัน ซ้อนชั้นกันขึ้นไปอย่างมีระเบียบไว้ในที่เดียวกัน และ เรียงลำดับการใช้งานก่อนหลังไปตามที่ควรจะเป็น
ไม่ควรวางกองชิ้นส่วนเหล็กคนละขนาด คนละชนิด ปะปนกัน หรือ กองสุมกันอย่างไม่มีระเบียบ เพราะนอกจากจะไม่สะดวกในการทำงาน ชิ้นส่วนเหล็กซึ่งมีน้ำหนักมากก็จะกดทับกัน และ กันทำให้ชิ้นส่วนเหล็กเสียหาย จนถึงขั้นคดงอ ไม่สามารถนำไปใช้งานได้
วิธีที่ช่วยกันสนิมให้เหล็กได้คือการทำสีกันสนิม นอกจากการทำสีกันสนิมให้เหล็กที่หน้างานที่เป็นที่นิยมทั่วไป SYS ยังมีทางเลือกของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนทำสีสำเร็จจากโรงงาน ซึ่งช่วยแก้ปัญหาสนิมจากการกองเก็บเหล็กได้อย่างมาก อีกทั้งยังช่วยรักษาสภาพของเหล็กให้พร้อมใช้เสมอ
ไม่ควรหากแม้ไม่เลือกทำสีจากโรงงาน ก็ควรทา หรือ พ่นสีกันสนิมตั้งแต่เหล็กมาถึงที่หน้างาน ไม่ควรปล่อยทิ้งเหล็กไว้เป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะเมื่อปล่อยให้ผ่านฤดูฝน ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะหลีกเลี่ยงเหล็กจากการเป็นสนิมนั่นเอง
เหล็กเสริม
ซึ่งเหล็กเสริมส่วนใหญ่ ที่นำมาใช้ในงานคอนกรีตเสริมเหล็ก จะนิยมใช้เป็นเหล็กกล้าที่มีการผสม
เหล็กเส้นกลม ( RB )
เหล็กเส้นกลม เป็นเหล็กที่มีพื้นที่ในการตัดขวางเป็นวงกลม มีผิวเรียบเนียนไม่เหมือนกับเหล็กข้ออ้อย จะทำจากเหล็กเส้นใหญ่,เหล็กแท่ง หรือเหล็กแท่งหล่อ เป็นเหล็กเส้นกลมที่มีมาตรฐาน มอก. โดยทำการนำไปรีดร้อนโดยไม่ผ่านการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นมาก่อน มีความยาว มาตรฐาน 10 หรือ 12 เมตร และขนาด 9, 12, 15, 19, 22, 25, 28 และ 34 มม. โดยชั้นคุณภาพจะใช้สัญลักษณ์ SR24 แล้วต่อด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้น
เหล็กทุกเส้นที่ผลิตจะต้องมีชื่อขนาดหล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็ก ทุกเส้นจะต้องมีชื่อและเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต ชื่อที่ติดอยู่กับเครื่องหมายการค้าต้องห่างกันขนาดไม่น้อยกว่า 50 มม. ตามมาตรฐานของเหล็กเส้นกลมทุกเว้นจะมีอักษรย่อติดอยู่ว่า บสส.
เหล็กรีดซ้ำ
เหล็กที่เป็นที่รู้จัก อีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้กับงานก่อสร้างขนาดกลาง และก็ขนาดเล็ก คือ เหล็กรีดซ้ำ ตามมาตรฐาน มอก.เหล็กเส้นกลมชนิดนี้ ผลิตจากเศษเหล็กที่ได้มาจากเข็มพืด เหล็กโครงสร้าง เหล็กแผ่นต่อเรือ หรือเหล็กที่ทำการคัดออกจากช่วงเวลาการผลิตต่าง ๆ
โดยการนำเอาเหล็กพวกนี้มารีดเป็นเส้นกลมโดยผ่านกรรมวิธีรีดร้อน ขนาดที่นิยมใช้ทั่วไปมีขนาด ขนาด 6, 8, 9, 10, 12 และ 15 ม.ม. ความยาว 10 หรือ 12 เมตร มีชั้นคุณภาพเดียว ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย SRR 24 จะใช้ชื่อย่อด้วย R แล้วต่อด้วยขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้น
เหล็กทุกเส้นที่ผลิตจะต้องมีชื่อขนาดหล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็ก ทุกเส้นจะต้องมีชื่อและเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต ชื่อที่ติดอยู่กับเครื่องหมายการค้า
เหล็กเส้นมีหน้าที่
โดยทั่วไปแล้วหน้าที่ของเหล็กเส้นจะเป็นเหล็กที่ไว้ใช้สำหรับรองรับแรงกดของโครงสร้าง โดยเหล็กเส้นแต่ละตัวก็จะมีค่ารองรับแรงกดได้ไม่เท่ากัน เช่น
โดยทั่วไปแล้วหน้าที่ของเหล็กเส้นมีไว้สำหรับรองรับแรงกดหรือน้ำหนักของโครงสร้าง โดยเหล็กแต่ละตัวมีการรองรับแรงกดไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
-เหล็กเส้นกลม ค่ารองรับแรงกดจะใช้อักษรย่อด้วย SR
-เหล็กข้ออ้อย ค่ารองรับแรงกดจะใช้อักษรย่อด้วย SD
นอกจากหน้าที่ของเหล็กเส้นจะมีการรองรับแรงกดแล้ว ยังช่วยทำให้อาคารมั่นคงและแข็งแรงมากขึ้น และยังช่วยยึดเหนี่ยวปูน
การตรวจสอบเหล็กที่มีคุณภาพ
เหล็กทุกเส้นที่ผลิตจะต้องมีชื่อขนาดหล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็ก ทุกเส้นจะต้องมีชื่อและเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต ชื่อที่ติดอยู่กับเครื่องหมายการค้า เมื่อมีการผลิตเหล็กเส้นออกจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องติดป้ายเหล็กเพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ได้แก่
* ชั้นคุณภาพ
* บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า
* ขนาด
* ความยาว
* วันเวลาที่ผลิต
* เครื่องหมายมอก
หาซื้อ เหล็กเส้นกลม ราคา ถูก หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
สั่งซื้อของกับร้านอาณาจักรนายช่าง ได้ที่
LINE : NaichangNetwork
หรือโทร 086-341-9908
กลับไปที่สารบัญ
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์