เหล็กเส้น
ก่อนเข้าถึงเนื้อหาของเหล็กเส้น เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน ต้องเกริ่นก่อนว่า เหล็กในลักษณะที่เป็นรูปแบบเส้น มีมากมาย ที่พบเห็นได้บ่อย แต่จริงๆแล้ว มีทั้ง เหล็กเพลาดำ, เหล็กเพลาขาว, เหล็กเพลาแดง เป็นต้น ซึ่งนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมที่ต่างกัน เหล็กเส้น คือ เหล็กเสริม สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป โดยใช้ในการเพิ่มความสามารถในการรับแรงกับโครงสร้าง
ในหมวดสินค้านี้จะพูดถึง เหล็กเส้น ที่นำไปใช้ในงานก่อสร้าง ซึ่งหน้าที่หลักคือ เป็นเหล็กเสริมคอนกรีต ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้โครงสร้างคอนกรีต ซึ่งพบเห็นได้ทุกที่ เช่น สะพานทางด่วน คอนโด แม้กระทั่งบ้านที่เราอยู่อาศัยกัน ล้วนเป็นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นเสริมทั้งสิ้น
ซึ่งเหล็กเส้นนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- เหล็กเส้นกลม (RB : Round Bar)
- เหล็กข้ออ้อย (DB : Deformed Bar)
เหล็กเส้นกลม หรือ ที่เรียกว่า เหล็กกลม (Round Bar)
ลักษณะของเหล็กเส้นกลมนั้น จะมีผิวที่เกลี้ยงเกลา ซึ่งที่ใช้กันในบ้านเรา คือ
– เหล็กเส้นกลม 6 มม. SR24 เหมาะกับงานประเภทก่อสร้างที่ต้องรับแรงไม่มาก ส่วนมากจะใช้ทำปอกเสาหรือปอกคาน
– เหล็กเส้นกลม 9 มม. SR24 เหมาะกับงานประเภทก่อสร้างที่ต้องรับแรงไม่มาก จะมีลักษณะคล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน
ตัวอักษร SR บ่งบอกอะไร
SR ย่อมาจาก Standard Round bar ซึ่งแปลได้ว่า เป็นมาตรฐานของเหล็กเส้นกลมตาม มอก.20-2559 และตัวเลขที่ต่อท้าย คือ เลขที่บ่งบอกถึง ค่าความต้านทางแรงดึง ณ จุดคราก เมื่อนำมารวมกันก็จะได้ดังนี้ SR24 คือ เหล็กเส้นกลม(SR) ที่มีค่าความต้านทานแรงดึง ณ จุดคราก ไม่ต่ำกว่า 2,400 กิโลกรัม/ตารางมิลลิเมตร (KSC)
หน้าที่หลักของเหล็กเส้นกลม โดยมากใช้เป็น เหล็กปลอก ซึ่งใช้เป็นเหล็กเสริม รัดเหล็กข้ออ้อยที่เป็นโครงเหล็กเสริม ในคอนกรีต
นอกจากนี้เหล็กเส้นกลมยังมีขนาดอื่นๆ นอกจาก 6 มม. และ 9 มม. ได้แก่
– เหล็กเส้นกลม 8 มม.
– เหล็กเส้นกลม 10 มม.
– เหล็กเส้นกลม 12 มม. เหมาะกับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นพวกงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะที่เรียบมน จึงทำให้ยึดเกราะปูนได้ไม่มีเท่าที่ควร ส่วนมากจะนิยมใช้กับงานกลึง
– เหล็กเส้นกลม 15 มม.
– เหล็กเส้นกลม 19 มม. เหมาะกับงานที่ทำถนน
– เหล็กเส้นกลม 22 มม.
– เหล็กเส้นกลม 25 มม. ทำเหล็กสตัท หรือเกลียวเร่ง เหมาะกับงานที่ทำยึดโครงป้ายขนาดที่ใหญ่ สามารถรับแรงและน้ำหนักได้ดี
ลักษณะการใช้งานเหล็กเส้นกลม
– ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มากนัก
– ใช้ทำปลอกเสา
– ใช้ทำปลอกคาน
– ไม่นิยมสำหรับงานยึดเกาะเช่นปูน เพราะเหล็กมีผิวเรียบมน ไม่เหมาะกับงานยึดเกาะ
– ใช้ทำเป็นตะแกรงไวร์เมช ตะแกรงต่างๆ
ข้อพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นกลม
– ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีปีก ไม่มีรอยแตก หน้าตัดต้องกลม ไม่เบี้ยว
– เส้นผ่าศูนย์กลาง และน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. น้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./ 1 เมตร ความยาวทั้งเส้นตามมาตรฐานต้องยาว 10 เมตร เป็นต้น
– เมื่อดัดโค้งงอ ต้องไม่ปริแตก และหักง่าย
– เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่หากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็ก อาจเป็นเรื่องของสภาพอากาศของเมืองไทย ไม่ต้องกังวล
เหล็กข้ออ้อย หรือ Deformed Bar
ลักษณะของเหล็กข้ออ้อยนั้น จะเป็นบั้งๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะให้คอนกรีตยึดเกาะได้ดีขึ้น ซึ่งเหล็กข้ออ้อยนั้น ใช้เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตหลัก ซึ่งมีหลายดังนี้
– เหล็กข้ออ้อย 25 มม.
– เหล็กข้ออ้อย 32 มม.
ซึ่งเหล็กข้ออ้อย จะตามด้วย SD… ซึ่งโดยทั่วไปที่ใช้กัน คือ SD40T นอกจากนี้ยังมี SD30, SD40 และ SD50 ด้วย (ซึ่งมีการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน)
แล้ว ตัว SD กับ เลขท้าย 2 ตัวบอกถึงอะไร
SD ย่อมาจาก Standard Deformed bar ซึ่งแปลได้ว่า เป็นมาตรฐานของเหล็กเส้นข้ออ้อยตาม มอก.20-2559 และตัวเลขที่ต่อท้าย คือ เลขที่บ่งบอกถึง ค่าความต้านทางแรงดึง ณ จุดคราก เมื่อนำมารวมกันก็จะได้เป็น SD40 หรือ เหล็กเส้นข้ออ้อย (SD) ที่มีค่าความต้านทานแรงดึง ณ จุดคราก ไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางมิลลิเมตร (KSC)
ลักษณะการใช้งานเหล็กข้ออ้อย
– เหล็กข้ออ้อยจะใช้ในงานโครงสร้างหลักประเภทเสา คาน บันได รวมถึงบ่อและสระน้ำต่างๆ
– โดยเหล็กข้ออ้อยที่ดี บั้งจะต้องมีระยะเท่ากัน สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น
ข้อพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นข้ออ้อย
– เหล็กข้ออ้อย ต้องมีผิวเรียบเกลี้ยง ยกเว้นบริเวณที่เป็นบั้ง และต้องไม่ปริ ไม่แตกร้าว ไม่เป็นสนิมขุม
– เหล็กข้ออ้อย ต้องมีบั้งเป็นระยะ ๆ เท่า ๆ กัน โดยสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น บั้งที่อยู่ตรงข้ามกัน ต้องมีขนาด และรูปร่างเหมือนกัน
การสั่งซื้อเหล็กเส้น
ในประเทศไทยมีโรงงานผลิตเหล็กเส้นอยู่หลายแห่ง ซึ่งโดยมากจะแบ่งออกเป็น โรงเล็ก โรงใหญ่ ดังนั้น การสั่งซื้อควรจะคำนึงถึง
– เหล็กเต็ม หรือ เหล็กไม่เต็ม
– เหล็กมี มอก. หรือไม่
นอกเหนือจากด้านคุณภาพของเหล็กแล้ว ในด้านของการนำไปใช้งาน
– เหล็กเส้นพับ หรือ เหล็กเส้นตรง (มีผลกับประเภทรถที่ใช้ขนส่ง)
– การลงของของผู้ค้า (ซึ่งหากไม่ได้แจ้ง หรือ ไม่ทราบ อาจทำให้มีปัญหา รถส่งสินค้าไปถึงหน้างานแล้ว ไม่สามารถลงของได้ อาจจะเพราะ ไม่มีเครื่องมือในการยก หรือ สถานที่แคบ เป็นต้น)
วิธีการเลือกซื้อเหล็กเส้น มีดังนี้
- ต้องมียี่ห้อ หรือขนาดระบุเหล็กเส้นอย่างชัดเจน
- ต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง หรือน้ำหนักให้ถูกต้องตามมาตรฐาน
- ผิวเหล็กกลมต้องเรียบเกลี้ยงไม่เบี้ยว ต้องไม่มีรอยปริแตก
- เหล็กข้ออ้อน ต้องมีบั้งระยะเท่ากัน และสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น
- เมื่อตัดโค้ง งอ และไม่ปริแตก หรือทำให้หัก ง่าย
- เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในตัวเนื้อเหล็ก เป็นสนิมที่ผิวได้โดยขัดออก หรือสามารถที่จะใช้น้ำยาล้างสนิมเหล็ก ก่อนที่จะนำไปใช้งาน
ข้อควรระวังในการสั่งซื้อเหล็กเส้นข้ออ้อย
เหล็กเส้นข้ออ้อยที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้ คือ SD40″T” ซึ่งมีค่าเทียบเท่ากับ SD40 เมื่อสมัยก่อน เนื่องด้วยกรรมวิธีการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ ที่พัฒนาขึ้นจากเมื่อก่อน ทำให้สามารถนำเหล็กบิลเล็ตที่เป็นเกรด SD30 มาผลิตให้มีความแข็งแรง คุณสมบัติเทียบเท่ากับ SD40 ได้
อาจมีบางงานที่มีการระบุ SD40 โดยเฉพาะเจาะจง จะไม่สามารถใช้ SD40T ได้ ซึ่งให้ตรวจสอบให้ดีก่อนสั่งซื้อ เนื่องจากเหล็กเส้นมีความไวต่ออุณหภูมิสูง เมื่อสินค้าออกจากโรงงานไปแล้ว อาจทำให้เกิดความเสียหายกับสินค้า และมีผลกับการเคลมคืน หรือ ขอเปลี่ยนสินค้าได้
ส่วนงานที่ไม่ได้ระบุ SD40 นั้นสามารถใช้ SD40T ได้โดยไม่ต้องกังวล หรือ มีความเข้าใจผิดที่ว่า SD40T แข็งแรงน้อยกว่า เพราะมีการใช้ทั่วไปในประเทศทั้งโครงการระดับเล็ก ไปจนถึงโครงการขนาดใหญ่
การดูแลรักษาเหล็กเส้นเมื่ออยู่หน้างาน
เหล็กเส้นเมื่อนำมาใช้ในงานก่อสร้าง ควรที่จะมีพื้นที่เก็บที่ขนาดใหญ่และมีที่คลุม หรือที่บังฝน และต้องเก็บไว้เหนือพื้นดินต้องไม่น้อยกว่า 200 มิลลิเมตร เพื่อที่จะป้องกันการเกิดสนิม จากดิน โคลน ที่จะมาติดกับเหล็ก และควรที่จะเก็บเหล็กเส้นตามชนิดและขนาด ถ้าทางที่ดีคือทำป้ายติดไว้เพื่อบอกชนิดและขนาดตามเหล็กที่เราได้จัดเก็บอย่างชัดเจน หรือ จะทาสีกันสนิมด้วยก็เป็นอีก 1 วิธีที่นิยมทำกัน