เหล็ก WF (WIDE FLANGE)
เหล็ก WF เป็นเหล็กรีดร้อน เหมาะกับงานที่เน้นโครงสร้างเพราะมีความทนทานแข็งแรงและรูปร่างที่สวยงามหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมแต่ละงานตามพื้นที่ต่างๆ
ลักษณะของ WIDE FLANGE
สังเกตว่าส่วนที่เป็นขามีขนาดแตกต่างหลากหลายรูปทรงหรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า “ ปีก ” นอกจากนั้นจะมีความหนาตรงแกนตรงกลาง ที่เรียกว่า เอว แล้ว ปีก มีลักษณะที่ตรงเรียบและความหนาที่คงที่ สัดส่วนหน้าตัดมีทั้งสี่เหลี่ยมจัตุรัสและผืนผ้า รับแรงได้ดี
ข้อดีของเหล็กรูปพรรณรีดร้อน
- ช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้างลงและช่วยลดภาระดอกเบี้ยของโครงการทำให้เปิดใช้งานได้รวดเร็ว
- ทำให้ประหยัดเวลาการเตรียมงานและใช้แรงงสยน้อยกว่าการก่อสร้างระบบอื่นๆ
- ออกแบบโครงสร้างให้มีช่วงเสากว้างกว่าการใช้โครงสร้างของระบบอื่นๆไม่เปลืองพื้นที่ใช้งาน
- สามารถออกแบบงานของสถาปัตยกรรมได้หลากหลายเช่น ตัดโค้ง หรือทำให้โครงสร้างโป่ง
- โครงสร้างนั้นมีน้ำหนักที่เบา ทำให้ประหยัดฐานรากช่วยลดการขนส่งและพื้นที่เก็บวัสดุ
- ตรวจสอบหรือควบคุมคุณภาพและรักษาได้สะดวกกว่าโครงสร้างอื่นๆ
- แข็งแรงสามารถรับแรงสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวได้ดีกว่าโครงสร้างระบบอื่นๆ
- สามารถก่อสร้างในพื้นที่ที่จำกัดได้อย่างดีและสะดวก ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะฝุ่น
- สามารถดัดแปลงหรือต่อเติมและรื้อไปสร้างใหม่ได้ไม่ต้องทุบทิ้ง
- สามารถนำวัสดุมาใช้ใหม่ได้ 100%
ตารางบอก คุณลักษณะต่างๆของเหล็ก WIDE FLANGE
การใช้งานของเหล็ก WF
เหมาะกับงานที่เน้นการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นงานพวก เสา คาน หรือโครงสร้าง ส่วนมากจะนิยมใช้แทนโครงสร้างคอนกรีต เพราะวิธีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน ช่วยลดขั้นตอนของการทำงานลงและการดูแลรักษาก็ง่ายกว่าเหล็กอื่นๆ ซึ่งหน้าตัดจะเป็นแบบ W ความกว้างของแผ่นตรงกลางจะมากกว่าปีกข้างทั้งสอง มีความหนาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น สามารถที่จะรับแรงต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีน้ำหนักที่เบากว่าโครงสร้างคอนกรีต
คุณสมบัติของเหล็กไวด์แฟรงค์
- สามารถหลอมแล้วสร้างขึ้นมาใหม่ได้ทำให้ไม่มีลอยเชื่อมต่อระหว่างส่วนต่างๆ ทำให้หน้าตัดสม่ำเสมอกว่าเหล็กโครงสร้างชนิดอื่น
- เหล็กไวด์แฟรงค์มีน้ำหนักที่เบากว่าตอนที่ใช้โครงสร้างคอนกรีตจึงเป็นที่นิยมกันมากมายของหน้างานต่างๆ
ความแตกต่างที่คล้ายกันของเหล็กทั้ง 3 ชนิดได้แก่ ไอบีม เอชบีม และ ไวด์แฟรงค์
เหล็กทั้ง 3 ชนิดนั้นมีความแตกต่างกัน เพราะส่วนมากบางคนนจะมองไม่ค่อยออกถึงความแตกต่างของเหล็กทั้ง 3 ชนิดนี้ถ้าพูดถึงหน้าตาแล้วนั้นมีความคล้ายกันอยู่มากแต่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เลยทำให้ไม่ค่อยมีใครสามารถแยกเหล็กแต่ละชนิดออกได้ และไม่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องตรงกับลักษณะงานของก่อสร้างต่างๆได้
วิธีแยกความแตกต่างของเหล็กกายภาพกับลักษณะ
- ไวด์แฟรงค์ มีลักษณะที่เด่นตรงความกว้างของแผ่นตรงกลางจะมากกว่าปีกทั้ง 2 ข้างและมีความหนาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น
- ไอบีม หรือ ตัวไอ มีลักษณะปีกบนปีกล่างเป็นแผ่นเอียงความหนามากกว่า สามารถรับแรงกระแทกได้ดี และมีน้ำหนักต่อเมตรที่สูงกว่า เอชบีม
- เอชบีม มีลักษณะเด่นอยู่ที่ปีกมีความกว้างเท่ากันกับความกว้างของแผ่นตรงกลาง ดีไซน์ที่เฉพาะตัวคือเป็นรูปตัวเอช
- WF กับ H-Beam ต่างกันตรงที่ WF เป็นหน้าตัดที่ได้มาตรฐาน ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วน H-Beam เป็นหน้าตัดตามมาตรฐาน มอก.
วิธีการเก็บรักษาเหล็กสำหรับหน้างานหรือไซต์งานที่หยุดยาว
- จัดเตรียมพื้นที่สำหรับเก็บ เพราะโครงสร้างมีขนาดใหญ่ต้องใช้พื้นที่เยอะ อาจจะใช้วิธีการสร้างโรงเก็บแบบชั่วคร่าวไว้ในพื้นที่ของไซต์งาน ถ้าไซต์งานมีพื้นที่ขนาดใหญ่ระยะเวลาก่อสร้างยาวแต่ถ้าเป็นโครงการที่มีพื้นที่น้อยต้องใช้วิธีแบ่งพื้นที่ตรงบริเวณมุมใดมุมนึงของไซต์งานในการจัดเก็บ ที่สำคัญที่สุดคือต้องไม่วางเหล็กตรงบริเวณทางเดินเพราะอาจจะทำให้เกิดอันตราย จะใช้วิธีปูนด้วยผ้าใบบนพื้นแทนการใช้คอนกรีตผสมเสร็จเพราะจะทำให้เหล็กรูปพรรณไปสัมผัสกับดินโดยตรงเพราะทำให้เกิดการเป็นสนิมจากความชื้นของดินได้
- ทาสีกันสนิม การทาสีกันสนิมนั้นเป็นวิธีที่ให้ได้ผลดีที่สุดคือทาทันที่ต่อที่เหล็กรูปพรรณมาถึงไซต์งานหรือสถานที่จัดเก็บจะช่วยรักษาสภาพของเหล็กได้ดีที่สุด
- จัดวางเหล็กแยกตามประเภทของการใช้งาน การจัดวางให้เป็นระเบียบหรือการแยกประเภทไม่ควรที่จะวางเหล็กซ้อนปะปนกันเพราะบางชนิดจะมีน้ำหนักมากอาจะไปทับเหล็กที่บางจะทำให้เกิดความเสียหายได้