เหล็ก WF 250×125 หรือ Wide Flange
เหล็ก WF 250×125 หรือเหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide- Flange) ขนาด 250×125 เป็นที่นิยมใช้กันสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป และ งานเชื่อม มีรูปทรงลักษณะเดียวกับไอบีม (I-Beam Steel) แต่มีขนาดบางกว่า
สารบัญ
- ลักษณะของเหล็ก Wide – Flange
- เหล็ก HB , WF , IB มีความแตกต่างกันอย่างไร
- คุณสมบัติของเหล็ก Wide – Flange
- วิธีการสั่งซื้อ
ลักษณะของเหล็กไวด์แฟลงก์ (Wide Flange) หรือ เหล็ก WF 250×125
เหล็กไวด์แฟรงค์นั้นเป็นภาษาปากที่ใช้เรียกเหล็กชนิดนี้โดยทั่วไป แต่ว่าเหล็กชนิดนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Wide Flange Beam ในภาษาอังกฤษ เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน (หรือ Hot rolled structural steel) ซึ่งเน้นเฉพาะเจาะจงสำหรับงานโครงสร้างเหล็กโดยเฉพาะ ซึ่งมีรูปร่างที่สวยงามในงานก่อสร้างอีกทั้งยังให้ความคงทนที่สูงเนื่องจากมีความแข็งแรงมาก โดยสำหรับประเทศไทยนั้นเกรดส่วนใหญ่ที่ได้นำไปใช้งาน คือ SS400, SS540 ลักษณะพิเศษของเหล็กไวด์แฟรงค์ที่ต่างจากเหล็กไอบีม คือส่วนของปีกเหล็ก(หรือเรียกว่า Flange) และ โคนปีกนั้นจะมีความหนาเท่ากัน ดังภาพด้านล่างนี้
แล้วเหล็กเอชบีม, ไอบีม, และเหล็กไวด์แฟรงค์ มีความต่างกันอย่างไร?
เหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide Flange) และ เหล็กเอชบีม (H-Beam) เป็นเหล็กชนิดเดียวกัน ลักษณะหน้าตาก็เหมือนกันทุกประการ เพียงแต่จะถูกเรียกในมาตรฐานที่ต่างกัน โดย เอชบีม จะถูกเรียกในฝั่งไทยโดยยึดตามสำนักมาตรฐานอุตสาหกรรม ในส่วนของเหล็กรูปพรรณรีดร้อน และใช้มาตรวัดเป็นระบบเมตริก (Metric system) โดยใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร ส่วนในต่างประเทศจะยึดตามมาตรฐาน ASTM (American Society for Testing Materials) ซึ่งจะไม่ใช้ชื่อเอชบีมตามแบบไทย แต่จะใช้คำว่า W-shape หรือ ไวด์แฟรงค์ (Wide flange) แทน และใช้มาตรวัดระบบอังกฤษ (Imperial System) ซึ่งใช้หน่วยเป็นนิ้ว (inch, in., “)
ตารางเทียบเหล็กเอชบีม หรือ ไวด์แฟรงค์ ในรูปแบบของไทย (มอก.) | ||||||
ขนาดทั่วไปในท้องตลาด | น้ำหนัก | ความยาว | ความกว้าง | ความหนา | ขนาดพื้นที่ | |
เอว | ปีก | |||||
มิลลิเมตร | กิโลกรัม/เมตร | มิลลิเมตร | มิลลิเมตร | มิลลิเมตร | มิลลิเมตร | เซนติเมตร^2 |
H 100×100 | 17.2 | 100 | 100 | 6 | 8 | 21.9 |
H 125×125 | 23.8 | 125 | 125 | 6.5 | 9 | 30.31 |
H 150×100 | 21.1 | 148 | 100 | 6 | 9 | 26.84 |
H 150×150 | 31.5 | 150 | 150 | 7 | 10 | 40.14 |
H 200×100 | 18.2 | 198 | 99 | 4.5 | 7 | 23.18 |
21.3 | 200 | 100 | 5.5 | 8 | 27.16 | |
H 200×200 | 49.9 | 200 | 200 | 8 | 12 | 63.53 |
56.2 | 200 | 204 | 12 | 12 | 71.53 | |
65.7 | 208 | 202 | 10 | 16 | 83.69 |
ตารางเทียบเหล็กเอชบีม หรือ ไวด์แฟรงค์ ในรูปแบบของ ASTM | ||||||
ขนาดทั่วไปในท้องตลาด | น้ำหนัก | ความยาว | ความกว้าง | ความหนา | ขนาดพื้นที่ | |
เอว | ปีก | |||||
นิ้ว | ปอนด์/ฟุต | นิ้ว | นิ้ว | นิ้ว | นิ้ว | นิ้ว^2 |
W4 (4″x4″) | 13 | 4.16 | 4.06 | 0.28 | 0.345 | 3.83 |
(102×102) | ||||||
W5 (5″x5″) | 16 | 5.01 | 5 | 0.24 | 0.36 | 4.68 |
(127×127) | 19 | 5.15 | 5.03 | 0.27 | 0.43 | 5.54 |
W6 (6″x4″) | 9 | 5.9 | 3.937 | 0.169 | 0.216 | 2.68 |
(152×102) | 12 | 6.03 | 4 | 0.23 | 0.28 | 3.55 |
16 | 6.28 | 4.03 | 0.26 | 0.405 | 4.74 | |
W6 (6″x6″) | 15 | 5.99 | 5.99 | 0.23 | 0.26 | 4.43 |
(152×152) | 20 | 6.2 | 6.02 | 0.26 | 0.365 | 5.87 |
25 | 6.38 | 6.38 | 0.32 | 0.455 | 7.34 | |
W8 (8″x4″) | 13 | 7.99 | 4 | 0.23 | 0.255 | 3.84 |
(203×102 | 15 | 8.11 | 4.015 | 0.245 | 0.315 | 4.44 |
และเหล็กเหล็กทั้ง 2 หน้าตัดนี้มีความสามารถในการรับน้ำหนักได้เกือบจะเท่า ๆ กัน แต่ก็มีข้อแตกต่างกันอยู่ 2 ประการ คือ
1. จะนำไปใช้งานด้านใดบ้าง
เหล็กเอชบีม หรือ ไวด์แฟรงค์ มักจะเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ นำไปใช้ในงานโครงสร้างต่าง ๆ เช่น บ้านพักอาศัย โรงจอดรถ ตึกเชิงพาณิชย์ โรงเก็บของใช้ เป็นต้น โดยเหล็กสองชนิดนี้มักจะเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนหลักของ เสา คาน โครงหลังคา ฯลฯ ในขณะที่เหล็ก ไอบีม (I-beam) จะนิยมนำไปทำรางเครน (Crane Girder) ที่ไว้ใช้ขนย้ายของในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีผลให้เกิดการกระแทกอยู่เกือบจะตลอดเวลา ทำให้เหล็กไอบีม (I-Beam) เป็นที่ถูกเลือกใช้ในงานประเภทนี้เนื่องจากว่าเหล็กไอบีมนั้นมีคุณสมบัติในการรับแรงกระแทกได้ดีที่สุด
2. ด้านลักษณะรูปร่าง
จุดแตกต่างของเหล็กทั้ง 3 หน้าตัด คือ ปีก (หรือ Flange) ทั้งด้านบน และล่างของเหล็ก H-beam จะเป็นแผ่นเรียบหนาเท่ากันตลอดทั้งชิ้นเป็นรูปตัว H เท่ากันทั้งปีก และ ส่วนยาว ส่วนเหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide Flange) จะ มีความหนาเท่ากันตลอดเช่นกัน แต่ส่วนปีกจะมีความกว้างไม่เท่ากันโดยที่เหล็กบริเวณที่ติดกับตัวเอว (web) จะมีความหนามากกว่าบริเวณปลายแฟรงค์ และในส่วนของเหล็กไอบีม I-beam มีความต่างกับเหล็กชนิดอื่น คือ ทั้งแฟรงค์บนและ ล่างจะเป็นแผ่นเอียงโดยจะเรียกกันว่า Taper Flange ซึ่งในขนาดหน้าตัดเหล็กที่เท่ากันของเหล็กทั้ง 2 ขนิดนั้น I-beam จะมีน้ำหนัก/เมตรสูงกว่า H-beam หรือ Wide flange เนื่องจากเหล็ก I-beam จะมีความหนาของเหล็กมากกว่า เพื่อรองรับแรงกระแทก และ การเคลื่อนที่จากรางเครนในระบบโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการเคลื่นไหวตามราง และแรงกระแทกตลอดเวลา
คุณสมบัติของเหล็ก WF 250×125 มีอะไรบ้าง
- สามารถรับแรงในแนวต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพมาก แต่อาจจะรองรับแรงกระแทกได้ไม่เยอะเท่าเหล็ก ไอบีม
- เหล็กไวด์แฟรงค์เกิดจากกระบวนการหลอม และ รีดร้อนขึ้นเป็นท่อน ทำให้เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จะมีเนื้อเดียวกันโดยไม่มีรอยเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ ดังนั้น คุณสมบัติของหน้าตัด จึงเรียบ และมีความสม่ำเสมอมากกว่า เหล็กโครงสร้างชนิดอื่น
- เหล็กรูปพรรณไวด์แฟรงค์ มีน้ำหนักที่เบากกว่าโครงสร้างคอนกรีต อีกทั้งยังใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้ประหยัดทั้งเวลา และขั้นตอนการทำงาน
ประโยชน์ของการนำเหล็กไวด์แฟรงค์ที่ทำให้ทุกหน้าไซต์งานก่อสร้างจำเป็นต้องใช้
- นิยมในงานโครงสร้าง ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้แทนโครงสร้างคอนกรีต เพราะมีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน ลดขั้นตอนการทำงาน และ การดูแลรักษาที่ทำได้ง่ายกว่า และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สไตล์ที่โดดเด่นกว่า
- เหล็กไวด์แฟรงค์เป็นเหล็กที่มีความสามารถรับแรง ในแนวต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยน้ำหนักที่เบากว่าโครงสร้างคอนกรีต เหมาะสมโครงสร้างทั่วไป ทั้งในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และ อสังหาริมทรัพย์ เสา คาน ไวด์แฟรงก์ที่มีมาตรฐานต้องได้รับ มอก.
- Wide Flange มีสามารถออกแบบงานสถาปัตยกรรม (Architecture) ได้หลากหลายเช่น ดัดโค้ง ทำโครงสร้างให้โปร่ง หรือทำส่วนยื่นได้มาก
- เหล็กไวด์แฟรงค์ เหมาะแกการนำไปใช้งานสำหรับโครงสร้าง หรือ งานก่อสร้างโรงงาน สร้างโกดังที่มีขนาดใหญ่ และ งานที่เอาไว้เชื่อมต่าง ๆ
- สามารถใช้งานได้ แม้ในพื้นที่แคบ และ สามารถใช้งานได้ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดฝุ่น
- เหล็ก WF เป็นเหล็กที่มีน้ำหนักที่เบามาก และ ยังสามารถดูแลรักษาได้อย่างง่าย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่มีความแข็งแรงมีความทนทาน และ ยังเป็นเหล็กที่มีคุณภาพที่ดีมากอีกด้วย
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
สั่งซื้อกับร้านอาณาจักรนายช่าง ได้ที่