เหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide- Flange)
WF 200×100 หรือเหล็กไวด์แฟลงก์ (Wide Flange) ที่มีขนาดหน้าตัด (Cross section) กว้าง 200 มิลลิเมตร ยาว 100 มิลลิเมตร โดยส่วนใหญ่มีทรงหน้าตัดเป็นรูปตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรูปตัว H ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า H-Beam steel ใช้สำหรับงานโครงสร้างทั่วไป และงานเชื่อม มีรูปทรงคล้ายไอบีม แต่มีขนาดบางกว่า นิยมใช้สำหรับงานโครงสร้างทั่วไป และงานเชื่อม
เหล็กไวด์แฟรงค์ เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel) โดยมีกระบวนการผลิต โดยเริ่มจากนำเศษเหล็กต่าง ๆ มาใส่ในเตาหลอมที่อุณหภูมิมากกว่า 1,600 องศาเซลเซียส โดยประมาณ ซึ่งจะได้โลหะเหลวที่ความร้อนสูง จากนั้นก็นำโลหะเหลวที่ได้ไปใส่โลหะอื่น ๆ เพื่อปรุงแต่งให้มีส่วนประกอบเชิงเคมีที่ได้กำหนดไว้ตามมาตรฐาน จากนั้นก็นำมาหล่อให้พอแซ็ตตัว จากนั้นมาเหล็กที่เซ็ตตัวในระดับหนึ่ง (ยังพอนิ่ม ๆ) มารีดให้ได้ตามขนาดและรูปทรงที่ต้องการ และนำไปใช้งานต่อไป ซึ่งในการใช้งานจะเหมาะมากสำหรับงานโครงสร้างเหล็กโดยเฉพาะ ให้ความคงทนสูงเพราะมีความแข็งแรงมาก แต่ก็ยังแฝงไปด้วยความสวยงามอยู่ในรูปลักษณ์ของตัวเหล็ก
WF 200×100 หรือไวด์แฟลงก์ มีกี่ขนาด
ขนาดของความยาวมี 3 ขนาดที่เป็นมาตรฐาน คือ 6 เมตร 9 เมตร และ 12 เมตร เลือกซื้อเลย
แต่ขนาดหน้าตัดนั้นจะมีให้เลือกมากมาย โดยที่ลูกค้าต้องเป็นผู้ที่จะพิจารณาในการนำไปใช้งาน ขนาดเบื้องต้นของเหล็กไวด์แฟลงก์มีดังนี้
-
ขนาดหน้าตัด
(มม.2)
ความหนาของเอว (มม.)
ความหนาของปีก (มม.)
ความยาว (เมตร)
น้ำหนัก
(กิโลกรัม/ชิ้น)
100×100
6.0 8.0 6.0 103.20 125×125 6.5 9.0 6.0 142.80
150×150
7.0 10.0 6.0 189.00 175×175 7.5 11.0 6.0 241.00
200×200
8.0 12.0 6.0 299.40 250×250 9.0 14.0 6.0 434.40
300×300
10.0 15.0 6.0 564.00 350×350 12.0 19.0 6.0 822.00
เหล็กไวด์แฟลงก์ มีกี่เกรด และในประเทศไทยนิยมใช้เหล็ก WF 200×100 เกรดอะไร
เหล็กไวด์แฟลงก์แต่ละเกรดมีคุณลักษณะที่ต่างกันไม่มาก โดยที่ยยื่งมีขนาดใหญ่ ก็จะยิ่งมีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น แต่กระนั้นก็ต่างกันเพียงเล็กน้อย
จากตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติด้านบน เราจะเห็นว่า เหล็กเกรด SM570 มีคุณสมบัติที่ดีกว่า SS400 อยู่ไม่มาก อาจจะต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยที่เหล็กเกรด SM570 สมารถทนอากาศหนาวได้ถึง -5 องศาเซลเซียส ซึ่งในแต่ละหน้างานเราก็ต้องพิจารณาการใช้งานตามความเหมาะสมเช่นกัน
และจากตารางเปรียบเทียบส่วนประกอบโครงสร้างเชิงเคมีด้านบน จะเห็นว่าส่วนประกอบเชิงเคมีต่างกันเพียเล็กน้อย หรือแทบไม่มีความต่างเลย เนื่องด้วยว่าการผลิตนั้นจะต้องใส่ส่วนผสมประเภทโลหะให้ได้ตามที่มาตรฐานกำหนด ทำให้ส่วนประกอบเชิงเคมีจะคงที่โดยที่อาจจะมีการคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยบ้าง
ในประเทศไทย เกรดของเหล็กไวด์แฟลงก์อันเป็นที่นิยมนำไปใช้ คือเหล็กไวด์แฟลงก์ เกรด SS400 กับ SS540 เป็นส่วนใหญ่ เลือกดูเหล็กไวด์แฟลงก์
เหล็ก เอชบีม กับไวด์แฟลงก์เหมือนกันหรือไม่ และเหล็กไอบีมล่ะ ต่างกันอย่าไร
เหล็กเอชบีม กับเหล็กไวด์แฟลงก์ มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ ทั้งรูปทรงหน้าตัด (Cross-section) คุณสมบัติ และส่วนประกอบเชิงโครงสร้างเคมี แต่ต่างกันที่ชื่อเรียก โดยเหล็กเอชบีม จะถูกเรียกภายใต้มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ มอก. 1227-2539 หัวข้อเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ใช้มาตรวัดระบบเมตริก (Metric) ในหน่วยมิลลิเมตร (millimeter) ในขณะที่ ไวด์แฟลงก์ จะถูกเรียกภายใต้สมาคม American Society for Testing Materials หรือ ASTM และใช้มาตรวัดระบบอังกฤษ (Imperial) ในหน่วยนิ้ว (Inch)
มาถึงตรงนี้เราก็จะทราบแล้วว่า ทั้งเอชบีม และ ไวด์แฟลงก์คือตัวเดียวกัน แล้วมันต่างกับเหล็กไอบีมยังไงล่ะ
รูปร่างของหน้าตัด (Cross-section) ของเหล็กทั้งสอง จะต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ไวด์แฟลงก์มีความหนาเท่ากันที่ตลอดช่วงตัว ความหนาของปีก หรือแฟลงก์ (Flange) มีความหนาเท่ากันตลอดช่วง ในขณะที่ไอบีมความหนาของปีกจะไม่เท่ากัน โดยที่โคนปีกจะมีความหนามากกว่าปลายปีก ซึ่งทำให้ปีกของไอบีม มีลักษณะเอียง ที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Traper flange อีกทั้งไอบีมก็ยังมีความหนากว่าไวด์แฟลงก์ ซึ่งทำให้น้ำหนักมากกว่าที่ขนาดเดียวกัน
เหล็กทั้งสองสามารถนำไปใช้สร้างอาคาร โดยใช้เป็นเสา คาน โครงสร้างหลังคา และอีกมากมายในงานก่อสร้าง แต่สิ่งที่ต่างออกไปคือ ไอบีมจะมีคุณสมบัติที่สามารถรองรับแรงกระแทก รวมถึงรับน้ำหนักได้มากกว่า เนื่องด้วยความหนาที่มากกว่าเอชบีม เหตุนี้เองที่ไอบีมมากจะถูกนำไปสร้างอย่างอื่นเพิ่มเติม คือ รางเครน ที่รับน้ำหนักมาก ๆ
คุณสมบัติของเหล็กไวด์แฟรงค์
– สามารถรับแรงในแนวต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
– เหล็กชนิดนี้มีการผลิตด้วยวิธีการรีดร้อน (Hot rollrd) ทำให้เหล็กโครงสร้างชนิดนี้มีเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยเชื่อม ทำให้คุณสมบัติของหน้าตัดสม่ำเสมอกว่าเหล็กโครงสร้างชนิดอื่น
– เหล็กรูปพรรณไวด์แฟรงค์มีน้ำหนักที่เบากกว่าโครงสร้างคอนกรีต
เหล็กไวด์แฟลงก์มีประโยชน์ในงานก่อสร้างอย่างไร
– นิยมในงานโครงสร้าง ซึงนำมาใช้แทนโครงสร้างคอนกรีต เพราะการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน ลดขั้นตอนการทำงาน การดูแลรักษาที่ทำได้ง่ายกว่า และมีสไตล์ที่โดดเด่นกว่า
– รับแรงในแนวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าน้ำหนักเบากว่าโครงสร้างคอนกรีต จึงทำให้เหมาะสมกับงานโครงสร้างเหล็กทุกแบบ
– Wide Flange สามารถออกแบบงานสถาปัตยกรรมและงานก่อสร้างต่าง ๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการ ดัดโค้ง ทำโครงสร้างที่โปร่งและโล่งสบาย จนถึงกระทั่งทำชั้นลอยยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้างก
– เหมาะสำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่แจนถึงขนาดเล็ก เช่น สร้างโรงงาน โกดังเล็กใหญ่ จนถึงกระทั่งบ้านเรือน และงานเชื่อมโครงต่าง ๆ ก็ทำได้ดี เนื่องจากใช้เพียงเหล็กเชื่อมก็สามารถจบงานได้แล้ว