เหล็กข้ออ้อย
เหล็กเส้นกลมและ เหล็กข้ออ้อย
เหล็กส่วนใหญ่ ที่ใช้ในงานคอนกรีต จะมี 2 ประเภท คือ เหล็กข้ออ้อย (DB) เหล็กเส้นกลม (RB) หน้าตัดของเหล็ก เส้นกลมจะขนาดมีตั้งแต่ 6 – 18 มม. และ เหล็กข้ออ้อยหน้าตัด ของเหล็กข้ออ้อย จะมีตั้งแต่10 – 32 มม.ส่วนมากโดยทั่วไป เหล็กข้ออ้อยนั้น
จะนำมาใช้เป็น โครงสร้างหลัก และ เหล็กเส้นกลม นิยมมาทำเป็นปลอกรัดรอบโครงสร้างหลัก เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของโครงสร้าง โดยทั่วไปการใช้เหล็ก ข้ออ้อยกับ เส้นกลมนั้น จะใช้คู่กับคอนกรีต เพื่อนำไปเสริมเหล็ก มักนิยมเรียกว่า ค.ส.ล. การสังเกตการณ์ ใช้งานของเหล็ก
แนวเสาตั้งตลอดแนว จะใช้เหล็กยืนเป็นเหล็กข้ออ้อย และ รัดรอบ ๆ ด้วยเหล็กเส้นกลม เป็นระยะ ๆ แนวนอนกับแนวตั้ง ทำเหมือน ๆ กัน
เหล็กเสริมด้วย เหล็กข้ออ้อย (reinforcement)
เหล็กเสริมมีรูปร่าง ทั้งเป็นแบบเส้น เป็นท่อน ๆ หรือ เป็นตะแกรงฝังใน ส่วนมากเหล็กเสริมจะมีหน้าที่ เอาไปเสริมคอนกรีต ทำให้โครงสร้าง แข็งแรงมากขึ้น และ ต้านทานต่อแรงต่าง ๆ ที่เกิดกับคอนกรีต
โดยทั่วไป รู้กันอยู่แล้ว ว่าคุณสมบัติ ของคอนกรีต สามารถรับแรงอัดได้สูง แต่ข้อด้อยคือจะเปราะบาง และ ไม่สามารถรับแรงดึงได้ จึงมีการเอาเหล็ก เข้ามาเสริมในคอนกรีตเพื่อรับแรงอัด และ แรงดึง จะได้มีประสิทธิภาพ ในการยึดหดตัวเท่า ๆ กับคอนกรีต
ที่มาใช้รวมกัน ทั้งนี้วัสดุ ระหว่างเหล็ก และ คอนกรีตจะมีการเกื้อหนุน กันช่วยกันรับ และถ่ายแรงถึง ได้นำมาออกแบบ เพราะจะสามารถ ทำให้โคตรสร้างแข็งแรงขึ้นบทบาทของเหล็ก จะทำหน้าที่โดย การรับแรงดึง จะมีการพิจารณา ความสามารถ ในการรับแรง ส่วนการรับแรงอัดนั้น
เป็นหน้าที่ของคอนกรีต คอนกรีตที่ใช้ เหล็กเสริม ที่คนนิยมทั่วไป เรียกกันว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก การเสริมเหล็ก ที่คอม้า หรือ เหล็กปลอก เป็นจุดที่เกิดแรงเฉือน จะสามารถรับแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี และ เพิ่มความแข็งแรง ด้วยนั่นเอง ช่วยสามารถป้องกัน การพังของโครงสร้าง
และ อันตรายที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ การเสริมเหล็ก ยังช่วยลดขนาด ของเสาคานลงได้ โดยไม่ส่งผลกระทบ ต่อความแข็งแรง และ เหล็กจะถูกดัดงอ ตามวัตถุประสงค์ ของการใช้งาน
เหล็กเส้นกลม (RB)
เหล็กเส้นกลม เป็นเหล็กที่มีพื้นที่ในการตัดขวางเป็นวงกลม มีผิวเรียบเนียนไม่เหมือนกับเหล็กข้ออ้อย จะทำจากเหล็กเส้นใหญ่,เหล็กแท่ง หรือเหล็กแท่งหล่อ เป็นเหล็กเส้นกลมที่มีมาตรฐาน มอก. โดยทำการนำไปรีดร้อนโดยไม่ผ่านการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นมาก่อน มีความยาว มาตรฐาน 10 หรือ 12 เมตร และขนาด 9, 12, 15, 19, 22, 25, 28 และ 34 มม.
โดยชั้นคุณภาพจะใช้สัญลักษณ์ SR24 เหล็กทุกเส้นที่ผลิตจะต้องมีชื่อขนาดหล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็ก ทุกเส้นจะต้องมีชื่อและเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต ชื่อที่ติดอยู่กับเครื่องหมายการค้าต้องห่างกันขนาดไม่น้อยกว่า 50 มม. ตามมาตรฐานของเหล็กเส้นกลมทุกเว้นจะมีอักษรย่อติดอยู่ว่า บสส.ตราช้าง
เหล็กรูปพรรณรีดซ้ำ
เหล็กที่เป็นที่รู้จักอีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้กับงานก่อสร้างขนาดกลางและก็ขนาดเล็ก คือ เหล็กรีดซ้ำ ตามมาตรฐาน มอก.เหล็กเส้นกลมชนิดนี้ ผลิตจากเศษเหล็กที่ได้มาจากเข็มพืด เหล็กโครงสร้าง เหล็กแผ่นต่อเรือ หรือเหล็กที่ทำการคัดออกจากช่วงเวลาการผลิตต่าง ๆ
โดยการนำเอาเหล็กพวกนี้มารีดเป็นเส้นกลมโดยผ่านกรรมวิธีรีดร้อน ขนาดที่นิยมใช้ทั่วไปมีขนาด ขนาด 6, 8, 9, 10, 12 และ 15 ม.ม. ความยาว 10 หรือ 12 เมตร มีชั้นคุณภาพเดียว ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย SRR 24 จะใช้ชื่อย่อด้วย R
แล้วต่อด้วยขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้น เหล็กทุกเส้นที่ผลิตจะต้องมีชื่อขนาดหล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็ก ทุกเส้นจะต้องมีชื่อและเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต ชื่อที่ติดอยู่กับเครื่องหมายการค้า
เหล็กข้ออ้อย (DB)
ลักษณะของเหล็กข้ออ้อยจะสังเกตง่ายๆคือผิวไม่เรียบเนียน ตัวเหล็กเส้นหน้าตัดเป็นรูปวงกลม จะมีคล้ายๆกับครีบที่ผิว หรือ บั้ง เพื่อจะทำให้เวลาเทคอนกรีตเสริมเหล็กเข้าไปจะมีกำลังยึดเพิ่มขึ้น เหล็กข้ออ้อยตามมาตรฐาน มอก.
ทำจากเหล็กประเภทเดียวกัน กรรมวิธีการผลิตเหมือนกับเหล็กเส้นกลม ขนาดที่นิยมใช้ทั่วไปมีขนาด ขนาด 10, 12, 16, 20, 22,25,28 และ 32 ม.ม. ความยาว 10 หรือ 12 เมตร มี3ชั้นคุณภาพใช้อักษรย่อแทนด้วย SD30, SD 40 และ SD 50 ชื่อขนาดใช้ตัวย่อDB แล้วจามด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กนั้นๆเหล็กเส้น
เหล็กทุกเส้นที่ผลิตจะต้องมีชื่อขนาดหล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็ก ทุกเส้นจะต้องมีชื่อและเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต ชื่อที่ติดอยู่กับเครื่องหมายการค้า เหล็กเส้นชนิดนี้จะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีต ได้ดีกว่าเหล็กสองแบบแรก งานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งพิเศษจึงนิยมนำเหล็กข้ออ้อยไปใช้งาน
เหล็กเส้นมีหน้าที่
โดยทั่วไปแล้วหน้าที่ของเหล็กเส้นจะเป็นเหล็กที่ไว้ใช้สำหรับรองรับแรงกดของโครงสร้าง โดยเหล็กเส้นแต่ละตัวก็จะมีค่ารองรับแรงกดได้ไม่เท่ากัน เช่น
โดยทั่วไปแล้วหน้าที่ของเหล็กเส้นมีไว้สำหรับรองรับแรงกดหรือน้ำหนักของโครงสร้าง โดยเหล็กแต่ละตัวมีการรองรับแรงกดไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
-เหล็กเส้นกลม ค่ารองรับแรงกด จะใช้อักษร ย่อด้วย SR
-เหล็กข้ออ้อย ค่ารองรับแรงกด จะใช้อักษร ย่อด้วย SD
นอกจากหน้าที่ ของเหล็กเส้น จะมีการรองรับ แรงกดแล้ว ยังช่วยทำให้ อาคารมั่นคง และ แข็งแรงมากขึ้น และ ยังช่วยยึดเหนี่ยวปูน
การตรวจสอบเหล็กที่มีคุณภาพ
เหล็กทุกเส้นที่ผลิตจะต้องมีชื่อขนาดหล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็ก ทุกเส้นจะต้องมีชื่อและเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต ชื่อที่ติดอยู่กับเครื่องหมายการค้า เมื่อมีการผลิตเหล็กเส้นออกจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องติดป้ายเหล็กเพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ได้แก่
* ชั้นคุณภาพ
* บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า
* ขนาด
* ความยาว
* วันเวลาที่ผลิต
* เครื่องหมายมอก.
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
การนำวัสดุก่อสร้างไปใช้งาน คลิกที่นี่
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
สั่งซื้อสินค้ากับร้านอาณาจักรนายช่าง ได้ที่
หรือโทร 086-341-9908
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์