H-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก H Beam 6ม. 302x294x12x12

H-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก H Beam 6ม. 300x300x10x15

H-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก H Beam 6ม. 338x351x13x13

H-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก H Beam 6ม. 344x348x10x16

H-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก H Beam 6ม. 350x350x12x19

H-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก H Beam 6ม. 400x400x13x21

H-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก H Beam 6ม. 414x405x18x28

H-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก H Beam 6ม. 150x150x7x10

วิธีการเลือกใช้ เหล็กบีม

เหล็กบีม

เหล็กบีม  หรือเหล็กเอชบีม (H-Beam) อยู่ในหมวดของเหล็กบีม เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน เกิดจากการนำไปหลอมและหลังจากนั้นนำมาหล่อเป็นแท่งเหล็ก แล้วจึงรีดในตอนที่เหล็กยังร้อนๆให้มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัวเอช ของอักษรภาษาอังกฤษ การเรียกชื่อ โดยรูปของหน้าตัดจะมีปีก(Flange) และกว้างออกมาจากเอว (Web) ตรงกลาง ไม่มีการนำไปปาดและลบมุมที่ปลายปีก ดูได้จากความหนาของปีกจะเท่ากันตลอด

สารบัญ

ลักษณะของ เหล็กบีม โดยให้แยกความแตกต่างระหว่างลักษณะทางกายภาพ

  • เหล็กไวแฟรงค์ WF เป็นเหล็กโครงสร้างที่มีเนื้อเดียกวันทั้งแท่ง ไม่มีรอมเชื่อมในส่วนต่าง ๆ จะมีลักษณะเด่น คือ ขนาดความกว้างของแผ่นเหล็กที่อยู่ตรงกลางจะมีมากกว่าปีกทั้ง 2 ข้าง และ ความหนาจะเท่ากันตลอดทั้งแผ่น
  • เหล็กไอบีม หรือ เหล็กตัวไอ เป็นเหล็กโครงสร้างที่มีเนื้อเดียวกันทั้งแท่ง ไม่มีรอมเชื่อมในส่วนต่าง ๆ จะมีลักษณะเด่น คือ ปีกบนกับปีกล่างของเหล็กไอบีมจะเป็นแผ่นเอียง ความหนาจะมากกว่า และ รับแรงกระแทกได้ดี ความหนักของเหล็กต่อเมตรกสูงว่า เหล็กเอชบีม
  • เหล็ก HB ถ้าเราสังเกตดี ๆ จะมีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัว เอช ในภาษาอังกฤษนั้นเอง ลักษณะเด่น ๆ เลยจะเป็นความกว้างของปีกที่จะมีความเท่ากับแผ่นตรงกลางนั้นเอง
  •  เหล็ก H-Beam กับ WIDE FLANGE มันต่างกันตรงที่ WIDE FLANGE เป็นหน้าตัดเหล็กที่ได้ตามมาตรฐานของ ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนตัว H-Beam นั้นจะมีหน้าตัดเหล็กที่ได้มาตรฐานตาม มอก.

การใช้งานเหล็กบีม เหล็กไวแฟรงค์ และเหล็กไอบีม

  • การนำไปใช้งานของเหล็กไวแฟรงค์ เหมาะกับนำไปทำงานก่อสร้าง ประเภทของงานโครงสร้าง งานเสาคาน แล้วก็นิยมนำมาใช้แทนคอนกรีตในงานของโครงสร้างหลัก ๆ ทำให้ช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน และ ไม่มีความซับซ้อน มีดีไซต์ที่โดดเด่นกว่าคอนกรีตทำให้ดูแลรักษาได้ง่ายทำงานก็ง่ายอีกด้วย
  • การใช้งานของเหล็กไอบีม เหมาะกับงานก่อใช้ที่มีการรับน้ำหนักมาก และ รับแรงกดกระแทกสูง เช่น งานในโรงงานอุตสาหกรรมงานรางเลื่อนของเครน เพราะเหล็กชนิดนี้มีการรับน้ำหนักมากว่าเหล็กชนิดอื่น ๆ จะนิยมไปทำรางยกของที่มีน้ำหนักมาก ๆ
  • การใช้งานของเหล็กเอชบีม เหมาะกับงานก่อสร้างประเภท อสังหาริมทรัพย์ และ ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีดีไซด์ที่หันสมัย และ มีความสวยงามเฉพาะตัว มั่นคงแข็งแรง คุ้มแก่การลงทุนใช้ได้ในระยะยาว และ เป็นโครงสร้างหลักได้ดี
  • เหล็กไอบีม IB และ เอชบีม HB ส่วนมากจะนำไปใช้งานจำพวก เสา คาน แผ่นพื้น เป็นต้น ซึ่งจะมีคุณสมบัติของเหล็กทั้ง 2 แบบนี้ มีความสามารถในการต้านทานการดัดโค้ง หรือ การบิดงอได้ดี
  • เหล็กไวแฟรงค์ หรือ เอชบีม เหมาะแก่การนำไปใช้ในงานก่อสร้างอาคาร โดนเฉพาะส่วนของ เสา, คาน, โครงหลังคา เนื่องจาก ปีกทั้งบนและล่าง ของ เหล็กไวแฟรงค์ หรือ เอชบีม จะเป็นแผ่นเรียบหนาเท่ากันตลอด สามารถรับ แรง และ โมเมนต์ ได้ดีกว่าเหล็กไอบีม
  • เหล็ก IB จะมีความสามารถในเรื่องของการรองรับน้ำหนัก มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งานในการทำรางเครน ส่วนปีกบน กับ ปีกล่าง นั้นจะเป็นแผ่นในลักษณะที่เป็นทรงเอียง ๆ ถ้าให้เปรียบเทียบขนาดหน้าตัดของเหล็ก IB กับ HB จะมีความหนาที่เท่ากัน แต่ IB นั้นจะมีน้ำหนักต่อเมตรที่จะสูงกว่า HB แต่เนื่องจากความหนาของเหล็ก IB จะมากกว่า เพื่อที่จะได้รองรับแรงกระแทก หรือ การเคลื่อนที่ของรางเครนนั้นเอง

เคล็ดลับการใช้งานของการเชื่อมเหล็ก

  • การเลือกใช้เหล็กที่ตรงกับการก่อสร้างก่อนการทำงานควรศึกษา และ ควรดูว่าหน้างานที่เราจะก่อสร้างนั้นควรใช้เหล็กใดในการเชื่อม เช่น งานที่ต้องรับน้ำหนักสูง ควรใช้เหล็กไอบีม เบื้องต้นเป็นวัสดุที่ใช้งานเป็นหลัก
  • หลังจากได้ทำการเลือกเหล็กเสร็จแล้วมาขึ้นขั้นตอนต่อไป ให้เอาเหล็กที่ต้องการจะเชื่อมมาตรวจดูความสมประกอบ ทำความสะอาดห้ามให้มีสิ่งสกปรก ได้แก่ คราบน้ำมัน หรือ เศษเหล็ก เพราะอาจจะมีปัญหาต่อการเชื่อมได้ และ ยังเกิดปัญหาในขั้นตอนต่อไป
  • การเชื่อมเหล็กควรตัดหัวเหล็กทั้งสองเส้นเพื่อเตรียมความพร้อมอยู่กับรูปแบบที่ต้องการการตัดเหล็กที่มีความหนามากอย่างเช่น เหล็กเอชบีม หรือ ไวด์แฟลงค์ ต้องใช้ชุดแก๊สตัดเหล็ก
  • นำเหล็กสองเส้นที่ทำการตัดแล้วมาต่อกันเพื่อที่จะเริ่มการเชื่อม
  • เริ่มต้นด้วยการเชื่อมไว้ หรือ แต๊กไว้ 4 จุด จะขึ้นอยู่กับความยาวของรอยเชื่อมที่สำคัญไม่ควรเชื่อมทหมดในทีเดียว เพราะความร้อนจะส่งผลให้เหล็กงอ ผลสุดท้ายจะบิดเบี้ยว หลังจากนั้นเดินแนวเชื่อมให้เต็มรอยที่เราแต๊กไว้ มีเทคนิคคร่าว 2 วิธี

1.ให้ทำการเชื่อมได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องนำมาทำความสะอาดเหล็กถ้าแนวเชื่อมยังคงความร้อนอยู่

2.ถ้าปลายเชื่อมเย็นแล้ว ใช้ค้อนเคาะสแลกออกแล้วค่อยทำความสะอาด แล้วจึงใช้แปรงลวดขัดเหล็กขัดให้สะอาดอีกทีหนึ่ง ขั้นตอนต่อไปให้เริ่มเชื่อมห่างจากแอ่งหลอมเหลวเดิมไป

สรุป

โดยข้อมูลที่ให้ไว้เบื้องต้นแล้วทุกคนก็จะรู้ว่าเหล็กแบบไหนเหมาะกับการใช้งานในหน้างานแบบไหน หน้าที่ของ เหล็กเอชบีม ไอบีม ไวแฟรงค์ ควรเลือกให้เหมาะกับงานที่ต้องการจะใช้ให้ตรงสเปคกับแปลนบ้าน

หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ อาณาจักรนายช่าง

สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี 

ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่

https://www.facebook.com/Anajaknaichang

 

สอบถามสินค้า กับ ร้านอาณาจักรนายช่าง ได้ที่

LINE : NaichangNetwork กดคลิกตรงนี้ได้เลย

หรือ โทร 086 – 341 – 9908

กลับไปที่สารบัญ