เสาเข็มสำเร็จรูป

เสาเข็ม I 30 (ราคา/เมตร)

฿270.00

เสาเข็มสำเร็จรูป

เสาเข็ม I 26 (ราคา/เมตร)

฿220.00

เสาเข็มสำเร็จรูป

เสาเข็ม I 22 (ราคา/เมตร)

฿170.00

เสาเข็มสำเร็จรูป

เสาเข็ม I 18 (ราคา/เมตร)

฿120.00

เสาเข็มสำเร็จรูป

เสาเข็ม I 15 (ราคา/เมตร)

฿90.00

เสาบ้าน (ตีนบัว)

เสาบ้าน 6″x6″ (ราคา/ศอก)

฿140.00

เสาบ้าน (ตีนบัว)

เสาบ้าน 5″x5″ (ราคา/ศอก)

฿110.00

เสาบ้าน (ตีนบัว)

เสาบ้าน 4″x4″ (ราคา/ศอก)

฿75.00

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ เสาเข็มปูน

เสาเข็มปูน

เสาเข็มปูน ในปัจจุบันนั้นได้มีโครงสร้างที่มีความสำคัญของบ้านอย่างมาก ทำให้ต้องมีความแข็งแรง และ มีความทนทาน บ้านเหมือนกับต้นไม้ที่ต้องมีรากฐานที่มั่นคง เพราะการใช้เสาเข็ม ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดที่จะทำให้ความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน มันมีหน้าที่ที่เอาไว้รองรับน้ำหนักของตัวบ้าน จำเป็นที่จะต้องมีวิศกรมาคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานอย่างถูกต้อง ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง เสาเข็มจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เสาเข็มตอก กับ เสาเข็มเจาะ ควรที่จะเลือกใช้ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน

สารบัญ

เสาเข็มปูน

โดยทั่วไปเสาเข็มปูนที่เราเห็น และ นิยมใช้กันจะมีหน้าตัดเป็นเหลี่ยมๆ เป็นตัวไอ หรือ กลม และ จะเป็นแท่งยาวๆ เสาเข็มทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก การตอกต้องใช้ปั้นจั่นตอกลงดิน ส่วนใหญ่เสาเข็มที่ใช้กับโครงสร้างขนาดเล็ก หรือ ไม่ค่อยสำคัญ คือ เสาเข็มคอนกรีตหกเหลี่ยมกลวงเพราะมีขนาดที่พอเหมาะ จะนิยมนำไปทำ รั่วศาลพระภูมิ แต่ทุกคนเลยรู้มั้ยว่าในอดีตเสาเข็มที่ใช้ทำโครงสร้างบ้านจะมีแต่ไม้ แต่เนื้องจากปัจจุบันได้มีการพัฒนาเสาเข็มจนมีเสาเข็มคอนกรีตไม้เลยไม่เป็นที่นิยมเพราะมีราคาที่สูงกว่า และ ผุกร่อนง่ายควบคุมคุณภาพได้อยาก มีโอกาสพังทลายตามสภาพ ปัจจุบันเลยไม่มีการใช้ไม้ทำโครงสร้างบ้านหรืออาคาร

ในการก่อสร้าง หรือ โครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ มักจะใช้เสาเข็มเจาะเปียก ส่วนการปลูกบ้านหรือ อาคาร ที่ความสูงไม่มาก ส่วนใหญ่จะใช้การเจาะแห้ง ใช้พื้นที่น้อยกว่าเสาเข็มตอก มักจะใช้งานในพื้นที่ไม่กว้างข้อดีคือ จะเกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่าเสาเข็มตอก จึงไม่มีผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง แต่การเจาะแห้งนั้น ต้องมีการควบคุมคุณภาพ มากกว่า เสาเข็มตอก

ขั้นตอนของการเจาะแห้งนั้น มีขั้นตอนโดยเริ่มจากการ กดปลอกเหล็กกันดินพัง ให้เส้นผ่านศูนย์กลางของปลอกเหล็กเท่ากับเสาเข็ม ลงในชั้นดินอ่อนในตำแหน่งที่ต้องการเจาะ แล้วเจาะดินให้ลึกตามที่กำหนดไว้ ขั้นตอนต่อมาคือ การใส่เหล็กเสริมที่ได้มาตรฐาน มอก. แล้วจึงเทคอนกรีตตามเข้าไป ต้องตรวจสอบในขั้นตอนที่สำคัญๆในการคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้ง โดยอย่างแรกคือ ตรวจสอบปลอกเหล็กว่าได้เส้นผ่านศูนย์กลางถูกต้องรึป่าว และ ตำแหน่งของปลอกเหล็ก ขนาด ความลึก ว่าได้รูปแบบตามที่กำหนดไว้ในแบบ หรือไม่ และ เหล็กเสริมควรมีขนาดความยาว และ คุณภาพตามแบบที่กำหนดไว้ การดูกันหลุดของเสาเข็มว่าใช้ได้ หรือ ไม่ ควรตรวจสอบว่าไม่มีการพังทลายของดิน ดูได้โดยไม่มีน้ำเข้ามาในหลุมต้องใช้ไฟส่องดูให้แน่ชัด

ในกรณีที่ต้องการควบคุมงานของเสาเข็มเจาะแบบแห้ง ขั้นตอนที่มีความสำคัญในเบื้องต้น ควรที่จะดูว่าในรูเจาะดินนั้นไม่เกิดการพังทลาย หรือ จะมีการบีบตัวโดยให้ดูจากปริมาณของคอนกรีตที่ใช้ กับ ปริมาณของดินที่เจาะออกไปแล้ว การเทคอนกรีตลงไปในปลอกเหล็ก โดยปกติแล้วจะมีการยุบตัวของคอนกรีต หลังจากนั้นให้ดึงปลอกเหล็กกันพังดินออก การเทคอนกรีตควรที่จะเทเผื่อกันการเกิดการยุบตัวของดิน หลังจากนั้นค่อยดึงปลอกเหล็กขึ้นมาตรง ๆ ถ้าไม่ดึงในแนวดิ่งก็จะทำให้เสาเข็มเจาะเกิดเอียงตามไปด้วย แล้วจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้างได้นั้นเอง

ถ้ากรณีที่เราต้องการต่อเติมบ้าน ควรที่จะใช้เสาเข็มอย่างไร

ตอนที่เราจะทำการใช้เสาเข็มต่อเติมบ้านนั้น ควรที่จะใช้เสาเข็มไมโครไพล์ ซึ่งจะมีจุดเด่นที่อยู่ในเรื่องของการรับน้ำหนักได้ถึงประมาณ 30 – 35 ตันต่อต้น และ ยังสามารถตอกเสาเข็มให้ชิดกับตัวบ้านได้อีกด้วย พร้อมทั้งลักษณะของเสาเข็ม ที่เป็นแบบกลวงจึงช่วยลดแรงสั่นสะเทือนที่จะมีการกระทบต่ออาคารใกล้เคียงได้ แต่ก็มีข้อเสียเพียงอย่างเดียวของเสาเข็มไมโครไพล์ นั้นก็คือ จะมีราคาที่ค่อนข้างจะสูง ดังนั้นเราควรที่จะสางแผนให้ดี มิฉะนั้นมันจะเกิดค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าที่เราได้คาดไว้นั้นเอง

เสาเข็มปูนมีความสำคัญอย่างไร

ถ้าหากไม่มีเสาเข็มที่เป็นดั้งด่านสุดท้ายในการรองรับน้ำหนักของโครงสร้างบ้านทั้งหมด และ การถ่ายเทน้ำหนักลงสู่ผืนดิน ก็เปรียบเสมือนกับบ้านที่ตั้งอยู่บนดินเฉย ๆ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะมีการกดลงไปบนผิวดิน ทำให้พื้นทรุดตัวลงไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าบ้านมีเสาเข็ม ก็จะช่วยให้เกิดแรงต้านน้ำหนักของบ้าน ซึ่งจะชะลอการทรุดตัวลงได้

การใช้งานของเสาเข็มนั้นมีอะไรบ้าง แล้วมีกี่ประเภท

เสาเข็มที่นำไปใช้กับตัวบ้าน และ อาคารทั่ว ๆ ไป จะแบ่งออกมาได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ก็คือ

  1. เสาเข็มคอนกรีตแบบอัดแรง

เป็นเสาเข็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับอาคารพาณิชย์ และ บ้านพักอาศัยทั่ว ๆ ไป โดยจะเป็นคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดที่มีความแข็งตัวเร็ว และ โครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงที่มีกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทกลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่น ซึ่งจะเป็นกรมมวิธีที่ไม่มีความยุ่งยาก หรือ มีการซับซ้อน และ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

  1. เสาเข็มเจาะ

จะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งจะมีความแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในด้านของการใช้งาน จะมีกรรมวิธีในการทำค่อนข้างที่จะซับซ้อน และ จะต้องทำ ณ สถานที่ที่จะนำไปใช้งานงานจริง ๆ โดยจะใช้เครื่องมือขุดเจาะดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กาง และ ความลึกตามที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน จากนั้นจึงจะทำการใส่เหล็กเสริม และ เทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อให้ได้เป็นเสาเข็ม เสาเข็มเจาะจะมีความเหมาะสมสำหรับอาคารที่สูง เพราะต้องมีการรองรับน้ำหนักที่มาก ๆ และ อาคารที่จะสร้างอย่างใกล้ชิด จะช่วยในเรื่องของการป้องกันไม่ให้เกิดการสั่นสะเทือน ซึ่งจะเป็นอัตรายต่ออาคารข้างเคียง

  1. เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง

หรือ ที่จะเรียก ๆ กันว่าเสาเข็มสปัน จะเป็นเสาเข็มที่ใช้กรรมวิธีในการปั่นคอนกรีตแบบหล่อ ซึ่งจะหมุนด้วยความเร็วสูง จนทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นที่สูงกว่าคอนกรีตที่มีการหล่อด้วยวิธีแบบธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รองรับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มอัดแรงจะมีลักษณะที่เป็นเสากลม ตรงกลางจะกลวง ๆ มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อของคอนกรีตโดยรอบ

การตอกเสาเข็มชนิดนี้จะสามารถทำได้อย่างหลากหลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา หรือ วิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด มีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นรากฐานของอาคารสูง ที่ต้องการความมั่นคง มีความแข็งแรงสูง เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องแรงลม และ การเกิดแผ่นดินไหว

ชนิดของเสาเข็มคอนกรีต

เสาเข็ม มีให้เลือกใช้งานหลายอย่างแต่จะใช้ยังไงมาดูกันเลย

  1. เสาเข็มเล็กจะมีขนาดความยาวตั้งแต่ 1เมตร- 6เมตร สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างอาคารขนาดเล็กที่จะรับน้ำหนักบรรทุกไม่มากนักและงานต่อเติม ส่วนประกอบต่าง ๆของอาคารหรือพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้าน เช่น
  2. เสาเข็มกลวงเป็นเสาเข็มในกลุ่มคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งมีขนาดความยาวตั้งแต่ 1เมตร – 6เมตร มีขนาดหน้าตัด 12 เซนติเมตร
  3. เสาเข็มที เป็นเสาเข็มในกลุ่มของคอนกรีตอัดแรง ซึ่งมีขนาดความยาวตั้งแต่ 1 เมตร- 6เมตร และมีขนาดหน้าตัด12 เซนติเมตร
  4. เสาเข็มไอ ถือว่าเป็นเสาเข็มในกลุ่มของคอนกรีตที่มีการอัดแรง ซึ่งจะมีขนาดของความยาวตั้งแต่ประมาณ 1 ม. – 6 ม. และ จะมีหน้าตัดอยู่ประมาณ 12 กับ 15 ซม.
  5. เสาเข็มแบบเหลี่ยม เป็นเสาเข็มในกลุ่มเสาเข็มอัดแรง มีขนาดหน้าตัด 16 เซนติเมตร- 40 เซนติเมตร มีความยาว 7 เมตรถึง 21 เมตร
  6. เสาเข็มแบบSpun เป็นเสาเข็มในกลุ่มเสาเข็มอัดแรง มีขนาด 40เซนติเมตร และ 52.5 เซนติเมตร มีความยาวตั้งแต่ 21เมตร- 26เมตร

วัสดุโครงสร้าง หาซื้อ หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป

สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี 

ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่

https://www.facebook.com/Anajaknaichang

 

สั่งซื้อ และ สอบถามสินค้าร้านอาณาจักรนายช่าง ได้ที่

LINE : NaichangNetwork กดคลิกได้เลย

หรือ โทร 086-341-9908

*** กลับหน้าสารบัญ ***