แผ่นพื้นสำเร็จรูป มีกี่แบบ
แผ่นพื้นสำเร็จรูปมี กี่แบบ แล้วมีอะไรบ้าง
แผ่นพื้นสำเร็จรูป มีกี่แบบ มีทั้งหมด 3 แบบ แต่แผ่นพื้นสำเร็จนั้นก็คือ แผ่นพื้นคอนกรีตที่ผลิตออกมาพร้อมใช้งานส่งตรงจากโรงงาน โดยถูกหล่อขึ้นเป็นแผ่นและเสริมด้วยลวดอัดแรงกำลังสูง ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทาน เพราะเนื่องจากได้ผลิตมาพร้อมใช้งาน พื้นสำเร็จรูปนั้นจึงเป็นระบบพื้นที่เหมาะสำหรับสร้างบ้าน หรืออาคารที่อยู่อาศัย เพราะจะช่วยในเรื่องของการประหยัดเวลาและค่าแรงในการก่อสร้าง เพียงนำมาติดตั้งบนคานแล้วทำการเทคอนกรีตทับหน้า ไม่จำเป็นต้องวางไม้แบบเพื่อหล่อที่หน้างาน และไม่ต้องรอคอนกรีตได้เซ็ตตัว
- แผ่นพื้นคอนกรีตแบบตัน หรือแบบอัดแรงท้องเรียบ คือ แผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบที่เหมือนไม้กระดาน ผลิตขึ้นโดยการหล่อให้พื้นท้องเรียบเสมอกัน ใช้งานสะดวกและขนย้ายได้ง่าย จึงได้รับความนิยมใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยทั่วๆไป แต่เนื่องจากมีลักษณะที่เป็นแผ่นเรียบ ทำให้ต้องใช้ไม้ค้ำช่วยในการพยุง เพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นพื้นเกิดความเสียหายในระหว่างขนส่ง
ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- แผ่นพื้นคอนกรีตชนิดแบบไม้กระดาน เนื่องจากจะมีลักษณะรูปร่างคล้ายกับไม้กระดาน เหมาะสำหรับงานก่อสร้างอาคาร บ้านพักทั่วไป ที่มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนขนาดกลาง ซึ่งจะเป็นประเภทที่นิยมใช้กันอย่างมาก เนื่องจากผลิตได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์เครื่องจักรในการขนย้ายได้อย่างสะดวก เพราะมีพื้นที่เรียบสม่ำเสมอกัน แต่ระหว่างการก่อสร้างต้องใช้ไม้หรือเสาค้ำยันช่วยพยุงด้วยทุกๆ 5 เมตร เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างเคลื่อนย้ายได้อีกด้วย
- แผ่นพื้นคอนกรีตชนิดตัวทีคู่ จะมีลักษณะเหมือนตัวทีคู่ที่นำมาวางเรียงต่อกันโดยจะมีปีกสองข้างที่ยื่นออกมา พร้อมกับมีคานสองตัวเพื่อเป็นที่รองรับน้ำหนัก ซึ่งจะเหมาะสำหรับการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีช่วงก่อสร้างที่มีความยาว และไม่ต้องใช้เสาไม้ค้ำยัน ได้เช่น เขื่อน หรือสะพาน แต่ต้องเสริมคอนกรีตเพิ่มในด้านหัวและท้ายของแต่ละแผ่นเพื่อทำให้เครื่องจักรสามารถทำการขนย้ายได้
- แผ่นพื้นคอนกรีตชนิดตัวยู จะมีลีกษณะรูปร่างคล้ายตัวยู เป็นแผ่นพื้นคอนกรีตที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างช่วงยาวเดียวกับแผ่นพื้น ชนิดตัวทีคู่ ทำให้ต้องมีการเสริมคอนกรีตในช่วงหัวและท้ายแผ่น เพื่อให้เครื่องจักรขนาดใหญ่สามารถขนย้ายได้อย่างสะดวก
- แผ่นพื้นคอนกรีตแบบสามขา คือ แผ่นพื้นสำเร็จที่มีด้านใดด้านหนึ่งที่มีความเรียบเหมือนกับแบบตัน และมีอีกด้านหนึ่งที่มีสามขาเสริมทั้งหมด 3 จุด ทำให้ช่วยลดน้ำหนักของแผ่นพื้น ช่วยให้ผลิตได้ใหญ่ขึ้น มีความหนาถึง 7 เซนติเมตร ซึ่งมีความหนากว่าแบบตัน และด้วยสามขาที่เป็นส่วนเว้าช่วยให้วางแผ่นพื้นแล้วไม่เกิดการแอ่นตัว ไม่ต้องไปพึ่งพาไม้ค้ำยันในการติดตั้ง ช่วยลดระยะเวลาก่อสร้างลงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- แผ่นพื้นคอนกรีตแบบกลวง หรือ แผ่นพื้น Hollow Core คือ แผ่นพื้นที่ได้ผลิตมาจากคอนกรีตแห้ง จะมีรูปกลวงๆตรงกลางแผ่น ทำให้มีน้ำหนักเบายิ่งขึ้น จึงทำให้เวลาในการขนย้าย หรือนำไปติดตั้งนั้นได้อย่างสะดวก โดยแผ่นพื้นสำเร็จรูปชนิดนี้มักจะมีขนาดที่ใหญ่ กว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบตัน โดยจะมีความหนาและความกว้างให้เลือกตามรูปแบบของการใช้งาน และอาจจะยาวได้สูงสุดประมาณ 12 เมตร ส่งผลให้แผ่นพื้นแบบกลวงนิยมอย่างมากกับงานก่อสร้างที่มีความขนาดใหญ่
นอกจากเราควรที่จะทำความรู้จักกับแผ่นพื้นแล้วว่ามันมีกี่แบบและอะไรบ้าง ขั้นตอนของการติดตั้งแผ่นพื้นคอนกรีตก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเลย เพราะถ้าหากไม่ติดตั้งให้ถูกต้องตามขั้นตอน อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้แก่ ทำให้พื้นแตกร้าวเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่าย และเวลาในการซ่อมแซม
ขั้นตอนของการติดตั้ง แผ่นพื้นสำเร็จรูป มีกี่แบบ แล้วทำยังไงบ้าง
- ต้องเตียมพื้นที่ ต้องเตรียมคานที่เรียบเสมอกันสำหรับเอาไว้ติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูป โดยต้องใช้คานที่มีความยาวเท่ากับแผ่นพื้นคอนกรีต และมีความกว้างอย่างน้อย 15 เซนติเมตร และต้องมีส่วนซ้อนกันระหว่างคานกับแผ่นพื้นอย่างน้อย 5 – 7.5 เซนติเมตร
- เตรียมไม้ค้ำยัน เตรียมไม้สำหรับค้ำยันชั่วคราวบริเวณด้านล่างแผ่นพื้นสำเร็จรูปเพื่อช่วยรองรับน้ำหนักของคอนกรีตที่เททับแผ่นพื้น และช่วยป้องกันการแตกร้าวเสียหายได้อีกด้วย
- วางแผ่นคอนกรีตตามคาน วางแผ่นพื้นลงบนคานที่เตรียมไว้ โดยให้ใช้เครนคล้องสลิงกับแผ่นพื้นคอนกรีต และให้จัดระยะนั่งคานให้อยู่ระหว่าง 5 – 7 เซนติเมตร จัดเรียงแผ่นพื้นสำเร็จรูปให้แนบสนิท ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างแผ่น
- ติดตั้งเหล็กเสริม หลังวางแผ่นพื้นเป็นเรียบร้อยแล้ว ให้ติดตั้งเหล็กเสริมไว้เพื่อความแข็งแกร่งที่ด้านบนแผ่นพื้น ก่อนที่จะเริ่มเทคอนกรีตทับหน้า เพื่อเสริมความแข็งแรง และป้องกันการแตกร้าวในภายหลัง
- เทคอนกรีต การเทคอนกรีตกำลังอัดต้องไม่ต่ำกว่า 320 KSC ทับลงบนแผ่นพื้นสำเร็จ โดยให้เกลี่ยคอนกรีตให้หนาเท่าๆกัน แล้วใช้เครื่องจี้คอนกรีตให้มีความสม่ำเสมอ จากนั้นถึงบ่มคอนกรีตด้วยการฉีดพ่นหรือทาน้ำยาบ่มคอนกรีตลงบนพื้นผิวทันทีที่เริ่มแข็งตัว
ทำไมเราต้องเลือก แผ่นพื้นสำเร็จรูป
ในปัจจุบันเรานั้นต้องทำงานแข่งกับเวลา ยิ่งงานเสร็จเร็ว งบประมาณด้านเวลา และแรงงานก็ลดลงตามไปด้วย ยิ่งในงานก่อสร้าง ยิ่งมีผลมาก สิ่งใดที่สามารถช่วยทำให้งานเสร็จเร็ว และมีคุณภาพ ย่อมถูกเลือกก่อนเสมอ อย่างเช่นแผ่นพื้นสำเร็จรูป ที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ทั้งในงานโครงการต่างๆ หรือบ้านส่วนตัว นั้นก็เพราะแผ่นพื้นสำเร็จนั้นมีข้อดีมากมาย ได้แก่
- งานก่อสร้างมีคุณภาพ เป็นที่หน้าพึ่งพอใจของลูกค้า
- มีราคาที่ไม่แพง ช่วยลดค่าใช้จ่านในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี
- ช่วยประหยัดระยะเวลาในการก่อสร้าง เนื่องจากทำสำเร็จมาจากโรงงานอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้ว
- มีความแข็งแรงและปลอดภัยกับตัวอาคารก่อสร้าง
- มีความหนาของแผ่นพื้นรวมกับคอนกรีตที่นำไปเททับแล้วหนาน้อยกว่าระบบพื้นอื่นๆ ทำให้ช่วยลดความสูงของอาคาคได้ด้วย
- สามารถนำไปติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว และมีความสะดวกสบาย
- ช่วยลดแรงงานในการก่อสร้างลงได้ เพราะว่าไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างแรงงานมาผสมคอนกรีตเพื่อเทพื้นนั้นเอง