อิฐมวลเบา ดีไหม มีคุณสมบัติอย่างไร
อิฐมวลเบา นั้นได้ถูกกรรมมาวิธีในการใช้หม้ออบแรงดันสูง เกิดการทำปฏิกิริยากับ ไฮโดรเทอร์มอล ซึ่งมีอุณหภูมิความดันสูง เลยทำให้เกิดการตกผลึกเป็น โทเบอร์โมไรท์ ซึ่งจะมีลักษณะของสีที่ออกขาว ๆ มีคุณสมบัติในเรื่องของความเสถียร สามารถยืดหดตัวได้ต่ำ ทำให้มวลเบาได้ถูกจัดว่าเป็นวัสดุก่อสร้างที่สามารถรองรับน้ำหนักเยอะ ๆ ได้เป็นอย่างดี และ ยังมีความทนทานต่อสภาวะอากาศที่แปรปรวน
สารบัญ
อิฐมวลเบา มีคุณสมบัติทางกายภาพดังนี้
จุดเด่นของมวลเบา
- สามารถช่วยกันความร้อน แล้วยังช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงาน ลักษณะของเนื้อมวลเบาจะมีรูพรุนเล็ก ๆ ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน ทำให้ลดค่าใช้จ่าย และ ทำให้อาคารมีความเย็นด้วยนั้นเอง
- มีความสามารถในการดูดซึมเสียงได้ดี ทำให้ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก
- มีความสามารถในการป้องกันไฟ เพราะมวลเบาไม่ติดไฟ และ ยังสามารถทนไฟได้ถึง 4 ชั่วโมง
- มีน้ำหนักเบา ซึ่งมีความเบากว่าอิฐก่อสร้างในหน้างานทั่ว ๆ ไปประมาณ 3 – 4 เท่า ทำให้ง่ายต่อการลำเลียงขนส่ง และ ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ถูกลง
- มีมิติในด้านของขนาดรูปร่างที่แน่นอนมวลเบานั้นได้ถูกผลิตมาจากเครื่องจักรที่ทันสมัย สามารถตัดขนาดได้ตามที่เราต้องการ ทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้งาน ก่อผนังได้สวยตรง ใช้ปูนในการก่อที่น้อย และ ยังเก็บงานได้ง่ายอีกด้วย
- เป็นการป้องกันด้านปลวก หรือ แมลง เนื่องจากมีคุณสมบัติของเนื้อมวลเบา ทางด้านเคมีที่ตกผลึก โทเบอร์โมไรท์ ที่ไม่สามารถถูกทำลายได้ด้วยปลวกกับแมลง
จุดด้อย
- เนื่องจากตัวเนื้อของมวลเบานั้นมีลักษณะที่เป็นรูพรุนเล็ก ๆ จึงทำให้ดูดซึมน้ำได้สูงกว่าอิฐก่อสร้างแบบประเภทอื่น ๆ งานก่อ และ ฉาบจึงต้องใช้ ปูนMortar แบบพิเศษ เหมาะสำหรับใช้กับมวลเบาโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถหาได้ตามในท้องตลาดทั่ว ๆ ไปในตอนนี้
ข้อดี การนำ อิฐมวลเบา ไปใช้ และ วิธีป้องกันปัญหาที่จะเกิด
- ผนัง มวลเบา ฉาบปูนแล้วร้าว
ปัญหาข้อนี้ อาจเกิดได้จาก
1.1. ไม่ทำความสะอาดผิวและพรมน้ำให้ชุ่ม ทำให้ผนัง มวลเบา ที่ก่อไปแล้ว ยังมีฝุ่นเล็ก ๆจับตัวกันอยู่ และ อิฐมวลเบามีการดูดซึมน้ำที่เร็ว หากไม่พรมน้ำให้ชุ่ม ทำให้ปูนที่ฉาบไปสูญเสียน้ำเร็ว ผนังจึงร้าว
การแก้ปัญหา : พรมน้ำมวลเบาให้ชุ่มก่อนก่อ 1 คืน / ทำความสะอาดสิ่งสกปรก ฝุ่น ออกจากผนังอิฐมวลเบาที่ก่อไปรอฉาบปูน
1.2 ก่อมวลเบาโดยไม่ใช่เกรียงก่อของมวลเบา ปัญหานี้พบได้โดยทั่วไป ช่างที่ไม่มีเครื่องมือ อุปกรณ์ จะนำเกรียงใบโพธิ์มา ป้ายปูนก่อ แทน ซึ่งทำให้การก่อมวลเบาเกิดช่องว่าง หรือ ป้ายปูนก่อไม่เต็มหน้าสัมผัสมของอิฐแต่ละกัน ส่งผลให้มวลเบาแต่ละก้อนยึดเกาะกันไม่ดี ทำให้ผนังฉาบปูนร้าวได้
การแก้ปัญหา : ให้ใช้เกรียงก่อของมวลเบาแบบโดยเฉพาะ ใส่ METAL STRAP เพื่อช่วยทำให้อิฐมวลเบานั้นสามารถยึดเกาะกันได้มากยิ่งขึ้น
1.3 ฉาบหนาเกินไป สำหรับช่างที่ไม่มีความชำนาญ จะทำการฉาบเหมือนผนังอิฐแดง ซึ่งส่งผลให้ผนังร้าว
การแก้ปัญหา : การฉาบผนังมวลเบาที่ดี ควรฉาบความหนารวมไม่เกิน 1.5ซม. และ แบ่งการฉาบออกเป็น 2 รอบ ครั้งแรก รอให้แห้ง และ ฉาบครั้งที่ 2 จะทำให้ได้ผนังฉาบปูนที่มีความแข็งแรง ทนต่อการแตกร้าว
มาทำความรู้จักกับขั้นตอนการผลิต มวลเบา
ขั้นตอนที่ 1 ต้องเตรียมส่วนผสมซึ่งจะได้แก่ น้ำ กับ ทราย
การนำทรายที่คัดคุณภาพมาผสมกับยิปซัมในอัตราส่วนที่พอเหมาะ แล้วต่อจากนั้นนำไปบด โดยการใช้น้ำเป็นส่วนประกอบในการบด ด้วยหม้อบดทรายชนิดเปียก
ขั้นตอนที่ 2 การทำให้ความเข้มข้าคงที่ โดยการเตรียมส่วยผสมทรายกับน้ำ
ให้ควบคุมอุณหภูมิต้องมีความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนนี้จะทำให้ความเข้มข้นของส่วนประกอบที่คงที่อยู่ตลอด โดยส่วนผสมที่ใช้ทรายละเอียดกับน้ำ ที่ถูกบดแล้วหลังจากนั้นก็นำไปเก็บไว้ที่ถังทราย
ขั้นตอนที่ 3 การผสมวัตถุดิบ
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และ ปูนขาวนำมาชั่งด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก และ นำไปใส่ถังผสม ซึ่งจะเป็นการผสมน้ำกับทราย และ รีเทิร์นในถังผสม (รีเทิร์นได้มากจากส่วนผสมที่ได้จากการตัดในขั้นตอนที่ 5 มีคุณสมบัติให้ความแข็งแรงของปูนซีเมนต์ และ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เนื้อทรายก็เช่นกัน การควบคุมรีเทิร์นจะต้องมีการควบคุมให้เข้มข้นคงที่อยู่ตลาดเวลา และ จะมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนที่จะทำกลับมาผสมใช้ใหม่ และ ส่วนผสมน้ำกับอลูมิเนียมจะถูกควบคุมอุณหภูมิห้ามเกินขีดจำกัดในถังผสม ทำให้มีผลเสียต่อผลิตภัณฑ์ได้ในภายหลัง
ขั้นตอนที่ 4 ให้เรานำส่วนผสมทั้งหมดเอามารวมในโมลด์
วัตถุดิบส่วนผสมทั้ง 5 อย่าง จะถูกเทลงในโมลด์ และ นำไปลำเลียงเก็บไว้ในห้องที่อุณหภูมิ 40 องศา ปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์จะเริ่มแข็งตัว เกิดขึ้นในโมลด์ในขณะที่มีการฟูตัวขึ้นเหมือนการทำเค้ก ได้ผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่เรียกว่ากรีนเค้ก เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างอมิเนียม และ ด่างให้ไฮโดรเจนออกมา ในเวลา 2 – 3ชั่วโมง เมื่อได้ความพอเหมาะจะถูกนำไปตัดต่อไป
ขั้นตอนที่ 5 การตัด
การถอดโมลด์ออกแล้วจะได้กรีนเค้กแล้วถูกนำไปตัดด้านทั้ง 4 ด้าน และ ตัดขนาดตามที่ลูกค้าต้องการจะได้เป็นอิฐเขียว
ขั้นตอนที่ 6 ทำให้อิฐเขียวนั้นเกิดการแข็งตัว
การทำให้อิฐเขียวแข็งตัวคือการนำเอาอิฐที่ตัดแล้วเข้าไปในหม้ออบไอน้ำที่อุณหภูมิ 200 องศา ความดัน 15 บาร์ อบในหม้อ 12 ชั่วโมง จะได้มวลเบาสีขาวที่แปรรูปจากอิฐเขียว จากปฏิกิริยาที่เกิดกับทราย และ ด่าง เรียกว่าแคลเซียมซิลิเกรต เป็นผลึกสีขาว
ขั้นตอนที่ 7 การแพ็คและแยก
อิฐมวลเบาที่ผ่านการอบจะถูกนำเลียงออกมาทีละก้อน และ นำไปจัดไว้บนพาเลท พร้อมรัดสาย ก่อนนำออกจากโรงงาน หลังจากนั้นก็นำเอาไปให้ฝ่ายคลังสินค้าเพื่อกระจายออกสู่ตลาด
ข้อดีของอิฐมวลเบา
- มวลเบานั้นมีการยืดหดตัวน้อย เนื่องจากผ่านการอบไอน้ำมา
- มีน้ำหนักเบาสะดวกต่อการขนย้าย
- ขนาดได้มาตรฐาน
- เป็นที่รู้จักทั่วโลก
- มวลเบา มีมิติ รูปร่างแน่นอน ทำให้ก่อสร้างได้รวดเร็ว
- การปรับแก้งานทำได้สะดวก
- สามารถกันความร้อน กันเสียง และ กันไฟได้นานถึง 4 ชั่วโมง
- มวลเบานั้นจะเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีความคงทนต่อทุกสภาวะอากาศ
- สามารถกันปลวก แล้วยังมีการซ่อมแซมที่ง่าย
- ผลิต และควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 1505-2541
ข้อกำหนดการใช้งานผลิตภัณฑ์
บล็อกของมวลเบาควรใช้งานร่วมกับ ปูนก่อ-ปูนฉาบ สำหรับบล็อกมวลเบาแบบโดยเฉพาะ
ปูนก่อสามารถใช้ได้กับปูนก่อยี่ห้อที่ชื่อว่า TPM M310 ปูนอินทรีมอร์ตาร์แม็กซ์ ปูนเสือคู่เขียว ปูนจิงโจ้ม่วง เป็นต้น สามารถนำไปผสมน้ำในอัตราส่วนที่ได้ถูกกำหนด และ นำมาใช้งานได้ทันทีโดยผสมในลักษณะที่มีความข้นเหลวปานกลาง แล้วถึงจะใช้เกรียงก่อสำหรับบล็อคมวลเบาใส่ปูนก่อบางๆ เพียงแค่ 2 – 3 มิลลิเมตร ปูนก่อบล็อกมวลเบาขนาด 1 ถุง มีน้ำหนักประมาณ 40 – 50 กก. สามารถก่อได้ถึง 18 – 20 ตรม.
ปูนฉาบ ใช้ได้กับปูนฉาบ ยี่ห้อ TPI M210 , อินทรีมอร์ตาร์แมกซ์,เสือคู่ฟ้า ลูกดิ่่งแดง,สิงห์ เป็นต้น สามารถผสมน้ำในอัตราส่วนที่กำหนด และ นำมาใช้งานได้ทันที สามารถฉาบได้ที่ความหนา 1 – 1.5 เซนติเมตร กรณีหนากว่า 1.5 เซนติเมตร ให้ทำการฉาบ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร ปูนฉาบบล็อคมวลเบา 1 ถุง (40-50 กก.) สามารถฉาบได้ 2 – 2.5 ตารางเมตร (ที่ความหนา 1 เซนติเมตร)
ข้อดีของปูนก่อ-ฉาบ ประหยัดเนื้อที่ในการกองเก็บวัสดุ ผสม และ ใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็วและ ประหยัดเนื้อที่ในการทำงานปริมาณการใช้งานน้อยกว่าปูนที่ใช้ก่อ-ฉาบ อิฐมอญ
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ อาณาจักรนายช่าง
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
https://www.facebook.com/Anajaknaichang