ปั๊มน้ำ คืออะไร

ปั๊มน้ำ คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการส่งหรือลำเลียงน้ำ เป็นการกระสานกันระหว่างเครื่องกล (Mechanical) กับระบบไฟฟ้า (Electricity) รวมกันเป็นเครื่องยนต์ โดยมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ หัวปั๊ม และมอเตอร์ โดยทั้งสองส่วนนี้จะทำงานร่วมกันคือ มอเตอร์จะหมุนเพื่อให้ปั๊มเคลื่อนที่ โดยจะดันน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งด้วยแรงดันน้ำ ทั้งนี้การออกแบบก็แตกต่างกันตามแต่การใช้งาน ซึ่งช่วยให้น้ำแรงขึ้น มาพร้อมกับปริมาณน้ำที่มากขึ้น

ปั๊มน้ำ ทำงานยังไง

 

ปั๊มน้ำ 2 กลุ่มที่แบ่งประเภทตามการใช้งานคร่าว ๆ

  1. ปั๊มน้ำที่ใช้งานกันในกลุ่มอุตสาหกรรม
  2. ใช้ในกลุ่มที่พักอาศัย ซึ่งหากแบ่งย่อยลงไปก็จะหลากหลายมาก ไม่ว่าบ้านเดี่ยว อาคารเชิงพาณิชย์ ไปจนถึงอาคาร 5 -7 ชั้นขึ้นไป

ปั๊มน้ำที่ใช้งานกันในกลุ่มอุตสาหกรรม

  • ปั๊มน้ำของระบบทำความเย็น ส่งน้ำเข้าตัวทำความเย็น หรือ Water cooling
  • ปั๊มน้ำสำหรับงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานเคมี สูบน้ำที่มีสารเคมีรวมอยู่ด้วย
  • ปั๊มน้ำสำหรับเครื่องกรองน้ำ สำหรับระบบ reverse osmosis (RO)
  • ปั๊มน้ำสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ปั๊มใช้เกรดสูง อาจจะใช้สแตนเลส หรือทองเหลือง
  • ปั๊มน้ำโรงผลิตน้ำแข็ง
  • ปั๊มอุตสาหกรรมน้ำตาล เป็นปั๊มเฉพาะทางที่สูบของเหลวที่มีความหนา เช่น น้ำเชื่อม
  • ปั๊มน้ำในงานชลประทาน ที่ต้องส่งน้ำเยอะ

ปั๊มน้ำในกลุ่มที่พักอาศัย

  • ปั๊มที่สูบน้ำไปเก็บบนอาคาร หรือ Transfering pump
  • ปั๊มน้ำเสริมแรงดัน หรือ Boosting pump
  • ปั๊มดับเพลิง หรือ Fire pump
  • ปั๊มจุ่ม
ลดราคา!

ปั๊มน้ำ

WP-105R

฿4,263.00
ลดราคา!

ปั๊มน้ำ

WP-155R

฿4,851.00
ลดราคา!

ปั๊มน้ำ

WT-PS 250XS

฿7,968.00
ลดราคา!

ปั๊มน้ำ

WT-PS 300XS

฿8,496.00

การแบ่งปั๊มน้ำตามลักษณะตามการใช้งาน

การแบ่งปั๊มน้ำตามการใ้งานจะแบ่งได้ 8 แบบ คือ

  1. ปั๊มน้ำเสีย (Sewage pump)
  2. ปั๊มน้ำลึก (Deep well pump)
  3. ปั๊มที่ใช้กับเครื่องกรองน้ำระบบ Reverse Osmosis (RO)
  4. ปั๊มน้ำทรงหอยโข่ง (Centrifugal pump)
  5. ปั๊มสองทิศทาง (Double suction pump)
  6. ปั๊มแบบมีตัวกรองเศษตะกอน (Diaphragm pump)
  7. ปั๊มต่อย่อย (Complete set pump)
  8. ปั๊มน้ำแบบสุญญากาศ (Vacuum pump) 

ปั๊มน้ำเสีย (Sewage pump)

ส่วนใหญ่เป็นปั๊มจุ่ม หรือปั๊มจะอยู่ใต้น้ำ เรียกกันว่า Submersible pump หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ซับเมิร์ส” โดยจุ่มอยู่ใต้น้ำ ลึก  3-5 เมตร หรืออาจจะลึกไปจนถึง 10 เมตร ใช้กับบ่อขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป แล้วแต่การออกแบบ

ปั๊มน้ำลึก (Deep well pump)

เรียกอีกชื่อว่าปั๊มน้ำบาดาล ก็ได้ ตัวปั๊มจมอยู่ใต้น้ำเช่นกัน แต่จะอยู่ลึกกว่ามาก ตั้งแต่ 50 เมตร ถึง 200 เมตร ซึ่งการเจาะลงไปก็ต้องทำการสำรวจก่อนว่าจุดที่จะเจาะลงไปมีน้ำบาดาลหรือไม่ บ่อไม่กว้างแต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของปั๊ม ปริมาณน้ำ แรงดันที่ใช้ หรือการออกแบบที่ต่างออกไป ขนาดบ่อจะเป็นรูปจนาดเล็ก ที่ความกว้างของเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 4 นิ้ว 6 นิ้ว หรือ 8 นิ้ว

ปั๊มน้ำ แบบลึก

ปั๊มที่ใช้กับเครื่องกรองน้ำระบบ Reverse Osmosis (RO)

ใช้วัสดุคุณภาพสูง อย่างสแตนเลส อาจจะเกรด 304 หรือ 316 ขึ้นอยู่กับการออกแบบ มีชื่อว่า “ปั๊มหลายใบพัด” (Multistage Pump) นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า ปั๊มปิ่นโต ซึ่งปั๊มชนิดนี้ก็จะแบ่งย่อยได้เป็น ปั๊มแนวตั้ง (Vertical pump) กับปั๊มแนวนอน (Horizontal pump) ส่วนใหญ่ใช้กับกลุ่มอุตหสาหกรรมที่ต้องการน้ำสะอาด เช่น โรงพยาบาล โรงงานที่เกี่ยวกับการผลิตอาหาร และยา ข้อสังเกตุของปั๊มชนิดนี้คือไม่สามารถใช้กับน้ำเสีย หรือน้ำที่มีตะกอนได้ เนื่องจากปั๊มชนิดนี้มีหลายใบพัดและตำแหน่งค่อนข้างติดกันและมีแรงดันที่สูง  หากมีตะกอนหลุดเข้าไปก็อาจจะไปติดอยู่ที่ช่องว่างระหว่างใบพัดได้ ทำให้การหมุนไม่สมดุล และเกิดการเสียหายจากการไหม้ของมอเตอร์ได้ จึงเหมาะกับน้ำสะอาดเท่านั้น หรือ boiler system ของสระว่ายน้ำ

ปั๊มน้ำ RO

ปั๊มน้ำทรงหอยโข่ง (Centrifugal pump)

มีสองแบบ คือแบบแนวตั้ง กับแบบแนวนอน โดยส่วนใหญ่ในครัวเรือนมักจะนิยมใช้ปั๊มหอยโข่งแบบแนวนอนมากกว่า การใช้งานหลากหลายมากใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรม หรือใช้ในกลุ่มบ้านเรือนก็ได้ โดยในบ้านเรือนจะใช้ตัวเล็ก ในอุตสาหกรรมจะใช้ตัวใหญ่ ปั๊มชนิดนี้นิยมใช้ในระบบทำความเย็น (Chiller) ซึ่งเป็นระบบทำความเย็นในห้างใหญ่ ๆ ที่มีระบบปรับอากาศ หรือโรงไฟฟ้า ก็จะใช้เป็นตัวทำหล่อเย็น (Cooling) ซึ่งจะใช้ปั๊มหอยโข่งเป็นตัวส่งน้ำนั่นเอง

ปั๊มน้ำ ทำงานยังไง

ปั๊มสองทิศทาง (Double suction pump)

มีชื่อเรียกเป็นที่นิยมว่า Split case pump มีมอเตอร์ที่ส่งน้ำได้สองทิศทาง เหมาะกับการใช้กับงานชลประทาน หรืองานที่ต้องส่งน้ำปริมาณมาก ซึ่งมีแรงดันไม่สูง การซ่อม หรือบำรุงรักษาทำได้ง่ายกว่าปั๊มแบบอื่น ๆ

ปั๊มน้ำ สองทาง

ปั๊มแบบมีตัวกรองเศษตะกอน (Diaphragm pump)

ปั๊มที่สามารถส่งน้ำที่มีเศษตะกอนรวมอยู่ได้ ใช้กับโรงงานผลิตยา หรืออาหาร

ปั๊มน้ำ ไดอะแฟรม

ปั๊มต่อย่อย (Complete set pump)

ปั๊มที่มีการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ อาจจะเครื่องยนต์เบนซิน ดีเซล หรือมอเตอร์ไฟฟ้า ก็ได้ ปั๊มที่นิยมใช้งานจะเป็น ปั๊มน้ำแบบสองทาง ปั๊มหอยโข่ง และปั๊มแนวตั้งที่ใช้กำลังไฟ 3 กิโลวัตต์ขึ้นไป

ปั๊มน้ำแบบสุญญากาศ (Vacuum pump) 

ปั๊มใช้งานเฉพาะทาง ใช้กับสารเคมี ของหลวที่มีตะกอน หรือมีความเป็นกรดสูง

การเลือกปั๊มตามความเหมาะสม

  1. การออกแบบที่พักอาศัย ผู้ออกแบบระบบน้ำจะต้องเลือกปั๊มตามความเหมาะสมกับการใช้งาน ไม่เล็ก และไม่ใหญ่จนเกินไป เช่น ที่พักมีคนอยู่ 5 คน ก็ต้องเลือกปั๊มที่ใช้ด้วยกันได้ 5 คน ถ้าเลือกต่ำกว่านี้ก็จะไม่พอใช้ หรือถ้าเลือกที่ใหญ่กว่านี้ก็จะเกินความจำเป็น และเสียค่าใช้จ่ายไปโดยไม่มีความจำเป็น
  2. ลักษณะของน้ำที่จะใช้ปั๊ม เป็นน้ำสะอาด น้ำมีตะกอน  น้ำประปา หรือเป็นน้ำผสมเคมี หรือไม่ เมื่อเราทราบแล้วก็จะสามารถหาปั๊มน้ำที่มีวัสดุประกอบเหมาะสมต่อไป 
  3. พื้นที่ในการติดตั้งต้องเลือกที่เหมาะสม ขนาดพื้นที่ติดตั้งได้หรือไม่ ถ้ามีพื้นที่มาก ก็ติดตั้งแบบแนวนอนซึ่งจะมีราคาถูกกว่าแนวตั้งที่ก็จะเหมาะสมกับการติดตั้งในพื้นที่ที่แคบกว่า
  4. มอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงนั้นมีผลในเรื่องความประหยัดพลังงาน

การแบ่งประเภทของมอเตอร์

เราจะแบ่งประเภทของมอเตอร์ด้วย รหัสคลาส (Class code) IE โดยย่อมาจาก International Energy Efficiency ซึ่งได้รับการยอมรับโดยกว้างขวาง ซึ่งแบ่งคลาสตั้งแต่ IE 1 ถึง IE 5 โดย

IE 1 ประสิทธิภาพพื้นฐาน (Standard Efficiency)

IE 2 ประสิทธิภาพสูง (High Efficiency)

IE 3 ประสิทธิภาพระดับพี่เมี่ยม (Premium Efficiency)

IE 4 ประสิทธิภาพระกับซูเปอร์พี่เมี่ยม (Super Premium Efficiency)

IE 5 ประสิทธิภาพสูงที่สุดในคลาส แต่ยังไม่มีชื่อเรียก

เราจะเห็นว่า ยิ่งตัวเลขเยอะ ประสิทธิภาพก็จะยิ่งสูงตามเช่นกัน

นายช่างกรุ๊ป จำกัด จำหน่ายวัสดุก่อสร้างทุกชนิด สนใจติดต่อได้ที่

https://www.facebook.com/Anajaknaichang

ระบบงานตกแต่ง

ไม้ตกแต่ง ห้าห่วง

ระบบงานพื้น

ไม้พื้น ห้าห่วง

ระบบงานฝ้า

บอร์ด ห้าห่วง

ระบบงานผนัง

บอร์ดเซาะร่อง V3

ระบบงานผนัง

บอร์ดเรียบ

ระบบงานผนัง

ไม้ฝา ห้าห่วง