การยึดเจาะผนังมวลเบา

การยึดเจาะผนังมวลเบา ก่อสร้างช่วงหลังมานี้ จะนิยมใช้อิฐมวลเบามาใช้งานก่อสร้างกันมากขึ้น แต่ทะว่าจะมีราคาสูงกว่าอิฐทั่วไปที่ใช้กัน แต่เพราะเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาจึงช่วยในเรื่องของน้ำหนักโครงสร้างที่เบาลงได้ ลดความร้อน และยังสามารถที่จะทนไฟได้ด้วย อีกทั้งยังช่วยเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ประหยัดเวลาในการทำงานให้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ผนังอิฐมวลเบา

การยึดเจาะผนังมวลเบา หลายคนคงกังวลสำหรับบ้านที่ทำการก่อด้วยผนังอิฐมวลเบา ในเรื่องความแข็งแรง

คำว่า อิฐมวลเบา ให้ความรู้สึกว่าเป็นอิฐที่มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรง เนื้อพรุน ไม่แน่น แต่หลายคนคงเข้าใจว่าอิฐมวลเบา เป็นวัสดุที่ไม่มีความแข็งแรงแล้วผนังที่ก่อขึ้นมาก็กลัวว่าจะรับแรงของน้ำหนักไม่ได้มาก จึงไม่ควรไปเจาะแขวนของใดๆเลยทั้งสิ้น และไม่ควรนำไปก่อผนังสวนที่โดนน้ำเป็นประจำอย่างผนังบริเวณภายนอก , ผนังห้องน้ำ ถ้าเป็นผนังห้องน้ำจะทำให้ดูดซึมน้ำได้ง่าย ความเชื่อเหล่านี้อาจจะมีอยู่จริงไปบ้างสำหรับอิฐมวลเบาที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือ ผ่านการตรวจสอบมาจากโรงงานซึ่งจะถูกผลิตมาจากวัสดุประเภทแกลบ ซานอ้อย แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม หากเราใช้อิฐมวลเบาที่ได้มาตรฐานคุณภาพ จะทำให้ผนังมีความแข็งแรงไม่แพ้ผนังที่ทำจาก อิฐมอญ สามารถเจาะยึดแขวนของได้สบาย

อิฐมวลเบาไทคอน

อิฐมวลเบาที่ได้คุณภาพ จะมีความแข็งแรง ที่สามารถก่อได้ทั้งภายในภายนอก

อิฐมวลเบาที่ได้มาตรฐาน ต้องผ่านกระบวนการผลิตมาจากคอนกรีตที่มีส่วนประกอบได้แก่ ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ , ปูนขาว , ทรายละเอียด , ผงยิปซัม และ อลูมิเนียม ที่ใช้ในการก่อฟองอากาศ ผ่านกระบวนการอบด้วยไอน้ำที่มีแรงดันสูง มีความแข็งแรง ทนทาน อัตราการดูดซึมน้ำได้เป็นปกติประมาณใกล้เคียงอิฐมอญ จึงจะสามาถใช้ก่อผนังที่ต้องการโดนความเปียกชื้นได้ทั้งภายนอก รวมถึงก่อผนังห้องน้ำอีกด้วย

บ้านที่สร้างจากอิฐมวลเบา

ในเนื้อของอิฐมวลเบาที่มีคุณภาพดี มีฟองอากาศแบบปิด จึงเบาแต่มีความแข็งแรง

อิฐมวลเบานั้นมีน้ำหนักที่เบา เนื่องจากมีฟองอากาศที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วในเนื้อของอิฐ โดยที่ฟองอากาศที่ว่าเป็น ฟองอากาศแบบปิด แต่ละฟองจะไม่เชื่อมถึงกัน เนื้ออิฐมวลเบาถึงได้มีความแข็งแรงได้ รวมถึงไม่ดูดซึมน้ำมากกว่าอิฐมอญทั่วไป

อิฐมวลเบาที่ไม่มีฟองอากาศ

ผนังของอิฐมวลเบาคุณภาพดี ต้องสามารถเจาะแขวนได้ด้วยพุกและสกรู

ส่วนมากการเจาะผนังของอิฐมวลเบา จะใช้หลักการเดียวกับการเจาะผนังของอิฐมอญ คือ ใช้สว่านทำการเจาะเข้าไปในผนัง จากนั้นให้ใส่พุกลงไป แล้วขันสกรูให้แน่น ข้อสำคัญที่สุดในการเจาะจะต้องใช้ ดอกสว่าน ที่มีขนาดเดียวกับตัวพุก ที่ใช้เจาะผนังในแนวตรง ห้ามคว้านโดยเด็ดขาด หากเราเผลอคว้านปากรูจะทำให้รูใหญ่แล้วหลวมให้แก้ไขโดยการใช้ปูนก่ออิฐมวลเบาผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่ต้องการจะอุดปิดปากรู นอกจากนี้ จะต้องเลือกพุกให้ถูกประเภทของการใช้งานที่เราจะเจาะด้วย ได้แก่

ผนังของอิฐมวลเบาคุณภาพดี ต้องสามารถเจาะแขวนได้ด้วยพุกและสกรู

ส่วนมากการเจาะผนังของอิฐมวลเบา จะใช้หลักการเดียวกับการเจาะผนังของอิฐมอญ คือ ใช้สว่านทำการเจาะเข้าไปในผนัง จากนั้นให้ใส่พุกลงไป แล้วขันสกรูให้แน่น ข้อสำคัญที่สุดในการเจาะจะต้องใช้ ดอกสว่าน ที่มีขนาดเดียวกับตัวพุก ที่ใช้เจาะผนังในแนวตรง ห้ามคว้านโดยเด็ดขาด หากเราเผลอคว้านปากรูจะทำให้รูใหญ่แล้วหลวมให้แก้ไขโดยการใช้ปูนก่ออิฐมวลเบาผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่ต้องการจะอุดปิดปากรู นอกจากนี้ จะต้องเลือกพุกให้ถูกประเภทของการใช้งานที่เราจะเจาะด้วย ได้แก่

  1. พุกพลาสติก สามารถแขวนของที่มีน้ำหนักเบาได้แก่ กรอบรูป นาฬิกา หาซื้อได้ทั่วไปตามตลาด มีให้เลือกหลากหลายเบอร์ตามขนาดที่เราต้องการใช้งาน เหมาะกับงานเจาะผนังคอนกรีตทั่วไป เมื่อขันสกรูเข้าไปพุกจะทำการขยายตัวและยึดติดกับผนังปูนได้อย่างมั่นคงแข็งแรง

พุกพลาสติก

2. พุกเหล็ก สามารถแขวนของที่มีน้ำหนักเยอะๆ แต่เนื่องจากผลิตมาจากเหล็ก อาจจะทำให้เกิดการเป็นสนิมได้หากเรานำไปใช้งานข้างนอก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้ ชั้นวางของ และอื่นๆอีกมากมาย

พุกเหล็ก

ข้อแนะนำในการเจาะ

หลังจากที่เราทำการฉาบผนังอิฐมวลเบาจนเสร็จแล้ว ถ้าเราต้องการตอกตะปูเพื่อที่จะได้ใช้แขวนวัสดุ หรือ ของต่างๆให้ฝังพุกไนล่อน หรือ พุกเหล็ก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดตะปูให้แน่นได้เป็นอย่างดี

ผนังอิฐมวลเบาสามารถทุบต่อเติมได้ไหม

ผนังอิฐมวลเบา นั้นถ้าเจ้าของบ้านอยากจะทุบต่อเติมสามารถทำได้แต่ต้องมีช่างที่ชำนาญการทุบของอิฐมวลเบามาดูแล ไม่แนะนำให้ทุบมั่วๆ เพราะจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น และ อิฐมวลเบาไม่ได้ทนทานเท่ากับขนาดอิฐแดง

ขั้นตอนการเจาะผนัง ยังไงไม่ให้ร้าว

  1. ให้ทำการสำรวจผนังที่จะทำการเจาะก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้แน่ใจว่าถ้า มีการเดินท่อน้ำ สายไฟ หรือระบบอื่นๆ ภายในผนังหรือไม่ เพราะถ้าเราได้เจาะเข้าไป จะทำให้ก่ออันตราย และความเสียหายต่อช่างได้ ดังนั้น เราจำเป็นต้องสำรวจพื้นที่ก่อนเดินงานทุกครั้ง
  2. วัดและมาร์คจุดตำแหน่งที่เราต้องการจะเจาะ ให้ใช้ปากกาเคมีจุด หรือ กากบาทบนตำแหน่งที่เราต้องการ เพื่อป้องกันการเกิดความผิดพลาดจากการคาดคะเน โดยจากการใช้สายตาวัดอย่างเดียว
  3. ให้ติดเทปกาว กระดาษตรงงตำแหน่งที่เราได้ทำเครื่องหมายเอาไว้ เป็นอีกเทคนิค ที่ช่วยให้การเจาะง่ายขึ้น หัวสว่านไม่กระโด และ รูเจาะไปทางเดียวกัน
  4. ทำการเจาะผนังตามตำแหน่ง และเทปกาวที่แปะไว้ พร้อมเตรียมถุงพลาสติกรองไว้บริเวณที่เราได้มาร์คตำแหน่งไว้ จากนั้นทำการเจาะ โดยใช้ดอกสว่านใช้โหมดกระแทก
  5. นำพุกตอกเข้ากับผนัง ซึ่งควรขันสกรูลงในพุกก่อนที่เราจะทำการตอกลงไป เพื่อทำให้การตอกนั้นง่ายขึ้น พุกที่ตอกนั้นต้องไม่บี้ และ เมื่อตอกเสร็จให้ทำการคลายสกรูออกจากผนัง
  6. ตรวจสอบ และ ทำความสะอาดหลังจากเสร็จงาน เป็นการตรวจสอบให้มั่นใจว่างานนั้นเรียบร้อยแล้ว ไม่มีรอยแตกร้าวบนผนัง และ ไม่มีฝุ่นหลงเหลืออยู่

ข้อดีของผนังที่ทำด้วยอิฐมวลเบา

  • ผนังของตัวบ้านจะเย็นกว่าอิฐมอญประมาณ 4-8 เท่า เพราะอิฐมีฟองอากาศ ทำให้มีน้ำหนักที่เบาแต่ยังคงมีความแข็งแรงอยู่ และ ยังมีฉนวนกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ ทำให้บ้านไม่ร้อนแล้วยังช่วยประหยัดไฟจากการใช้เครื่องปรับอากาศอีกด้วย
  • ประหยัดค่าแรงมากกว่าอิฐมอญ ด้วยความที่ว่าอิฐมวลเบามีขนาดใหญ่ ทำให้สามารถสร้างได้เร็วกว่าอิฐมอญประมาณ 2-3 เท่า ส่งผลให้ประหยัดคาแรงได้มากกว่า
  • ผนังบ้านมีความสวยงาม เข้าฉากได้ทุกมุม เพราะการผลิตที่ได้ฉากเที่ยงตก ทำให้ได้มาตรฐานกันทุกก้อน
  • สามารถกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญ อัตรายกันเสียงที่ความหนาหนาผนังที่เท่ากัน อิฐมอญกันเสียงได้ 38 เดซิเบล และ อิฐมวลเบากันเสียงได้ 43 เดซิเบล *ที่ความหนาของผนัง 10 ซม. จะฉาบได้ 1 ซม.*
  • อิฐมวลเบาทนไฟได้นานกว่า 4 ชม. สามารถทนทานต่อไฟไหม้ที่อุณหภูมิสูงๆได้ดีกว่าผนังที่ทำจากอิฐมอญ 2-4 เท่า *ที่ความหนาของผนัง 7.5 – 20 ซม.*

https://www.facebook.com/Anajaknaichang