I-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก I-Beam 6ม. 600x190x16x35

I-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก I-Beam 6ม. 400x150x12.5×25

I-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก I-Beam 6ม. 400x150x10x18

I-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก I-Beam 6ม. 200x100x7x10

I-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก I-Beam 6ม. 300x150x11.5×22

I-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก I-Beam 6ม. 300x150x8x13

I-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก I-Beam 6ม. 300x150x10x18.5

I-Beam ความยาว 6 เมตร

เหล็ก I-Beam 6ม. 450x175x11x20

เหล็กไอบีม

เหล็กไอบีม (I-Beam Steel)

      เหล็กไอบีม หรือที่เรียกกันว่า I-Beam Steel  เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Hot Rolled Structural Steel Sections) มีรูปร่างสวยงาม มีลักษณะรูปร่างเมื่อมองในมุมด้านหน้าหรือมุมหน้าตัดจะมีลักษณะคล้ายตัว I (หรือ capital I) ใช้สำหรับงานโครงสร้างเหล็กโดยเฉพาะ และใช้ในงานก่อสร้างโครงสร้างทั่วไป ให้ความคงทนสูงเพราะมีความแข็งแรงมาก อีกทั้งยังทนต่อแรงกระแทกได้อย่างดี จึงนำไปใช้มากในโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นตึก อาคารสำนักงาน และโรงงาน โกดัง เป็นต้น

     ชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า I-Beam ซึ่งจะจัดอยู่ในหมวดของ เหล็กบีม (หรือ Beam Steel) เป็นหล็กรูปพรรณชนิดขึ้นรูปร้อน โดยสังเกตุได้จากหน้าตัดของเหล็กไอบีมว่าจะมีความแตกต่างกับเหล็กไวด์แฟลงก์หรือเอชบีม มาตรฐานเหล็กไอบีมที่เป็นที่ยอมรับนอกจากมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) คือ American Society for Testing and Materials (ASTM) และ Japanese Industrial Standards (JIS) อันเป็นที่ยอมรับในประเทศไทย 

      ในประเทศไทยชื่อของเหล็กไอบีมมีชื่อเรียกหลากหลาย ตัวอย่างเช่น เหล็กตัวไอ เหล็กปีกไอ เสาบีม เหล็กประเภทของไอบีมจัดเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัวไอ (Capital I) รูปทรงใกล้เคียงกับเหล็กเอชบีม แต่ว่าโคนปีกของไอบีมจะมีความหนาของเหล็กมากกว่าซึ่งในส่วนนี้เองที่ทำให้เหล็กไอบีมสามารถทนทานต่อแรงกระแทกมากกว่า

ความแตกต่างระหว่างเหล็ก (H-Beam) และ (I-Beam)

      ในเบื้องต้นเราสามารถสังเกตุส่วนที่แตกต่างของเหล็กทั้งสองชนิดนี้ได้จากบริเวณปีกของเหล็ก โดยเหล็กเอชบีม ส่วนตัวของบริเวณปีกบนและล่างจะมีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ ทำมุมเป็นฉากมีความเท่ากันตลอดช่วง ส่วนเหล็กไอบีม ตัวมุมปีกจะมีการลบเหลี่ยม ตัวแผ่นทำมุมเอียง ส่วนของความสูงและความกว้างในแต่ละด้านของเหล็กไม่เท่ากัน ซึ่งตัวเหล็กไอบีม จะมีประสิทธิภาพในการรับน้ำหนัก และรองรับการกระแทกได้มากกว่า ซึ่งที่ตำแหน่งโคนปีกของไอบีมจะมีความหนาขึ้นมาเพื่อช่วยใหสามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ดียิ่งขึ้นโดยเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 1227-2539 

Grade ของเหล็กไอบีมแต่ละเกรดแตกต่างกันอย่างไร

      วัสดุและโครงสร้างของไอบีมจะเหมือนกับเอชบีมทุกประการ และใช้มาตรฐานวัดเดียวกัน ด้วย โดยแบ่งในมุมของเกรด และคุณภาพการผลิต จะมี 7 เกรด ดังนี้

  1. SS400
  2. SS490
  3. SS540
  4. SM400
  5. SM490
  6. SM520
  7. SM570

โดยในประเทศไทยจะใช้เกรด SS400 และ SS540 เป็นหลักที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้าง และงานเหล็กทั่วไป

      โดยจากตารางด้านบนก็จะพบว่า SM570 มีค่า yield point, ค่าความทนต่อแรงดึง และค่าความยืดตัวหดตัวสูงที่สุด โดยรองลงมาคือ SM520 ตามลำดับ

ส่วนประกอบเชิงเคมีของไอบีม

      ส่วนประกอบเชิงเคมีของไอบีม คือ คาร์บอน (C:Carbon), ซิลิคอน (Si:Silicon), แมงกานีส (Mn:Manganese), ฟอสฟอรัส (P:Phosphorus), ซัลเฟอร์ (S:Sulfur), ทองแดง (Cu:Copper), นิกกิล (Ni:Nickel), โครเมียม (Cr:Chromium) เป็นต้น โดยแต่ละเกรดจะมีอัตราส่วนต่างกันเล็กน้อยตามตารางด้านล่าง

ทั้งนี้ส่วนประกอบเชิงเคมีอื่น ๆ ที่มีในเหล็กไอบีมนอกเหนือจากธาตุด้านบน คือ โมลิบดีนั่ม (Mo:Molybdenum), ไทเทเนียม (Ti:Titanium), และ โบร่อน (B:Boron)

วิธีการผลิต เหล็กไอบีม

      เหล็กไอบีมจัดอยู่ในประเภทเหล็กโครงสร้าง เหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel) วิธีการผลิตจะเริ่มจากการหลอมเหล็กและหล่อให้เป็นแท่ง จากนั้นก็นำไปรีดขณะที่ยังร้อน(การรีดร้อน) ขึ้นรูปเป็นท่อนตัวของเหล็กไอบีม ทำให้เหล็กทั้งชิ้นเป็นเนื้อเดียวกัน และไม่มีรอยเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ มีความพิเศษคือคุณสมบัติของหน้าตัดเหล็ก จะสม่ำเสมอกว่าเหล็กโครงสร้างชนิดอื่น ๆ อีกด้วย เหล็ก ไอบีม ราคา

ขนาดมาตรฐานของไอบีมมีกี่ขนาด

      ไอบีมมีขนาดให้เลือกหลายขนาด เช่น 150x75x5.5×9.5 เมตร, 200x100x7x10 เมตร, 200x150x9x16 เมตร, 250x125x10x19เมตร เป็นต้น ซึ่งมีความยาว 4 ขนาด คือ

  1. ไอบีม  ยาว   1 เมตร
  2. ไอบีม ยาว   6 เมตร เช็คราคา
  3. ไอบีม ยาว   9 เมตร เช็คราคา
  4. ไอบีม ยาว 12 เมตร เช็คราคา

หน้าที่ของ เหล็กไอบีม ใช้ทำอะไร

เหล็กไอบีมเหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น

1.เหล็กไอบีมเหมาะสำหรับงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ๆ เช่นโครงสร้างอาคาร โรงงาน โกดังต่าง ๆ หรือตึกสูง ๆ เป็นต้น

2.เหล็กไอบีม มีความทนทานต่อแรงกระแทกที่สูงกว่าเอชบีม ทำให้เป็นที่นิยมของวิศวกร รวมถึงผู้รับเหมา ซึ่งเหมาะมากในการนำไปใช้การทำรางเครนในโรงงานอุตสาหกรรม และ งานเครื่องจักรต่างๆ

3.เหล็กไอบีมใช้ในการทำ เสาคาน และ งานโครงสร้างต่างๆที่ใช้รองรับน้ำหนักมากๆ 

**หน้าตัดรูปตัวไอของเหล็กไอบีม ปีกของเหล็กจะมีความหนาขึ้นที่โดนปีก จึงมีการรับแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า เหมาะใช้ในงานเครื่องจักร รางเครนสำหรับเหล็กฉากหรือ Angle มีหน้าตัดรูปตัว L ใช้สำหรับงานหลังคา และงานเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง เสาวิทยุ เสาโทรศัพท์ เหล็กอีกหน้าตัดหนึ่ง คือ เหล็กรางน้ำ หรือ Channel มีหน้าตัดรูปตัว C นิยมนำมาใช้ทำคานรองรับส่วนประกอบต่างๆ เช่น งานคานขอบนอก งานบันได นอกจากนี้ เหล็กเอชบีมที่นำมาตัดแบ่งออกตามความยาวเรียกว่าคัตบีม หรือ คัตที ใช้ในการทำโครงสร้างของ Truss แทนที่จะใช้การเชื่อมประกบกัน

เคล็ดลับการใช้งานของการเชื่อมเหล็ก

  • การเลือกใช้เหล็กที่ตรงกับการก่อสร้างก่อนการทำงานควรศึกษาและควรดูว่าหน้างานที่เราจะก่อสร้างนั้นควรใช้เหล็กใดในการเชื่อม เช่น งานที่ต้องรับน้ำหนักสูง ควรใช้เหล็กไอบีม เบื้องต้นเป็นวัสดุที่ใช้งานเป็นหลัก
  • หลังจากเลือกเหล็กเสร็จแล้วขึ้นตอนต่อไป เอาเหล็กที่ต้องการจะเชื่อมมาตรวจดูความสมประกอบ ทำความสะอาด ห้ามให้มีสิ่งสกปรก เช่น คราบน้ำมัน เศษเหล็ก เพราะจะมีปัญหาต่อการเชื่อมได้หรือเกิดปัญหาในขั้นตอนถัดไป
  • การเชื่อมเหล็กควรตัดหัวเหล็กทั้งสองเส้นเพื่อเตรียมความพร้อมอยู่กับรูปแบบที่ต้องการการตัดเหล็กที่มีความหนามากอย่างเช่นเหล็กเอชบีมหรือไวด์แฟลงค์ ต้องใช้ชุดแก๊สตัดเหล็ก
  • นำเหล็กสองเส้นที่ทำการตัดแล้วมาต่อกันเพื่อที่จะเริ่มการเชื่อม
  • เริ่มต้นด้วยการเชื่อมไว้ หรือ แต๊กไว้ 4 จุด จะขึ้นอยู่กับความยาวของรอยเชื่อมที่สำคัญไม่ควรเชื่อมทหมดในทีเดียว เพราะความร้อนจะส่งผลให้เหล็กงอ ผลสุดท้ายจะบิดเบี้ยว หลังจากนั้นเดินแนวเชื่อมให้เต็มรอยที่เราแต๊กไว้ มีเทคนิคคร่าว 2 วิธี

1.ให้ทำการเชื่อมได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องนำมาทำความสะอาดเหล็กถ้าแนวเชื่อมยังคงความร้อนอยู่

2.ถ้าปลายเชื่อมเย็นแล้ว ใช้ค้อนเคาะสแลกออกแล้วค่อยทำความสะอาด แล้วจึงใช้แปรงลวดขัดเหล็กขัดให้สะอาดอีกทีหนึ่ง ขั้นตอนต่อไปให้เริ่มเชื่อมห่างจากแอ่งหลอมเหลวเดิมไป

สรุปขนาดของ เหล็กไอบีม

โดยข้อมูลที่ให้ไว้เบื้องต้นแล้วทุกคนก็จะรู้ว่าเหล็กแบบไหนเหมาะกับการใช้งานในหน้างานแบบไหน หน้าที่ของ เหล็กเอชบีม ไอบีม ไวแฟรงค์ ควรเลือกให้เหมาะกับงานที่ต้องการจะใช้ให้ตรงสเปคกับแปลนบ้าน

ตาราง เหล็กไอบีม

https://www.facebook.com/naichanggroup