เหล็ก SD40 กับ SD40T แตกต่างกันอย่างไร?

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าเหล็กที่มีตัวทีกับเหล็กที่ไม่มีตัวทีเป็น เหล็ก ข้ออ้อย เหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกัน จึงทำให้ในเวลาที่เลือกใช้งานจึงทำให้มีความสับสนมึนงงกันเล็กน้อย

ซึ่งเหล็กทั้งสองตัวนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้นวันนี้เรามีความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับเหล็กมีตัวที่และเหล็กที่ไม่มีตัวทีมาฝากกันค่ะ

สารบัญ

กรรมวิธีการผลิต เหล็ก ข้ออ้อยเหล็ก ข้ออ้อย

เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กที่ได้มาจากกรรมวิธีรีดร้อน เพราะในการผลิตเหล็กข้ออ้อยนั้น จะเป็นการหลอมเหล็กให้เป็นเหล็กเส้น แล้วหลังจากนั้น เหล็กเส้นที่ได้มาเข้ากระบวนการทำให้เหล็กนั้นมีอุณหภูมิที่สูง จึงทำการรีดตัวเหล็กเส้นให้มีขนาดที่เล็กลงมา

เพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ซึ่งวิธีการต่อไปนี้จะมีขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกัน เนื่องจากเหล็กข้ออ้อยที่ไม่มีตัวที จะเป็นการปล่อยให้ตัวเหล็กนั้นเย็นตัวลงภายในอุณหภูมิห้องเอง แต่เหล็กข้ออ้อยที่มีตัวทีนั้นจะมีการทำให้เย็นตัวลงโดยการฉีดสเปรย์น้ำ

ซึ่งการทำให้เย็นตัวลงด้วยวิธีนี้นั้น จะทำให้เหล็กเส้นมีคุณสมบัติผิวภายนอกของเหล็กที่มีความแข็ง และเนื้อเหล็กภายในจะมีความเหนียวและมีความยืดหยุ่น อีกทั้งยังทำให้เหล็กข้ออ้อยมีตัวที มีธาตุ คาร์บอนและแมงกานีส น้อยกว่าเหล็กข้ออ้อยทั่ว ๆ

ไปอีกด้วย เพราะแบบนี้จึงมีข้อกำหนดออกมาว่า ตัวที เป็นการระบุว่าเหล็กมีกระบวนการผลิต และ คุณสมบัติอย่างไร เพื่อเป็นการบอกผู้ที่จะนำใช้งานให้นำไปใช้งานอย่างเหมาะสม เพราะหากนำเหล็กไปใช้อย่างไม่ถูกต้องและถูกสิธี ก็จะส่งผลถึงความแข็งแรงของโครงสร้างนั้นเอง และอาจจะเกิดปัญหาใหญ่ตามมานั้นเอง

การใช้งานเหล็กเส้นข้ออ้อย

เหล็กเส้นข้ออ้อย เป็นที่คนนิยมใช้ เป็นเหล็กเสริมกำลัง ให้กับคอนกรีต เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความแข็งแกร่ง มากยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้ ในงานที่ต้องการ ความแข็งแรงมาก และ รับน้ำหนักได้เยอะ เช่น ใช้ในการสร้างอาคาร ตึกสูง ถนน สะพาน เป็นต้น

เหล็กข้ออ้อยกับคุณสมบัติ

คุณสมบัติในการใช้งานของเหล็กข้ออ้อย

เหล็กเส้นข้ออ้อย เป็นวัสดุที่มีการออกแบบ และมีการผลิตออกมา ให้มีคุณสมบัติที่มีความ แข็งแรงความทนทานที่สูง อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่มีสามารถทนต่อความร้อน และไฟได้ดีมากอีกด้วย จึงทำให้ในการใช้งานนั้น สามารถใช้งานได้ง่ายและมีความรู้สึกที่ปลอดภัยในขณะที่ใช้งาน

ในการทำงานได้เลย และ เหล็กทั้งสองแบบนี้ มีคุณสมบัติ ที่เหมือนกัน ซึ่งสามารถ ทำการดัด การโค้ง หรือ มีความยืดที่ เหมือนกันอีกด้วย

เหล็กข้ออ้อยกับการต่อกัน

การเชื่อมต่อเหล็ก โดยปกติแล้วนั้น จะเป็นการนำเหล็ก มาทาบต่อกัน แล้วใช้ลวดมาผูก ให้เหล็กนั้น เชื่อมติดกัน เพื่อให้เหล็กนั้น มีความยาว ที่มากเพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน มีการพัฒนา การต่อเหล็กที่ได้ รับความยอมรับ และ ความนิยมกันอย่าง มากในการใช้งาน

โดยการนำเหล็ก ไปขึ้นรูปแบบเย็น ให้มีขนาดที่ใหญ่ มากขึ้นกว่าเดิม แล้วนำไปทำเป็นเกลียว เพื่อให้ทำกา รต่อเหล็กได้แน่น และ ต่อง่ายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการต่ออีกแบบหนึ่ง

คือการต่อเหล็กแบบต่อเชื่อม เป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งในการต่อ ทั้งสองแบบนั้น ควรเป็นไปตาม มาตรฐานที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

คุณสมบัติในการทนต่อไฟของเหล็กข้ออ้อย

เหล็กข้ออ้อยทั้งสองแบบ มีคุณสมบัติ ที่สามารถทน ความร้อน และ ทนไฟได้เหมือนกัน  และ มีคุณสมบัติที่ สามารถรับแรงดึงต่าง ๆ ในการใช้งาน ได้เท่ากัน ซึ่งมีการทดสอบ รับรองแล้ว และ ในการใช้งาน สามารถใช้งานได้ อย่างรู้สึกปลอดภัย

เหล็กเอสดี40 กับ เหล็กเอสดี40ที ต่างกันอย่างไร?

  1. เหล็กข้ออ้อย ทั้งสองแบบนั้น จะมีความแตกต่าง กันที่วิธีการ ในการผลิต ซึ่งเหล็กข้ออ้อย ทั้งสองแบบ ผ่านกระบวนการรีดร้อน เหมือนกันแต่มีวิธีการ ทำให้เย็นตัวลงนั้นต่างกัน ทำให้มีคุณสมบัติ ความแข็งแรง ทนทาน ในตำแหน่งที่ ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ในการนำไปใช้งาน หรือ การนำไปกลึง จำเป็นที่จะต้องดู ให้ดี และ ระมัดระวังนั้นเอง
  2. เหล็กข้ออ้อย ที่มีตัวทีนั้น สามารถทำการ เชื่อมต่อเหล็ก ได้ดีมากกว่า เหล็กข้ออ้อยปกติ เนื่องจากเหล็กข้ออ้อย ที่มีตัวทีมีธาตุคาร์บอน และ ธาตุแมงกานีส ที่เป็นส่วนประกอบ ของเหล็กข้ออ้อย ที่น้อยมากกว่า เหล็กข้ออ้อยปกตินั้นเอง

สรุปเหล็กข้ออ้อยที่มีตัวทีและเหล็กข้ออ้อยที่ไม่มีตัวที

เหล็กข้ออ้อย ที่มีตัวทีกับ ไม่มีตัวทีนั้น เป็นการแยกวิธี และ กระบวนการผลิต เพราะเหล็กข้ออ้อย ทั้งสอบแบบนี้ มีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกัน ที่เหล็กข้ออ้อยที่มีตัวที เป็นมีธาตุคาร์บอน และ ธาตุแมงกานีส

ที่น้อยมากกว่าเหล็ก ข้ออ้อยที่ไม่มีตัวที ทำให้เหล็กเส้นข้ ออ้อยสามารถ ทำการเชื่อมได้ง่าย มากกว่าเหล็กข้ออ้อย ที่ไม่มีตัวทีนั้นเอง

***สนใจวัสดุอุกรณ์ก่อาสร้าง สามารถสั่งซื้อกับเราได้ที่นี่***

**LINE : NaichangNetwork  Tel.086-341-9908**

***กลับหน้าสารบัญ***