ยาแนวกันซึม

ยาแนวกันซึม

ยาแนวกันซึม ในห้องน้ำที่มีการใช้งานมาแล้วเป็นระยะหนึ่ง คือ 3 – 5 ปี ก็จะเริ่มพบยาแนวในห้องน้ำก็จะเริ่มหลุดร่อน ยิ่งถ้าตอนที่เราซื้อบ้าน หรือ ทำบ้านแล้วเลือกใช้ยาแนวที่มีราคาถูกมาก ๆ แล้วก็ไม่ได้มาตรฐาน และ คุณภาพจะยิ่งพบได้เลยว่ามีการหลุดร่อนได้เพียง 1 – 2 ปี เมื่อพบเห็นการหลุดร่อนกับรอยแตกร้าวจะแสดงว่ายาแนวกันซึมในห้องน้ำนั้นจะหมดสภาพของการใช้งาน การตรวจสอบด้วยตา และ หมั่นตรวจสอบแล้วให้หาทางป้องกันน้ำรั่วออกไปยังพื้น หรือ ผนังห้องข้างเคียงได้ ดังนั้นทุก ๆ 1 – 2 ปี แนะนำให้ทำการสำรวจห้องน้ำ และ ยาแนวห้องน้ำโดยให้ตรวจสอบขณะที่พื้นห้องน้ำยังแห้งกับไม่มีการใช้งาน ตรวจสอบง่าย ๆ ถ้าพบการหลุดร่อน หรือ แตกลายงาก็เพียงพอที่จะรีบซ่อมแซมน้ำรั่วทันที ยิ่งปล่อยไว้นานอาจจะเกิดปัญหาที่บานปลายได้

มาถึงขั้นตอนต่อไปแล้วว่าจะซ่อมกับยาแนวกันซึมห้องน้ำอย่างไร มีอยู่สองทางเลือกง่าย ๆ คือ ถ้าเป็นแค่บางส่วน บางช่วง หรือ บางพื้นที่ มีปริมาณไม่มากก็สามารถหายาแนวกันซึมมาแก้ไขได้เองไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างช่างเลย แต่ถ้าหากพบว่านาแนวกันซึมห้องน้ำนั้นมีปริมาณที่จะต้องทำมากที่แบบ เกิด 50 % ของทั่วทั้งบริเวณ ให้แนะนำจ้างช่างที่เชียวชาญมาแก้ไขดีกว่า นั้นเป็นหลักการเบื้องต้นในการแก้ไขน้ำรั่วซึมบริเวณยาแนว ส่วนต่อไปก็เป็นการเลือกว่าจะใช้วัสดุอะไรมายาแนวกันซึมในห้องน้ำ

สารบัญ

ยาแนวกันซึม คืออะไร

ยาแนวกันซึมในห้องน้ำต้องเลือกใช้ให้ถูก และ มีคุณภาพสูงกว่าวัสดุห้องตลาด ควรที่จะเลือกวัสดุที่สามารถเลือกได้ เพราะเราคงไม่อยากมาซ่อมแซมทุก ๆ 2 ปี หรือ มีปัญหาน้ำรั่วมากวนใจตลอดทุก ๆ ปี จะทำให้เสียสุขภาพจิตแย่ การที่เราจะเลือกวัสดุยาแนวกันซึมในห้องน้ำนั่นมีเลือกง่าย ๆ 3 แบบ คือ 1 ยาแนวกันซึมชนิดที่มีส่วนผสมของซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 2 ยาแนวกันซึม สองส่วนที่ผสมชนิด EPOXY 3 กาวยาแนวสำเร็จรูป โดยทั่วไปกาวยาแนวชนิดซีเมนต์จะนิยมใช้มากที่สุดมีส่วนแบ่งของการตลาดที่ 99 % ส่วนที่เหลือเป็นยาแนวชนิดพิเศษซึ่งไม่นิยมแพร่หลายดังนี้สามารถเลือกใช้กาวยาแนวกันซึมได้ทั้ง 3 แบบ

หลักการติดตั้งของกาวยาแนวกันซึม คือ

การที่เราจะติดตั้งกาวยาแนวกันซึมในห้องน้ำ อันดับแรกเลย คือต้องทำการรื้อ และ นำร่องยาแนวเก่าออกให้หมด โดยใช้เครื่องขูดยาแนวที่มีลักษณะคล้ายมีดขูดยาแนว โดยเลือกใบมีดขูดยาแนว หรือ ที่ขูดให้ตรงกับขนาดร่องยาแนวของเราในห้องน้ำ เมื่อขูดออกแล้วให้นำเศษวัสดุออก และ ทำความสะอาด รอให้ผิวแห้งสนิทก่อนที่จะทำการยาแนวใหม่ ให้เลือกวิธีการใช้งานตามวัสดุยาแนวกันซึมที่เลือกใช้ โดยหลักการง่ายๆ คือ ยาแนวควรอัดลงให้เต็มร่องยาแนว และ ต้องให้ได้ระดับเสมอเท่ากับพื้นกระเบื้อง หรือ ให้ต่ำกว่าเล็กน้อย เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว รอให้แห้งและรอระยะเวลาบ่มตัวดี ถึงจะเริ่มเข้าตรวจสอบความสมบูรณ์ของยาแนวเมื่อยาแนวกันซึมสวยงามก็พร้อมที่จะใช้งานได้ทันที

ยาแนวแบบกันซึม นั้นมีกี่ชนิด แล้วมีอะไรบ้าง

  1. ซิลิโคน
  • จะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นที่สูงถึงประมาณ 25 %
  • สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย แล้วยังทนรังสียูวีได้ และ ยังมีแรงยึดเกาะที่สูง
  • สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งภายใน และ ภายนอก
  • ไม่สามารถที่จะนำสีไปทาทับได้
  • ถ้าเป็นซิลิโคนแบบที่มีกรด จะมีกลิ่นเปรี้ยว แห้งเร็ว ใช้สำหรับยึดวัสดุที่มีความเงา หรือ เรียบ ได้แก่ กระจก
  • ถ้าเป็นซิลิโคนแบบที่ไม่มีกรด จะไม่มีกลิ่นแรง แล้วยังแห้งช้ากว่า แต่ก็มีความยืดหยุ่น และ แข็งแรงที่น้อย
  1. อะคริลิก
  • จะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นประมาณ 12.5 %
  • มีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ปิดรอยต่อ เพราะเมื่อแห้งแล้วสามารถขัดแต่ง และ นำสีมาทาทับได้ให้มีความสวยงาม ได้แก่ สุขภัณฑ์
  • จะเป็นตัวทำละลายซึ่งจะเป็นน้ำ จึงไม่ควรที่จะนำไปใช้งานบริเวณตรงที่มีการเปียกชื้น เพราะอะคริลิกอาจจะเกิดการไม่มีความแข็งตัว
  • สามารถนำไปใช้ได้กับทุกพื้นผิว แต่ไม่ทนต่อรังสียูวี ทำให้ไม่เหมาะกับการใช้ภายนอกที่มีการโดนแดด
  1. โพลียูรีเทน
  • จะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นประมาณ 35 %
  • จะมีความทนทานอย่างดีเยี่ยม หลังจากแห้งแล้วจะไม่มีการหดตัว สามารถทนรังสียูวีได้ แล้วยังสามารถที่จะทาสีทับได้
  • สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งภายใน และ ภายนอกของอาคาร
  • มีความเหมาะสมสำหรับการปิดรอยต่อของอาคาร เมทัลชีท หรือ ไม้ และ เหล็ก
  1. โมดิฟายซิลิโคน
  • จะเป็นวัสดุที่นำข้อดีของทั้งพียู และ ซิลิโคนเข้ามารวมกัน ทำให้มีความยืดหยุ่นที่สูง
  • สามารถทนรังสียูวีได้ แล้วยังนำสีไปทาทับได้อีกด้วย ใช้ได้บริเวณพื้นที่ที่มีความเปียกชื้น มีแรงยึดเกาะสูง ทำให้ไม่มีกรดจึงไม่มีการกัดเนื้อวัสดุ และ ไม่มีกลิ้นแรง
  • สามารถนำไปใช้กับวัสดุได้อย่างหลากหลาย ได้แก่ ปูน คอนกรีต เหล็ก หรือ พวกโลหะต่าง ๆ

ข้อควรระวัง

ข้อควรทราบในการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมด้วยวิธีการยาแนวห้องน้ำใหม่นั้น เป็นการแก้ไขที่ถูกที่สุดแต่ก็แก้ไขได้ผลน้อยที่สุด ซึ่งเหตุผลก็เนื่องมาจากหลากหลายสาเหตุ เช่น ยาแนวนั้นกันซึมได้ระดับนึงแต่เมื่อเกิดการแช่น้ำ หรือ ใช้น้ำที่นานขึ้น การซึมผ่านของน้ำยาผ่านยาแนวก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ยาแนวใหม่ก็จะสามารถทนทานต่อการซึมผ่านได้แต่ไม่นานก็อาจจะเกิดการรั่วซมเพิ่มเติมได้ อาจจะ 3 เดือน หรือ 1 ปี ก็จะตามแต่สภาพการใช้งาน หรือ ความทนทานของยาแนว ดังนั้นขอให้ระลึกถึงปัจจัยเสี่ยงข้อนี้ไว้ด้วย

หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ อาณาจักรนายช่าง

สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี 

ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่

https://www.facebook.com/Anajaknaichang

 

สอบถามสินค้า กับ ร้านอาณาจักรนายช่าง ได้ที่

LINE : NaichangNetwork กดคลิกตรงนี้ได้เลย

หรือโทร 086-341-9908

กลับไปที่สารบัญ