เหล็กเส้น กับ เหล็กข้ออ้อย ต่างกันอย่างไร

ทุกประเภทงานก่อสร้างมักจะมี เหล็กเส้น เขามามีบทบาทอยู่บ่อยครั้ง ทั้งงานพื้น, เสา, และคาน ซึ่งต้องมีการเลือกใช้ขนาด และประเภทให้เหมาะสม ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเหล็กเส้นกลม และเหล็กข้ออ้อยกัน

เหล็กเส้น แบบกลม

เหล็กเส้นกลม

 

เหล็กเส้น ข้ออ้อย

เหล็กข้ออ้อย

ลักษณะภายนอก และคุณสมบัติทั่วไปของ เหล็กเส้น ทั้ง 2 แบบ

เหล็กเส้นกลม

มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า (Round Bar : RB) มีหน้าตัดกลม ผิวเรียบตลอดทั้งเส้น เหมาะกับงานก่อสร้างขนาดเล็ก ถึงกลาง เหมาะสำหรับงานโครงสร้างที่พักอาศัย

เหล็กข้ออ้อย

ชื่อในภาษาอังกฤษ คือ (Deformed Bar : DB) หน้าตัดกลม ผิวมีลักษณะเป็นปล้องตลอดความยาวเส้นเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่สัมผัสกับปูนได้มากกว่า ซึ่งมีผลให้ยึดเกาะกับปูนได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม เหมาะกับงานก่อสร้างขนาดกลางขึ้นไป

รหัสและตัวเลขที่บอกถึงคุณสมบัติของเหล็กเส้นทั้ง 2 แบบ

รหัสบนเหล็กเส้นจะบ่งบอกถึง ชั้นคุณภาพ และความยาว

 

ชั้นคุณภาพ

แบ่งได้เป็น SR สำหรับเหล็กเส้นกลม และ SD สำหรับเหล็กข้ออ้อย

โดยตัว S ย่อมาจากคำว่า Standard ดังนั้น SR ก็จะได้คำว่า Standard Round Bar หรือ มาตรฐานเหล็กเส้นกลม ส่วน SD จะเป็นคำว่า Standard Deformed Bar หรือ มาตรฐานเหล็กข้ออ้อย

โดยตัวเลขที่ตามมาจะบ่งบอกถึงกำลังรับแรงดึงที่จุดคราก (กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร หรือ ksc)

เช่น SR24 คือ เหล็กเส้นกลม มีกำลังรับแรงดึงที่จุดคราก 2,400 ksc, SD30 คือ เหล็กข้ออ้อย มีกำลังรับแรงดึงที่จุดคราก 3,000 ksc เป็นต้น

SR = Standard Round Bar

SD = Standard Deformed Bar

Number *100 = ksc scores

Ex. SR30 = Standard Round Bar with 3,000 KSC

RB = Round Bar

DB = Deformed Bar

Number = Diameter

EX. RB32 = Round Bar with 32mm diameter

ความยาว

แบ่งได้ตามคำย่อภาษาอังกฤษเลย คือ RB (Round Bar) และ DB (Deformed Bar)

ตัวเลขที่ตามหลังมาคือ เลขที่บ่งบอกถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง โดยที่เลขยิ่งเยอะ ขนาดก็จะใหญ่ตามไปด้วย

เช่น RB16 คือ เหล็กเส้นกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร, DB32 คือ เหล็กข้ออ้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร เป็นต้น

วิธีการเลือกใช้งานเหล็กทั้งสองแบบ

เหล็กข้ออ้อยมีพื้นที่สัมผัสกับคอนกรีตมากกว่า ซึ่งทำให้ยึดเกาะกับคอนกรีต และรับแรงได้มากกว่าเหล็กเส้นกลม แต่กระนั้นก็งอได้ยากกว่าเหล็กเส้นกลมาก ซึ่งในการนำไปใช้ร่วมกันในงานเสา ก็มักจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยืน และเหล็กเส้นกลมเป็นปลอกเสา สำหรับคานแนวนอน จะมีการใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กนอนยาวตลิดแนว และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็ก ปลอกรัดรอบเหล็กนอนเป็นระยะ ๆ

การตรวจสอบคุณภาพของเหล็กที่ดี

เหมือนกับผลิตภัณฑ์ทั่ว ๆ ไป ต้องมีฉลากบอกรายละเอียด โดยต้องมีข้อมูลที่สำคัญ คือ
– บริษัทผู้ผลิต และประเภทสินค้า (Manufacturer & Type)
– ชั้นคุณภาพ (Grade)
– ขนาด (Size)
– ความยาว (Length)
– วันเวลาผลิต (Date/Time)
– เครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)

เหล็กข้ออ้อยเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

  • ทำ Wire-mesh
  • เสริมคอนกรีต หล่อเสา
  • ผูกขึ้นรูปไวร์เมช 
  • ปลอกเสา
  • ปลอกคาน
  • อื่น ๆ อีกมากมาย

ขั้นตอนการผลิตเหล็กข้ออ้อย

การผลิตเหล็กข้ออ้อยโดยผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (Heat treatment rebar บางที่ก็เรียก Tempcored rebar) ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 24-2548 กำหนดว่าจะต้องมีการทำสัญลักษณ์ “T” เพื่อบ่งบอกว่าเป็นเหล็กที่ผลิตผ่านวิธีการทางความร้อน แต่กระนั้นก็ไม่ได้บอกถึงคุณภาพ เพียงแต่บอกถึงวิธีการผลิตเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีในเรื่องการต่อเหล็กเส้น, การดัดโค้ง

1. การผลิตเหล็กเส้นโดยกรรมวิธีความร้อน

หลักการเดียวกันกับการผลิตเหล็กรีดร้อน เมื่อรีดเป็นเส้นได้ตามมาตรฐานแล้ว ก็จะมีการฉีดน้ำ ทำให้ตัวเหล็กมีเกิดการเย็นตัวฉับพลัน ทำให้ผิวเหล็กภายอกมีความแข็ง แต่ภายในแกนกลางยังร้อนอยู่ แล้วปล่อยให้เย็นตัวตามปกติ ความร้อนในแกนกลางจะแผ่ความร้อนจากด้านในออกมาด้านนอก บริเวณผิวเหล็ก เป็นการคบคลายความเครียดของเหล็ก ท้ายสุดเมื่อเย็นตัวแล้ว ก็จะได้เหล็กที่มีคุณสมมบัติตามต้องการ เรียกกันว่า Temp-Core แต่วิธีนี้ก็มีจุดสังเกตุคือ มีการเติมธาตุ คาร์บอน และ แมงกานีส น้อยกว่าแบบปกติ และความแข็งแรงที่ขอบมีมากกว่าแกนใน จึงไม่ควรกลึง หรือลดขนาดลงก่อนนำไปใช้งาน 

2. การต่อเหล็กเส้น

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อนุญาตให้ทำการทาบเหล็ก (lapped splice) ได้เฉพาะเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 36 มม.  หากเกินกว่าที่กำหนดไว้ ต้องทำการต่อด้วยการต่อเชื่อม (welding) หรือการใช้ข้อต่อทางกล (mechanical coupler) ซึ่งอาจมีผลกระทบโดยตรงหากใช้เหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน 

เหล็กข้ออ้อยที่ผลิตผ่านกรรมวิธีทางความร้อน จะใช้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจุลภาค (Micro structure) ของเหล็กหลังการรีดร้อนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในเหล็กเส้นแทนการเพิ่มธาตุผสมลงในเนื้อเหล็ก ทำให้มีคาร์บอน และแมงกานีส น้อยกว่าเหล็กข้ออ้อยปกติ ทำให้นำไปใช้ในงานเชื่อมได้ดีกว่าเหล็กข้ออ้อยทั่วไป

3.  การดัดโค้ง

การดัดเหล็กเส้นในส่วนปลายของเหล็กเสริมเพื่อใช้ฝังยึดในคอนกรีตสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องใช้วิธีดัดเย็น (cold bend) เท่านั้น  และขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กสุดของวงโค้งที่ดัดได้ คือ 6, 8, และ 10 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้น 6-25, 28-36, และ 44-57 ตามลำดับ และห้ามไม่ให้มีการดัดปลายเหล็กเส้นข้างที่โผล่จากคอนกรีตในที่ นอกจากจะแสดงไว้ในแบบหรือวิศวกรอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ

https://www.facebook.com/Anajaknaichang