ชั้นคุณภาพของเหล็กเส้น
ชั้นคุณภาพของเหล็กเส้น เพราะสมัยนี้ นับได้ว่าเหล็กเส้นเป็นวัสดุที่ถูกยอมรับว่าเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย มีความสำคัญต่องานก่อสร้างในหลายๆที่ เนื่องจากเราสามารถนำเหล็กเส้นมาเสริมความแข็งแรงให้คอนกรีตได้ เพราะว่าเหล็กเส้นสามารถรับแรงอัดที่สูงๆได้ดี แต่หลายๆท่านคงทราบอยู่แล้วว่าเหล็กเส้นสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ 1. เหล็กเส้นกลม 2. เหล็กเส้นข้ออ้อย ซึ่งเหล็กทั้ง 2 ชนิดนี้นั้นมีคุณภาพที่แตกต่างกันอยู่
คุณภาพของเหล็กเส้นแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง
- เหล็กเส้นกลมจะมีชั้นของคุณภาพเดียวนั้นก็คือ SR24 ซึ่งตามมาตรฐานมอก. 20-2543 กำหนดไว้ว่าค่าของ ค่า Yield Strength และต้องไม่ต่ำกว่า 24 แรงกิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร หรือ บางทีอาจจะใช่หน่วยที่แตกต่างกันออกไป
- เหล็กเส้นข้ออ้อยนั้นจะมี 3 ชั้นของคุณภาพ ได้แก่ SD30 , SD40 , SD50 ซึ่งตามมาตรฐานมอก. 24-2548 กำหนดไว้ว่าค่าของ ค่า Yield Strength ต้องไม่ต่ำกว่า 30 แรงกิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร
ชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30 ไม่ต่ำกว่า 40 แรงกิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร
ชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD40 ไม่ต่ำกว่า 50 แรงกิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร
ชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD50
และนอกจากนี้เหล็กเส้นข้ออ้อยสามารถที่จะแบ่งชนิดออกมาได้อีก ซึ่งจะแบ่งออกมาเป็นเหล็กข้ออ้อยที่มี่ตัวย่อ T ต่อท้าย ตัวเลขของชั้นคุณภาพ อย่างเช่น SD30T , SD40T , และ SD50T และสำหรับเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ไม่มีตัว T ต่อท้ายจะเป็นการผลิตด้วยกรรมวิธีทั่วไป ซึ่งจะมีการเติมธาตุต่างๆ ได้แก่ ธาตุ C ธาตุ Mn ลงเข้าไปด้วย
ในขณะเดียวกันเหล็กข้ออ้อยที่ตัวย่อตัว T ต่อท้ายจะผลิตโดยผ่านกระบวนการกรรมวิธีความร้อนที่เรียกว่า Heat Treatment rebar ซึ่งได้ตามมาตรฐานมอก. 2548 ได้ถูกอนุญาตให้มีการผลิตเหล็กเส้นข้ออ้อยกรรมวิธีนี้ผู้ผลิตจะต้องจัดทำเครื่องหมายที่เหล็กข้ออ้อย โดยใช้สัญลักษณ์ตัวย่อ T ประทับตัวนูนบนเนื้อของเหล็กตามหลังชั้นคุณภาพที่ผลิตขึ้น ซึ่งกระบวนการตอนต้นจะผ่านการีดร้อนเหมือนเหล็กข้ออ้อยตามปกติ เพียงแต่กระบวนการหลังจากรีดร้อนแท่นสุดท้ายนั้นจะมีการฉีดสเปรย์น้ำจนกว่าเหล็กจะทำการเย็นตัวตามที่เหมาะสม วิธีนี้จะทำให้ได้เหล็กข้ออ้อยที่มีการเติมธาตุ C และ Mn น้อยลง โดยที่จะมีคุณสมบัติทางกดในด้านของความแข็งแรง และความเหนียวที่เท่าเทียมกันกับเหล็กเส้นข้ออ้อยที่มีการปรุงแต่งด้วยธาตุตามปกติ