**สามารสั่งซื้อสินค้าได้ โปรดติดต่อทาง Line ID: @273oyqga หรือ โทร 086-341-9908**
การบ่มคอนกรีต (Curing)
คือการควบคุม คอนกรีตผสมเสร็จ ราคา ที่สำคัญป้องกันไม่ให้น้ำที่ทำปฎิกริยากับซีเมนต์ จากพื้นคอนกรีตระเหยออกมา ที่เทลงบนแบบหล่อ แข็งตัวแล้วเร็วเกินไป เพื่อให้คุณสมบัติของคอนกรีตรับแรงและทนทานตามที่ต้องการ
เทคอนกรีตแล้วหลังจากนั้นทิ้งไว้ให้ผิวหน้าคอนกรีตหมาดแข็งไม่มีรอยร้าวแล้วจะต้องทำการบ่มคอนกรีตทันทีด้วยวิธีการที่ถูกต้อง โดยการคลุมผิวคอนกรีตไม่ให้ถูกแดดหรือลมร้อน และห้ามรบกวนหรือสะเทือนภายในระยะ 24 ชั่วโมงแรก กระบวนการก่อนหน้านี้ทำให้คอนกรีตมีคุณภาพที่ดี และ มีคุณสมบัติตามต้องการใช้งาน อีกอย่างนึงเป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำจกาคอนกรีตที่เทใหม่ ไม่อย่างงั้นคอนกรีตจะมีการหดตัวเร็ว ทำให้ผิวที่กำลังจะแห้งเกิดแรงดึง ส่งผลให้คอนกรีตมีรอยแตกร้าวตรงผิวคอนกรีต ระยะเวลาที่รักษาและป้องกันความชื้นจากการเทคอนกรีตลงบนแบบหล่อคอนกรีต เรียกว่า ระยะเวลาการบ่มคอนกรีต โดยทั้งนี้ ระยะเวลาในการบ่มคอนกรีตจะขึ้นอยู่กับชนิดของปูนซีเมนต์ที่ใช้ด้วย ส่วนผสมคอนกรีต กำลังที่ต้องการ ขนาดรูปร่างและโครงสร้างคอนกรีต อุณหภูมิที่ใช้บ่มคอนกรีต และความขื้น หลังจากที่หล่อคอนกรีตเสร็จแล้วระยะเวลาการบ่มอยู่ที่24ชั่วโมงเป็นค้น
กำลังของ คอนกรีตผสมเสร็จ จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะแรกและค่อยๆช้าลงในเวลาต่อมา ราคา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะ ดังแสดงในรูป จากเส้นสัมพันธ์จะเห็นว่าหลังจากการบ่มในโอกาสแห้งแล้วบ่มชื้นตลอดเวลา ซึ่งสภาพงานก่อสร้างจริงไม่อาจจะบ่มชื้นตลอดเวลานานๆได้ เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาก่อสร้างและค่าใช้จ่าย เพื่อให้คอนกรีตมีกำลังประมาณ 70 %ของกำลังที่เราต้องการ
อุณหภูมิ ที่เหมาะสมในการบ่มคอนกรีต ควรอยู่ที่ระหว่าง 15-39 องศาเซลเซียส ข้อควรระวังไม่ควรบ่มคอนกรีตที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส เพราะการแข็งตัวของคอนกรีตช้ามาก และถ้าการบ่มคอนกรีตที่อุณหภูมิสูงมากและอากาศแห้ง จะทำให้น้ำหรือความชื้นของคอนกรีตระเหยออกจากคอนกรีตดร็ว อาจจะเกิดการแตกร้าวได้เนื่องจากกำลังของคอนกรีตต่ำ
วิธีบ่มคอนกรีต
วิธีบ่มคอนกรีตจะขึ้นอยู่กับสภาพของคอนกรีตโดยเฉพาะ ที่จะสร้างขึ้นควรคำนึงถึงวิธีการที่ประหยัดมากที่สุด และ ได้ผลดีมากที่สุด มีอยู่ 3 วิธี
1.การบ่มคอนกรีตโดยเพิ่มความชื้นให้กับตัวคอนกรีต เป็นการที่ใช้ความชื้นในผิวคอนกรีต โดยตรง ระหว่างระยะที่คอนกรีตเริ่มจะแข็งตัว เพื่อแทนการระเหยของน้ำที่ออกจากคอนกรีต มีวิธีการทำหลายวิธีได้แก่
การหล่อน้ำหรือขัง จะใช้วิธีทำด้วยดินเหนียวหรือการก่ออิฐกั้นก็ได้ใช้ได้ดีกับงานบนพื้นราบ เช่นแผ่นพื้น ดาดฟ้า พื้นถนน และ ทางเท้า แต่ไม่เหมาะสำหรับแผ่นพื้นที่จะใช้ในงานก่อสร้างต่อไป ข้อควารระวัง คือ ต้องตรวจสอบที่กั้นน้ำหรือขังน้ำไว้ไม่ให้ทำนบที่กั้นไว้พัง ซึ่งไม่งั้นน้ำจะรั่วออกและเป็นเหตุให้แห้งทำให้การบ่นขาดตอน
การรดน้ำหรือพ่นฉีดน้ำ จะต้องให้ผิวของคอนกรีจมีความชื้นอยู่ตลอดเวลาโดยการคอยฉัดหรือรดน้ำ ไม่ใชทำกันเป็นระยะๆเพื่อไม่ให้ผิวคอนกรีตแตกร้าว เนื่องจากตัวผิวคอนกรีตเปียกและแห้งสลับกันบ่อยครั้ง วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ได้กับคอนกรีตทุกชนิด ในแนวรายหรือเอียง ไม่เหมาะกับบริเวณที่มีน้ำน้อย เนื่องจากวิธีที่ใช้นี้ค่อนข้างจะเปลืองน้ำ
การใช้วัสดุเปียกชื้นคลุม อาจใช้กระสอบป่าน ผ้าใบหรือวัสดุที่ชุ่มนึคลุมให้ทั่วผิวคอนกรีตแล้วราดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอเพื่อให้คอนกรีตมีความชื้นอยู่ตลาดเวลา พอคอนกรีตเริ่มแข็งตัวควรคลุมทันที วิธีนี้นิยมใช้กันมากและได้ผลดีมาก ถ้าคอยตรวขให้น้ำชุ่มอยู่เสมอ คลุมได้ทั้งแนวราบและดิ่ง ราคาถูก
2.วิธีบ่มคอนกรีตจากการป้องกันการเสียน้ำจากเนื้อคอนกรีต วิธีนี้เป็นการผนึกผิวของคอนกรีตโดยทั่วไป สามารถป้องกันไม่ให้ความชื้นจากเนื้อของคอนกรีตลอดออกไปได้ ซึ่งมีวิธีการบ่มดังนี้
การใช้กระดาษกันน้ำซึม(Waterproof Papers) ลักษณะเป้นกระดาษเหนียว 2 ชั้นยึดติดกันด้วยยางมะตอย และเสริมความเหนียวด้วยใยแก้ว จะยืดหดตัวไม่มากนักเมื่อเปียกและแห้ง สีกระดาษที่ใช้มีสีอ่อนและใช้ปิดผิวคอนกรีตให้สนิทเป็นเวลา 72 ชั่วโมง มักนิยมใช้กับพื้นราบ
การใช้แผ่นพลาสติกปิดคลุม(Plastic Film) มีวิธีการคล้ายกับการใช้กระดาษกันน้ำ แต่มีข้อดีคือ เนื่อวจากพลาสติกเบามาก จึงสามารถใช้ได้กับโครงสร้างทุกชนิด ข้อควรระวัง คือ ต้องหาของหนักทับ เพื่อป้องกันไม่ให้ลมพัดปลิว
การบ่มโดยใช้ไม้แบบ(Forms) ไม้แบบที่เปียกและแบบโลหะจะช่วยป้องกันการสูญเสียความชื้นได้ดี ถ้าหากผิวคอนกรีตส่วนบนที่เปิดเผยนั้นยังเปียกอยู่ โดยมีน้ำไหลซึมลงมาระหว่างคอนกรีตกับแบบได้ ในสภาพเช่นนนี้เท่านั้นที่อาจทิ้งแบบหล่อให้ติดกับคอนกรีตให้นานเท่าที่ต้องการ เมื่อถอดแบบแล้วจึงบ่มด้วยวิธีอื่นๆต่อไป
การใช้สารเคมีเคลือบผิวคอนกรีต(Sealing Compound) โดยการพ่นสารเคมีบนผิวคอนกรีตซึ่งจะกลายเป็นเยื่อบางๆคลุมผิวไว้ ป้องกันการระเหยของน้ำได้อย่างดี การบ่มด้วยวิธีนี้เหมาะกับงานที่ลำบากในการใช้วิธีอื่น เช่น งานบิน หลังคากว้างๆถนน หลังคาเปลือกบาง ทั้งนี้เพราะสิ้นเปลืองมากกว่าวิธีอื่น
3.) วิธีบ่มโดยการเร่งกำลัง เป็นการบ่มคอนกรีตด้วยไอน้ำ (Steam Curing) โดยให้ความชื้นและความร้อนกับคอนกรีตที่หล่อเสร็จใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้คอนกรีตไม่ขาดน้ำเช่นเดียวกับการบ่มธรรมดา แจ่ช่วยเร่งปฏิกริยาเคมีระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์ ทำให้คอนกรีตมีกำลังสูงขึ้นโดยรวดเร็ว ลดการหดตัว และเพิ่มความต้านทานต่อสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต นิยมใช้กันมากในงานอุตสาหกรรมคอนกรีตสำเร็จรูป เช่นเสาเข็ม เสาไฟฟ้า โดยช่วยให้สามารถถอดคอนกรีตออกจากแบบหล่อได้เร็วขึ้น
เทคนิคบ่มคอนกรีตให้พื้นแกร่ง แข็งแรงอยู่นาน
การก่อสร้างบ้านใหม่ของผู้รับเหมาและทางเจ้าของบ้าน ต่างก็อยากจะให้บ้านเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอันสั้นเพราะประหยัดแรงงานและมีผลดีต่อผู้รับเหมา เจ้าของบ้านก็สามารถย้ายเข้ามาอยู่โดยที่ใต้องรอนาน แต่ถ้าเร่งรีบเกินไปในการก่อสร้างอาจจะทำให้เกิดผลเสียจนทำให้ขั้นตอนการก่อสร้างต่างๆ ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และอาจจะมีผลต่อความแข็งแรงคงทนของบ้านในอนาคตได้
ปัญหาที่เจ้าของบ้านมักจะชอบถามบ่อยๆก็คือ เรื่องระยะเวลาของคอนกรีตเซทตัว การบ่มคอนกรีตมีประโยชน์อะไร มีความจำเป็นแค่ไหน ? ต้องทิ้งไว้นานเท่าไหร่จึงจะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ ? เราจะมาเรียนรู้เรื่องนี้กัน
โครงสร้างของบ้าน ก็เป็นหัวใจหลักประการหนึ่ง ที่สำคัญสำหรับการสร้างบ้านใหม่ ซึ่งส่วนมากนิยมใช้คอนกรีตในการก่อสร้าง หรือที่เคยได้ยินกันว่า โครงสร้างปูน ข้อดีของโครงสร้างปูนที่ทุกคนทราบกันดีคือเป็นวัสดุที่ช่างทั่วๆไปคุ้นเคยและหาซื้อได้ง่ายสะดวก ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก และราคาไม่สูงจนเกินไป
การใช้ปูนในการก่อสร้างมีข้อจำกัดของโครงสร้างคือใช้ระยะเวลานานในการก่อสร้าง เพราะต้องระให้คอนกรีตเซทตัว ทำให้คอนกรีตรับกำลังอัดอย่างเหมาะสม โดยการบ่มคอนกรีต ต้องใช้ระยะเวลาสูงสุดประมาณ 28 เป็นต้น
ขั้นตอนของการเทคอนกรีตที่เหมาะสม หลังจากได้เริ่มเทคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว ต้องมีระยะเวลาให้คอนกรีตเซทตัวเพื่อประสิทธิภาพในการรับแรง และจะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อๆไปได้ ระยะเวลาในการถอดแบบและค้ำยันนั้นจะช้าหรือเร็วนั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ
– ส่วนผสมของคอนกรีต คุณสมบัติของปูนซีเมนต์
– ชนิดขนาดของโครงสร้างและความสำคัญของโครงสร้าง
– น้ำหนักต่อโครงสร้าง
– อุณหภูมิ และอื่นๆ ประกอบกัน
นอกจากนี้ยังมีกระบวนการสำคัญอีกหนึ่งที่เราดำเนินการ เพื่อให้ปูนเซทตัวอย่างสมบูรณ์และมีประสทิธิภาพหลังจากการเทคอนกรีตเสร็จแล้ว ต้องทำการบ่มคอนกรีตทันที คอนกรีตจะเริ่มแข็งตัว หลังจากการแต่งหน้าคอนกรีต
การบ่มคอนกรีต เป็นวิธีการช่วยให้ปฏิกริยาไฮเดรชั่น ของปูนซีเมนต์เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์เพื่อพัฒนาด้านกำลังและความคงทน โดยการบ่มที่ดีต้องป้องกันการระเหยของน้ำและลดการสูญเสียความชื้นในเนื้อ คอนกรีต ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
– การใช้วิธีฉีดหรือพรมน้ำแล้วใช้กระสอบคลุมจากนั้นราดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
– เลือกใช้สารประกอบทางเคมีพ่นเป็นเยื่อ
ถ้าเราไม่บ่มคอนกรีจจะมีผลเสียตามมา หรือ บ่มในระยะเวลาที่ผิดหรือไม่เหมาะสม คือ จะทำให้คอนกรีจมีการรับแรงต่ำและมีประสทิธิภาพน้อยลงกว่าที่ควร อาจจะทำให้สารอันตรายต่างๆหรือสารเคมีบางตัว ซึมเข้าเนื้อคอนกรีตง่ายขึ้น ทำให้เหล็กเสริมคอนกรีตเป็นสนิมได้ง่าย และทำให้คอนกรีตเสียหายหรือเกิดการแตกร้าวในที่สุด ระยะเวลาที่เหมาะสในการบ่มคอนกรีตสามารถแบ่งได้ตามประเภทปูน และประเภทของหน้างานก่อสร้างต่างๆ ได้ ดังนี้
เวลาในการบ่มคอนกรีต
สำหรับระยะเวลาในการถอดแบบและถอดค้ำยันที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทปูนที่ใช้และตำแหน่งของส่วนประกอบต่างๆที่ทำการเทคอนกรีต โดยระยะเวลาการเซทตัวของคอนกรีตสูงสุดหรือเวลาที่โครงสร้างสามารถรับน้ำหนัก ได้เต็มที่จะอยู่ประมาณ 28 วัน
ส่วนระยะเวลาในการถอดแบบที่เหมาะสมในบริเวณต่างๆ จะเป็นตามตาราง ซึ่งหากต้องการจะถอดแบบหรือค้ำยันออกเร็วกว่าที่กำหนดไว้นั้น ต้องมีควรตรวจสอบกำลังในการรับแรงของคอนกรีตว่าได้ประสิทธิภาพตามที่ออกแบบ ไว้แล้วหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย
ในส่วนของการดำเนินงานในชั้นต่อๆ ไปนั้นก็เช่นกัน ตามปกติควรรอประมาณ 14-21 วัน เพื่อให้คอนกรีตมีกำลังในการรับแรงที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยหากต้องการให้เร็วกว่านั้นก็ควรปรึกษาวิศวกร
จะเห็นได้ว่าประเภทปูนที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น มีผลต่อระยะเวลาในการก่อสร้างเช่นกัน ซึ่งหากเจ้าของบ้านต้องการความรวดเร็วในการก่อสร้าง สามารถทำได้ ดังนี้
เลือกปูนประเภทรับกำลังอัดเร็ว
จะช่วยย่นระยะเวลาในการบ่มและระยะเวลาที่ต้องรอคอนกรีตเซทตัวให้ลดลงได้
เพิ่มสารเร่งการก่อตัว
ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตให้สั้นลงและช่วยเร่ง กำลังอัดช่วงต้นให้สูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ปูนประเภทนี้มักถูกนำไปใช้ในงานก่อสร้างที่เร่งด่วน เช่น งานที่ต้องการถอดแบบเร็ว, งานหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่ต้องหมุนเวียนแบบหล่อ, งานซ่อมแซมโครงสร้างหรือพื้นผิวจราจรที่ต้องเปิดใช้งานเร่งด่วน