รางไฟ
รางไฟ หรือ ที่เรียกกันว่ารางเดินสายไฟ นั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิดไว้ เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องความเป็นระเบียบแล้วยังสามารถช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากไฟฟ้า ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการซ็อต ลัดวงจร รั่ว หรือการก่อตัวของไฟไหม้ ดังนั้นการมีอุปกรณ์ที่ดีที่สุดนั้นจะช่วยลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังได้ และยังช่วยป้องการเกิดปัญหาที่มาจากความร้อนสูงเกินไปของสายไฟได้อีกด้วย
ประเภทของรางไฟและการติดตั้งสายไฟ
- เมื่อพูดถึงต้องแน่นอนอยู่แล้วว่าต้องนำมาควบคู่กับการเดินสายไฟ ซึ่งสายไฟกับรางที่จะใส่ไฟ ต้องมีความสัมพันธ์กันเพื่อความปลอดภัยในการติดตั้ง และใช้งาน โดยจะแบ่งการติดตั้งสายไฟไปตามประเภทหลักๆ ของรางไฟซึ่งได้แก่ รางวายเวย์ , รางเคเบิ้ลเทรย์ และ รางเคเบิ้ลแลดเดลอร์
- ราง Wireway
ลักษณะของรางจะเป็นแบบปิดที่มิดชิด โดยจะสามารถป้องกันฝุ่นละออง และสัตว์เล็กๆได้ดี มีความแข็งแรง ทนทาน ส่วนใหญ่ทำมาจากเหล็กต้องพ่นด้วยสีฝุ่น เพื่อป้องกันการเกิดสนิมได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งในโรงงาน และ อาคารบ้านเรือน ทั้งในกับกลางแจ้ง แต่ถ้าจะใช้กลางแจ้งต้องเป็นชนิดแบบกันฝน ข้อดีของราง Wireway คือ สามารถเดินสายไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมากๆ
วิธีการติดตั้งของราง Wireway
- เลือกใช้รางเดินสายไฟที่มีความแข็งแรง จับยึดทุกระยะไม่เกินที่ 3 เมตร หากกรณีที่ติดตั้งในแนวดิ่งอาจเพิ่มระยะจับยึดขึ้นเป็น 4.5 เมตร
- ห้ามต่อรางตรงจุดบริเวณที่เป็นผนังหรือพื้น เพราะสถานที่ติดตั้งต้องสามารถตรวจสอบ และบำรุงรักษาได้อย่างสะดวก
- ห้ามใช้รางเป็นสายดิน แต่รางต้องมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าได้ตลอดตามความยาวของราง
- ในรางวายเวย์สามารถเดินสายไฟได้ทุกชนิด ทุกขนาด รวมทั้งสายดิน ควรที่จะระวังพื้นที่หน้าตัดของสาย รวมฉนวนทุกเส้นต้องไม่เกิน 20% ของพื้นที่หน้าตัดรางวายเวย์ และจำนวนสายที่มมีกระแสไหลไม่ควรที่จะเกิน 30 เส้น
- ราง cable track แบบระบายอากาศ
จะเป็นรางไฟที่มีช่องแบบระบายอากาศ การติดตั้งสายไฟฟ้า และการบำรุงรักษาสามารถทำได้ง่าย ส่วนมากทำจากเหล็กเลยต้องพ่นด้วยสีฝุ่น เพื่อป้องกันการเกิดสนิม สามารถนำมาใช้ได้ทั้งโรงงาน และ อาคารทั่วไป เหมาะกับการเดินสายไฟจากหม้อแปลงไฟฟ้ามาที่ MDB จะมีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความต้องการ ราง cable track จะมีความแข็งแรงกว่าราง Wireway อีกทั้งยังสามารถเดินสายไฟได้จำนวนมากๆ
การติดตั้งรางเคเบิ้ลเทรย์
- เลือกใช้รางที่มีความแข็งแรงแล้วไม่เสียรูป จับยึดตามความเหมาะสม
- สถานที่ติดตั้งรางไฟเคเบิลเทรย์ต้องมีพื้นที่ว่างที่จะเพียงพอที่จะตรวจสอบ และบำรุงรักษาได้สะดวก
- รางเคเบิ้ลเทรย์ต้องมีความต่อเนื่องกันตลอดทั้งความยาวทางกล และทางไฟฟ้า
- ห้ามใช้รางเคเบิ้ลเทรย์เป็นสายดิน การที่ติดตั้งภายในอาคารที่จำเป็นต้องใช้สายไฟฟ้ามีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิงอีกด้วย
การเดินสายไฟฟ้า
สายไฟฟ้าที่วางอยู่ในรางเคเบิ้ลเทรย์ที่ทำได้ถึง 3 แบบ คือ
- วางแบบเรียงชิดติดกัน
- ระยะห่างกันคือเส้นเว้นเส้น
- แบบสามเหลี่ยม
- ราง Cable Ladder
เป็นรางไฟแบบขั้นบันได จะมีลักษณะเป็นขั้นๆ บันได โดยจะมีผนังด้านข้าง การติดตั้งสายไฟฟ้า และ การบำรุงรักษาต้องทำได้ง่าย และยังทำจากเหล็กที่พ้นด้วยสีฝุ่น เพื่อป้องกันการเปิดสนิมได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งโรงงานและอาคารทั่วไป แต่ส่วนมากที่นิยมกันจะเป็นแบบที่นำไปชุบกัลวาไนซ์ เหมาะกับการที่ต้องติดตั้งภายนอกอาคาร มีความทนแดด ทนฝน และใช้งานได้ยาวนาน เหมาะกับการเดินจากหม้อแปลงไฟฟ้ามาที่ MDB จะมีหลายขนาดให่เลือกใช้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ราง Cable Ladder นั้นจะมีความแข็งแรงมากกว่าราง Wireway
การติดตั้งราง Cable Ladder
- เลือกใช้รางที่มีความแข็งแรงไม่เสียรูปทรงจากการใช้งาน จับยึดได้ตามความต้องการตามความเหมาะสม
- สถานที่ติดตั้งต้องให้มีที่ว่างเพียงพอเพื่อตรวจสอบ และบำรุงรักษาได้อย่างสะดวกตลอดความยาวของราง
- รางเคเบิ้ลแลดเดอร์ ต้องมีความต่อเนื่องตลอดความยาวทั้งทางกลกับทางไฟฟ้า แต่ห้ามใช้รางเป็นสายดิน
- การติดตั้งภายในอาคารต้องใช้สายไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิงอีกด้วย
ข้อควรระวังสำหรับการใช้งาน
- ไม่ควรที่อยู่ในบริเวณที่มีความเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะมีความทนทานกับน้ำ ทนต่อการผุกร่อน แต่น้ำก็เป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่สามารถแทรกซึมไปได้ยังทุกๆพื้นที่ เพราะแบบนี้พื้นที่ที่เปียกชื้นจะทำให้เกิดปัญหากับสายไฟที่อยู่ในรางได้โดยที่ไม่รู้ตัว
- ห้ามใช้กับงานอย่างอื่นที่ไม่ใช่การป้องกันอันตรายจากสายไฟ เพราะมีคนที่มักง่ายนำรางไปใช้กับงานประเภทอื่นๆ เช่น ท่อแก๊ส หรือ ท่อประปา เป็นต้น ซึ่งไม่เหมาะสมเป็นอย่างมาก อาจจะเกิดอันตรายตามมาถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
- อย่าให้รางโดนแสงแดดมากจนเกินไป ด้วยความร้อนทั้งภายในของราง และอากาศภายนอกอาจจะทำให้พบปัญหาตามมาได้