เสาเข็มมีกี่ประเภท
เสาเข็มมีกี่ประเภท

เสาเข็มมีกี่ประเภท เสาเข็มเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญที่จะใช้พิจารณาในการเลือกซื้อบ้าน ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ค่อยได้นึกถึงสักเท่าไหร่แม้จะส่งผลต่อการอยู่อาศัยในระยะยาว ด้วยเหตุผลที่เสาเข็มจะเป็นรากฐานสำคัญ และ เป็นตัวชี้วัดความแข็งแรงของตัวบ้าน จึงควรนำความรู้เรื่องเสาเข็มมาใช้ในการพิจารณาในการซื้อบ้านเพื่อให้ทราบถึงความมั่งคงความปลอดภัยในการนำไปใช้งาน

 

เสาเข็มมีกี่ประเภท มีทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่

  1. เสาเข็มไม้

จะเป็นเสาเข็มที่สามารถหาได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ราคาถูก และ มีการขนส่งที่สะดวก แต่มีความสามารถในการรองรับน้ำหนักค่อนข้างที่จะต่ำ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตอกกันเป็น กลุ่ม ส่งผลให้มีรากฐานที่มีขนาดใหญ่ ควรตอกให้มีระยะต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน เพื่อเป็นการป้องกันการผุกร่อนจากปลวก และ เห็ดรา ปัจจุบันนิยมให้เสาเข็มไม้สน และ ยูคาลิปตัส ตามท้องตลาดจะมีการระบุขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจะเป็นนิ้ว และ มีความยาวเป็นเมตร เหมาะกับการนำไปใช้กับสิ่งปลูกสร้างที่มีขนาดที่เล็ก

  1. เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก

เป็นเสาเข็มหล่อในโรงงาน ที่จะต้องถูกแบบเหล็กเสริมตามความยาวให้เพียงพอ เพื่อรองรับโมเมนต์ตัด จากการเคลื่อนย้าย และ การตอก ปัจจุบันไม่นิยมมากนักเนื่องจากไม่มีการประหยัด จึงมีความนิยมใช้เข็มคอนกรีตอัดแรงแทน

  1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง

จะเป็นเสาเข็มที่มีการอาศัยเทคนิคในการดึกลวดรับแรงดึกแล้วให้เทคอนกรีตลงในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งตัวจนได้กำลังถึงจะทำการตัดลวดรับแรงดึง ทำให้เกิดแรงอัดในเสาเข็ม ซึ่งจะช่วยลดปัญหาในการแตกร้าวของเสาเข็มได้ดีกว่าแบบอื่น ๆ โดยจะมีรูปแบบเสาเข็มประเภทชนิดนี้จะเป็นที่นิยมนำไปใช้งานอย่างมากก็คือ เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง หรือ ที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าเสาเข็มสปัน จะเป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงชนิดที่พิเศษที่มีการผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในรูปแบบหล่อซึ่งจะหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา ทำให้มีความทนทานสูง รองรับน้ำหนักได้อย่างมาก เสาเข็มสปันจะมีลักษณะเป็นเสากลม บริเวณตรงกลางจะกลวงมักจะใช้เป็นเสาเข็มเจาะเสียบ

  1. เสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่

หรือที่จะเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าเสาเข็มเจาะ เป็นเสาเข็มที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงจากการสั่นสะเทือนที่น้อยที่สุด สามารถทำความลึกได้มากกว่าเสาเข็มตอก และ สามารถควบคุมตำแหน่งได้ดีกว่า แต่มีราคาที่สูงกว่าในกรณีที่รองรับน้ำหนักที่เท่ากัน

  1. เสาเข็มเหล็ก

จะเป็นเสาเข็มที่ทำจาเหล็กทั้งท่อน จะมีความสามารถในการรองรับน้ำหนักได้สูงกว่าเสาเข็มคอนกรีต และ ไม้ แต่ก็จะมีราคาแพง ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีเคลือบกันสนิมที่ซึมลงไปในเนื้อเหล็ก สามารถติดตั้งได้เร็ว ไม่มีผลกระทบทางเสียง แรงสั่นสะเทือนน้อย สามารถถอน และ ทำการเคลื่อนย้ายได้ง่าย นิยมใช้กับงานโครงสร้างแบบชั่วคร่าวที่ต้องการจะรองรับน้ำหนักมากแต่ก็ต้องมีการทำรื้อถอนในภายหลัง

  1. เสาเข็มประกอบ

จะเป็นเสาเข็มที่มีการประกอบด้วยวัสดุทั้ง 2 ชนิด ในค้นเดียวกัน จุดสำคัญของเสาเข็มชนิดนี้ก็คือ รอยต่อต้องมีความแข็งแรง มีความทนทาน และ สามารถถ่ายเทน้ำหนักจากท่อนบนสู่ท่อนล่างได้เป็นอย่างดี

 

คุณสมบัติเด่น ๆ เฉพาะตัว

เสาเข็มถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบส่วนสำคัญที่สุดในส่วนหนึ่งของอาคาร โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายเทน้ำหนักของตัวอาคารลงสู่พื้นดิน โดยจะมีการถ่ายน้ำหนักจากหลังคา พื้น คาน เสา หรือแม้แต่ ตอม่อกับรากฐาน ลงไปสู่ชั้นดินตามลำดับ

การถ่ายเทน้ำหนักของเสาเข็มจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ ก็คือ เสาเข็มแบบสั้น และ เสาเข็มแบบที่เอาไว้รองรับน้ำหนักโดยจะใช้แรงเสียดทาน ซึ่งเสาเข็มชนิดนี้จะมีการถ่ายน้ำหนักตัวอาคารกับบริเวณชั้นดินโดยจะใช้แรงเสียดทานในการรองรับน้ำหนัก และ เสาเข็มยาว ก็คือ เสาเข็มที่ถ่ายน้ำหนักตัวอาคารผ่านชั้นดินที่อ่อนไปยังชั้นดินที่มีความแข็งเพื่อจะได้รองรับน้ำหนักของเสาเข็มได้โดยตรง

 

ประเภทของการนำไปใช้งานของเสาเข็ม

การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามรูปแบบการก่อสร้าง

  1. เสาเข็มตอก คือ จะเป็นการใช้ปั่นจั่นในการตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกที่ต้องการ เป็นวิธีการที่จะได้รับความนิยมอย่างมากที่สุดเนื่องจากเป็นวิธีการก่อสร้างที่ไม่มีความซับซ้อน และ ค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงซึ่งในปัจจุบันมีปัญหาในการก่อสร้างในพื้นที่ ที่มีอาคารอยู่รอบข้าง เนื่องจากการตอกเสาเข็มมักกระทำโดยผู้รับจ้างที่ไม่ใช้วิศวกรทำให้มีความเสี่ยงที่จะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ซึ่งการควบคุมการตอกควรจะต้องกระทำโดยวิศวกรผู้รับผิดชอบโครงการนั้น จึงจะมีความเหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย
  2. เสาเข็มเจาะหล่อในที่ คือ เสาเข็มที่ก่อสร้างจากการหล่อคอนกรีตลงไปในดินที่ถูกเจาะเป็นหลุมไว้ล่วงหน้าให้เต็มจะเป็นวิธีก่อสร้างที่ช่วยแก้ปัญหาที่พบจากการใช้เสาเข็มตอก ทั้งการขนย้ายเสาเข็มเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ทั้งการขนย้ายเสาเข็มเข้าพื้นที่การก่อสร้างการรบกวนอาคารรอบข้างเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนจากการตอก รวมทั้งการควบคุมตำแหน่ง และ แนวของเสาเข็ม การเจาะอาจจะกระทำโดยกระบวนการแห้ง ก็คือ การเจาะโดยไม่ต้องใช้น้ำช่วยในกรณีที่ดินข้างหลุมเจาะมีความเสถียรภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเล็ก หรือ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35 – 60 ซม. จะมีความลึกอยู่ประมาณ 18 – 23 ม.
  3. เสาเข็มเจาะเสียบ จะเป็นการใช้เสาเข็มสำเร็จรูป ที่สามารถติดตั้งได้โดยการเจาะดินให้เป็นรูขนาดเล็กกว่าขนาดเสาเข็มที่เล็กน้อยแล้วกดเสาเข็มไปในรูจะเป็นการแก้ปัญหาการสั่นสะเทือน และ การเคลื่อนตัวของดิน วิธีนี้สามารถใช้การตอกแทนการกดได้ซึ่งนอกจากจะลดปัญหาของการสั่นสะเทือน และ การเคลื่อนตัวของดินแล้ว ยังช่วยในกรณีที่ต้องจะตอกเสาเข็มผ่านชั้นดินที่มีความแข็งแรงมาก ๆ จึงมีความนิยมใช้เสาเข็มกลแรงเหวี่ยงแบบอัดซึ่งจะมีรูกลวง ๆ ตรงกลาง โดยจะใช้ระหว่างที่กดเสาเข็มลงไปจากนั้นใช้สว่านที่ใส่อยู่ในรูเสาเข็มก็จะหมุน เพื่อนำดินขึ้นมาเมื่อเรากดเสาเข็มพร้อมกับการเจาะดินจนเสาเข็มจมลงใกล้ระดับที่ต้องการก็สามารถกดหยุดได้เลยหลังจากดึงสว่านออกแล้วให้ตอกด้วยลูกตุ้มจนได้ระดับที่ต้องการ

 

ข้อควรระวังในการใช้งาน

ในงานของรากฐานเสาเข็มบางประเภท ได้แก่ เสาเข็มตอก อาจจะก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง และ แรงสั่นสะเทือนจากการตอกได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบ ๆ รวมไปถึงตัวอาคารอาจจะเกิดผลข้างเคียงที่จะมีความเสียหายได้ เพราะแบบนนั้นในการดำเนินงานส่วนใหญ่ที่รากฐานของเสาเข็ม ควรที่จะมีมาตรการในการป้องกันที่ดีแล้วให้ดำเนินงานอย่างเคร่งครัดตามหลักทางวิศวกรรม และ กฎหมาย

 

หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป

สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี 

ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่

https://www.facebook.com/Anajaknaichang

 

สั่งซื้อสินค้ากับร้านอาณาจักรนายช่าง ได้ที่

LINE : NaichangNetwork

หรือโทร 086-341-9908