ยาแนว 1 ถุงใช้ได้กี่ตารางเมตร
ยาแนว 1 ถุงใช้ได้กี่ตารางเมตร แนะนำให้ใช้ปริมาณที่เหมาะสมกับการที่เราจะนำไปปูกระเบื้อง เป็นปัญหาที่ใหญ่มากสำหรับใครหลาย ๆ คน ที่ไม่เคยผ่านการดูแลงานก่อสร้างมาก่อน และ ถ้าหากความรู้ตรงนี้ ก็อาจจะส่งผลให้ซื้อกาวซีเมนต์ที่มากเกินไปตามความจำเป็น โดยปกติแล้วกาวซีเมนต์ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการแบ่งขาย ปกติแล้ว 1 ถุง มักจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 20 กก. ถ้าหากไปซื้อเองก็ต้องเอารถเข็นมาลากไปที่จุดชำระเงิน เลยทำให้ใครหลาย ๆ คนเกิดความสงสัยว่าปูนกาว 1 ถุง จะสามารถใช้ได้กี่ตารางเมตร ควรที่จะซื้อเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับขนาดห้อง
สารบัญ
- การปูกระเบื้องแบบไหนให้ถูกวิธี
- เกรียงหวีถูกออกแบบออกมามีกี่ขนาด
- วิธีการทำความสะอาดคราบยาแนวแบบง่าย ๆ
- วิธีการสั่งซื้อสินค้า
วิธีปูกระเบื้องด้วยปูนกาวปูกระเบื้องยังไงให้ถูกวิธีสำหรับ ยาแนว 1 ถุงใช้ได้กี่ตารางเมตร
กระเบื้องปูพื้นที่ได้ทั้งภายนอก ภายใน ส่วนมากจะใช้วิธีการคิดตารางเมตรปูกระเบื้อง จากลักษณะของช่องว่างเกรียงหวี ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ปาดหน้ากาวซีเมนต์ให้เป็นซี่ ๆ ก่อนที่จะปูกระเบื้องลงบนพื้นที่ที่ต้องการ และ จะต่างจากการปูแบบซาลาเปา ซึ่งจะเป็นการโปะปูนลงไปตรงบริเวณบนของแผ่นกระเบื้องเป็นก้อน ๆ ทำให้เกิดช่องว่างด้านหลัง ส่งผลให้กระเบื้องโก่งตัวทำให้เกิดการหลุดล่อนได้ง่าย หากพบว่าช่างปูกระเบื้องที่ยืนยันว่าจะโปะปูนเป็นก้อนแบบนี้ ให้รีบเปลี่ยนผู้รับเหมาทันที
เกรียงหวี เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการปูกระเบื้อง
เกรียงหวี ถูกแบบออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่
- ขนาดเล็ก เหมาะกับงานปูกระเบื้องขนาดเล็ก ควรใช้เกรียงหวีขนาดเล็กที่ 3*3 มิลลิเมตร เพราะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ตกแต่งเล็ก ๆ อย่าง งานติดกระเบื้องแก้วโมเสก งานติดกระเบื้องเล็ก ๆ ที่ตกแต่งอาหาร
- ขนาดกลาง เหมาะกับงานปูแผ่นกระเบื้องเซรามิกขนาดปกติ ควรใช้เกรียงหวีขนาดกลาง ซึ่งมีช่องว่างซี่หวีอยู่ที่ขนาด 6*6 มิลลิเมตร เมื่อปาดหน้าปูนบนพื้นก็จะได้ร่องที่พอดี สำหรับการป้องกันการขนายตัวของกระเบื้อง เมื่อถูกความร้อนหรือความเย็น รวมถึงการช่วยป้องกันร่องยาแนวที่แตกร้าว
- ขนาดใหญ่ เหมาะกับนำไปปูกระเบื้องที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระเบื้องหินธรรมชาติ กระเบื้องแกรนิตโต้ ซึ่งมีขนาดอยู่ที่ 40*40 เซนติเมตรขึ้นไป ควรเลือกใช้เกียงหวีขนาดที่ 10*10 มิลลิเมตร เพื่อให้ได้ร่องกาวที่เหมาะกับขนาดของแผ่นกระเบื้อง
วิธีการทำความสะอาดยาแนวแบบง่ายๆ ที่ไม่ต้องเปลืองแรงที่คุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน แต่วันนี้ทำให้รู้กันว่าต่อให้ยาแนวดำขนาดไหนก็สามารถกำจัดออกได้ง่ายนิดเดียว
ส่วนมากเวลาทำความสะอาดก็คือ ปัด กวาด เช็ดถู พื้นกันเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว แต่หลาย ๆ ครั้ง ที่คุณยังรู้สึกว่าไม่ว่าจะทำความสะอาดเท่าไหร่พื้นก็ยังไม่สะอาดอยู่ดี ไม่ได้หมายความว่าคุณทำความสะอาดไม่หมด แต่เป็นที่คราบราดำ ที่ฝังอยู่ตามร่องยาแนว ที่ทำให้พื้นบ้านของเรา ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน หรือ ห้องนั่งเล่น และ ห้องน้ำ ดูไม่สะอาดเหมือนใหม่เลย วิธีการทำความสะอาดร่องยาแนว ให้ลงมือทำความสะอาดทันทีเลยดีกว่า
- ใช้กรดจากน้ำส้มสายชู สำหรับคราบดำที่เกาะในร่องของยาแนวกับผิวกระเบื้องจนฝังลึก ขั้นแรกให้ลองใช้แปรงสีฟันขนแข็ง ๆ ทำการชุบกับน้ำส้มสายชูแล้วนำไปขัดบริเวณที่คราบดำก่อนที่จะเริ่มทำความสะอาดตามอีกทีด้วยน้ำเปล่า
- ใช้เบกกิ้งโซดาช่วยขจัดคราบ หากวิธีแรกยังใช้แล้วแต่ไม่ได้ผล หรือ ยังหลงเหลือคราบให้เห็นเป็นหย่อม ๆ ให้นำผงเบกกิ้งโซดามาโรยตามร่องยาแนว และ ราดน้ำตามจากนั้นให้พรมน้ำส้มสายชูซ้ำลงไป แล้วเอาแปรงขนแข็ง ๆ มาขัดออก จะเป็นแปรงสีฟัน หรือ แปรงขัดพื้นทั่วไปก็ได้เหมือนกัน
- ผสมน้ำยากำจัด ให้ผสมน้ำยาโดยการนำน้ำมะนาว น้ำแร่ น้ำส้มสายชู และ ผงฟอกขาวหรือแอมโมเนียนำมาผสมรวมกัน แล้วให้ราดไปบนยาแนวแล้วทิ้งไว้สักครู่ เพื่อรอให้น้ำยาทำปฏิกิริยากับคราบ แล้วถึงจะใช้แปรงขัดออกพร้อมกับเริ่มทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด เชื้อราก็จะค่อย ๆ หลุดออกไปจนเกลี้ยง
- ทำความสะอาดด้วยกระดาษทราย กระดาษทรายก็สามารถนำมาใช้ทำความสะอาดร่องยาแนวได้เหมือนกัน ซึ่งวิธีการก็ไม่ได้ต่างกับการใช้กระดาษทรายขัดงานไม้เลย เพราะแค่ใช้กระกระดาษทรายถูไปตามร่องของยาแนวดำ ๆ จนคราบจะออกหมดเท่านั้นเอง แต่วิธีนี้อาจจะเสี่ยงต่อการทำให้กระเบื้องเป็นรอยอยู่นิดหน่อย
- อาศัยน้ำยาทำความสะอาดร่องยาแนวโดยเฉพาะ ถ้าคุณมีเวลาในการทำความสะอาดน้อย แล้วไม่อยากเสียเวลาไปกับการทำความสะอาดนาน แถมยังไม่รู้เลยว่าพื้นนั้นจะออกมาสะอาดมากแค่ไหน หรือ ว่าจะต้องทำความสะอาดอีกกี่รอบ คราบถึงจะออกหมดจด บางทีการใช้นำยาทำความสะอาดร่องยาแนวโดยเฉพาะ ก็จะมีความสะดวกกว่าและช่วยประหยัดระยะเวลาทำความสะอาดไปได้ด้วย อีกทั้งยังทำให้ร่องยาแนวมีความขาวเหมือนตอนที่เราได้ปูกระเบื้องใหม่ ๆ ดูสะอาดกว่ากับการถูพื้นธรรมดาเป็นปกติ
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ อาณาจักรนายช่าง
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
https://www.facebook.com/Anajaknaichang